โดราเอมอน ตอน สงครามเงือกใต้สมุทร
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โดราเอมอน ตอน สงครามเงือกใต้สมุทร | |
---|---|
![]() โปสเตอร์ภาพยนตร์ | |
กำกับ | คุซุบะ โคโซ กำกับแอนิเมชัน : อาซาโนะ นาโอยูกิ |
เขียนบท | ต้นฉบับ : ฟุจิโกะ เอฟ. ฟุจิโอะ บทภาพยนตร์ : ยุอิชิ ชิมโบะ |
นักแสดงนำ | วะซะบิ มิซุตะ เมะงุมิ โอะฮะระ ยุมิ คะกะซุ ซุบะรุ คิมุระ โทะโมะกะซุ เซะกิ ริเอะ ทะนะกะ จิอากิ ฟูจิโมโต้ |
กำกับภาพ | Katsuyoshi Kishi |
ตัดต่อ | Okayasu Promotions |
ดนตรีประกอบ | ซาวาดะ คัน |
ผู้จัดจำหน่าย | ![]() ![]() |
วันฉาย | ![]() ![]() |
ความยาว | 99 นาที |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
ทำเงิน | 3.16 พันล้านเยน [1] |
โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ ตอน สงครามเงือกใต้สมุทร (ญี่ปุ่น: ドラえもん のび太の人魚大海戦; โรมาจิ: Doraemon Nobita no Ningyo Daikaisen) เป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว ภาพยนตร์ชุดนี้ถือเป็นตอนที่ 30 ของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ โดยได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) มีความยาวทั้งสิ้น 99 นาที และเข้าฉายในประเทศไทย วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยฉายไปได้ 5 สัปดาห์ รายได้รวมที่ฉายในประเทศไทย $226,393 [2]
ภาพยนตร์เรื่องนี้ชนะเลิศและได้รางวัล Japan Academy Prize ในแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมแห่งปีในงาน Japan Academy Prize ครั้งที่ 34 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงแอนิเมชั่นแห่งปี[3]
เรื่องย่อ[แก้]
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อโนบิตะบอกว่าอยากไปดำน้ำเพื่อไปอวดซึเนโอะ โดราเอมอนจึงใช้ "ปั้มซิมุเลเตอร์ผิวน้ำมโนภาพ" ทำให้เมืองจมลงสู่ก้นทะเล ในขณะที่กำลังว่ายน้ำอยู่กับฝูงปลาอย่างสนุกสนาน พวกโนบิตะก็ได้พบกับโซเฟีย เจ้าหญิงแห่งชนเผ่าเงือกที่ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในทะเลบนโลกตั้งแต่เมื่อ 5,000 ปีก่อน โซเฟียได้พาพวกโนบิตะลงไปยังเมืองใต้ทะเล พวกเขาได้สวมชุดเงือกและสนุกกับการผจญภัยใต้ท้องทะเล
แต่ในขณะนั้นเองปลาไหลยักษ์ก็พุ่งเข้ามาจู่โจมพวกเขา แม้จะเอาชีวิตรอดมาได้ แต่ชิซุกะก็ถูกชนเผ่าปลาปีศาจจับตัวไป หลังจากได้รู้เรื่องเกี่ยวกับดาบแห่งตำนานของชนเผ่าเงือกซึ่งเป็นสิ่งที่ชนเผ่าปลาปีศาจต้องการจะครอบครอง พวกโนบิตะจึงตัดสินใจที่จะช่วยชนเผ่าเงือกต่อสู้เพื่อปกป้องดาบแห่งตำนานเอาไว้
ผู้พากย์[แก้]
ตัวละคร | เวอร์ชันญี่ปุ่น ![]() |
เวอร์ชันไทย ![]() |
---|---|---|
โดราเอมอน | วะซะบิ มิซุตะ | ฉันทนา ธาราจันทร์ |
โนบิตะ | เมะงุมิ โอะฮะระ | ศันสนีย์ วัฒนานุกูล |
ซิซุกะ | ยุมิ คะกะซุ | ศรีอาภา เรือนนาค |
ไจแอนท์ | ซุบะรุ คิมุระ | นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ |
ซูเนโอะ | โทะโมะกะซุ เซะกิ | อรุณี นันทิวาส |
โดเรมี | ชิอะกิ ฟุจิโมะโตะ | อรุณี นันทิวาส |
ทามาโกะ (แม่โนบิตะ) | โคะโตะโนะ มิสึอิชิ | สุลัคษณา เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
โนบิสึเคะ (พ่อโนบิตะ) | ยะสุโนะริ มะสึโมะโตะ | หฤษฎ์ ภูมิดิษฐ์ |
โซเฟีย | ริเอะ ทะนะกะ | เบญจวรรณ วนิชจิวพันธ์ |
ฮาริโบ้ | มะยุมิ อีซุกะ | ศรีอาภา เรือนนาค |
บุยคิน | ฟุบิโตะ ยะมะโนะ | สกล รัตนพรหมมา |
ราชีนีองดีเน่ | มิกิ มะยะ | อรุณี นันทิวาส |
ศาสตราจารย์เมซีน่า | โยะอิชิ มุกุมิซุ | นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ |
ซักคาน่า | คุง ซะกะนะ | หฤษฎ์ ภูมิดิษฐ์ |
โดรากิส | เคนโด โคะบะยะชิ | ธีระ โรจนานันท์ |
เพลงประกอบ[แก้]
- เพลงเปิด: "Yume wo Kanaete Doraemon" โดย Mao
- เพลงปิด: "Kaeru Basho" โดย Thelma Aoyama[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Box Office Leaders". Motion Picture Producers Association of Japan. สืบค้นเมื่อ November 19, 2015.
- ↑ ยอดรวมรายได้ของโดราเอมอนฉบับภาพพยนตร์ ตอน โนบิตะ สงครามเงือกใต้สมุทร เวป Boxofficemojo.com
- ↑ "第 34 回日本アカデミー賞優秀賞" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Academy Prize. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-13. สืบค้นเมื่อ 2010-12-17.
- ↑ 「映画ドラえもん のび太の人魚大海戦」公式サイト|ニュース