จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงชาติแคนาดา
ชื่อธง
The Maple Leaf (ธงใบเมเปิ้ล) , l'Unifolié (ธงรูปใบไม้ใบเดียว)
การใช้
111111
สัดส่วนธง
1:2
ประกาศใช้
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508
ลักษณะ
ธงสามแถบแนวตั้งพื้นสีแดง-ขาว-แดง กลางพื้นสีขาวซึ่งกว้างเป็น 2 เท่าของแถบแดงมีรูปใบเมเปิ้ลปลาย 11 แฉกสีแดง
ออกแบบโดย
จอร์จ เอฟ. จี. สแตนลีย์ (George F.G. Stanley)
ธงชาติแคนาดา (อังกฤษ : The Maple Leaf, ธงใบเมเปิ้ล ; ฝรั่งเศส : l'Unifolié , ธงรูปใบไม้ใบเดียว) เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งริ้วธงออกเป็น 3 ส่วนตามแนวตั้ง โดยมีสัดส่วนความกว้างแต่ละแถบเป็น 1:2:1 แถบนอกสีแดง แถบในสีขาว กลางมีรูปใบเมเปิล ปลาย 11 แฉกสีแดงใบใหญ่ ธงนี้ได้ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1965 เพื่อใช้แทนที่ธงยูเนียนแจ็ก ซึ่งเคยใช้เป็นธงชาติแคนาดาโดยนิตินัย
ประวัติ [ แก้ ]
อาณานิคมอังกฤษ [ แก้ ]
อาณานิคมฝรั่งเศส [ แก้ ]
ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1534-1604)
ธงเรือราษฎร์ (ค.ศ. 1604-1663)
ธงอาณานิคมฝรั่งเศสใหม่ (ค.ศ. 1663-1763)
สหพันธรัฐในเครือจักรภพ [ แก้ ]
ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1868-1870)
ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1868-1870)
ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1905-1922)
ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1905-1922)
ก่อนหน้านี้ ธงอย่างหนึ่งของแคนาดาที่เรียกว่า "ธงแคแนเดียนเรดเอนไซน์" (Canadian Red Ensign) ซึ่งมีลักษณะตามแบบธงแสดงสัญชาติสีแดง (ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร) นั้นได้เริ่มมีการใช้อย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 และ ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ตามกฎหมายในปี ค.ศ. 1945[1] [2] รวมถึง "ธงแคแนเดียนบลูเอนไซน์ " (Canadian Blue Ensign) ซึ่งมีลักษณะตามแบบธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน (ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร) สำหรับเรือราชการในสังกัดรัฐบาล และ ใช้เป็นธงฉานกองทัพเรือ
ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1921-1957)
ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1921-1957)
ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1957-1965)
ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1957-1965)
การถกเถียง [ แก้ ]
ในปี ค.ศ. 1964 ได้เกิดการถกเถียงครั้งใหญ่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแบบธงชาติแคนาดา (เหตุการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "Great Flag Debate" ) นายเลสเตอร์ บี. เพียร์สัน (Lester B. Pearson) นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาแบบธงชาติแคนาดาใหม่ โดยแบบธงที่ได้รับการคัดเลือกจากแบบธงที่เข้ารอบ 3 แบบในรอบสุดท้าย ได้แก่แบบธงใบเมเปิ้ลซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของจอร์จ เอฟ. จี. สแตนลีย์ โดยมีต้นแบบมาจากธงของราชวิทยาลัยการทหารแห่งแคนาดา (Royal Military College of Canada) และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันทื่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1965 ซึ่งต่อมารัฐบาลแคนาดาได้ประกาศให้วันที่ 15 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันธงชาติแคนาดา [3] [4]
โดยทั่วไปแล้วธงของหน่วยงานราชการในประเทศแคนาดาล้วนมีส่วนประกอบของธงชาติแคนาดาหรือรูปใบเมเปิ้ลประกอบอยู่ด้วยเสมอ อย่างไรก็ตาม ธงสหภาพหรือยูเนียนแจ็ก นั้นยังถือว่าเป็นธงราชการของแคนาดาอย่างเป็นทางการอยู่ โดยใช้ในฐานะธงของประเทศสมาชิกเครือจักรภพ และพระราชวงศ์อังกฤษ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าธงสหภาพได้ปรากฏในส่วนประกอบของธงอื่นๆ ในประเทศแคนาดา เช่น ธงประจำรัฐบริติชโคลัมเบีย รัฐมานิบาโต และรัฐออนตาริโอ เป็นต้น[5]
ธงเพียร์สัน (The Pearson Pennant) แบบธงชาติแคนาดาแบบแรกที่เสนอต่อรัฐสภาแคนาดาเมื่อ พ.ศ. 2507 (ไม่มีการใช้จริง)
ธงราชวิทยาลัยการทหารแห่งแคนาดา (Royal Military College of Canada) ซึ่งจอร์จ เอฟ. จี. สแตนลีย์ใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบธงชาติแคนาดาปัจจุบัน
ธงใบเมเปิ้ล แบบที่นำเสนอต่อรัฐสภาในปี พ.ศ. 2507
ธงชาติแคนาดา พ.ศ. 2508 - ปัจจุบัน
ดูเพิ่ม [ แก้ ]
อ้างอิง [ แก้ ]
เชิงอรรถ [ แก้ ]
บรรณานุกรม [ แก้ ]
แหล่งข้อมูลอื่น [ แก้ ]
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
สัญลักษณ์ เพลง คำขวัญ สถานที่สำคัญ
ประเทศ ดินแดน
เดนมาร์ก
ฝรั่งเศส
เนเธอร์แลนด์
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา