ข้ามไปเนื้อหา

ชิงกันเซ็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิงกันเซ็งต่าง ๆ ที่อู่รถของ JR ตะวันออก ค.ศ. 2012
ชิงกันเซ็งรุ่นต่าง ๆ ที่อู่รถของ JR ตะวันตก ค.ศ. 2008

ชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: 新幹線โรมาจิshinkansen, แปล: สายทางไกลสายใหม่) เป็นชื่อเรียกเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่นซึ่งดำเนินงานโดย 4 กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น สายแรกที่เปิดใช้งานคือ โทไกโดชิงกันเซ็ง (515.4 กม.) ในปี ค.ศ. 1964 จากนั้นเป็นต้นมา เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งก็ได้ถูกขยายออกไปทั่วประเทศ ด้วยระยะทางรวมกว่า 2,951.3 กม. และวิ่งด้วยความเร็ว 240–320 กม./ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีสาย มินิชิงกันเซ็ง สั้น ๆ ความยาว 10.3 กม. ที่วิ่งด้วยความเร็ว 130 กม./ชั่วโมง

รถไฟชิงกันเซ็งให้บริการแก่ผู้โดยสารด้วยความเร็วสูงสุด 320 กม./ชั่วโมง แม้ว่าจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 443 กม./ชั่วโมงในการทดสอบเมื่อ ค.ศ. 1996 และรถไฟชิงกันเซ็งยังทำลายสถิติรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็วถึง 603 กม./ชั่วโมง ในการทดสอบขบวนแม็กเลฟ เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2015

ประวัติ

[แก้]
รางรถไฟชิงกันเซ็ง เป็นรางที่มีความกว้างมาตรฐาน (standard gauge)

ชิงกันเซ็งได้ต้นแบบการพัฒนามาจากรถไฟความเร็วสูง ซีเมนส์ ของ เยอรมนี ญี่ปุ่นมีความต้องการสร้างรางรถไฟที่รองรับรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูง เนื่องจากภูมิประเทศของญี่ปุ่นเต็มไปด้วยภูเขาเป็นจำนวนมาก การสร้างเส้นทางรถไฟปกติจึงมีความคดเคี้ยว นอกจากนั้นเส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในขณะนั้นมีความกว้างแบบแคบ คือ 1,067 มิลลิเมตร (แนร์โรว์เกจ) ทำให้รถไฟไม่สามารถเร่งให้มีความเร็วสูงกว่านี้ได้ จึงได้สร้างทางรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาอย่างจริงจังเป็นประเทศแรกในโลก ต่อมา ญี่ปุ่นมีความต้องการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงมากกว่าความต้องการสร้างของประเทศที่มีระบบรางรถไฟความกว้างมาตรฐานอยู่แล้วและญี่ปุ่นนั้นก็มีศักยภาพในการปรับปรุงระบบรถไฟให้ทันสมัยมากกว่าอีก

จุดประสงค์แรก

[แก้]

ชื่อเรียกอีกชื่อที่คุ้นหูกันดีสำหรับชิงกันเซ็งนี้คือ รถไฟหัวกระสุน (bullet train) ซึ่งเป็นความหมายของคำในภาษาญี่ปุ่นว่า ดังงัง เร็ชชะ (弾丸列車) ต่อมาชื่อนี้ได้นำมาเรียกเป็นชื่อเล่นของโครงการตั้งแต่ตอนเริ่มต้นปรึกษาหารือความเป็นไปได้ของโครงการในราวทศวรรษที่ 1930 ชื่อนี้ได้มาจากลักษณะของหัวรถจักรที่มีลักษณะคล้ายกับหัวกระสุนปืนและยังมีความเร็วสูงเหมือนกระสุนปืน

คำว่า "ชิงกันเซ็ง" มีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1940 เพื่อใช้เรียกเส้นทางที่สร้างขึ้นเพื่อเดินรถไฟโดยสาร/สินค้าจากกรุงโตเกียวไปยังชิโมะโนะเซะกิ โดยการใช้พลังงานไอน้ำและหัวรถจักรไฟฟ้าที่สามารถเร่งความเร็วได้ถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นสามปีต่อมา รัฐมนตรีรถไฟได้ผลักดันให้เกิดโครงการขยายทางรถไฟไปสู่กรุงปักกิ่ง (โดยการเจาะอุโมงค์ผ่านคาบสมุทรเกาหลี) หรือยาวไปจนถึงสิงคโปร์ ไปจนถึงการสร้างทางรถไฟเชื่อมกับทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียและทางรถไฟสายอื่น ๆ ของเอเชีย แต่แผนดังกล่าวได้มีการยกเลิกในปี ค.ศ. 1943 และสภาวะของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างบางส่วนก็ได้รับการพัฒนาต่อ เช่น อุโมงค์บางส่วนได้มาการนำมาใช้สำหรับชิงกันเซ็งในปัจจุบันนับตั้งแต่มีการสร้างครั้งแรกในช่วงสงคราม

การก่อสร้าง

[แก้]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง รถไฟความเร็วสูงก็ได้เลือนหายไปจากความทรงจำของคนญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายปี ต่อมากลางทศวรรษที่ 1950 ทางรถไฟสายหลักโทไกโดะก็ถูกใช้งานมาจนเต็มขีดความสามารถแล้ว รัฐมนตรีรถไฟของญี่ปุ่นจึงได้ตัดสินใจกลับมาทบทวนโครงการชิงกันเซ็งอีกครั้ง รัฐบาลได้อนุมัติโครงการเมื่อปี 1958 การก่อสร้างทางรถไฟส่วนแรกของ โทไกโดชิงกันเซ็ง ระหว่างกรุงโตเกียวไปยังโอซากะก็ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 การก่อสร้างทางรถไฟครั้งนี้ ญี่ปุ่นจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารโลกเป็นจำนวนเงิน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในปี 1962 ได้มีพิธีเปิดการทดสอบระบบเพื่อการขนสินค้าเป็นครั้งแรกในบางส่วนของเส้นทางนี้ ที่เมืองโอดาวาระ จังหวัดคะนะงะวะ

โทไกโดชิงกันเซ็ง ได้เปิดใช้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ซึ่งทันเวลาสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ณ กรุงโตเกียวพอดี ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จทันทีทีเปิดใช้บริการ โดยมีจำนวนผู้โดยสารถึง 100 ล้านคนในเวลาน้อยกว่า 3 ปีคือวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) และยอดผู้โดยสารรวมมีจำนวนถึง 1,000 ล้านคนในปี 1976 และรถไฟขบวนโดยสาร 16 ตู้ก็ได้นำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการปี 70 ที่โอซากะ

รถไฟชิงกันเซ็งขบวนแรกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดถึง 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1] หลังจากนั้นก็เพิ่มเป็น 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถไฟบางขบวนที่มีรูปร่างเป็นหัวกระสุนนั้นยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และหัวรถจักรคันหนึ่งในจำนวนนี้ปัจจุบันได้นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์รถไฟแห่งชาติ ที่เมืองยอร์ค สหราชอาณาจักร

การต่อขยายเส้นทาง

[แก้]

หลังจากในช่วงแรกประสบความสำเร็จ จึงพร้อมที่จะต่อขยายเส้นทางเดินรถไฟออกไปทางตะวันตก โดยมีจุดหมายไปยังฮิโระชิมะและฟุกุโอะกะ (ซันโยชิงกันเซ็ง) จนแล้วเสร็จในปี 1975

คาคุเออิ ทานากะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนอย่างมาก รัฐบาลชุดนี้ตั้งเป้าว่าจะต่อขยายรางรถไฟที่มีอยู่ให้กลายเป็นรางรถไฟรางคู่ขนานครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เส้นทางใหม่ 2 แห่งแรกคือ โทโฮกุ ชิงกันเซ็ง และโจเอสึ ชิงกันเซ็ง ทั้งสองเส้นทางนี้สร้างขึ้นตามแผนการของรัฐบาลชุดนี้ หลังจากนั้นแผนการต่อขยายในเส้นทางอื่น ๆ ก็ถูกระงับชั่วคราวหรือถูกยกเลิกไปทั้งหมดขณะที่กิจการรถไฟแห่งชาติเริ่มเข้าสู่ภาวะเป็นหนี้มหาศาลเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเครือข่ายชิงกันเซ็งทั่วประเทศนั้นเป็นตัวเลขที่สูงมากทีเดียว ในราวทศวรรษที่ 1980 การรถไฟญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเกือบจะล้มละลาย จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นหน่วยงานเอกชนในที่สุด เมื่อปี 1987

อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนารถไฟชิงกันเซ็งก็ได้ดำเนินการมาโดยตลอด มีต้นแบบรถที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละรุ่นออกมาเสมอ ตอนนี้ รถไฟชิงกันเซ็งสามารถทำความเร็วได้ถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก้าวขึ้นมาเทียบเท่ารถไฟความเร็วสูงระดับโลกไม่ว่าจะเป็น TGV ของฝรั่งเศส, TAV ของอิตาลี, AVE ของอิตาลี และ ICE ของเยอรมนี

นอกจากนั้น ตั้งแต่ปี 1970 ญี่ปุ่นยังได้พัฒนาชุโอะ ชิงกันเซ็ง ซึ่งเป็นรถไฟพลังแม่เหล็ก (แม็กเลฟ) ที่พัฒนามาจากรถไฟความเร็วสูงพลังแม่เหล็ก (Maglev) ของเยอรมนี โดยกำหนดว่าจะวิ่งจากโตเกียวไปยังโอซากะ ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2003 รถไฟพลังแม่เหล็กขนาดสามตู้รถไฟ ชื่อ JR-Maglev MLX01

สถิติด้านความปลอดภัย

[แก้]

ระหว่างการใช้งานกว่า 40 ปีเต็ม จำนวนยอดผู้โดยสารกว่า 6 ล้านคนมาแล้ว ชิงกันเซ็งก็ไม่เคยมีประวัติว่ามีผู้โดยสารเสียชีวิตเนื่องจากรถไฟตกรางหรือรถไฟชนกัน(รวมไปถึงอุบัติเหตุแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่น) มีเพียงการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากประตูรถไฟงับผู้โดยสารหรือสัมภาระของผู้โดยสารเท่านั้น เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยอยู่เป็นจำนวนมากที่สถานีเพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็เคยมีประวัติผู้โดยสารฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงไปในรางขณะที่รถไฟกำลังเทียบชานชาลาหรือกระโดดออกจากรถไฟก่อนที่รถไฟจะจอด

ชิงกันเซ็งช่วงที่กำลังรับส่งผู้โดยสารนั้นเคยตกรางเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในชูเอะสึ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2004 ตอนโดยสารจำนวน 8 ตอนจากทั้งหมด 10 ตอนของรถไฟหมายเลข 325 สาย โจเอ็ทสุ ชิงกันเซ็ง ตกรางใกล้ ๆ กับสถานีนะงะโอะกะ ในเมืองนะงะโอะกะ จังหวัดนีงาตะ แต่ผู้โดยสารทั้ง 154 คนไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด[1]PDF (43.8 KiB) ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น ระบบตรวจจับแผ่นดินไหวสามารถสั่งการให้รถไฟหยุดได้อย่างรวดเร็ว

ชิงกันเซ็งในอนาคต

[แก้]

ปัญหาอย่างหนึ่งของชิงกันเซ็งคือ ยิ่งเพิ่มความเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มีมลพิษทางเสียงมากขึ้นและแก้ไขได้ยากขึ้นอีกด้วย การศึกษาวิจัยในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นในเรื่องการลดเสียงดังที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงที่เกิดขึ้นในอุโมงค์ หรือ tunnel boom อันเกิดจากการที่รถไฟวิ่งออกจากอุโมงค์ด้วยความเร็วสูง

บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกได้ประกาศว่ารถไฟขบวนใหม่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วถึง 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะนำมาใช้ในการเปิดตัวโทโฮกุชิงกันเซ็ง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากฮะชิโนะเฮะไปยังอาโอโมริในช่วงต้นปี 2011 แต่จากการทดลองวิ่งรถไฟ Fastech 360 พบว่า ที่ความเร็ว 360 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นยังมีปัญหาอยู่ที่มลพิษทางเสียง สายส่งเหนือรถไฟ และระยะหยุดรถ ซึ่งอาจจะเป็นข้อจำกัดของการเทคโนโลยีชิงกันเซ็งในปัจจุบันก็ว่าได้ ในที่สุด ก็มีการนำเอาเทคโนโลยีรถไฟพลังแม่เหล็กหรือเทคโนโลยีอื่นมาทดแทน หากสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจากอุตสึโนะมิยะไปยังอาโอโมริแล้วก็จะทำให้สามารถเดินทางจากโตเกียวไปยังอาโอโมริได้โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น (ระยะทางประมาณ 675 กิโลเมตรหรือ 419 ไมล์)

นอกจากนั้น ผู้บริหารของการรถไฟแห่งญี่ปุ่นสายกลางก็ได้ประกาศแผนการที่จะสร้างรถไฟพลังแม่เหล็ก ชูโอะ ชิงกันเซ็ง ให้สามารถเดินทางจากโตเกียวไปยังนาโกย่าภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงให้ได้ (ระยะทางประมาณ 366 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ภายในปี 2027

รายชื่อเส้นทางชิงกันเซ็ง

[แก้]
สาย ต้นทาง ปลายทาง ระยะทาง ผู้ให้บริการ เปิดให้บริการ ผู้โดยสารต่อปี (2018) [2]
km mi
โทไกโดชิงกันเซ็ง โตเกียว ชินโอซากะ 515.4 320.3 JR ตอนกลาง 1964 174,171,000
ซันโยชิงกันเซ็ง ชินโอซากะ ฮากาตะ 553.7 344.1 โลโก้ของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก (JR West) เจอาร์เวสต์ 1972–1975 76,007,000
โทโฮกุชิงกันเซ็ง โตเกียว ชินอาโอโมริ 674.9 419.4 บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (เจอาร์ตะวันออก) เจอาร์ตะวันออก 1982–2010 93,489,000
โจเอ็ตสึชิงกันเซ็ง โอมิยะ นีงาตะ 269.5 167.5 1982 44,452,000
โฮกูริกุชิงกันเซ็ง ทะกะซะกิ สึรูงะ 470.6 292.4 บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (เจอาร์ตะวันออก) เจอาร์ตะวันออก
โลโก้ของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก (JR West) เจอาร์เวสต์
1997–2024 31,670,000
คีวชูชิงกันเซ็ง ฮากาตะ คาโงชิมะชูโอ 256.8 159.6 JR คีวชู 2004–2011 14,488,000
นิชิคีวชูชิงกันเซ็ง ทาเกโอะ-อนเซ็ง นางาซากิ 66.0 41.0 2022
ฮกไกโดชิงกันเซ็ง ชินอาโอโมริ ชินฮาโกดาเตะโฮกูโตะ 148.8 92.5 โลโก้บริษัทรถไฟฮกไกโด (เจอาร์ฮกไกโด) เจอาร์ฮกไกโด 2016 1,601,000

ในทางปฏิบัติ ทางรถไฟสายโทไกโด ซันโย และคิวชู เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันระหว่างทิศตะวันตก/ทิศใต้จากโตเกียว ขบวนที่วิ่งระหว่างสายโทไกโดและซันโย และขบวนระหว่างสายซันโยและคิวชู แม้ว่าจะเป็นผู้ให้บริการรถไฟคนละบริษัทก็ตาม

ทางรถไฟสายโทไกโดชิงกันเซ็งไม่ได้เชื่อมต่อกับสายของโทโฮกุชิงกันเซ็งที่สถานีโตเกียว เนื่องจากใช้มาตรฐานการจ่ายไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่มีขบวนผ่านระหว่างสายเหล่านั้น ขบวนที่มุ่งหน้าไปทางเหนือทั้งหมดจากโตเกียว จะเดินทางไปตามเส้นทางโทไกโดชิงกันเซ็งจนถึงโอมิยะเป็นอย่างน้อย

นอกจากนี้ยังมีเส้นทางรถไฟที่มีการเปลี่ยนขนาดรางจาก 1.067 เมตร เป็น 1.435 เมตร เพื่อให้รถไฟชิงกันเซ็งสามารถวิ่งได้เรียกว่า มินิชิงกันเซ็ง มีทั้งหมด 2 สาย ได้แก่

และยังมีเส้นทางรถไฟอีกสองสายที่มีรางขนาดมาตรฐาน แต่ไม่จัดว่าเป็นเส้นทางของชิงกันเซ็งแต่ก็มีการให้บริการชิงกันเซ็งอยู่ ได้แก่

เส้นทางที่กำลังก่อสร้าง

[แก้]
แผนที่การให้บริการชินคันเซ็นในภูมิภาคชูบุและภูมิภาคคันโต ณ มีนาคม 2024

เส้นทางเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า เซะอิบิ ชิงกันเซ็ง (整備新幹線) หรือ "ชิงกันเซ็งที่วางโครงการไว้แล้ว" (planned Shinkansen) กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ ได้แก่

เส้นทางในอนาคต

[แก้]
  • ส่วนต่อขยายของโฮะกุริกุ ชิงกันเซ็ง จากสึรุงะผ่านโอบามะเกียวโตโอซากะ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 2030
  • นิชิคีวชู ชิงกันเซ็ง ช่วงที่ 2 ระหว่างทาเกโอะ–ออนเซ็น ไปยังฮากาตะ ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนที่จะกำหนดการก่อสร้างและเปิดใช้งาน
  • ชูโอ ชิงกันเซ็ง ส่วนต่อขยายระหว่างนาโงยะ–โอซากะ ตั้งเป้าเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2037

เส้นทางที่ยกเลิกไปแล้ว

[แก้]

ในช่วงทศวรรษ 1970 มีแผนที่จะสร้างนาริตะ ชิงกันเซ็ง เพื่อเชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ต่อมาได้ยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1983 หลังจากมีการชุมนุมประท้วงของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่

ชิงกันเซ็งรุ่นต่าง ๆ

[แก้]
ชิงกันเซ็งรุ่นต่าง ๆ ในลานจอด
ภูเขาอิบุกิกับชิงกันเซ็ง 300 ซีรีส์
ชิงกันเซ็ง 700T ซีรีส์ ขณะวิ่งทดสอบในไต้หวัน เมื่อเดือนมิถุนายน 2006
ชิงกันเซ็ง N700 ซีรีส์

รถไฟชิงกันเซ็งสามารถพ่วงได้ยาวถึง 16 ตอน แต่ละตอนมีความยาว 25 เมตร และรถไฟชิงกันเซ็งที่ยาวที่สุดมีความยาว 400 เมตรวัดจากหัวขบวนถึงท้ายขบวน สถานีรถไฟจึงต้องมีความยาวเพียงพอสำหรับรถไฟชิงกันเซ็งเหล่านี้ด้วย

เทคโนโลยีชิงกันเซ็งในต่างประเทศ

[แก้]

รถไฟที่ใช้เทคโนโลยีของชิงกันเซ็งไม่ได้มีแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น

  • รถไฟความเร็วสูงไต้หวัน วิ่งด้วยรถไฟซีรีส์ 700T ดำเนินการโดยบริษัทอุตสาหกรรมหนักคาวาซากิ
  • รถไฟความเร็วสูงจีน นำเข้ารถไฟที่มีความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขนาด 8 ตอนจำนวน 60 ขบวน ซึ่งเป็นรถไฟซีรีส์ E2-1000 ชื่อว่า CRH -2
  • Class 395 สร้างด้วยเทคโนโลยีของชิงกันเซ็งโดยบริษัทฮิตาชิ นำไปให้บริการเป็นรถไฟความเร็วสูงสาย 1 ในสหราชอาณาจักร

สถิติความเร็ว

[แก้]
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
(ไมล์ต่อชั่วโมง)
รถไฟ สถานที่ วันที่ หมายเหตุ
200 (124.3) ชิงกันเซ็ง คลาส 1000 รางทดสอบโอดาวาระ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโทไกโดชิงกันเซ็ง 31 ตุลาคม ค.ศ. 1962
256 (159.1) ชิงกันเซ็ง คลาส 1000 รางทดสอบโอดาวาระ 30 มีนาคม ค.ศ. 1963 เคยเป็นสถิติโลก
286 (177.7) ชิงกันเซ็ง คลาส 951 ซันโยชิงกันเซ็ง 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972 เคยเป็นสถิติโลก
319.0 (198.2) ชิงกันเซ็ง คลาส 961 รางทดสอบโอยะมะ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ โทโฮกุ ชิงกันเซ็ง 7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 เคยเป็นสถิติโลก
325.7 (202.4) ชิงกันเซ็ง ซีรีส์ 300 รุ่นทดสอบ โทไกโดชิงกันเซ็ง 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991
352.0 (218.7) คลาส 952/953 รุ่นทดสอบ โจเอะสึชิงกันเซ็ง 30 ตุลาคม ค.ศ. 1992
425.0 (264.1) คลาส 952/953 รุ่นทดสอบ โจเอะสึชิงกันเซ็ง 21 ธันวาคม ค.ศ. 1993
426.6 (265.1) คลาส 955 (300X) รุ่นทดสอบ โทไกโดชิงกันเซ็ง 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1996
443.0 (275.3) คลาส 955 (300X) รุ่นทดสอบ โทไกโดชิงกันเซ็ง 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1996

รวมภาพชิงกันเซ็ง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-22. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  2. "鉄道輸送統計調査(平成30年度、国土交通省) Rail Transport Statistics (2018, Ministry of Land, Infrastructure and Transport) (Japanese)". Mlit.go.jp. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
  • Hood, Christopher P. (2006). Shinkansen – From Bullet Train to Symbol of Modern Japan. London: Routledge. ISBN 0-415-32052-6 (hb) or ISBN 0415444098. (pb)
  • Hood, Christopher P. (2007). Shinkansen – From Bullet Train to Symbol of Modern Japan. Routledge, London. pp. 18–43. ISBN 9-78-0-415-32052-8.
  • Semmens, Peter (1997). High Speed in Japan: Shinkansen - The World's Busiest High-speed Railway. Sheffield, UK: Platform 5 Publishing. ISBN 1-872524-88-5.