ข้ามไปเนื้อหา

การรู้หนังสือในประเทศอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Literacy in India)
แผนที่อัตราส่วนการรู้หนังสือ ค.ศ. 2011[1]

การรู้หนังสือในประเทศอินเดียเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ[2] ประเทศอินเดียมีอัตราการรู้หนังสือ (literacy rate) อยู่ที่ 74.04% (ค.ศ. 2011)[3] ถึงแม้ว่าจะมีโครงการจากรัฐบาลต่าง ๆ แต่อัตราการรู้หนังสือในประเทศอินเดียนั้นถือว่าเพิ่มขึ้นแค่เพียง "น้อยนิด" ("sluggishly") เท่านั้น[4] จากข้อมูลปี ค.ศ. 2011 พบว่าประเทศอินเดียมีการเติบโตของอัตราการรู้หนังสือในระยะหนึ่งทศวรรษจากปี ค.ศ. 2001 ถึง 2011 อยู่ที่ 9.2% ถือว่าช้ากว่าการเติบโตในทศวรรษก่อนหน้า การศึกษาเชิงวิเคราะห์เก่าแก่ชิ้นหนึ่งจากปี ค.ศ. 1990 ได้ประมาณการว่าในปี ค.ศ. 2060 ประเทศอินเดียถึงจะมีอัตราการรู้หนังสือทั้งประเทศ ด้วยอัตราการเติบโตของการรู้หนังสือในขณะนั้น[5]

ในประเทศอินเดียมีช่องว่างระหว่างเพศ (gender disparity) ในอัตราการรู้หนังสือ ซึ่งผู้ชายอยู่ที่ 82.14% และผู้หญิงอยู่ที่ 65.46% [6] อัตราการรู้หนังสือที่ต่ำในผู้หญิงอินเดียนั้นส่งผลร้ายแรงต่อการวางแผนครอบครัว งานวิจัยพบว่าการรู้หนังสือของผู้หญิงเป็นตัวทำนายสำคัญของการคุมกำเนิดในคู่สมรสชาวอินเดีย[7] อย่างไรก็ดีมีสัญญาณบวกเนื่องจากอัตรารู้หนังสือในผู้หญิงนั้นเพิ่มขึ้น (11.8%) ซึ่งค่อนข้างเร็วกว่าการเติบโตของอัตราการรู้หนังสือในผู้ชาย (6.9%) ในช่วงความต่างระหว่างหนึ่งทศวรรษ 2001–2011 แปลความได้ว่าช่องว่างทางเพศ (gender gap) ดูจะแคบลง[8]

สถิติการรู้หนังสือเปรียบเทียบระหว่างประเทศ

[แก้]

ตารางต่อไปนี้แสดงอัตราการรู้หนังสือในเยาวชนและผู้ใหญ่ของอินเดียและประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ (ค.ศ. 2015)[9] การรู้หนังสือในผู้ใหญ่นั้นกำหนดอายุอยู่ที่ 15 ปีขึ้นไป ส่วนของเยาวชนคือกลุ่มอายุ 15–24 ปี (กล่าวคือข้อมูลส่วนเยาวชนเป็นส่วนหนึ่ง (subset) ของผู้ใหญ่)

รายชื่อประเทศตามอัตราการรู้หนังสือโดยยูเนสโก (ค.ศ. 2015)[10]
ประเทศ อัตราการรู้หนังสือในผู้ใหญ่ อัตราการรู้หนังสือในเยาวชน
(อายุ 15–24 ปี)
ประเทศจีน 96.4%[9] 99.7%[10]
ประเทศศรีลังกา 92.6%[11] 98.8%[12]
ประเทศเมียนมาร์ 93.7% [13] 96.3% [14]
ค่าเฉลี่ยโลก 86.3%[15] 91.2% [9]
ประเทศอินเดีย 74.37%[16] 91.66%[16]
ประเทศเนปาล 64.7% 86.9%[16]
ประเทศบังกลาเทศ 61.5% 83.2%[17]
ประเทศปากีสถาน 58%[18] 80.3%[19]

ความไม่เสมอภาคในอัตราการรู้หนังสือ

[แก้]
นักเรียนหญิงกำลังทัศนศึกษาในโกลกาตา

หนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้ประเทศอินเดียมีอัตราการรู้หนังสือที่ค่อนข้างต่ำมาจากคุณภาพและการมีอยู่ของโรงเรียนในเขตชนบทและถิ่นทุรกันดาร ในปี ค.ศ. 2006–2007 ประเทศอินเดียเคยประสบปัญหาห้องเรียนขาดแคลนไม่เพียงพอต่อประชากร[20] นอกจากนี้ ในหลายโรงเรียนยังขาดการรักษาความสะอาดที่เหมาะสม จากการสำรวจโรงเรียนประถมของรัฐบาล 188 แห่งในอินเดียเหนือและกลาง พบว่า 59% เข้าไม่ถึงน้ำสะอาด และ 89% ไม่มีสุขาในโรงเรียน[21] ในกว่า 600,000 หมู่บ้านและสลัมในเขตเมืองที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการรู้หนังสือที่ดำเนินการโดยครูที่แทบจะไม่ได้ผ่านการคัดกรอง ซึ่งเรียกกันว่า 'ครูพารา' ('para teachers')[22] อัตราส่วนนักเรียนต่อครูโดยเฉลี่ยในอินเดียอยู่ที่ ครูหนึ่งคนต่อนักเรียน 42 คน แสดงให้เห็นถึงการขาดแคลนทรัพยากรครูอย่างชัดเจน[23] การขาดทรัพยากรครูนั้นส่งผลให้เกิดโรงเรียนที่ไม่มีมาตรฐาน อันส่งผลให้อัตราการรู้หนังสือยิ่งเกิดความต่างมากขึ้นไปอีก[22] นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่จัดสรรไว้ให้ด้านการศึกษาของประเทศอินเดียไม่เคยสูงเกิน 4.3% ของจีดีพี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 ถึง 2002 ในขณะที่คณะกรรมการโกฐารี (Kothari Commision) ตั้งเป้าไว้อยู่ที่ 6% [24] สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดปัญหาการรู้หนังสือในประเทศอินเดีย

นอกจากนี้แล้วการแบ่งแยกวรรณะอย่างรุนแรงก็ยังมีอยู่ในสังคมอินเดีย[22] การแบ่งแยก (Discrimination) ผู้ที่มีวรรณะที่ต่ำกว่าส่งผลให้มีอัตราการลาออกจากโรงเรียนกลางคัน (dropout rates) ที่สูงและมีอัตราการสมัครเข้าโรงเรียน (enrollment rates) ที่ต่ำ องค์กรสำรวจกลุ่มตัวอย่างแห่งชาติ (National Sample Survey Organisation) และกรมสำรวจสุขภาพครอบครัวแห่งชาติ (National Family Health Survey) ได้เก็บรวบรวมข้อมูลพบว่าเปอร์เซ็นต์เยาวชนที่จบการศึกษาจากระดับประถมศึกษามีรายงานอยู่ที่เพียง 36.8% และ 37.7% ตามลำดับ[25] เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2005 นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวว่าเขารู้สึกเจ็บปวดที่พบว่า "เยาวชนเพียง 47 คนใน 100 คนเท่านั้นที่เข้าเรียนในระดับประถม 1 แล้วจะเรียนต่อไปจนถึงชั้นประถม 8 ซึ่งทำให้อัตราการลาออกจากโรงเรียนกลางคันอยู่ที่ 52.78%" ("only 47 out of 100 children enrolled in class I reach class VIII, putting the dropout rate at 52.78 per cent.")[23] มีการประมาณการไว้ว่าเยาวชนอายุ 6-14 ปีอย่างน้อย 35 ล้านคน หรืออาจมากถึง 60 คน กำลังไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน[22]

อีกเหตุผลหนึ่งคืออัตราการรู้หนังสือที่ต่ำมากในผู้หญิงอินเดีย ความไม่เท่าเทียมทางเพศนี้ส่งผลให้การรู้หนังสือในผู้หญิงของอินเดียอยู่ที่ 65.46% ต่ำกว่าของผู้ชายซึ่งอยู่ที่ 82.14%[26] เนื่องจากการกำหนดภาพเหมารวมของหน้าที่ผู้หญิงและผู้ชายที่ชัดเจนและหนักหน่วง (strong stereotyping of female and male roles) ส่งผลให้เด็กผู้ชายมักถูกสั่งสอนให้ทำตัวมีประโยชน์ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาด้วย ในขณะที่ผู้หญิงนั้นจะถูกดึงไปใช้ช่วยกิจกรรมในภาคเกษตรกรรมที่บ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องอาศัยการศึกษาอย่างเป็นระบบ แทนที่ผู้ชายซึ่งได้รับการศึกษามาอย่างเป็นระบบ[27] ทั้งนี้ น้อยกว่า 2% ของผู้หญิงที่ทำงานด้านเกษตรกรรมได้ผ่านการเรียนรู้ในโรงเรียนมาก่อน[27]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ranking of states and union territories by literacy rate: 2011 Census of India Report (2013)
  2. "UNESCO: Literacy". UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009.
  3. "Number of literates and Literacy Rate by sex and residence". censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
  4. "India's literacy rate increase sluggish". Indiainfo.com. 1 กุมภาพันธ์ 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2009. ... Literacy in India is increasing at a sluggish rate of 1.5 percent per year, says a recent report of the National Sample Survey Organisation (NSO) ... India's average literacy rate is pegged at 100.38 percent ...
  5. "How Female Literacy Affects Fertility: The Case of India" (PDF). Population Institute, East-West Centre. ธันวาคม 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009.
  6. Robert Engelman; และคณะ (2009). "The State of World Population 2009" (PDF).
  7. A. Dharmalingam; S. Philip Morgan (1996). "Women's work, autonomy, and birth control: evidence from two south India villages". Population Studies. 50 (2): 187–201. doi:10.1080/0032472031000149296. JSTOR 2174910.
  8. "Literates and Literacy Rates – 2001 Census (Provisional)". National Literacy Mission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Literacy Statistics Metadata Information Table". UNESCO Institute for Statistics. กันยายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2015.
  10. 10.0 10.1 "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
  11. "The World Factbook: Sri Lanka". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2020.
  12. "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
  13. UNICEF. "At a glance: Myanmar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009.
  14. UNESCO (2015). "Myanmar: Youth literacy rate". Globalis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
  15. "Adult and youth literacy" (PDF). UNESCO. กันยายน 2012.
  16. 16.0 16.1 16.2 "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
  17. "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
  18. Riazul Haq (26 พฤษภาคม 2017). "Literay rate in Pakistan slips by 2%". The Express Tribune.
  19. "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
  20. Angel Broking (มิถุนายน 2008). India Education Sector Report (Report). The Distributor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
  21. Basu, Kaushik (29 พฤศจิกายน 2004). "Educating India". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Marie Lall (เมษายน 2005). "The Challenges for India's Education System" (PDF). Chatham House. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
  23. 23.0 23.1 "Global campaign for education- more teachers needed". UNICEF India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
  24. Ajay Deshpande; Sayan Mitra (19 มิถุนายน 2006). "Primary Education in India: Key Problems" (PDF). MIT India Reading Group. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
  25. "Social Exclusion of Scheduled Caste Children from Primary Education in India" (PDF). UNICEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
  26. "India's Literacy Panorama". Education for all in India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
  27. 27.0 27.1 Sonalde Desai (1994). "Gender Inequalities and Demographic Behaviour" (PDF). The Population Council. ISBN 0-87834-082-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]