ฟุตบอลชายหาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลชายหาด
การแข่งขันระหว่างประเทศ
สมาพันธ์สูงสุดสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
ชื่ออื่นBeach football, beach footie, beasal, futebol de areia, futebol de praia
เล่นครั้งแรก1992 ที่หาดวิลโรเจอร์สเตต, ลอสแอนเจลิส, สหรัฐ[1]
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะใช่
ผู้เล่นในทีมทีมละ 5 คน
หมวดหมู่กีฬาประเภททีม, กีฬาลูกบอล
อุปกรณ์ฟุตบอล
จัดแข่งขัน
โอลิมปิกไม่
การแข่งขันฟุตบอลชายหาดระหว่างอิสราเอลกับบราซิล

ฟุตบอลชายหาด (อังกฤษ: beach soccer, beach football หรือ beasal) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของฟุตบอลที่เล่นบนชายหาดหรือบนผืนทราย การเล่นต้องอาศัยทักษะ ความคล่องแคล่ว และการยิงประตู

ในขณะที่การเล่นฟุตบอลชายหาดนั้น มีการเล่นทั่วไป (ไม่มีกติการแข่งขันเป็นทางการ) บนชายหาดมาหลายปี จนกระทั่งมีความพยายามจะตั้งกติกาการเล่นขึ้นมา จนเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1992[2] โดยผู้ก่อตั้ง บีชซอกเกอร์เวิลด์ไวด์ ที่พัฒนากีฬาจนก้าวสู่การแข่งขันใหญ่ ๆ จนทุกวันนี้ และในปัจจุบันกีฬาประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น

ทรายที่แตกต่างกันไป ทำให้ต้องมีการเล่นที่แตกต่างกันไป ผู้เล่นต้องใช้ไหวพริบปฏิภาณในการเล่น ประตูแข่งขันจะเล็กกว่าการแข่งขันฟุตบอลทั่วไป ผู้เล่นจะต้องทำประตู จากส่วนหนึ่งบนผืนทราย โดยเฉลี่ยแล้ว มีการพยายามทำประตูราว 60 ครังใน 1 เกม หรือทุก ๆ 1 ประตู่ใน 3 หรือ 4 นาที อาจมีการทำประตูราว 11 ประตูต่อ 1 เกม

กติกา[แก้]

ผู้เล่น[แก้]

แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งผู้เล่นลงสนามได้ฝ่ายละ 5 คนรวมผู้ประรักษาประตู เปลี่ยนตัวกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัดครั้ง นำลูกบอลเข้าสนามโดยการทุ่มเข้าหรือเตะเข้าก็ได้หลังจากลูกบอลออกข้างสนามไป ซึ่งจะทำให้เกมฟุตบอลชายหาดเป็นเกมที่เล่นกันรวดเร็วกว่าฟุตบอลปกติมาก ไม่อนุญาตให้ใส่รองเท้า แต่อนุญาตให้ใส่ผ้าป้องกันข้อเท้าได้ ส่วนลูกเตะจากเส้นประตูจะทำโดยให้ผู้รักษาประตูทุ่มบอลเข้ามา ไม่มีการล้ำหน้า ไม่มีการตั้งกำแพงขวางผู้ยิงฟรีคิก

การยิงฟรีคิกมี 2 แบบ แบบแรกคือฟรีคิกที่เกิดในแดนของผู้ยิงฟรีคิกเองหรือกลางสนาม โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะยืนอยู่เบื้องหน้าของจุดเตะฟรีคิกก็ได้ แต่ห้ามยืนขวางระหว่างผู้ยิงฟรีคิกกับประตู ยกเว้นผู้รักษาประตูที่ต้องป้องกันประตู แบบที่สองคือฟรีคิกที่เกิดในแดนตรงข้ามของผู้ยิงฟรีคิก โดยผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้รักษาประตูของฝ่ายตรงข้ามต้องยืนเสมอหรือยืนเบื้องหลังของจุดเตะฟรีคิก

ระยะเวลาแข่งขัน[แก้]

แบ่งช่วงแข่งขันออกเป็น 3 ช่วง(พีเรียด) ช่วงละ 12 นาที โดยมีกรรมการรักษาเวลาเป็นผู้ควบคุมเวลาการแข่งขันที่เป็นทางการ ซึ่งจะหยุดเวลาทันทีที่ลูกตายหรือหยุดเล่น และจะนับเวลาถอยหลังจนถึงศูนย์เหมือน บาสเกตบอล ไม่มีทดเวลาบาดเจ็บ ฟุตบอลชายหาดไม่มีผลเสมอและต้องหาผู้ชนะในแต่ละเกม ถ้าเสมอในเวลาปกติเมื่อแข่งจบทั้ง 3 พีเรียด จะมีการแข่งขันในช่วงต่อเวลาพิเศษอีก 3 นาที ถ้ายังมีผลเสมอจะตามด้วยการยิงลูกจุดโทษ โดยจะวัดผลแบบ'ซัดเดนเดธ' (Sudden Death) คือถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยิงไม่เข้าและอีกฝ่ายยิงเข้า ฝ่ายที่ยิงเข้าจะชนะทันที

ผู้ตัดสินและกฎระเบียบ[แก้]

ในเกมฟุตบอลชายหาดหนึ่งเกม จะมีผู้ตัดสิน 4 คน โดย 2 คนจะอยู่ในสนาม อีกคนจะควบคุมการแข่งขันอยู่ข้างสนามและดูแลทีมของทั้งสองฝ่ายที่อยู่บนม้านั่งสำรอง และอีกคนจะทำการควบคุมเวลาการแข่งขันอยู่ข้างสนาม การฟาวล์ทุกครั้งจะถูกนับเป็นฟรีคิกโดยตรง(สามารถยิงเข้าประตูได้ทันที) โดยผู้เล่นที่ถูกทำฟาวล์จะเป็นคนเริ่มเล่นนอกเหนือจากจะมีการยกให้เพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ เป็นผู้เริ่มเล่น มีการให้ใบเหลืองสำหรับคาดโทษและใบแดงสำหรับไล่ออกจากสนามเหมือนฟุตบอล แต่ต่างกันตรงที่ถ้ามีผู้เล่นคนใดที่ได้รับใบเหลือง ผู้เล่นคนนั้นจะต้องออกจากสนามเป็นเวลา 2 นาที และทีมจะต้องเล่นต่อโดยที่ไม่มีผู้เล่นคนดังกล่าวอยู่ในทีม โดยส่งผู้เล่นคนอื่นลงมาแทนไม่ได้ เมื่อครบกำหนด 2 นาทีแล้ว ผู้เล่นที่ได้รับใบเหลืองจะสามารถลงสนามได้ตามปกติ แต่ถ้ามีผู้เล่นที่ได้รับใบแดง ผู้เล่นคนนั้นจะต้องออกจากสนามและไม่มีสิทธิ์กลับมาเล่นต่อในเวลาที่เหลืออีก และทีมจะต้องเล่นต่อโดยสามารถส่งผู้เล่นคนอื่นลงมาแทนผู้เล่นที่ได้รับใบแดงได้หลังจากครบกำหนด 2 นาที

สนาม[แก้]

สนามเป็นพื้นทรายทั้งหมดและต้องไม่มีเศษหิน, ก้อนกรวด, เปลือกหอย, หรือวัตถุใดๆ ที่ทำให้ผู้เล่นบาดเจ็บได้

สนามฟุตบอลชายหาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยสนามฟุตบอลชายหาด ควรมีขนาด:

  • ยาว: 35-37 เมตร หรือ 38.3-40.5 หลา
  • กว้าง: 26-28 เมตร หรือ 28.4-30.6 หลา

กรอบเขตโทษทั้งสองฝั่งมีความกว้างตลอดทั้งเส้นความกว้างของสนาม และมีระยะห่าง 9 เมตร (9.8 หลา) จากเส้นหลังประตู โดยมีธงสีเหลืองปักไว้เพื่อระบุเป็นเส้นเขตโทษ และมีธงสีแดง 2 เล่มปักไว้ทั้ง 2 ข้างตามด้านยาวของสนามไว้ระบุเป็นเส้นกลางสนาม ประตูฟุตบอลชายหาดสูง 2.2 เมตร (7 ฟุต 3 นิ้ว) นับจากพื้นดินถึงด้านล่างของคานประตู และกว้าง 5.5 เมตร (18 ฟุต) นับระหว่างเสาประตู

อ้างอิง[แก้]

  1. "The History and Growth of Pro Beach Soccer (1992 to Present)". beachsoccer.com. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2002. สืบค้นเมื่อ 28 April 2016.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-30. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.