ทางด่วนในประเทศไทย
ทางด่วนในประเทศไทย เป็นถนนที่เก็บค่าผ่านทาง มีการควบคุมจุดเข้าออกของรถยนต์ แบ่งออกเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่กำกับดูแลโดยกรมทางหลวง และทางพิเศษที่กำกับดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดำเนินงานโดยบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันทางด่วนที่เปิดใช้งานมีทั้งหมด 10 เส้นทาง เป็นทางพิเศษ 7 เส้นทาง ทางหลวงพิเศษ 2 เส้นทาง นอกจากนี้ยังมี ทางยกระดับอุตราภิมุข เป็นทางหลวงที่มีลักษณะเป็นทางด่วน โดยบางช่วงเป็นทางหลวงแผ่นดิน บางช่วงเป็นทางหลวงสัมปทาน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง และ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด ตามลำดับ
ประเภท
[แก้]ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
[แก้]ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (อังกฤษ: intercity motorway) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ทางหลวงพิเศษ คือ ทางหลวงที่จัดหรือทำไว้เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษเป็นโครงข่ายทั่วประเทศ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงพิเศษโดยกรมทางหลวง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง, ขยาย, บูรณะ และบำรุงรักษา รวมทั้งควบคุมให้มีการเข้าออกได้เฉพาะ โดยทางเสริมที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษตามที่กรมทางหลวงจัดทำขึ้นไว้เท่านั้น อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง
ทางพิเศษ
[แก้]ทางพิเศษ (อังกฤษ: expressway) สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในตัวเมือง โดยปัจจุบันมีแค่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง ส่วนใหญ่ออกแบบเป็นทางยกระดับ ระบบทางพิเศษนั้นมีความแตกต่างจากระบบทางหลวงพิเศษในประเทศไทย โดยทางพิเศษมีการดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันทางพิเศษที่เปิดใช้งานมีทั้งหมด 8 เส้นทาง
รายชื่อทางด่วนที่เปิดให้บริการ
[แก้]ชื่อทางการ | ชื่ออื่น | ระยะทาง | ผู้ดำเนินงาน |
---|---|---|---|
ทางพิเศษ | |||
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร | ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 | 27.1 กิโลเมตร (16.8 ไมล์) | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |
ทางพิเศษศรีรัช | ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 | 38.4 กิโลเมตร (23.9 ไมล์) | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ |
ทางพิเศษฉลองรัช | ทางด่วนสายรามอินทรา–อาจณรงค์ ทางด่วนสายรามอินทรา–วงแหวนรอบนอก |
28.2 กิโลเมตร (17.5 ไมล์) | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |
ทางพิเศษบูรพาวิถี | ทางด่วนสายบางนา–ชลบุรี (สายบางนา-บางพลี-บางปะกง)[1] |
55.0 กิโลเมตร (34.2 ไมล์) | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |
ทางพิเศษอุดรรัถยา | ทางด่วนสายบางปะอิน–ปากเกร็ด (สายแจ้งวัฒนะ–บางพูน–บางไทร)[2] |
32.0 กิโลเมตร (19.9 ไมล์) | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ บจ. ทางด่วนกรุงเทพเหนือ |
ทางพิเศษสาย S1 | ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S1 ทางด่วนอาจณรงค์–บางนา |
4.1 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |
ทางพิเศษกาญจนาภิเษก | ทางด่วนสายบางพลี–สุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ |
34.0 กิโลเมตร (21.1 ไมล์) | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง |
ทางพิเศษประจิมรัถยา | ทางด่วนสายศรีรัช–วงแหวน ทางด่วนหมอชิต–วงแหวน |
16.7 กิโลเมตร (10.4 ไมล์) | บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ |
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง | |||
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 | มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ−ชลบุรี–พัทยา–มาบตาพุด | 149.3 กิโลเมตร (92.8 ไมล์) | กรมทางหลวง |
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 | ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก–ตะวันตก | 147.0 กิโลเมตร (91.3 ไมล์) | กรมทางหลวง |
ทางด่วนอื่น ๆ | |||
ทางยกระดับอุตราภิมุข | ดอนเมืองโทลล์เวย์ | 28.2 กิโลเมตร (17.5 ไมล์) | บจ. ทางยกระดับดอนเมือง |
รวมระยะทาง | 560 กิโลเมตร (350 ไมล์) |
โครงการในอนาคต
[แก้]ระบบ | ช่วง | ระยะทาง | สถานะ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อีไอเอ | ครม. | ประมูล | ทำสัญญา | ||||
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 | บางปะอิน-นครราชสีมา | 196 กิโลเมตร (122 ไมล์) | สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ | |
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 | บางใหญ่-กาญจนบุรี | 98 กิโลเมตร (61 ไมล์) | สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ | |
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 | รังสิต-นครสวรรค์[3] | 198 กิโลเมตร (123 ไมล์) | สำเร็จ | ||||
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 | นครปฐม-ชะอำ | 115 กิโลเมตร (71 ไมล์) | สำเร็จ | ||||
ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก[4] | - | 18.7 กิโลเมตร (11.6 ไมล์) | สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ | |
ทางยกระดับช่วงศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ลาดกระบัง | 18.5 กิโลเมตร (11.5 ไมล์) | สำเร็จ | ||||
ทางพิเศษอุดรรัถยา | อุดรรัถยา-พระนครศรีอยุธยา[5] | 42 กิโลเมตร (26 ไมล์) | สำเร็จ | ||||
ทางพิเศษฉลองรัช | ฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี[6] | 104.7 กิโลเมตร (65.1 ไมล์) | สำเร็จ | ||||
ทางพิเศษกะทู้-ป่าตอง[7] | - | 3.98 กิโลเมตร (2.47 ไมล์) | สำเร็จ | สำเร็จ | ยังไม่ได้ข้อสรุป[8] | ||
ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ | N1 N2 N3 และ East-West Corridor ด้านตะวันออก | ยังไม่ได้ข้อสรุป | อยู่ในพิพาทช่วง N1 และ N3 โดยจะมีแผนก่อสร้างช่วง N2 ควบ East-West Corridor แทน | ||||
ทางหลวงพิเศษเชียงใหม่-เชียงราย | - | 184 กิโลเมตร (114 ไมล์) | อาจจะมีการยกเลิกโครงการ | ||||
ทางพิเศษบูรพาวิถี | บูรพาวิถี–พัทยา[9] | 68 กิโลเมตร (42 ไมล์) | ยังไม่ได้ข้อสรุป | ||||
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 91 (ด้านตะวันตก) | ถนนพระราม 2-ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 | อยู่ระหว่างการศึกษา | |||||
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 91 (ด้านตะวันออก) | ถนนรังสิต-นครนายก-ถนนเทพรัตน | อยู่ระหว่างการศึกษา | |||||
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 | ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว | 24.7 กิโลเมตร (15.3 ไมล์) | สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ | |
บ้านแพ้ว-ทางแยกต่างระดับปากท่อ | อยู่ระหว่างการศึกษา |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้าง โครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง" (PDF). การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-29. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน–ปากเกร็ด" (PDF). การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-29. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โครงการทางพิเศษสายดอนเมืองโทลล์เวย์รังสิต-บางปะอิน". ประชาชาติธุรกิจ. 13 พฤษภาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-19. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โครงการทางพิเศษสายอุดรรัถยา–พระนครศรีอยุธยา". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช–นครนายก–สระบุรี". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 21 มกราคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โครงการทางพิเศษสายกะทู้–ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-17. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กทพ.รื้อใหม่ด่วน "กะทู้-ป่าตอง" จ่อลงทุนก่อสร้างเอง รวบงานระบบกับเฟส 2 "เมืองใหม่-เกาะแก้ว" เปิด PPP
- ↑ "โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี–พัทยา". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-01. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)