พ.ศ. 2530
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1987)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2530 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1987 MCMLXXXVII |
Ab urbe condita | 2740 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1436 ԹՎ ՌՆԼԶ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6737 |
ปฏิทินบาไฮ | 143–144 |
ปฏิทินเบงกอล | 1394 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2937 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 35 Eliz. 2 – 36 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2531 |
ปฏิทินพม่า | 1349 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7495–7496 |
ปฏิทินจีน | 丙寅年 (ขาลธาตุไฟ) 4683 หรือ 4623 — ถึง — 丁卯年 (เถาะธาตุไฟ) 4684 หรือ 4624 |
ปฏิทินคอปติก | 1703–1704 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3153 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1979–1980 |
ปฏิทินฮีบรู | 5747–5748 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2043–2044 |
- ศกสมวัต | 1909–1910 |
- กลียุค | 5088–5089 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11987 |
ปฏิทินอิกโบ | 987–988 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1365–1366 |
ปฏิทินอิสลาม | 1407–1408 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 62 (昭和62年) |
ปฏิทินจูเช | 76 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4320 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 76 民國76年 |
เวลายูนิกซ์ | 536457600–567993599 |
พุทธศักราช 2530 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1987 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช 1349 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ. 2489 –พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
เหตุการณ์
[แก้]- 6 มีนาคม - เรือเฟอร์รี่ของสหราชอาณาจักรลำหนึ่ง เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ หลังออกจากท่าเรือในประเทศเบลเยียมเพียง 90 วินาที เพื่อเดินทางไปโดเวอร์ ในแคว้นอังกฤษ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 193 คน
- 20 มีนาคม - เอแซดที เป็นยาต่อต้านไวรัสชนิดแรก ที่ได้รับการรับรองให้ใช้กับเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์
- 12 มิถุนายน - โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวปาฐกถาท้าทายมิคาอิล กอร์บาชอฟต่อหน้าสาธารณชน ให้ทำลายกำแพงเบอร์ลินเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความปรารถนาในเสรีภาพ
- 12 กรกฎาคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 33 ณ สนามกีฬาโมนูเมนตัล กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
- 31 สิงหาคม - เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365 เครื่องบินโบอิง 737 ของบริษัทเดินอากาศไทย ตกขณะร่อนลงจอดที่สนามบินภูเก็ต มีผู้เสียชีวิต 83 คน โดยสาเหตุเกิดจากความสับสนของเจ้าหน้าที่วิทยุการบิน และนักบินสายการบินดรากอนแอร์ ที่ลงจอดในเวลาใกล้เคียงกัน
- 13 กันยายน - วัตถุกัมมันตรังสี ถูกขโมยไปจากโรงพยาบาลร้างแห่งหนึ่งในเมืองกอยยาเนีย ประเทศบราซิล ทำให้ประชาชนหลายร้อยคนได้รับรังสี
- 10 ตุลาคม - หลังรัฐประหาร 2 ครั้งในฟิจิ รัฐบาลทหารสั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญ แล้วประกาศให้ประเทศฟิจิเป็นสาธารณรัฐ
- 19 ตุลาคม - ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ร่วงลง 22% ภายในวันเดียว นับว่าลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
- 18 ธันวาคม - แลร์รี วอลล์ เผยแพร่ภาษาเพิร์ลในกลุ่มข่าวต่อสาธารณชน
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 2 กุมภาพันธ์ -
- วิกตอเรีย ซ่ง นักร้องชาวจีน
- ฌาราร์ต ปิเก นักฟุตบอลชาวสเปน
- 21 กุมภาพันธ์ - เอลเลน เพจ นักแสดงชาวแคนาดา
มีนาคม
[แก้]เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน - ก้อง ห้วยไร่ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง หมอลำ ชาวไทย
- 9 เมษายน -
- เจ้าหญิงซาระห์ มกุฎราชกุมารีแห่งบรูไน
- เจสซี แม็กคาร์ตนีย์ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน
- 19 เมษายน - มาเรีย ชาราโปวา นักเทนนิสชาวรัสเซีย
พฤษภาคม
[แก้]- 4 พฤษภาคม - เซสก์ ฟาเบรกัส นักฟุตบอลชาวสเปน
- 7 พฤษภาคม - อาซามิ คนโนะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 22 พฤษภาคม - อาร์ตูโร บีดัล นักฟุตบอลชาวชิลี
- 28 พฤษภาคม - อเล็กซานดร้า ธิดาวัลย์ บุญช่วย นักแสดงและนักร้องชาวลาว
มิถุนายน
[แก้]- 17 มิถุนายน -
- โนโซมิ สึจิ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- โรมัน กอนซาเลซ นักมวยชาวนิการากัว
- 20 มิถุนายน - อัสมีร์ เบกอวิช นักฟุตบอลชาวบอสเนีย
- 22 มิถุนายน - อี มิน-โฮ นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 24 มิถุนายน -
- ลิโอเนล เมสซิ นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- ลิซ่า (โอริเบะ ริซะ) นักร้องหญิงและนักแต่งเพลงชาวญี่ปุ่น
- 26 มิถุนายน - ซามีร์ นัสรี นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- 27 มิถุนายน - เอ็ด เวสต์วิก นักแสดงชาวอังกฤษ
สิงหาคม
[แก้]- 21 สิงหาคม - คิม คีบ็อม นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 25 สิงหาคม -
- เบลก ไลฟ์ลี นักแสดงชาวอเมริกัน
- หลิว อี้เฟย์ นักแสดงชาวจีน
กันยายน
[แก้]- 9 กันยายน - อเล็กซานเดอร์ ซง นักฟุตบอลชาวแคเมอรูน
- 10 กันยายน - แดน เบนสัน นักแสดงภาพยนตร์ลามกและอดีตนักแสดงชาวอเมริกัน
- 22 กันยายน - ทอม เฟลตัน นักแสดงชาวอังกฤษ
- 27 กันยายน -
- อาดาม โบกดาน นักฟุตบอลชาวฮังการี
ตุลาคม
[แก้]- 5 ตุลาคม - พัก โซ-ย็อน นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 18 ตุลาคม - แซค แอฟรอน นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกา
- 29 ตุลาคม - มาโกโตะ โองาวะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน -
- วลีรัตน์ สีนวลจันทร์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- ทีโอพี นักร้องชาวเกาหลีใต้
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 3 กุมภาพันธ์ – เจ้าชายโนบูฮิโตะ ทากามัตสึโนะมิยะ (ประสูติ 3 มกราคม พ.ศ. 2448)
- 22 กุมภาพันธ์ – แอนดี วอร์ฮอล ศิลปินชาวอเมริกัน (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2471)
- 19 มีนาคม – หลุยส์ เดอ เบรย นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2435)
- 27 พฤษภาคม – จอห์น โฮเวิร์ด นอร์ทรอป นักชีวเคมีชาวอเมริกัน (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2434)
- 13 มิถุนายน – เจอรัลดีน เพจ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467)
- 14 มิถุนายน – บูร์ฮันอุดดิน ฮาราฮัป นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของอินโดนีเซีย (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2460)
- 22 มิถุนายน – เฟรด แอสแตร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2442)
- 17 สิงหาคม – รูดอล์ฟ เฮสส์ นักการเมืองชาวเยอรมนี (เกิด 26 เมษายน พ.ศ. 2437)
- 19 สิงหาคม – หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร (ประสูติ 19 เมษายน พ.ศ. 2452)
- 26 สิงหาคม – เกออร์ค วิททิช นักเคมีชาวเยอรมัน (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2440)
- 29 สิงหาคม – ลี มาร์วิน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467)
- 20 ตุลาคม – อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2446)
- 19 พฤศจิกายน – อี บย็อง-ช็อล นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ ผู้ก่อตั้งซัมซุง (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453)
- 6 ธันวาคม – บะซเว นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของพม่า (เกิด 17 ตุลาคม พ.ศ. 2458)
รางวัลและการเชิดชูเกียรติ
[แก้]- สาขาเคมี – Donald J. Cram, Jean-Marie Lehn, Charles J. Pedersen
- สาขาวรรณกรรม – โจเซฟ บรอดสกี
- สาขาสันติภาพ – ออสการ์ อริอัส ซานเชซ
- สาขาฟิสิกส์ – Johannes Georg Bednorz, Karl Alexander Müller
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ซุซุมุ โทเนะกะวะ
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Robert Solow