จาริก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จาริก เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎก หมายความถึงการเดินทางไปเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ศัพท์นี้ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในประเทศไทยโดยมีความหมายเดียวกับในพระไตรปิฎก เช่น จาริกธุดงค์, โครงการธรรมจาริก เป็นต้น ปัจจุบันการจาริกขยายความหมายไปถึงการเดินทางเพื่อไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสังเวชนียสถานด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คำว่าการ จาริกแสวงบุญ

ลักษณะของการจาริกตามนัยพระไตรปิฎก[แก้]

การจาริก มีองค์ 4 เป็นบาทพระคาถา ว่า ไม่ไปด้วยพาหนะ 1 ถ้าจำเป็นอาจสามารถขึ้นเรือโดยประสงค์ข้ามฟากได้ (โดยไม่ประสงค์ล่องตามลำน้ำ ) 1 ไม่ไปด้วยฤทธิ์ 1 ไปด้วยกำลังแห่งปลีแข้ง ( คือเดินเอา) 1 ประสงค์ให้ถือเพื่อใช่ในการเผยแผ่มักถือร่วมกับธุดงค์เพื่อประกาศพรหมจรรย์ เพราะการจาริกไปย่อมพบเจอเข้าถึงผู้คนมากกว่า เช่นถ้านั่งรถไปก็จะไม่ค่อยพบผู้คน หรือญาติโยมไม่กล้าเข้ามาพูดคุย อาจทอดทิ้งคนที่อาจอยากสนทนาด้วย และเพื่อให้ผู้พบมีจิตศรัทธาจากการประพฤติธรรมหรือการเผยแผ่ด้วยการไม่พูดสอน แต่ทำให้ดู ดังคำพุทธพจน์ที่ให้แก่พระภิกษุสงฆ์กลุ่มแรก (60 รูป) ในการส่งไปประกาศพระศาสนาว่า "จรถ ภิกขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย ธมมํ ภิกขเว เทเสถ" แปลว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป จงแสดงซึ่งธรรม (ประกาศพรหมจรรย์) เพื่อประโยชน์ อนุเคราะห์ เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก"

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • พระมงคล ธมฺมครุโก วัดพรหมจริยาวาส นครสวรรค์