ซีโมน แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไซเมียน ฮาสซัน มูนอส)
ซีเมออนที่ 2
พระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย
สมเด็จพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย
ครองราชย์28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 – 15 กันยายน ค.ศ. 1946
ก่อนหน้าพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
ถัดไปราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
พระราชสมภพ (1937-06-16) 16 มิถุนายน ค.ศ. 1937 (86 ปี)
คู่อภิเษกมาร์การิตา โกเมซ-อเชโบ ยี เซจูลา
พระราชบุตรเจ้าชายคาร์ดัม เจ้าชายแห่งทาร์โน
คิริล เจ้าชายแห่งพาร์ลาฟ
เจ้าชายคูบราต เจ้าชายแห่งพาไนท์ยูริชเต
เจ้าชายคอนสแตนติน-อัสเลน เจ้าชายแห่งวิดิน
เจ้าหญิงคาลินาแห่งบัลแกเรีย ดัชเชสแห่งแซกโซนี
พระนามเต็ม
ซีโมน บอรีซอฟ ซักสโกบูร์กกอตสกี
ราชวงศ์ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
พระราชบิดาพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
พระราชมารดาจีโอวันนาแห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย
ลายพระอภิไธย

ซีโมน แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (เยอรมัน: Simeon von Sachsen-Coburg und Gotha) หรือ ซีโมน บอรีซอฟ ซักสโกบูร์กกอตสกี (บัลแกเรีย: Симеон Борисов Сакскобургготски) หรือ พระเจ้าซาร์ซีเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย (ประสูติ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1937) เป็นบุคคลสำคัญในสังคมการเมืองและราชวงศ์บัลแกเรีย พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรียตั้งแต่ ค.ศ. 1943 จนกระทั่ง ค.ศ. 1946 เมื่อระบอบกษัตริย์ได้ถูกล้มล้าง หลังจากนั้นพระองค์ได้ดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐบัลแกเรียตั้งแต่กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005

พระราชประวัติ[แก้]

พระเจ้าซาร์ซิเมออนเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียกับเจ้าหญิงจีโอวันนาแห่งซาวอยและมีความเกี่ยวข้องกับหลายๆราชวงศ์ในยุโรป รวมทั้ง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร,สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียมและอดีตกษัตริย์แห่งอิตาลีคือสมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลีและสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี เมื่อพระองค์ทรงประสูติพระราชบิดาของพระองค์ได้ส่งเครื่องบินไปที่แม่น้ำจอร์แดนเพื่อนำน้ำในแม่น้ำมาทำพิธีแบ็ฟติสท์ให้เจ้าชายซิเมออนเพื่อเข้ารีตคริสต์นิกายออร์ทอด็อกซ์ เจ้าชายซิเมออนได้ครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าซาร์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 สืบต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ซึ่งเสด็จสวรรคตอย่างเป็นปริศนาหลังจากเสด็จกลับมาจากการเข้าพบอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฟือเรอห์แห่งเยอรมนี เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุเพียง 6 พรรษาเท่านั้น เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรียผู้เป็นพระปิตุลาของพระองค์,นายกรัฐมนตรีบอร์ดาน ฟิลอฟ และพลโทนิโคลา มิเฮย์ลอฟ มิฮอฟแห่งกองทัพบัลแกเรียได้เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์ตรัสถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นไว้ว่า

ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1944 สหภาพโซเวียตได้ประกาศสงครามกับราชอาณาจักรบัลแกเรียอย่างเป็นทางการและกองทัพแดงได้ยกพลบุกเข้าราชอาณาจักร ในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1944 เจ้าชายคิริลและคณะผู้สำเร็จราชการได้ถูกผู้นิยมโซเวียตหักหลังทำการรัฐประหารและจับกุม เจ้าชายคิริล คณะผู้สำเร็จราชการทั้งหมด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิก ผู้นำเหล่าทัพทั้งหมดและนักข่าวที่มีชื่อเสียงในประเทศถูกสั่งประหารทั้งหมดโดยเหล่าคอมมิวนิสต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945

การลี้ภัย[แก้]

พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 เมื่อทรงพระเยาว์และเป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย

พระราชวงศ์ที่เหลือได้แก่ สมเด็จพระราชินีจีโอวันนา,พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 ,เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งบัลแกเรีย พระเชษฐภคินีและเจ้าหญิงยูโดเซียแห่งบัลแกเรีย พระปิตุจฉา ได้รับการอนุญาตให้พำนักที่พระราชวังวรานาใกล้กรุงโซเฟียในขณะที่ได้มีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการคอมมิวนิสต์ชุดใหม่ ในบันทึกของพระนางจีโอวันนาทรงได้เล่าว่า "ทหารโซเวียตในครั้งนั้นได้มีความสนุกจากไล่ยิงพสกนิกรในทุกๆที่ที่นอกเหนือจากได้รับคำสั่งจากคณะรัฐบาลซึ่งตอนนั้นฉันกำลังเดินกับลูกๆอยู่ที่ที่นั้น" ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1946 ได้มีการลงคะแนนเสียงภายในกองทัพโซเวียต ผลออกมาร้อยละ 97 เห็นด้วยในการสถาปนาสาธารณรัฐบัลแกเรียและล้มล้างพระราชวงศ์และระบอบกษัตริย์ โดยให้พระราชวงศ์เตรียมตัว 1 เดือนเพื่อออกจากประเทศแต่เพียงวันเดียวคือในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1946 พระราชวงศ์ได้ถูกบังคับให้ออกจากบัลแกเรีย อย่างไรก็ตามพระเจ้าซาร์ซิเมออนไม่ทรงเคยลงพระนามในเอกสารสละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ พระราชวงศ์ทั้งหมดจึงต้องลี้ภัยไปที่อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ที่ซึ่งพระราชบิดาและพระราชมารดาของพระราชินีจีโอวันนาคือ สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลีกับพระราชินีเอเลนาพำนักอยู่หลังจากทรงลี้ภัยจากอิตาลี พระองค์และพระราชวงศ์ทรงมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบากโดยทรงมีทรัพย์เพียงพระองค์ละ 200 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ด้วยการอุปถัมภ์จากพระอัยกาทำให้พระเจ้าซาร์ซิเมออนทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยวิกตอเรีย,อเล็กซานเดรียซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาร่วมกับเจ้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย พระองค์ตรัสถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นไว้ว่า

ต่อมาพระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอลผู้เป็นพระอัยกาได้เสด็จสวรรคตลง ทรงมอบมรดกให้แก่พระธิดาซึ่งก็คือ สมเด็จพระราชินีจีโอวันนา ทำให้ราชวงศ์ทรงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1951 รัฐบาลสเปนนำโดยจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโกได้เชิญพระราชวงศ์ลี้ภัยที่สเปน

ระบอบกษัตริย์ในช่วงลี้ภัย การศึกษาและงานด้านธุรกิจ[แก้]

พระเจ้าซาร์ซิเมออนทรงศึกษาที่ Lycée Français ในมาดริดแต่ไม่สำเร็จการศึกษา ในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1955 เมื่อมีพระชนมายุได้ 18 พรรษา การที่พระองค์ทำให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญทาร์โนโว พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 ทรงประกาศตนเป็นพระเจ้าซาร์แห่งปวงชนชาวบัลแกเรียซึ่งทำให้การดำรงเป็นกษัตริย์แห่งปวงชนชาวบัลแกเรียตามเจตนารมย์ของพระองค์มั่นคงยิ่งขึ้นและพระองค์ยังทรงประกาศแก่ชาวบัลแกเรียว่า พระองค์ยังทรงเป็นกษัตริย์ของพวกเขาเพราะไม่เคยลงนามในข้อความสละราชบัลลังก์เป็นลายลักษณ์อักษร ใน ค.ศ. 1958 พระองค์ทรงสมัครเข้า Valley Forge Military Academy and College ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม"Cadet Rylski No. 6883" และทรงสำเร็จการศึกษาในตำแหน่งร้อยตรี พระองค์ทรงศึกษากฎหมายและการบริหารธุรกิจในสเปนอีกครั้ง

พระองค์ได้เป็นนักธุรกิจ เป็นเวลา 30 ปีทรงดำรงเป็นประธานบริษัท Thomson SA สเปนซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับกลุ่มเครื่องป้องกันและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของฝรั่งเศส และทรงเป็นที่ปรึกษาด้านการธนาคาร,การโรงแรม,อิเล็กทรอนิกส์และการจัดหาข้อมูล พระเจ้าซาร์ซิเมออนได้ประกาศคณะการปกครองระหว่างทรงลี้ภัยผ่านทางตำแหน่งของพระองค์ในมาดริดซึ่งทรงถูกถอดโดยยุคสมัยคอมมิวนิสต์ในบัลแกเรียและการขับไล่พระองค์ออกจากประเทศซึ่งเป็นคนชาติเดียวกัน อย่างไรก็ตามทรงพยายามจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นแต่ไม่เป็นผล

ใน ค.ศ. 1962 ทรงอภิเษกสมรสกับชนชั้นสูงในสเปนคือ มาร์การิตา โกเมซ-อเชโบ ยี เซจูลา แต่การอภิเษกสมรสไม่เป็นไปโดยง่ายเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นออร์ทอด็อกซ์ ส่วนพระชายาเป็นคาทอลิก พระเจ้าซาร์ซิเมออนเสด็จไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตปาปาถึง 3 ครั้ง จนในที่สุดทรงอนุญาตแต่มีข้อแม้ให้จัดพิธีอภิเษกสมรสในโบสถ์ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้ง 2 พระองค์มีพระโอรสและธิดารวม 5 พระองค์ เป็นพระโอรส 4 พระองค์และพระธิดา 1 พระองค์ โดยปัจจุบันทั้ง 5 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับชาวสเปนทั้งสิ้น

การกลับคืนสู่การเมือง[แก้]

นายกรัฐมนตรี ซิเมออน ซัคเซิน-โคบวร์ค-โกทากับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช

ใน ค.ศ. 1990 หลังจากการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ พระเจ้าซาร์ซิเมออนทรงได้รับหนังสือเดินทางชาวบัลแกเรียฉบับใหม่ ใน ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นปีที่ 50 ของการล้มล้างราชบัลลังก์ พระเจ้าซาร์ซิเมออนเสด็จกลับบัลแกเรียและมีพสกนิกรชาวบัลแกเรียมารับเสด็จมากมายอย่างอบอุ่น โดยฝูงชนได้ตะโกนว่า "เราต้องการกษัตริย์!" (We want our Tsar!) แต่พระองค์ทรงต้องการเข้าสู่การเมือง เมื่อทรงมาถึงพระองค์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์สินในสมัยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ทำให้ทรงได้พระราชวังวรานา, พระราชวังซาร์สกา บิสทริตสา และทรัพย์สมบัติมากมายกลับคืนมา แต่ทรงรับทรัพย์สินเพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือได้มอบคืนแก่รัฐบาลเพื่อเป็นสมบัติของประชาชน

ใน ค.ศ. 2001 ทรงประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคขบวนการแห่งชาติเพื่อซิเมออนที่ 2 (NMSII) มีนโยบายคือ"ปฏิรูปและการเมืองมั่นคง" พระองค์ทรงสัญญาว่าภายใน 800 วัน ชาวบัลแกเรียจะเข้าในการปกครองของรัฐบาลอย่างชัดเจนและมีความสุขสมบูรณ์กับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการเลือกตั้งวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2001 พรรคของพระองค์ได้ที่นั่งในรัฐสภาถึง 120 ที่นั่งหรือครึ่งหนึ่งของทั้งหมด แต่การมี ส.ส. เพียงครึ่งเดียวไม่สามารถบริหารได้พระองค์จึงทรงดึงพรรคขบวนการเพื่อความถูกต้องและเสรีภาพ (MRF) มาเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้พระองค์ทรงดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรียขณะมีพระชนมายุ 64 พรรษา ทรงบริหารประเทศเพื่อฟื้นฟูความบอบช้ำจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักของรัฐบาลที่ผ่านๆ มา พระองค์ทรงนำบัลแกเรียเข้าสู่องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ จนถึง ค.ศ. 2005 รัฐบาลของพระองค์ได้หมดวาระ เนื่องจากทรงพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งแก่พรรคสังคมนิยมบัลแกเรีย (BSP) ปัจจุบันทรงดำรงเป็นหัวหน้าพรรคและทรงใช้ชีวิตอย่างสงบ

อ้างอิง[แก้]

  1. วัชรี สายสิงห์ทอง.ราชวงศ์,พิมพ์ครั้งที่ 1.(กรุงเทพฯ:Openbooks, 2547)
  2. วัชรี สายสิงห์ทอง.ราชวงศ์,พิมพ์ครั้งที่ 1.(กรุงเทพฯ:Openbooks, 2547)
ก่อนหน้า ซีโมน แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ถัดไป
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย
(บัลแกเรีย)

(28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 – 15 กันยายน ค.ศ. 1946)
ไม่มี(ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง)
อิวาน คอสตอฟ
นายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรีย
(ค.ศ. 2001 – ค.ศ. 2005)
เซอร์เก สตานิเชฟ
ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์บัลแกเรีย
(บัลแกเรีย)
(ภายใต้กฎหมาย)

(15 กันยายน ค.ศ. 1946 – ปัจจุบัน)
ปัจจุบัน