โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี

โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (Doraemon television series) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2516 ทางนิปปอนเทเลวิชัน แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักนัก จนต่อมาปี พ.ศ. 2522 ทีวีอาซาฮีทำให้การ์ตูนทีวีนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ออกอากาศไปทั้งหมด 1,049 ตอน ออกฉายตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นมีการสร้างการ์ตูนทีวีชุดนี้เพิ่มเติมโดยมีทีมนักพากย์ชุดใหม่ เพื่อเป็นการฉลองการครบรอบของโดราเอมอนเริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2548 สำหรับประเทศไทยเริ่มออกกาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
การออกอากาศในประเทศไทย[แก้]
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีในประเทศไทยเริ่มออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวีในปัจจุบัน เริ่มออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2525 ช่วงเวลาประมาณ 10.00 น. ในวันเสาร์ และอาทิตย์ โดยฉายต่อจากการ์ตูนทีวีเรื่อง หน้ากากเสือ หลังจากได้ออกอากาศก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นการสร้างชื่อให้กับช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้เป็นที่ยอมรับในเรื่องการ์ตูนทีวี หลังจากนั้นทางช่อง 9 ก็นำกลับมาฉายใหม่หลายครั้ง แต่ในฉบับการ์ตูนทีวีที่ออกกาศทางช่อง 9 จะเรียกโดราเอมอน ว่า "โดเรม่อน" ตามชื่อที่ใช้โดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ผู้พิมพ์โดราเอมอนฉบับการ์ตูนในสมัยนั้น และไชโยภาพยนตร์ ผู้จัดฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ทางโมเดิร์นไนน์ทีวีได้นำโดราเอมอน มาออกอากาศอีกครั้งทุกวันศุกร์ เวลา 16.40-17.05 และต่อมาในวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม โดราเอมอนก็้เปลี่ยนเวลาฉายมาเป็นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.05-8.30 น.[1] และเมื่อปี 2555 ได้ฉายใหม่อีกรอบหนึ่ง แต่ปรับเวลาเป็น 08.15-08.30 น.
นักพากย์[แก้]
ทีมนักพากย์ญี่ปุ่น[แก้]
ในประเทศญี่ปุ่น มีการเปลี่ยนตัวนักพากย์ตัวละครหลักถึง 3 ชุดด้วยกัน ชุดแรกพากย์ในช่วง ปี พ.ศ. 2516 ที่โดราเอมอนเริ่มออกอากาศครั้งแรกทางนิปปอนเทเลวิชัน ต่อมาเมื่อย้ายมาออกอากาศทางทีวีอาซาฮี ก็ได้เปลี่ยนเป็นอีกชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นชุดที่พากย์เสียงให้โดราเอมอนนานที่สุด คือตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2548 แต่เมื่อได้มีการสร้างการ์ตูนทีวีชุดใหม่ขึ้นเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 25 ปี ทางทีวีอาซาฮี จึงได้ประกาศทีมนักพากย์ชุดใหม่แทนชุดเก่าที่ปลดเกษียณไป
- ทีมพากย์ ปี พ.ศ. 2516-2522 (นิปปอนเทเลวิชัน)
- โคเซ โทมิตะ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น มาซาโกะ โนซาวะ ให้เสียงเป็น โดราเอมอน
- โทชิโกะ ฟูจิตะ ให้เสียงเป็น โนบิตะ
- มาซาโกะ เอบิสึ ให้เสียงเป็น ชิซุกะ
- คาเนตะ คาเนสึกิ ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- ชุน ยาชิโระ ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ
- อิจิโร่ มุราโคชิ ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ)
- โนริโกะ โอฮาระ ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ)
- ทีมพากย์ ปี พ.ศ. 2522-2548 (ทีวีอาซาฮี)
- โนบุโยะ โอยามะ ให้เสียงเป็น โดราเอมอน
- โนริโกะ โอฮาระ ให้เสียงเป็น โนบิตะ
- มิจิโกะ โนมูระ ให้เสียงเป็น ชิซุกะ
- คาซึยะ ทาเทคาเบะ ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- คาเนตะ คาเนสึกิ ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ
- มาซายูกิ คาโต้ ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ)
- ซาจิโกะ จิจิมัตสึ ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ)
- ทีมพากย์ ปี พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน (ทีวีอาซาฮี)
- วาซาบิ มิซึตะ ให้เสียงเป็น โดราเอมอน
- เมงุมิ โอฮาระ ให้เสียงเป็น โนบิตะ
- ยูมิ คาคาซึ ให้เสียงเป็น ชิซุกะ
- สุบารุ คิมูระ ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- โทโมคาสึ เซกิ ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ
- ยาสุโนริ มัตสึโมโตะ ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ)
- โคโตโนะ มิตสึอิชิ ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ)
ทีมนักพากย์ไทย[แก้]
สำหรับประเทศไทยทีมนักพากย์เสียงภาษาไทยก็เป็นชุดเดิมตั้งแต่การออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยเริ่มพากย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525[2][3] จนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีเปลี่ยนผู้พากย์บางคนบ้าง โดยมีทีมนักพากย์ตัวละครหลักดังนี้
- ฉันทนา ธาราจันทร์ [4] ให้เสียงเป็น โดราเอมอน และแม่ของซูเนโอะ
- ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ [5] ให้เสียงเป็น โนบิตะ และแม่ของชิซุกะ
- กัลยาณี กรรสมบัติ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น ศรีอาภา เรือนนาค [6] (จนถึงปัจจุบัน) ให้เสียงเป็น ชิซุกะ และ เซวาชิ
- นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ (เฉพาะเดอะมูฟวี่) <> ธนกฤต เจนคลองธรรม [7] ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- อรุณี นันทิวาส [8] ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ โดเรมี และแม่ของไจแอนท์
- เรวัติ ศิริสรรพ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น หฤษฎ์ ภูมิดิษฐ์ >> ไกวัล วัฒนไกร (จนถึงปัจจุบัน) ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ) และครู
- สุลัคษณา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ) และเดคิซุงิ
รายชื่อตอนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (2548)[แก้]
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (2553–2557)[แก้]
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (2553–2557)
2553[แก้]
2554[แก้]
2555[แก้]
2556[แก้]
ยกเว้น วันที่ 5 พฤษภาคม พ ศ 2562 งด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 เป็นกรณีพิเศษ
2557[แก้]
The Broadcast | Episode Number | ชื่อตอน | ![]() |
![]() |
---|---|---|---|---|
300 | 595 | "บ้านสุขสำราญพานทุกข์" | 17 มกราคม ค.ศ. 2014 | 10 พฤศจิกายน 2562 |
300 | 596 | "โรคกลัวสามเหลี่ยมสี่เหลี่ยมวงกลม" | 17 มกราคม ค.ศ. 2014 | 10 พฤศจิกายน 2562 |
301 | 597 | "แผนหนีออกจากโลก" | 31 มกราคม ค.ศ. 2017 | 17 พฤศจิกายน 2562 |
301 | 598 | "มาร์คเกอร์คำต้องห้าม" | 31 มกราคม ค.ศ. 2017 | 17 พฤศจิกายน 2562 |
302 | 599 | "ยาแปลงร่างสัตว์แทนคุณ" | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 | 24 พฤศจิกายน 2562 |
302 | 600 | "ตุ๊กตาหิมะมาเยือนเมือง" | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 | 24 พฤศจิกายน 2562 |
303 | 601 | "ลองหม่ำช็อกโกแลตโนบิตะสิ" | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 | 1 ธันวาคม 2562 |
303 | 602 | "บทเพลงในคืนพระจันทร์สีน้ำเงิน" | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 | 1 ธันวาคม 2562 |
304 | 603 | "ซูชิสายพานคนที่อยากพบ" | 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 | 8 ธันวาคม 2562 |
304 | 604 | "สมองก็อปปี้แสนสะดวก" | 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 | 8 ธันวาคม 2562 |
S | - | "Doraemon: Nobita's Secret Gadget Museum" | 7 มีนาคม ค.ศ. 2014 | - |
305 | 605 | "คู่ทุกข์คู่สุข" | 14 มีนาคม ค.ศ. 2014 | 15 ธันวาคม 2562 |
305 | 606 | "เดินไปจนกว่าจะถึงดวงจันทร์" | 14 มีนาคม ค.ศ. 2014 | 15 ธันวาคม 2562 |
306 | 607 | "ฟาร์มม้าไผ่" | 11 เมษายน ค.ศ. 2014 | 22 ธันวาคม 2562 |
306 | 608 | "ลงถังดองโต้รุ่งเพื่อการสอบ" | 11 เมษายน ค.ศ. 2014 | 22 ธันวาคม 2562 |
307 | 609 | "โลมาในลานว่าง" | 18 เมษายน ค.ศ. 2014 | 29 ธันวาคม 2562 |
307 | 610 | "กำจัดสิ่งเกะกะด้วยปืนกาลเวลา" | 18 เมษายน ค.ศ. 2014 | 29 ธันวาคม 2562 |
308 | 611 | "เป็นราชาในโลกยุคหิน" | 25 เมษายน ค.ศ. 2014 | 5 มกราคม 2563 |
308 | 612 | "ไล่จับธงปลาคาร์ฟ" | 25 เมษายน ค.ศ. 2014 | 5 มกราคม 2563 |
309 | 613 | "มาสร้างประตูวิเศษกันเถอะ" | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 | 12 มกราคม 2563 |
309 | 614 | "กระเรียนจ๋า มาทดแทนคุณหน่อย!" | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 | 12 มกราคม 2563 |
310 | 615 | "รถไฟโนบิตะ" | 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 | 19 มกราคม 2563 |
310 | 616 | "ปืนเปลี่ยนเทหะวัตถุ" | 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 | 19 มกราคม 2563 |
311 | 617 | "โนบิตะสอบได้ 100 คะแนนเต็ม" | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 | 26 มกราคม 2563 |
311 | 618 | "สมบัติที่สันเขาจิงคาระ" | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 | 26 มกราคม 2563 |
312 | 619 | "100 คะแนนของโนบิตะในอีก 25 ปีข้างหน้า" | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 | 9 กุมภาพันธ์ 2563 |
312 | 620 | "ไฟฉายหรูหรา" | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 | 9 กุมภาพันธ์ 2563 |
313 | 621 | "กุ้งทอดของโนบิตะ" | 6 มิถุนายน ค.ศ. 2014 | 16 กุมภาพันธ์ 2563 |
313 | 622 | "เรือช่วยเหลือ" | 6 มิถุนายน ค.ศ. 2014 | 16 กุมภาพันธ์ 2563 |
314 | 623 | "Takeshi's Bum-Ba-Dum Birthday!" | 13 มิถุนายน ค.ศ. 2014 | - |
314 | 624 | "พ่อก็เป็นลูกแหง่เหมือนกัน" | 13 มิถุนายน ค.ศ. 2014 | 23 กุมภาพันธ์ 2563 |
315 | 625 | "ทีมฟุตบอลโนบิตะ" | 20 มิถุนายน ค.ศ. 2014 | 2 กุมภาพันธ์ 2563 |
315 | 626 | "เครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของ" | 20 มิถุนายน ค.ศ. 2014 | 2 กุมภาพันธ์ 2563 |
316 | 627 | "ปราสาทที่ภูเขาหลังโรงเรียน" | 27 มิถุนายน ค.ศ. 2014 | 10 พฤษภาคม 2563[9] |
316 | 628 | "ธงแห่งความจริงเป็นฝ่ายถูกเสมอ" | 27 มิถุนายน ค.ศ. 2014 | 10 พฤษภาคม 2563[9] |
317 | 629 | "เปลี่ยนปลาให้กลายเป็นเรือ" | 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 | 17 พฤษภาคม 2563[9] |
317 | 630 | "ไวรัสแฟชั่นนำเทรนด์" | 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 | 17 พฤษภาคม 2563[9] |
S | 631 | "The Ghost Story Lamp" | 1 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | - |
S | 632 | "The Anything Airport" | 1 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | - |
S | 633 | "Eight Days in the Palace of the Dragon King" | 1 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | - |
318 | 634 | "หมวกก้อนหิน" | 8 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | 24 พฤษภาคม 2563 |
318 | 635 | "เจ้าสาวของโนบิตะ" | 8 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | 24 พฤษภาคม 2563 |
319 | 636 | "เผชิญหน้าร้อนด้วยบ้านจิ๋ว" | 29 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | 31 พฤษภาคม 2563[9] |
319 | 637 | "ห่วงคึกคัก" | 29 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | 31 พฤษภาคม 2563[9] |
S | 638 | "The Brief, Yet Epic Battle 100 Miles Underground" | 5 กันยายน ค.ศ. 2014 | - |
320 | 639 | "ชิซูกะกลายเป็นกัปปะ" | 12 กันยายน ค.ศ. 2014 | 23 กุมภาพันธ์ 2563 |
320 | 640 | "The Guidance Angel" | 12 กันยายน ค.ศ. 2014 | - |
321 | 641 | "Welcome to Nobita Airlines" | 19 กันยายน ค.ศ. 2014 | - |
321 | 642 | "Playing God" | 19 กันยายน ค.ศ. 2014 | - |
322 | 643 | "The Amazing 22nd Century Campsite" | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | - |
322 | 644 | "Portable National Diet" | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | - |
323 | 645 | "Anger Popcorn" | 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | - |
323 | 646 | "Raccoon Maker" | 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | - |
324 | 647 | "The Rampaging Halloween Pumpkin" | 31 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | - |
324 | 648 | "My Ancestor, The Braggart" | 31 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | - |
325 | 649 | "Flying Comic Books" | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | - |
325 | 650 | "I'll Make Him Wear the Wet Clothes of False Accusations!" | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | - |
326 | 651 | "Muscular Body Clays" | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | - |
326 | 652 | "Finish Them Off with a Storm!" | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | - |
327 | 653 | "Fallen Leaves and Jaiko" | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | - |
327 | 654 | "Nobita Becomes Shizuka-chan" | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | - |
328 | 655 | "Clone Kid Goku" | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | - |
328 | 656 | "A World Where You Don't Need Money" | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | - |
329 | 657 | "The Day Dorami Was Born" | 5 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | - |
329 | 658 | "Recycling with Worker Ants" | 5 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | - |
330 | 659 | "Put on Some Flattery Lipstick" | 12 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | - |
330 | 660 | "Headmaster Sign" | 12 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | - |
S | 661 | "Sharing Gum" | 30 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | - |
S | 662 | "A Space Fighter Attacks Nobita" | 30 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | - |
S | 663 | "Remember! The Excitement of That Day" | 30 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | - |
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (2558–2562)[แก้]
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (2558–2562)
2558[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เพลงประกอบ[แก้]
เพลงประกอบในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ใช้ในตอนเปิดเรื่อง (opening theme) ของทุกตอน มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ที่นิยมและเป็นรู้จักกันมากที่สุดก็คือเพลงของทีวีอาซาฮี ซึ่งมีการเปลี่ยนนักร้องมาแล้ว 5 คนแต่ยังใช้เนื้อเพลงและดนตรีประกอบดังเดิม เพลงนี้มีชื่อว่า "เพลงของโดราเอมอน" หรือในชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า "โดราเอมอน โนะ อุตะ" (ドラえもんのうた, Doraemon no uta) นอกจากนี้ยังเพลงตอนปิดเรื่อง (ending theme) อีกด้วย
เพลงเปิดเรื่อง[แก้]
![]() |
|
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ |
- ฉบับปี พ.ศ. 2516
- โดราเอมอน (ドラえもん) ขับร้องโดย ฮารุมิ ไนโต และ คณะ NLT
- ฉบับปี พ.ศ. 2522
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย คุมิโกะ โอสุงิ (2 เมษายน 2522 - 2 ตุลาคม 2535)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย ซาโตโกะ ยามาโนะ (9 ตุลาคม 2535 - 20 กันยายน 2545)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย โตเกียวพูริน (4 ตุลาคม 2545 - 11 เมษายน 2546)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย มิซาโตะ วาตานาเบะ (18 เมษายน 2546 - 23 เมษายน 2547)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย AJI (อะจิ) (30 เมษายน 2547 - 18 มีนาคม 2548)
- ฉบับปี พ.ศ. 2548
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) แบบดนตรีบรรเลง บรรเลงโดย ทเวลฟ์ เกิลส์ แบนด์ (15 เมษายน - 21 ตุลาคม 2548)
- ฮางุชิชาโอ้ (はぐShichao) ขับร้องโดย อากิ โยโกะ (28 ตุลาคม 2548 - 20 เมษายน 2550)
- ยูเมโวะ กะนะเอเท โดราเอมอน (夢をかなえてドラえもん) ขับร้องโดย mao (11 พฤษภาคม 2550 - 29 มีนาคม 2562, 12 เมษายน - 6 กันยายน 2562)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย โดราเอมอน (มิสึตะ วาซาบิ), โนบิตะ (เมงุมิ โอฮาระ), ชิซุกะ (ยูมิ คากาซุ), ซึเนโอะ (โทโมกาซุ เซกิ), ไจแอนท์ (ซูบารุ คิมูระ) (5 เมษายน 2562)
- โดราเอมอน (ドラえもん) ขับร้องโดย เก็น โฮชิโนะ (5 ตุลาคม 2562 - ปัจจุบัน)
- Himawari no Yakusoku (ひまわりの約束) ขับร้องโดย Motohiro Hata (11 สิงหาคม 2557 - ปัจจุบัน)
เพลงปิดเรื่อง[แก้]
- ฉบับปี พ.ศ. 2516
- โดราเอมอน รุมบ้า (ドラえもんルンバ) ขับร้องโดย ฮารุมิ ไนโต
- ฉบับปี พ.ศ. 2522
- อาโออิ โซระ วะ พ็อกเก็ต ซะ (青い空はポケットさ) ขับร้องโดย คุมิโกะ โอสุงิ (8 เมษายน 2522 - 27 กันยายน 2524)
- มารุคาโอะ โนะ อุตะ (まる顔のうた) ขับร้องโดย โนบุโยะ โอยามะ (2 ตุลาคม 2524 - 30 มีนาคม 2527)
- ซานตาคลอส วะ โดโกะ โนะ ฮิโตะ (サンタクロースはどこのひと) ขับร้องโดย โนบุโยะ โอยามะ (18 พฤศจิกายน - 30 ธันวาคม 2526)
- โบคุทาจิ วะ จิคิวจิน (ぼくたち地球人) ขับร้องโดย มิตสึโกะ โฮริเอะ (6 เมษายน 2527 - 8 เมษายน 2531)
- อาโอโซระ เตะ อีนะ (青空っていいな) ขับร้องโดย มิตสึโกะ โฮริเอะ (15 เมษายน 2531 - 2 ตุลาคม 2535)
- อาชิตะโมะ โทโมดาจิ (あしたも ともだち) ขับร้องโดย ยูอิ นิชิวากิ (9 ตุลาคม 2535 - 7 เมษายน 2538)
- โบคุ โดราเอมอน 2112 (ぼくドラえもん2112) ขับร้องโดย โนบุโยะ โอยามะ, โคโอโรงิ'73 (14 เมษายน 2538 - 20 กันยายน 2545)
- มาตะ อาเอรุ ฮิ มาเดะ (またあえる日まで) ขับร้องโดย ยูซุ (4 ตุลาคม 2545 - 11 เมษายน 2546)
- ทัมโปโปะ โนะ อุตะ (タンポポの詩) ขับร้องโดย THE ALFEE (18 เมษายน 2546 - 4 ตุลาคม 2546)
- ยูเมะ บิโยริ (YUME日和) ขับร้องโดย ฮิโตมิ ชิมาทานิ (10 ตุลาคม 2546 - 28 พฤษภาคม 2547)
- อา อีนะ! (あぁ いいな!) ขับร้องโดย W (ดับเบิลยู) (4 มิถุนายน 2547 - 18 มีนาคม 2548)
- ฉบับปี พ.ศ. 2548
- โอโดเระ โดเระ โดระ โดราเอมอน อนโดะ (踊れ・どれ・ドラ ドラえもん音頭) ขับร้องโดย วาซาบิ มิซึตะ (5 สิงหาคม 2548 - ปัจจุบัน)
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ปีต่างๆ[แก้]
- โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (2516 - 2522)
- โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (2522 - 2548)
- โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี (2548 - ปัจจุบัน)
อ้างอิง[แก้]
- สมประสงค์ เจียมบุญสม, นิตยสาร a day ปีที่ 2 ฉบับที่ 18, กุมภาพันธ์ 2545, หน้า 62-76
- ↑ http://modernine.mcot.net/cartoon/content_view.php?id=225&t=1
- ↑ http://www.youtube.com/watch?v=HocrxJRTeec
- ↑ รายการ กบนอกกะลา ตอน เปิดตำนานโดราเอมอน.
- ↑ คุยกับ "โดราเอมอน", ผู้จัดการออนไลน์, 12 ก.ย. 2546, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ นิตยสารทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 10, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2533, หน้า 125
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 65 ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539
- ↑ Cartoon Focus -- โดราเอม่อน (Doraemon), kartoon-discovery.com
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 60 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 "พูดคุย:ช่อง 9 การ์ตูน - วิกิพีเดีย". วิกิพีเดียภาษาไทย. Ans. 28 พฤษภาคม 2563. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 28 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2563. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help); Check date values in:|accessdate=, |publicationdate=, |archivedate=
(help)