ปลาสร้อยลูกกล้วย
ปลาสร้อยลูกกล้วย | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน Cypriniformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยปลาเลียหิน Labeoninae |
สกุล: | สกุลลาบิโอบาร์บุส Labiobarbus Sauvage, 1881 |
สปีชีส์: | Labiobarbus siamensis |
ชื่อทวินาม | |
Labiobarbus siamensis Sauvage, 1881 | |
ชื่อพ้อง[4][5] | |
ปลาสร้อยลูกกล้วย หรือ ปลามะลิเลื้อย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Labiobarbus siamensis)[6][7] เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในสกุลปลาสร้อยลูกนุ่น (Labiobarbus) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
ถิ่นที่อยู่
[แก้]ปลาสร้อยลูกกล้วยมีถิ่นกำเนิดและอาศัยในไทย (พบได้ทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในแม่น้ำสายหลักและสาขาในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำโขง); ลาว (เช่นในลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำเซบั้งไฟ และลุ่มน้ำเทิน); กัมพูชา (เช่นที่ทะเลสาบเขมรและแม่น้ำโขงที่จังหวัดสตึงแตรง) และภาคใต้ของเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีรายงานการพบเห็นที่บริเวณเขื่อนเจินเดอโระฮ์ในรัฐเปรักทางภาคเหนือของมาเลเซียตะวันตก แต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน[2]
ลักษณะ
[แก้]ปลาสร้อยลูกกล้วยมีขนาดยาวประมาณ 10–18 เซนติเมตร[6] ลำตัวเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด และปากเล็ก มีหนวดที่มุมปาก 2 คู่ ยาวเลยขอบหลังตา [ต่างจากปลาสร้อยลูกนุ่นหรือปลาหลาวทอง (L. leptocheilus) ซึ่งมีหนวดมุมปากสั้นกว่า ไม่ถึงขอบหลังตา][8] ลำตัวสีเงินวาว เกล็ดเล็ก มีแถบสีคล้ำ 5–6 แถบ พาดไปตามความยาวของลำตัว เกล็ดใต้ท้องสีขาวนวล ครีบสีจางหรือเหลืองอ่อน ครีบหลังเป็นแผงยาวถึงโคนหาง ครีบหางเว้าลึก สีเหลืองออกแดงเรื่อ ๆ บางตัวมีแต้มจุดที่หลังครีบอกและโคนหาง
พฤติกรรม
[แก้]ปลาสร้อยลูกกล้วยอาศัยอยู่ทั้งในแหล่งนํ้านิ่งและแหล่งนํ้าไหล ไม่ว่าจะเป็นหนองบึงหรือแม่น้ำลำธารก็ตาม เป็นปลาที่มีชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10–20 ตัวหรือมากกว่านั้น และมักพบรวมกับปลาสร้อยชนิดอื่น ๆ โดยจะอยู่บริเวณพื้นทรายหรือบริเวณน้ำตื้นใกล้ตลิ่งที่มีกองไม้ ท่อนไม้ ต้นหญ้า เพื่อหาอาหาร ซึ่งได้แก่ สัตว์หน้าดินขนาดเล็กและแพลงก์ตอนจำพวกพืช ตะไคร่น้ำ และไรน้ำ
ในอดีต ปลาสร้อยลูกกล้วยมีอยู่อย่างชุกชุม เมื่อตกใจจะกระโดดขึ้นจากผิวน้ำพร้อมกันทำให้เกิดเสียงดังซ่า จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ปลาซ่า"[9] ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกปนกับปลาสร้อยชนิดอื่น ๆ ที่มีพฤติกรรมเหมือนกัน เช่น ปลาสร้อยนกเขา (O. vittatus) ในสกุลปลาสร้อยนกเขา (Osteochilus);[10] ปลาสร้อยลูกนุ่น (L. leptocheilus), ปลาสร้อยลูกกล้วยลาย (L. lineatus) ในสกุลปลาสร้อยลูกนุ่น[11] เป็นต้น นอกจากนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีชื่อเรียกปลาสร้อยชนิดต่าง ๆ ในสกุลปลาสร้อยลูกนุ่นนี้ว่า "ปลาคุยลาม" ด้วย
การใช้ประโยชน์
[แก้]ปลาสร้อยลูกกล้วยรวมทั้งปลาสร้อยชนิดอื่น ๆ เป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป โดยนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี เช่น ทอด ย่าง ต้มแกง เข้าเครื่องลาบ หรือแปรรูปเป็นปลาแห้ง ปลาส้ม ปลาร้า เป็นต้น ในอดีตครั้งยังพบชุกชุมมีการนำมาทำน้ำปลา นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้เพราะมีความสวยงามและอดทน[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Allen, D.J. (2011). "Labiobarbus siamensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T180901A7654671. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-1.RLTS.T180901A7654671.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Allen, D.J. (2013). "Labiobarbus siamensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2013. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
- ↑ 3.0 3.1 Kottelat, M. "The fishes of the inland waters of southeast Asia: a catalogue and core bibliography of the fishes known to occur in freshwaters, mangroves and estuaries." the Raffles Bulletin of Zoology Supplement 27 (2013): 1-663.
- ↑ Roberts, Tyson R. "Systematic revision of the Southeast Asian cyprinid fish genus Labiobarbus (Teleostei: Cyprinidae)." The Raffles Bulletin of Zoology 41, 2 (1993): 315-329.
- ↑ FishBase. "Synonyms of Labiobarbus siamensis (Sauvage, 1881). [Online]. Available: http://www.fishbase.org/Nomenclature/SynonymsList.php?ID=27192&SynCode=61600&GenusName=Labiobarbus&SpeciesName=siamensis [n.d.]. Retrieved November 1, 2015.
- ↑ 6.0 6.1 สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้. กรมป่าไม้. "ปลาสร้อยลูกกล้วย." ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofanimal&view=showanimal&id=849 เก็บถาวร 2016-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 3 ธันวาคม 2558.
- ↑ ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 232 หน้า. หน้า 149. ISBN 9744841486
- ↑ Siamensis.org. "Species : Labiobarbus leptocheilus." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://siamensis.org/species_index#36376--Species : Labiobarbus leptocheilus 2555. สืบค้น 3 ธันวาคม 2558.
- ↑ กรมประมง. ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย. อ้างถึงใน http://dictionary.sanook.com/search/labiobarbus-siamensis[ลิงก์เสีย]. สืบค้น 3 ธันวาคม 2558.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 399.
- ↑ ณรงค์ วีระไวทยะ และคณะ. โครงการเสริมสร้างการบูรณาการจัดการระบบนิเวศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมปากแม่น้ำบางปะกง : รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2555, ภาคผนวก ค - 8.
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 98. ISBN ISBN 974-00-8701-9 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: invalid character