การตกในบาป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาดัมและเอวาถูกขับจากสวนเอเดนโดยพระเจ้าหลังจากกระทำบาปกำเนิด โดย โดเม็นนิชิโน

การตกในบาป[1] (อังกฤษ: Fall of Man หรือ the Fall) หมายถึงการเปลื่ยนแปลงเป็นครั้งแรกของมนุษย์จากสภาวะของความบริสุทธิ์ที่เชื่อฟังพระเจ้าไปเป็นสภาวะของความรู้สึกผิดเพราะความไม่เชื่อฟังในพระเจ้า ในบาปกำเนิด ในศาสนาคริสต์, มนุษย์คนแรกอาดัมและเอวาเมื่อแรกเริ่มอาศัยอยู่กับพระเจ้าภายในสวรรค์ แต่มาถูกล่อลวงโดยงูให้กินผลไม้จาก “ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว” (Tree of Knowledge of Good and Evil) ซึ่งพระเจ้าทรงสั่งห้ามไว้ว่าไม่ให้แตะต้อง หลังจากที่กินเข้าไปแล้วก็เกิดความละอายในความเปลือยเปล่าของร่างกาย และในที่สุดก็ถูกการตกในบาปโดยพระเจ้า การถูกการตกในบาปมิได้กล่าวถึงโดยตรงในคัมภีร์ไบเบิล แต่กล่าวถึงทั้งเรื่องของความไม่เชื่อฟังและการถูกขับไล่

ในศาสนาอื่นเช่นศาสนายูดาห์, ศาสนาอิสลาม หรือ ไญยนิยม (Gnosticism) ตีความหมายของการถูกการตกในบาปต่างกันไป

ในเทววิทยาศาสนาคริสต์, “การถูกขับจากสวรรค์” มีความหมายที่กว้างหมายถึงมวลมนุษย์ผู้มาจากบาปของอาดัมและเอวาที่เรียกว่า “บาปกำเนิด” (original sin) เช่นในคำสอนของนักบุญพอลแห่งทาซัสที่บันทึกไว้ใน จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม 5:12-19 และ จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 15:21-22 ผู้นับถือศาสนาคริสต์บางคนเชื่อว่า “การถูกขับจากสวรรค์” เป็นการทำความเสียหายให้แก่ธรรมชาติของโลกทั้งหมดโดยเฉพาะธรรมชาติของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดมาพร้อมกับบาปกำเนิด ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่ทำให้สามารถมีชีวิตชั่วนิรันดรโดยไม่ต้องให้พระเจ้าเข้ามาช่วย ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เชื่อว่าความตายของพระเยซูเป็น “ค่าไถ่” ซึ่งทำให้มนุษย์ปราศจาก “บาปกำเนิด” ที่เกิดจาก “การถูกขับจากสวรรค์” ตลอดไป นิกายอื่น ๆ เชื่อว่า “การถูกขับจากสวรรค์” ทำให้มนุษย์มีอิสระจากบาปโดยมิต้องหาทางแก้บาปอีก

คำว่า “ปราศจากบาป” (prelapsarian) หมายถึง สภาวะที่เป็นอิสระจากความมีบาปก่อน “การถูกขับจากสวรรค์” หรือบางครั้งก็เป็นคำที่ใช้ในการรำลึกถึงเวลาในอดีตที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน หรือสถานะการณ์ที่เรียกว่า “คำนึงถึงความหลัง” (nostalgia)

อ้างอิง[แก้]

อาดัม, เอวา และงู (ซึ่งอาจจะเป็น ลิลิธ) ในสวนเอเดน” ตรงทางเข้ามหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 209

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การตกในบาป