ปลาซ่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาซ่าชนิด Osteochilus vittatus หรือปลาสร้อยนกเขา

ปลาซ่า เป็นชื่อสามัญของปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เช่น สกุลปลาสร้อยนกเขา (Osteochilus),[1][2] สกุลปลาสร้อยลูกนุ่น (Labiobarbus)[1][3] เป็นต้น บางชนิดมีจุดสีดำบนเกล็ดข้างตัวจนเห็นเป็นลาย 6–10 เส้น ที่โคนหางมีจุดสีดำ ขนาดยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร

ปลาในสกุลดังกล่าวมีพฤติกรรมชอบรวมตัวกันเป็นฝูง เมื่อตกใจจะกระโดดขึ้นเหนือน้ำพร้อม ๆ กันจนเกิดเสียงดังซ่า จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก "ปลาซ่า"[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 399.
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, 2547: หน้า 98
  3. ณรงค์ วีระไวทยะ และคณะ. โครงการเสริมสร้างการบูรณาการจัดการระบบนิเวศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมปากแม่น้ำบางปะกง : รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2555, ภาคผนวก ค - 8.
  4. กรมประมง. ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย. อ้างถึงใน http://dictionary.sanook.com/search/labiobarbus-siamensis[ลิงก์เสีย]. สืบค้น 3 ธันวาคม 2558.

บรรณานุกรม[แก้]

  • อัคคะทวีวัฒน์, สมโภชน์ (2547). สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. องค์การค้าของคุรุสภา. ISBN 974-00-8701-9.