พงศ์พันธุ์ของโนอาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่รูปทีและโอนี้มาจาก Etymologiae ของอิซิโดโรฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก (เอาคส์บวร์ค ค.ศ. 1472) ระบุสามทวีปที่รู้จักในเวลานั้น (เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา) ซึ่งมัีประชากรเป็นผู้สืบเชื้อสายจาก Sem (เชม), Iafeth (ยาเฟท) และ Cham (ฮาม) ตามลำดับ
โลกที่ชาวฮีบรูรู้จักตามเรื่องราวของโมเสก (แผนที่ปี ค.ศ. 1854, Historical Textbook and Atlas of Biblical Geography โดยไลแมน โคลแมน)

พงศ์พันธุ์ของโนอาห์ (อังกฤษ: Generations of Noah มีคำเรียกอื่น ๆ ว่า Table of Nations หรือ Origines Gentium[1] เป็นลำดับพงศ์พันธุ์ของบุตรชายของโนอาห์ตามคัมภีร์ไบเบิลฮีบรู (ปฐมกาล 10:9 และการแพร่กระจายไปยังหลายดินแดนหลังน้ำท่วมครั้งใหญ่[2] มุ่งเน้นไปที่สังคมหลัก ๆ ที่เป็นที่รู้จักในเวลานั้น คำว่า ประชาชาติ (nation) ที่ใช้ระบุถึงผู้สืบเชื้อสายเป็นคำแปลมาตรฐานของคำภาษาฮีบรูว่า "goyim" ซึ่งตามมาด้วยคำว่า "nationes" ในวัลเกตหรือคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละติดเมื่อราว ค.ศ. 400 และไม่ได้มีความหมายทางการเมืองแบบกับคำว่าประชาชาติในปัจจุบัน[3]

รายชื่อ 70 ชื่อนำเสนอชาติพันธุ์นามและภูมินามที่เป็นที่รู้จักกันดีซึ่งมีความสำคัญต่อภูมิศาสตร์ในพระคัมภัร์ไบเบิล[4] เช่นบุตรชายสามคนของโนอาห์คือ เชม (Shem), ฮาม (Ham) และยาเฟท (Japheth) ซึ่งนักวิชาการชาวเยอรมนีที่โรงเรียนประวัติศาสตร์เกิททิงเงินในศตวรรษที่ 18 ได้นำชื่อมากำหนดเป็นศัพท์ทางเชื้อชาติ ได้แก่ เชไมต์ (Semites), ฮาไมต์ (Hamites) และ ยาเฟไทต์ (Japhetites) ชื่อของหลานชายบางคนของโนอาห์ยังใช้เป็นชื่อชาติพันธุ์ต่าง ๆ ด้วย ตั้งแต่เอลาม (Elam), อัสชูร (Ashur), อารัม (Aram), คูช (Cush) และคานาอัน (Canaan) นำมาตั้งเป็นชื่อชาวเอลาไมต์ (Elamites), ชาวอัสซีเรีย (Assyrians), ชาวแอราเมียน (Arameans), ชาวคูช (Cushites) และชาวคานาอัน (Canaanites) ในทำนองเดียวกัน จากบุตรชายของคานาอันได้แก่ เฮท (Heth), เยบุส (Jebus) และอาโมรุส (Amorus) นำมาตั้งเป็นชื่อชาวฮิตไทต์ (Hittites), ชาวเยบุส (Jebusites) และชาวอาโมไรต์ (Amorites) ผู้สืบเชื้อสายเพิ่มเติมของโนอาห์ ได้แก่ เอเบอร์จากเชม, กษัตริย์นักล่านิมโรดจากคูช และชาวฟิลิสตีนจากอียิปต์ (บุตรชายของฮาม)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Reynolds, Susan (October 1983). "Medieval Origines Gentium and the Community of the Realm". History. Chichester, West Sussex: Wiley-Blackwell. 68 (224): 375–390. doi:10.1111/j.1468-229X.1983.tb02193.x. JSTOR 24417596.
  2. Rogers 2000, p. 1271.
  3. Guido Zernatto; Alfonso G. Mistretta (July 1944). "Nation: The History of a Word". The Review of Politics. Cambridge University Press. 6 (3): 351–366. doi:10.1017/s0034670500021331. JSTOR 1404386. S2CID 143142650.
  4. "Biblical Geography," Catholic Encyclopedia: "The ethnographical list in Genesis 10 is a valuable contribution to the knowledge of the old general geography of the East, and its importance can scarcely be overestimated."

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]