เอเชียนเกมส์ 2022
เมืองเจ้าภาพ | หางโจว |
---|---|
ประเทศ | จีน |
คำขวัญ | ใจถึงใจ @อนาคต (จีน: 心心相融,@未来)[1][2] |
กีฬา | 40 ชนิดกีฬา (61 ชนิดย่อย) |
ชนิด | 481 ประเภท |
พิธีเปิด | 23 กันยายน 2566 |
พิธีปิด | 8 ตุลาคม 2566 |
ประธานพิธีเปิด | ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง |
นักกีฬาปฏิญาณ | เจิ้ง ซีเหวย์ ซุน หยิ่งชา |
ผู้จุดคบเพลิง | วัง ชุ่น |
สนามกีฬาหลัก | ศูนย์กีฬาโอลิมปิกหางโจว |
เว็บไซต์ทางการ | www |
ฤดูร้อน | |
ฤดูหนาว | |
เอเชียนเกมส์ 2022 (จีน: 2022年亚洲运动会; พินอิน: Èr líng èr èr nián Yàzhōu Yùndònghuì) ชื่อที่เป็นทางการ กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 (จีน: 第十九届亚洲运动会; พินอิน: Dì Shíjiŭ Jiè Yàzhōu Yùndònghuì) หรือ หางโจว 2022 (จีน: 杭州2022; พินอิน: Hángzhōu Èr líng èr èr) เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญที่สุดในทวีปเอเชีย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน
เดิมมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 25 กันยายน พ.ศ. 2565 จนในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 การแข่งขันถูกเลื่อนมาปี พ.ศ. 2566 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[3] ได้ประกาศวันจัดการแข่งขันเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[4] โดยหางโจวจะเป็นเมืองที่ 3 ของจีนที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ถัดจากจากปักกิ่งในเอเชียนเกมส์ 1990 และกว่างโจวในเอเชียนเกมส์ 2010
การคัดเลือกเจ้าภาพ
[แก้]มีเพียงเมืองเดียวที่เสนอตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพ โดยเมืองหางโจวได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2558 สิทธิการเป็นเจ้าภาพได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558 ในการประชุมสามัญแห่งสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย สมัยที่ 34 ที่อาชกาบัต เติร์กเมนิสถาน โดยประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เชค อะห์หมัด อัล-ฟาฮัด อัล-อะห์เหม็ด อัล-ซาบะห์
เมืองที่ผ่านการคัดเลือก
[แก้]ผลการตัดสินประเทศเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 2022 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
เมือง | ประเทศ | รอบที่ 1 | ||||
หางโจว | จีน | เอกฉันท์ |
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
[แก้]เมือง | ประเทศ | คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|
หางโจว | จีน | คณะกรรมการโอลิมปิกจีน (COC) | ชนะเลิศ |
คณะกรรมการโอลิมปิกจีนได้เข้าร่วมการคัดเลือกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558[5] หลังจากที่ปักกิ่งได้รับเลือกให้เป็นนครเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 หางโจวเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง เป็นเมืองเดียวที่เสนอตัวคัดเลือก โดยจะเป็นครั้งที่สามของจีนที่ได้จัดการแข่งขันมหกรรมกีฬานี้หลังจากจัดการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 1990 ที่ปักกิ่ง และเอเชียนเกมส์ 2010 ที่กว่างโจว |
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ
[แก้]การตลาด
[แก้]สัญลักษณ์
[แก้]"Surging Tides" สัญลักษณ์ของการแข่งขันได้ถูกเปิดตัวที่สำนักงานใหญ่ของหางโจว เคาท์เจอร์ เรดิโอ เทเลวิชั่น กรุป เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะคล้ายพัด ลู่วิ่ง แม่น้ำเฉียนถัง และคลื่นวิทยุ (สัญลักษณ์การเชื่อมต่อไร้สาย) คณะกรรมการจัดงานระบุว่าสัญลักษณ์ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนถึง "การสะท้อนถึงความเป็นสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะตัวของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งด้วยความเป็นจีนนั้นทำให้สามารถรวบรวมและประสานยุคสมัยต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว มีความเป็นเอกภาพ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งตรงกับแนวทางการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย"[6][7][8]
มาสคอต
[แก้]มาสคอตประจำการแข่งขันทั้ง 3 ตัว ได้แก่ คองคอง (琮琮) เหลียนเหลียน (莲莲) และเฉินเฉิน (宸宸) หรือเรียกรวมกันว่า "ความทรงจำของเจียงหนาน" (จีน: 江南忆; พินอิน: Jiāngnán yì) ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของไป๋ จวีอี้ กวีในช่วงราชวงศ์ถัง[9] "ความทรงจำของเจียงหนาน สิ่งที่น่าจดจำที่สุดคือหางโจว (江南忆,最忆是杭州)" โดยผสมผสานจุดเด่นของประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ นิเวศวิทยาธรรมชาติ และนวัตกรรมของหางโจว[10] ถูกเปิดตัวเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยมีการแสดงภาพเป็นหุ่นยนต์ฮีโร่ที่มีต้นกำเนิดจากโบราณสถานของเมืองเหลียงจู่ ทะเลสาบตะวันตก และคลองใหญ่[11][12]
คองคองมีตัวเป็นสีเหลือง แสดงถึงดินและการเก็บเกี่ยว ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายใบหน้าของสัตว์ในตำนาน นิสัยมีความมุ่งมั่น จริงใจ มีน้ำใจนักกีฬา และมีความกระตือรือร้น
เหลียนเหลียนมีตัวเป็นสีเขียว สื่อถึงชีวิตและธรรมชาติ ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายใบบัวที่ประดับด้วยสระน้ำสามสระสะท้อนพระจันทร์ ทิวทัศน์อันงดงามของทะเลสาบตะวันตก และสัญลักษณ์ของอินเทอร์เน็ต นิสัยมีความบริสุทธิ์ ใจดี มีชีวิตชีวา น่ารัก สง่างาม และมีอัธยาศัยดี
เฉินเฉินมีตัวเป็นสีฟ้า สื่อถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายกับกระแสน้ำของแม่น้ำเฉียนถังและสะพานกงเฉิน นิสัยมีความกล้าหาญ ฉลาด มองโลกในแง่ดี และกล้าได้กล้าเสีย
คำขวัญ
[แก้]คำขวัญอย่างเป็นทางการของเอเชียนเกมส์ 2022 "ใจถึงใจ @อนาคต (Heart to Heart, @Future)" ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดเป็น 1,000 วันก่อนพิธีเปิด คำขวัญนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อมโยงที่เอเชียนเกมส์สร้างขึ้นระหว่างประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย[13]
เหรียญรางวัล
[แก้]เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 นับถอยหลัง 100 วันสู่เอเชียนเกมส์ 2022 เหรียญรางวัลเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 เปิดตัวในชื่อ "ชานฉ่วย" ได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจาก "ยี่ว์ฉง" หยกโบราณที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ในวัฒนธรรมเหลียงจู่[14] ด้านหน้ามีสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน เนินเขาที่ปกคลุมด้วยหมอก และเมืองเป็นทะเลสาบที่กระเพื่อม และภูเขาลูกคลื่นที่อยู่ไกลออกไป ในขณะที่ด้านหลังมีตราสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์แห่งเอเชียนเกมส์ และชื่อของประเภทการแข่งขันเป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ[15][16]
คบเพลิง
[แก้]"เปลวเพลิงนิรันดร์ (Eternal Flame)" คือชื่อของคบเพลิงประจำการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2022 การออกแบบคบเพลิงมีชื่อว่า "Torch Fire" แนวคิดการออกแบบได้มาจากวัฒนธรรมเหลียงจู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์อารยธรรมจีน 5,000 ปี ด้วยบรรยากาศที่เคร่งขรึมและรูปร่างที่ยาวไกล ได้รับการถ่ายทอดผ่านผู้ถือคบเพลิงเพื่อแสดงให้โลกเห็นถึงความคิดสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์ของการออกแบบของประเทศจีน และพลังอันแข็งแกร่งของการผลิตในประเทศจีน[17]
เพลงประกอบ
[แก้]"With You and Me" เพลงประกอบการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ได้รับการเผยแพร่พร้อมกับมิวสิกวิดีโอเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566 ขับร้องโดย แองเจล่า ชาง, แจ็กสัน หวัง, ซันนี และถาน เจี้ยนซื่อ และอีกเพลงได้รับการคัดเลือกจากการประกวดระดับโลกเพื่อแต่งเพลงธีมประกอบการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ผลิตโดยนาดาวมิวสิคจากประเทศไทย มีชื่อเพลงต้นฉบับว่า "เพื่อนกัน (Let's Celebrate)" ร่วมขับร้องโดยไอซ์ พาริส, บิวกิ้น พุฒิพงศ์, พีพี กฤษฏ์ และนาน่า ศวรรยา[18][19]
รถไฟธีมเอเชียนเกมส์
[แก้]เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 รถไฟหมายเลข 19045 ของรถไฟใต้ดินหางโจวสาย 19 ถูกเรียกว่า เอเชียนเกมส์ (จีน: 亚运号) ได้เริ่มให้บริการ รถไฟแสดงสัญลักษณ์ของหางโจวเอเชียนเกมส์ที่ด้านหน้าและรอบด้านรถไฟ รวมถึงเปลี่ยนที่นั่งและราวจับเป็นสีม่วง ขบวนนี้เป็นรถไฟขบวนเดียวในสายนี้ที่มีระบบหน้าจอโอแอลอีดีเริ่มในขบวนรถไฟ องค์ประกอบของเอเชียนเกมส์เหล่านี้จะคงอยู่ถาวร[20] นอกจากนี้ ในรถไฟใต้ดินหางโจว สาย 1, สาย 2, สาย 4 และสาย 5 จะมีรถไฟธีมเอเชียนเกมส์ด้วย[21]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 รถไฟฟู่ซิงธีมเอเชียนเกมส์ได้เปิดตัวขึ้น รถไฟขบวนนี้มีธีม รันเซอ เจียงหนาน (จีน: 润泽江南) โดยใช้สีม่วงเป็นสีหลัก พร้อมภาพวาด คำขวัญ และสัญลักษณ์ของหางโจวเอเชียนเกมส์ ในระหว่างการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ รถไฟจะให้บริการระหว่างหางโจวและหนิงปัว เวินโจว จินหัว เช่าซิง และหูโจว[22]
ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566 รถไฟธีมเอเชียนเกมส์ "Jincai" ของการขนส่งทางรางจินหัว ได้เริ่มให้บริการจากสถานีรถไฟจินหัว[23]
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566 รถไฟเอเชียนเกมส์ของรถไฟเหวินโจวสาย S1 ได้เริ่มให้บริการ ซึ่งมีสีม่วงเป็นสีหลัก โดยมีองค์ประกอบของเอเชียนเกมส์รวมถึงคำขวัญ[24]
การวิ่งคบเพลิง
[แก้]ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 ได้มีการเปิดตัวคบเพลิงของเอเชียนเกมส์ 2022 มีชื่อว่า "เปลวเพลิงนิรันดร์ (Eternal Flame)"[25] การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากองค์ประกอบของวัฒนธรรมเหลียงจู่ เช่น รูปแบบลายนิ้วมือเดอร์มาโตกลิฟฟิก และการจารึกกระดูกออราเคิล และมีความสูงโดยรวม 730 มิลลิเมตร และน้ำหนักสุทธิ 1.2 กิโลกรัม[26][27]
คบเพลิงถูกจุดขึ้นในโบราณสถานของเมืองเหลียงจู่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 การวิ่งคบเพลิงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ทะเลสาบตะวันตก และจะเดินทางข้าม 11 เมืองของมณฑลเจ้อเจียง[28] มีการวิ่งคบเพลิงแบบดิจิทัล ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมหกรรมกีฬานี้ เปิดตัวทั่วโลกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และเริ่มวันเดียวกับการวิ่งคบเพลิงจริง[29][30]
สนามแข่ง
[แก้]การแข่งขันครั้งนี้จะใช้สนามกีฬา 44 แห่ง ประกอบด้วยสนามกีฬาที่มีอยู่แล้ว 30 แห่ง และสนามกีฬาที่สร้างขึ้นใหม่ 14 แห่ง[31] สนามแข่งขันส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองหางโจวและเขตของเมือง มีบางการแข่งขันจะจัดขึ้นที่ เต๋อชิง, จินหัว, หนิงปัว, เช่าซิง และเวินโจว รถไฟความเร็วสูงสายใหม่กำลังถูกสร้างขึ้นระหว่างหางโจวและหูโจวสำหรับการแข่งขันนี้[32][33]
เขต | สนามแข่งขัน | กีฬา | ความจุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
เขตปินเจียง | ศูนย์กีฬาโอลิมปิกหางโจว ศูนย์กีฬาทางน้ำ | ระบำใต้น้ำ, กระโดดน้ำ , ว่ายน้ำ | 12,000 | |
ศูนย์กีฬาโอลิมปิกหางโจว สควอชเอ็กซ์โปเซ็นเตอร์ | สควอช | 1075 (สนามหลัก) | [34] | |
ศูนย์กีฬาโอลิมปิกหางโจว ยิมเนเซียม | บาสเกตบอล (รอบแรก, รอบสุดท้าย) | |||
ศูนย์กีฬาโอลิมปิกหางโจว สนามหลัก | พิธีการ, กรีฑา, ฟุตบอล (รอบสุดท้าย) | 80,000 | ||
ศูนย์กีฬาโอลิมปิกหางโจว ศูนย์เทนนิส | เทนนิส, ซอฟต์เทนนิส | 10,000 (สนามกลาง) | ||
ปินเจียง ยิมเนเซียม | แบดมินตัน | 3,900 | [35] | |
อำเภอฉุนอัน | ศูนย์กีฬาฉุนอัน | จักรยานถนน, ว่ายน้ำมาราธอน, ไตรกีฬา | ||
เขตฟู่หยาง | ศูนย์กีฬาทางน้ำฟู่หยาง | เรือแคนู (สลาลม, สปรินต์), เรือพาย | ||
ศูนย์กีฬาทางน้ำฟู่หยางหยินหู | ยิงธนู, ยิงปืน, ปัญจกีฬาสมัยใหม่, ไตรกีฬา | |||
เขตก่งชู่ | ศูนย์กีฬาคลองก่งชู่ สนามฮอกกี้ | ฮอกกี้ | 6,000 | |
ศูนย์กีฬาคลองก่งชู่ ยิมเนเซียม | เบรกแดนซ์, เทเบิลเทนนิส | 6,930 | [36] | |
หางโจว ยิมเนเซียม | มวยสากล, มวยปล้ำ | 5,140 | ||
ศูนย์อีสปอร์ตจีน หางโจว | อีสปอร์ต | 4,087 | [37] | |
เขตหลินอัน | หลินอัน ยิมเนเซียม | เทควันโด, มวยปล้ำ | 3,728 | [38] |
เขตหลินผิง | ศูนย์กีฬาหลินผิง ยิมเนเซียม | คาราเต้, วอลเลย์บอลในร่ม | ||
สนามศูนย์กีฬาหลินผิง | ฟุตบอล | 12,000 | [39] | |
เขตเฉียนถัง | สนามมหาวิทยาลัยหางโจว ไดอานี | ฟันดาบ | ||
ศูนย์กีฬาโรลเลอร์สปอร์ตเฉียนถัง | โรลเลอร์สปอร์ต | |||
ศูนย์วัฒนธรรมและกีฬา มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงกงซาง | แฮนด์บอล | |||
เขตช่างเฉิง | สถาบันหมากรุกสากลหางโจว | บริดจ์, หมากรุกสากล, หมากล้อม, หมากรุกจีน | ไม่มี | |
สนามศูนย์กีฬาช่างเฉิง | ฟุตบอล | 13,544 | [40] | |
อำเภอถงหลู | ศูนย์สนามม้าถงหลู | ขี่ม้า | 3,104 | [41] |
เขตเซียวชาน | ศูนย์วัฒนธรรมและกีฬากัวลี | กาบัดดี, วูซู | ||
หลินปู ยิมเนเซียม | ยูโด, ยิวยิตสู, คูราช, เทควันโด | 2,700 | [42] | |
ยิมเนเซียม วิทยาเขตเซียวชาน, มหาวิทยาลัยหางโจวนอร์มอล | แฮนด์บอล | |||
ยิมเนเซียมศูนย์กีฬาเซียวชาน | ยกน้ำหนัก | |||
สนามศูนย์กีฬาเซียวชาน | ฟุตบอล | 10,118 | [43] | |
เขตซีหู | สนามคริกเกต วิทยาเขตปิงเฟง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้อเจียง | คริกเกต | 1,347 | [44] |
สนามกอล์ฟทะเลสาบตะวันตก | กอล์ฟ | |||
ศูนย์กีฬาหฺวางหลง | โปโลน้ำ, ยิมนาสติก, แฮนด์บอล | 8,000 | ||
สนามศูนย์กีฬาหฺวางหลง | ฟุตบอล | 51,000 | ||
ยิมเนเซียม วิทยาเขตจื่อจินก่าง, มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง | บาสเกตบอล | |||
เขตยฺหวีหาง | สนามวิทยาเขตคังเฉียน, มหาวิทยาลัยหางโจวนอร์มอล | รักบี้ 7 คน | 12,000 | [45] |
ยิมเนเซียมวิทยาเขตคังเฉียน, มหาวิทยาลัยหางโจวนอร์มอล | วอลเลย์บอลในร่ม | 8,033 | [46] | |
นอกหางโจว | ||||
เต๋อชิง | ยิมเนเซียม ศูนย์กีฬาเต๋อชิง | วอลเลย์บอลในร่ม | ||
จินหัว | สนามตะวันออก มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงนอร์มอล | ฟุตบอล | 11,349 | |
ยิมเนเซียม ศูนย์กีฬาจินหัว | เซปักตะกร้อ, แฮนด์บอล | 5,900 | [47] | |
สนามกีฬาจินหัว | ฟุตบอล | 27,000 | [48] | |
หนิงปัว | ชายหาดแบนเบียนชาน | วอลเลย์บอลชายหาด | 3,000 | [49] |
ปายเหลิน ยิมเนเซียม | วอลเลย์บอลในร่ม (รอบสุดท้าย) | 5,000 | ||
ศูนย์กีฬามหาสมุทรเจ้อเจียง | เรือใบ | ไม่มี | ||
เช่าซิง | ศูนย์วัฒนธรรมกีฬาเบสบอลเช่าซิง | เบสบอล, ซอฟต์บอล | 5,000 (สนามเบสบอลหลัก) 2,500 (สนามเบสบอลสำรอง) 2,000 (สนามซอฟต์บอลหลัก) 500 (สนามซอฟต์บอลสำรอง) |
|
ยิมเนเซียมศูนย์กีฬาโอลิมปิกเช่าซิง | บาสเกตบอล | 9,550 | [50] | |
ยิมเนเซียมนครสิ่งทอจีน | วอลเลย์บอลในร่ม | 5,000 | [51] | |
ศูนย์ปีนเขาหยางซาน | ปีนหน้าผา | 2,100 | [52] | |
เวินโจว | ศูนย์กีฬาเรือมังกรเวินโจว | เรือแคนู (เรือยาวมังกร) | ||
สนามศูนย์กีฬาโอลิมปิกเวินโจว | ฟุตบอล | 50,000 | ||
สนามศูนย์กีฬาเวินโจว | ฟุตบอล | 18,000 |
หมู่บ้านนักกีฬา
[แก้]หมู่บ้านนักกีฬาเอเชียนเกมส์หางโจว ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองเฉียนเจียงเซ็นจูรี่ บนฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำเฉียนถังครอบคลุมพื้นที่ 1.13 ตารางกิโลเมตร หมู่บ้านเอเชียนเกมส์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ หมู่บ้านนักกีฬา หมู่บ้านเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค และหมู่บ้านสื่อมวลชน และมีสิ่งอํานวยความสะดวกสนับสนุน เช่น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่นานาชาติ พื้นที่สาธารณะ และสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนอื่น ๆ เป็นสถานที่จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่ใหญ่ที่สุด[53] หมู่บ้านเอเชียนเกมส์มีอาคาร 37 หลัง แต่ละหลังมีความสูงตั้งแต่ 10 ถึง 42 ชั้น และสามารถรองรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมได้ทั้งหมด 10,400 คน ห้องพักมีให้บริการในห้องเตียงใหญ่และห้องแบบอพาร์ตเมนต์[54]
เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2566 หมู่บ้านเอเชียนเกมส์หางโจวได้เปิดให้บุคลากของคณะผู้แทนที่เดินทางล่วงหน้าเข้าพัก[55]โดยหมู่บ้านเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กันยายน[56]
การแข่งขัน
[แก้]พิธีเปิด
[แก้]พิธีเปิดจะจัดขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่สนามกีฬาหลักในศูนย์กีฬาโอลิมปิก ในเมืองหางโจว ประเทศจีน พิธีดังกล่าวกำกับโดย Sha Xiaolan ผู้ช่วยผู้กำกับพิธีในโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง
สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เป็นประธานในพิธี อีกทั้งยังมีผู้นำและผู้แทนจากต่างประเทศเข้าร่วมพิธีได้แก่ บัชชาร อัลอะซัด ประธานาธิบดีซีเรีย, พระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี กษัตริย์แห่งกัมพูชา, มิชาล อัลอะห์มัด อัลญาบริ อัศเศาะบาห์ มกุฎราชกุมารแห่งคูเวต, ปุษปกมล ทาหาล นายกรัฐมนตรีเนปาล, ฮัน ด็อก-ซู นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้, ชานานา กุฌเมา นายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเต, โจฮารี อับดุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรมาเลเซีย, โทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ
กีฬา
[แก้]เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้ประกาศในขั้นต้นว่าการแข่งขันครั้งนี้จะมีกีฬา 37 ชนิด รวมทั้งกีฬาโอลิมปิกถาวร 28 ชนิดที่จะเข้าแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ที่ปารีส รวมถึงรายการในกีฬาที่ไม่ใช่กีฬาโอลิมปิกอื่น ๆ นำไปสู่การเพิ่มประเภทกีฬาต่าง ๆ เช่น การว่ายน้ำในที่เปิด และยิมนาสติกลีลาแบบกลุ่ม[57]
ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562 ได้มีการเพิ่มกีฬาเบสบอล ซอฟต์บอล คาราเต้ และปีนผา (ซึ่งเป็นประเภทกีฬาเสริมในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กำลังจะมีขึ้นในขณะนั้น) เข้ามาในโปรแกรม[58] ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีการประกาศเพิ่มกีฬาอีสปอร์ต (ซึ่งเป็นกีฬาสาธิตในปี 2018) และเพิ่มกีฬาเบรกแดนซ์ (ซึ่งจะเปิดตัวในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024) ขยายการแข่งขันเป็น 61 ประเภทใน 40 ชนิดกีฬา[59]
การแข่งขันอีสปอร์ตในเอเชียนเกมส์ 2022 จะประกอบด้วยประเภทการชิงเหรียญรางวัล 7 รายการ และกีฬาสาธิตด้านหุ่นยนต์และความเป็นจริงเสมือน 2 รายการ[60] มีประเภทการแข่งขันจะจัด ได้แก่ อารีนาออฟเวเลอร์, โดตา 2, ดรีมออฟเดอะทรีคิงดัมส์ 2, อีเอ สปอร์ตส์ เอฟซี, ลีกออฟเลเจ็นดส์, พับจี โมบาย, และสตรีทไฟเตอร์ V เดิมทีมีรายชื่อของฮาร์ตสโตนแต่ตัดออกจากโปรแกรมหลังจากเน็ตอีสสิ้นสุดข้อตกลงใบอนุญาตกับบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในประเทศจีนเมื่อต้นปี พ.ศ. 2566[61]
การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเอเชียนเกมส์ 2018:[62]
- 5 กีฬาที่ถูกถอดออกประกอบด้วย 36 เหรียญทอง: โบว์ลิ่ง (6), เจ็ตสกี (4), พาราไกลดิ้ง (6), ปันจักสีลัต (16), ซัมโบ (4)
- 6 กีฬาที่เพิ่มเข้ามาประกอบด้วย 21 เหรียญทอง: ว่ายน้ำมาราธอน (2), เบรกแดนซ์ (2), หมากรุกสากล (4), อีสปอร์ต (ก่อนหน้าเป็นกีฬาสาธิต) (7), หมากล้อม (3), หมากรุกจีน (3)
- 6 กีฬาที่มีเหรียญทองลดลง (10): จักรยานเสือภูเขา (2), จักรยานลู่ (2), บริดจ์ (3), เรือพาย (ประเภทกีฬามีความต่างกันมาก) (1), เทควันโด (1), ยกน้ำหนัก (1)
- 11 กีฬาที่มีเหรียญทองเพิ่มขึ้น (39): ยิงธนู (2), มวยสากล (3), เรือยาวมังกร (1), คาราเต้ (2), ปัญจกรีฑาสมัยใหม่ (2), โรลเลอร์สปอร์ต (8), เรือใบ (4), ยิงปืน ( 13), สควอช (1), เทเบิลเทนนิส (2), วูซู (1)
- 3 กีฬาที่มีการเปลี่ยนจำนวนผู้นักกีฬา จำนวนเหรียญทอง: คูราช ลดลงจาก 14 คน เป็น 7 คน เรือแคนูสปรินต์เพิ่มจาก 10 เป็น 12 เหรียญทอง ปีนหน้าผาผลัดความเร็วชายและหญิงลดลง 2 เป็น 1 ทีม
- กรีฑา: เพิ่มเดิน 35 กิโลเมตร ทีมผสม และถอดเดิน 50 กิโลเมตร ชาย
61 ชนิดกีฬาย่อย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม:[63]
- กีฬาการแข่งขัน (24)
- กีฬาลูกบอล (18)
- กีฬาคู่แข่งขัน (9)
- กีฬาทางน้ำ (10)
กีฬาที่แข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2022[64] |
---|
|
ปฏิทินการแข่งขัน
[แก้]ต่อไปนี้เป็นปฏิทินการแข่งขันรุ่นที่ 2.3 ที่เผยแพร่ในเดือนสิงหาคม 2023[65] กำหนดการบาสเกตบอล (5×5) เป็นไปตามปฏิทินการแข่งขันรุ่นที่ 2.2[66]
- เวลาทั้งหมดเป็นเวลามาตรฐานจีน (UTC+8)
OC | พิธีเปิด | ● | รอบคัดเลือก | 1 | รอบชิงชนะเลิศ | CC | พิธีปิด |
ชนิดกีฬา | กันยายน | ตุลาคม | จำนวน เหรียญ ทอง | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
19 อ. |
20 พ. |
21 พฤ. |
22 ศ. |
23 ส. |
24 อา. |
25 จ. |
26 อ. |
27 พ. |
28 พฤ. |
29 ศ. |
30 ส. |
1 อา. |
2 จ. |
3 อ. |
4 พ. |
5 พฤ. |
6 ศ. |
7 ส. |
8 อา. | |||
พิธีการ | OC | CC | ||||||||||||||||||||
กีฬาทางน้ำ | ||||||||||||||||||||||
ระบำใต้น้ำ | ● | 1 | 1 | 2 | ||||||||||||||||||
กระโดดน้ำ | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 10 | ||||||||||||||||
ว่ายน้ำมาราธอน | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||||
ว่ายน้ำ | 7 | 7 | 6 | 7 | 7 | 7 | 41 | |||||||||||||||
โปโลน้ำ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 2 | |||||||
ยิงธนู | ● | ● | ● | 2 | 2 | 2 | 4 | 10 | ||||||||||||||
กรีฑา | 5 | 7 | 8 | 8 | 10 | 8 | 2 | 48 | ||||||||||||||
แบดมินตัน | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | ● | 5 | 7 | |||||||||||
เบสบอล | ||||||||||||||||||||||
เบสบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ||||||||||
ซอฟต์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | |||||||||||||||
บาสเกตบอล | ||||||||||||||||||||||
บาสเกตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||||||
บาสเกตบอล 3×3 | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 2 | ||||||||||||||
มวยสากล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 5 | 6 | 13 | ||||||||||
เบรกแดนซ์ | ● | 2 | 2 | |||||||||||||||||||
เรือแคนู | ||||||||||||||||||||||
สลาลม | ● | 2 | 2 | 4 | ||||||||||||||||||
สปรินต์ | ● | ● | 6 | 6 | 12 | |||||||||||||||||
คริกเกต | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 2 | ||||||
จักรยาน | ||||||||||||||||||||||
บีเอ็มเอ็กซ์ | 2 | 2 | ||||||||||||||||||||
จักรยานเสือภูเขา | 2 | 2 | ||||||||||||||||||||
ถนน | 2 | 1 | 1 | 4 | ||||||||||||||||||
ลู่ | 2 | 3 | 3 | 4 | 12 | |||||||||||||||||
เรือยาวมังกร | 2 | 2 | 2 | 6 | ||||||||||||||||||
ขี่ม้า | 1 | ● | 1 | ● | ● | 2 | 1 | 1 | 6 | |||||||||||||
ฟันดาบ | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 12 | |||||||||||||||
ฮอกกี้ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||||
ฟุตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||||
กอล์ฟ | ● | ● | ● | 4 | 4 | |||||||||||||||||
ยิมนาสติก | ||||||||||||||||||||||
สากล | 1 | 1 | 1 | 1 | 5 | 5 | 14 | |||||||||||||||
ลีลา | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||||
แทรมโพลีน | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||||
แฮนด์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 2 | |||||||||||||
ยูโด | 4 | 5 | 5 | 1 | 15 | |||||||||||||||||
กาบัดดี | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 2 | |||||||||||||||
ศิลปะการต่อสู้ | ||||||||||||||||||||||
ยิวยิตสู | 3 | 3 | 2 | 8 | ||||||||||||||||||
คาราเต้ | 4 | 4 | 4 | 2 | 14 | |||||||||||||||||
คูราช | 3 | 2 | 2 | 7 | ||||||||||||||||||
กีฬาทางปัญญา | ||||||||||||||||||||||
บริดจ์ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 3 | 3 | |||||||||||
หมากรุกสากล | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 4 | ||||||||
อีสปอร์ต | ● | ● | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 7 | ||||||||||||
หมากล้อม | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | ● | 2 | 3 | |||||||||||
หมากรุกจีน | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | ● | 2 | 3 | ||||||||||||
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ | ● | ● | ● | 4 | 4 | |||||||||||||||||
โรลเลอร์สปอร์ต | ||||||||||||||||||||||
โรลเลอร์สเก็ต | 2 | 2 | 2 | 1 | 2 | ● | 1 | 10 | ||||||||||||||
สเกตบอร์ด | ● | 2 | ● | 2 | 4 | |||||||||||||||||
เรือพาย | ● | ● | ● | 7 | 7 | 14 | ||||||||||||||||
รักบี้ 7 คน | ● | ● | 2 | 2 | ||||||||||||||||||
เรือใบ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 14 | 14 | ||||||||||||||
เซปักตะกร้อ | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | 2 | 6 | ||||||||
ยิงปืน | 2 | 6 | 3 | 8 | 5 | 4 | 1 | 4 | 33 | |||||||||||||
ปีนหน้าผา | 2 | 2 | ● | 1 | 1 | 6 | ||||||||||||||||
สควอช | ● | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | 3 | 5 | |||||||||||
เทเบิลเทนนิส | ● | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | 1 | 2 | 2 | 7 | ||||||||||
เทควันโด | 2 | 3 | 3 | 3 | 2 | 13 | ||||||||||||||||
เทนนิส | ||||||||||||||||||||||
เทนนิส | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 3 | 5 | ||||||||||||||
ซอฟต์เทนนิส | ● | 2 | 1 | ● | 2 | 5 | ||||||||||||||||
ไตรกีฬา | 1 | 1 | 1 | 3 | ||||||||||||||||||
วอลเลย์บอล | ||||||||||||||||||||||
วอลเลย์บอลชายหาด | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | ||||||||||||
วอลเลย์บอลในร่ม | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 2 | |||||||
ยกน้ำหนัก | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 2 | 2 | 2 | 14 | |||||||||||||
มวยปล้ำ | 4 | 5 | 5 | 4 | 18 | |||||||||||||||||
วูซู | 2 | 2 | 2 | 2 | 7 | 15 | ||||||||||||||||
จำนวนเหรียญทองแต่ละวัน | 31 | 38 | 31 | 47 | 35 | 33 | 25 | 35 | 30 | 28 | 33 | 35 | 30 | 47 | 3 | 481 | ||||||
จำนวนเหรียญทองสะสม | 31 | 69 | 100 | 147 | 182 | 215 | 240 | 275 | 305 | 333 | 366 | 401 | 431 | 478 | 481 | 481 | ||||||
ชนิดกีฬา | กันยายน | ตุลาคม | จำนวน เหรียญ ทอง | |||||||||||||||||||
19 อ. |
20 พ. |
21 พฤ. |
22 ศ. |
23 ส. |
24 อา. |
25 จ. |
26 อ. |
27 พ. |
28 พฤ. |
29 ศ. |
30 ส. |
1 อา. |
2 จ. |
3 อ. |
4 พ. |
5 พฤ. |
6 ศ. |
7 ส. |
8 อา. |
ประเทศที่เข้าร่วม
[แก้]คาดว่าทั้ง 45 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เป็นสมาชิกของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียจะส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมแข่งขัน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้ประกาศแผนการเชิญนักกีฬาจากประเทศจากโอเชียเนียเข้าร่วมการแข่งขัน จะถือเป็นการเข้าร่วมครั้งแรกในเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน หลังจากเข้าร่วมเป็นครั้งแรกโดยรวมในเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 แม้ว่าในฐานะ "ผู้รับเชิญ" ไม่มีสิทธิ์ได้รับเหรียญรางวัลก็ตาม[67]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีการประกาศว่านักกีฬาจากโอเชียเนียจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันกรีฑา ไตรกีฬา โรลเลอร์สเก็ต ยกน้ำหนัก และวูซู นักกีฬาจะได้รับ "เหรียญเกียรติยศ" ซึ่งจะไม่นับรวมในการนับเหรียญอย่างเป็นทางการ[68] แผนดังกล่าวถูกระงับเนื่องจากขาดความสนใจจากสหพันธ์ที่เกี่ยวข้องในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[69]
เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้เสนอความเป็นไปได้ให้นักกีฬาชาวรัสเซียและเบลารุสเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ซึ่งนักกีฬาจากทั้งสองชาติสามารถแข่งขันกันเพื่อผ่านเข้ารอบในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 อย่างไรก็ตาม สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียจะยังคงอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรต่อประเทศรัสเซียและประเทศเบลารุส และอยู่ในการวิเคราะห์ว่าจะส่งผลกระทบต่อผลการแข่งขันของเอเชียนเกมส์หรือไม่[70][71]
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียอนุญาตให้นักกีฬาจำนวนถึง 500 คนจากประเทศรัสเซียและประเทศเบลารุสแข่งขันกันในสนามที่เป็นกลาง โดยไม่กระทบต่อการนับเหรียญรางวัล[72] ซึ่งการตัดสินใจได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC)[73] อย่างไรก็ตาม ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซียตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักกีฬาชาวรัสเซียและเบลารุสเนื่องจากไม่ได้รับคำเชิญ[74] จนเมื่อวันที่ 2 กันยายน คณะกรรมการโอลิมปิกสากลอ้างว่า ประเทศรัสเซียและประเทศเบลารุสยืนยันจะไม่เข้าร่วมในเอเชียนเกมส์ 2022 เนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค[75][76]
อัฟกานิสถานเข้าร่วมโดยนิตินัยภายใต้ธงสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน กลุ่มนักกีฬาชายทั้งหมดเดินทางมาจากภายในประเทศอัฟกานิสถาน ในขณะที่คณะกรรมการโอลิมปิกอัฟกานิสถานที่ยังหลงเหลืออยู่ ได้ส่งนักกีฬาอีกกลุ่มหนึ่งจากสามประเทศ (อิหร่าน ออสเตรเลีย และอิตาลี) รวมถึงนักกีฬาหญิง 17 คน[77]
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน |
---|
|
สรุปเหรียญการแข่งขัน
[แก้]ด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ได้แก่
* เจ้าภาพ ( จีน)
ลำดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | จีน (CHN)* | 201 | 111 | 71 | 383 |
2 | ญี่ปุ่น (JPN) | 52 | 67 | 69 | 188 |
3 | เกาหลีใต้ (KOR) | 42 | 59 | 89 | 190 |
4 | อินเดีย (IND) | 28 | 38 | 41 | 107 |
5 | อุซเบกิสถาน (UZB) | 22 | 18 | 31 | 71 |
6 | จีนไทเป (TPE) | 19 | 20 | 28 | 67 |
7 | อิหร่าน (IRI) | 13 | 21 | 20 | 54 |
8 | ไทย (THA) | 12 | 14 | 32 | 58 |
9 | บาห์เรน (BRN) | 12 | 3 | 5 | 20 |
10 | เกาหลีเหนือ (PRK) | 11 | 18 | 10 | 39 |
11–41 | ประเทศที่เหลือ | 70 | 111 | 235 | 416 |
รวม (41 ประเทศ) | 482 | 480 | 631 | 1593 |
การถ่ายทอดสด
[แก้]เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566 ในการประชุมผู้แพร่ภาพกระจายเสียงครั้งแรกที่จัดขึ้นในเมืองเจ้าภาพ ไชนามีเดียกรุป (CMG) ซึ่งเป็นสื่อของรัฐในประเทศจีน ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการออกอากาศถ่ายทอดสัญญาณ ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติตั้งอยู่ที่ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติหางโจว[103][104]
ลิขสิทธิ์การออกอากาศ
[แก้]ประเทศ | ผู้ถือลิขสิทธิ์ | อ้างอิง |
---|---|---|
จีน | [105] | |
ฮ่องกง | HOY TV | [106] |
อินเดีย | [107] | |
อินโดนีเซีย | MNC Media (RCTI, MNCTV, iNews, Vision+) | |
ญี่ปุ่น | ||
มาเก๊า | สถานีโทรทัศน์แห่งชาติมาเก๊า | |
มาเลเซีย | ||
ฟิลิปปินส์ | วัน สปอร์ต | |
สิงคโปร์ | มีเดียคอร์ป (ช่อง 5, มีวอช) | |
เกาหลีใต้ | ||
จีนไทเป |
|
[108] |
ไทย | [109] |
ความกังวลและการโต้เถียง
[แก้]เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 เสียงไซเรนโจมตีทางอากาศดังขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน เพื่อรำลึกถึงอุบัติการณ์มุกเดน หางโจวเคยส่งเสียงไซเรนการโจมตีทางอากาศทุก ๆ 18 กันยายน แต่การปฏิบัติดังกล่าวถูกระงับในปีนี้ สิ่งนี้นำไปสู่การคาดการณ์ว่าการตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นเพื่อปกป้องความรู้สึกของชาวต่างชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจและวิพากษ์วิจารณ์บนโซเชียลมีเดียของประเทศจีน[110]
ประเทศจีนออกวีซ่าแบบเย็บเล่มแทนการประทับตราให้กับนักกีฬาวูซูชาวอินเดียสามคนจากรัฐอรุณาจัลประเทศ ซึ่งประเทศจีนมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของเขตปกครองตนเองทิเบต ในขณะที่ประเทศอินเดียมองว่ารัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของตน การออกวีซ่าแบบเย็บเล่มถูกมองว่าเป็นวิธีการของจีนในการตั้งคําถามถึงอํานาจอธิปไตยของอินเดียเหนือรัฐอรุณาจัลประเทศ อินเดียประท้วงการตัดสินใจของจีน และยกเลิกการเยือนของอนุรัก ฐากูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการเยาวชนและกีฬาอินเดีย[111]
ประเทศเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การคว่ำบาตรขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (วาดา) โดยไม่อนุญาตให้ใช้ธงของเกาหลีเหนือในการแข่งขัน แต่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย อนุญาตให้ใช้ธงชาติเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการต่อไป วาดาได้ส่งคำเตือนอย่างเป็นทางการไปยังสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว[112]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "杭州亚运会主题口号发布" (ภาษาจีน). hangzhou2022.cn. 15 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-16. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
- ↑ "Hangzhou 2022 announces slogan for 19th Asian Games". ocasia.org. 16 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-05-05.
- ↑ Chakraborty, Amlan (2022-05-06). "Games Hangzhou Asian Games postponed until 2023 over COVID". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-07-25.
- ↑ "OCA Press Release: OCA announces new dates for the 19th Asian Games - Hangzhou". Olympic Council of Asia. 19 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2022. สืบค้นเมื่อ 19 July 2022.
- ↑ "Hangzhou submits bid for 2022 Asian Games". Inside the games. August 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 6, 2019.
- ↑ "Hangzhou Launches 2022 Asian Games Emblem". Infobae. 12 July 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2023. สืบค้นเมื่อ 2 March 2023.
- ↑ "Hangzhou 2022 launch official emblem as prepare to succeed Jakarta Palembang 2018 as Asian Games hosts". Inside the Games. 2018-08-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
- ↑ "ที่มาที่ไปของสัญลักษณ์และคำขวัญ เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19". stadiumth. 12 July 2023.
- ↑ "白居易_古诗文网". so.gushiwen.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
- ↑ "杭州亚运会吉祥物"江南忆"". www.hangzhou2022.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
- ↑ "Male robot triplets unveiled as Hangzhou Asian Games mascots". hangzhou2022.cn. Hangzhou Asian Games Organising Committee. 3 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2020. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
- ↑ "Mascots of Hangzhou Asian Games". hangzhou2022.cn. 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ Gillen, Nancy (16 September 2019). "OCA celebrate 1,000 days to go until 2022 Asian Games in Hangzhou". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 14 October 2021.
- ↑ "ถอดความหมาย! สัญลักษณ์บนเหรียญเอเชียนเกมส์ 2022 (แข่ง 2023) หมายถึงอะไรบ้าง". trueid. 20 September 2023.
- ↑ "Medal of 19th Asian Games unveiled". hangzhou2022.cn. 15 June 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ "เอเชียนเกมส์ เผยโฉมเหรียญรางวัล มาในรูปทรงหยกเหลี่ยม (มีคลิป)". khaosod. 19 June 2023.
- ↑ "杭州第19届亚运会火炬". www.hangzhou2022.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
- ↑ "MV for Hangzhou Asian Games official promotion song, With You and Me, released". hangzhou2022.cn. Hangzhou Asian Games Organising Committee. 28 April 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2023. สืบค้นเมื่อ 6 July 2023.
- ↑ "Hangzhou Asian Games releases theme song". E-Hangzhou. The Information Office of Hangzhou Municipal People's Government. 28 April 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2023. สืบค้นเมื่อ 6 July 2023.
- ↑ "杭州地铁"亚运号"首发开行,19号线将永久保留亚运元素" [Hangzhou Metro Asian Games Train started operation; Asian Games elements to be permanent kept]. The Paper news (ภาษาจีน). 2023-05-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 4 September 2023.
- ↑ "酷炫的"亚运号"定制专列来了 将永久留在杭州地铁19号线上" [Splended Asian Games train here, permanently kept on Hangzhou Metro Line 19]. Hangzhou News (ภาษาจีน). 2023-05-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 4 September 2023.
- ↑ Wenzhou (2023-07-22). "复兴号"亚运专列"来了!将在杭州、温州等市投用" (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 4 September 2023.
- ↑ "金华轨道交通"金彩"亚运号主题专列首发" [First appearance of Jincai Asian Games train of Jinhua Rail Transit]. Jinhua Municiple People's Government. Jinhua Daily. 2023-08-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 4 September 2023.
- ↑ "直达龙舟、足球赛事场馆 温州S1线亚运主题列车正式开行" (ภาษาจีน). 2023-08-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 4 September 2023.
- ↑ Andrew Dowdesdell (13 September 2021). "OCA celebrates one-year countdown to Hangzhou 2022 Asian Games". Inside The Games. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ "Torch of Hangzhou Asian Games". hangzhou2022.cn. 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ "Torch for Hangzhou 2022 Asian Games unveiled". Xinhua. 11 September 2021. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ "Flame for Hangzhou 2022 Asian Games lit in Liangzhu culture site". People's Daily Online. 15 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2023. สืบค้นเมื่อ 18 June 2023.
- ↑ "First Asian Games digital torch bearer program unveiled". hangzhou2022.cn. 28 November 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ "Embracing the Future: Asian Games Ignite First Digital Torch Relay". marketinginasia.com. 22 June 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ "Hangzhou to host 19th Asian Games in 2022". OCA. Olympic Council of Asia. 16 กันยายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2015.
- ↑ "Hangzhou Asian Games sponsorship revenue 'nearly $600m'". SportBusiness (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
- ↑ "杭州申办2022年亚运会 湖州将成为四大会场之一". FCCS. 19 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2016. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/spotnews/latestnews/202206/t20220625_50154.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/hangzhou/202204/t20220402_46936.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/hangzhou/202204/t20220402_46949.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/preparationprogress/202105/t20210513_11839.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/hangzhou/202204/t20220402_46942.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/hangzhou/202204/t20220402_46918.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/hangzhou/202204/t20220402_46919.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/spotnews/latestnews/202201/t20220112_43342.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/spotnews/latestnews/202204/t20220429_48322.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/hangzhou/202204/t20220402_46920.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/spotnews/latestnews/202107/t20210716_34760.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/hangzhou/202204/t20220402_46938.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/spotnews/latestnews/202107/t20210714_34617.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/Jinhua/202204/t20220402_46944.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/Jinhua/202204/t20220402_46944.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/competitions/venues/ningbo/202204/t20220402_46916.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/spotnews/latestnews/202105/t20210513_11963.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/spotnews/latestnews/202105/t20210513_11963.shtml
- ↑ https://www.hangzhou2022.cn/En/presscenter/spotnews/latestnews/202105/t20210513_11963.shtml
- ↑ "探营杭州亚运村:打造温馨舒适的"家"". 新华网 (ภาษาจีน). 2023-06-16. สืบค้นเมื่อ 2023-09-09.
- ↑ "杭州亚运村获赞"五星级"". cn.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
- ↑ "杭州亚运村今日预开村 迎接代表团先遣人员-中国网". zjnews.china.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
- ↑ "杭州亚运村正式开村 将为全体村民打造安全温馨舒适的家". zjnews.zjol.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
- ↑ "杭州亚运会举办时间公布". hangzhou2022.cn. Hangzhou Asian Games Organising Committee. 8 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 8 April 2019.
- ↑ McCullagh, Kevin (12 September 2019). "Karate, climbing, baseball and softball added to 2022 Asian Games programme". SportBusiness. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2020. สืบค้นเมื่อ 12 September 2019.
- ↑ "Games-E-sports, breakdancing win 2022 Asian Games spots". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
- ↑ Ahmed, Wasif (2021-09-08). "Asian Games 2022 in Hangzhou, China will feature 8 esports games as medal events". Dot Esports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
- ↑ "取消《炉石传说》 杭州亚运会电竞将设7个比赛项目_杭州2022年第19届亚运会官网". www.hangzhou2022.cn (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-29. สืบค้นเมื่อ 2023-07-29.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-08. สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
- ↑ "Sports".
- ↑ "The General Competition Schedule for the 19th Asian Games Hangzhou 2022 (First Edition) Is Officially Released". hangzhou2022.cn. Hangzhou Asian Games Organising Committee. 16 September 2021. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
- ↑ "杭州亚运会总赛程更新至2.3版". Sina Weibo (ภาษาจีน). Sport Bureau of Zhejiang Province. 29 July 2023.
- ↑ "杭州亚运会总赛程2.2版发布". Hangzhou2022 (ภาษาจีน). 29 July 2023.
- ↑ Mackay, Duncan (3 March 2019). "Oceania countries set to compete at 2022 Asian Games in Hangzhou". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2020. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
- ↑ "Asian Games 2022: Oceania athletes to compete in Hangzhou, China next year and will receive 'honorary medals'". SCMP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2021. สืบค้นเมื่อ 22 November 2021.
- ↑ Ransom, Ian (2022-04-26). "Australia, New Zealand not sending athletes to Asian Games". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
- ↑ "OCA offers Russian, Belarusian athletes opportunity to compete at Asian Games". Alarabiya. 26 January 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2023. สืบค้นเมื่อ 26 January 2023.
- ↑ "The official statement of the Olympic Council of Asia on IOC EB's statement on solidarity with Ukraine, sanctions against Russia and Belarus, and the status of athletes from these countries". Olympic Council of Asia. 26 January 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2023. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
- ↑ "OCA paves way for Russian, Belarusian athletes to compete at Asian Games". Reuters. 8 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2023. สืบค้นเมื่อ 15 July 2023.
- ↑ "IOC supports Russian and Belarusian athletes participating in Asian Games". The Japan Times. 14 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2023. สืบค้นเมื่อ 15 July 2023.
- ↑ Mackay, Duncan (10 July 2023). "Doubt cast over proposal to let Russian and Belarussian athletes compete at Asian Games". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2023. สืบค้นเมื่อ 15 July 2023.
- ↑ "Athletes from Russia will not compete at Hangzhou Asian Games, International Olympic Committee decides". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-01.
- ↑ Shefferd, Neil (2 September 2023). "Russians and Belarusians to not compete at Hangzhou 2022 as plan "not feasible"". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 5 September 2023.
- ↑ "Afghanistan team for Asian games". Ap News. สืบค้นเมื่อ 5 October 2023.
- ↑ "Bangladesh's journey at 2023 Asian Games: All you need to know". Dhaka Tribune (ภาษาอังกฤษ). 10 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2023. สืบค้นเมื่อ 11 September 2023.
- ↑ "Bhutan to send highest-ever contingent to Asian Games". The Bhutan Live (ภาษาอังกฤษ). 25 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2023.
- ↑ "Asian Games 2023: can Hong Kong deliver medals? That is HK$1 million question as city reveals cash bonus for gold". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 26 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2023.
- ↑ "NOC Entries - Team INDEPENDENT ATHLETE PARTICIPATING UNDER OCA FLAG". Asian Games 2022. Hangzhou Asian Games Organising Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-01. สืบค้นเมื่อ 24 September 2023.
- ↑ "Asian Games in Hangzhou, Indonesia to Send 415 Athletes". Tempo (ภาษาอังกฤษ). 3 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 11 September 2023.
- ↑ "ثبتنام ۲۱۱ ورزشکار مرد و ۷۸ زن در بازیهای آسیایی". Iranian Students' News Agency (ภาษาเปอร์เซีย). 13 September 2023. สืบค้นเมื่อ 13 September 2023.
- ↑ "Jordan participates in the Asian Games "Hangzhou" with 16 sports". 7eNEWS (ภาษาอังกฤษ). 7 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 10 August 2023.
- ↑ "Head of Cabinet of Ministers sends off Kyrgyz athletes to Asian Games". Kabar.kg. สืบค้นเมื่อ 2023-09-15.
- ↑ "Macau to send 183 athletes to Hangzhou Asian Games". Macau Business (ภาษาอังกฤษ). 12 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2023. สืบค้นเมื่อ 13 September 2023.
- ↑ "Press Release Malaysian Contingent Bound for the 19th Asian Games Hangzhou 2022". Olympic Council of Malaysia (ภาษาอังกฤษ). 8 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "19th Asian Games Hangzhou 2022 – Courtesy Visit to the Ambassador of China to Malaysia". Olympic Council of Malaysia (ภาษาอังกฤษ). 1 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2023. สืบค้นเมื่อ 3 September 2023.
- ↑ Berkeley, Geoff (19 September 2023). "Mongolia targeting wrestling medals after naming largest Asian Games delegation". Inside the Games. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ "Nepal to send 253 athletes to take part in Asian Games". Onlinekhabar English. สืบค้นเมื่อ 17 September 2023.
- ↑ 峰云峰雨 (30 July 2023). "杭州亚运会朝鲜军团轮廓正浮出水面,时隔5年重返国际综合性赛事". baidu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2023. สืบค้นเมื่อ 28 August 2023.
- ↑ "Oman gears up for Asian Games in China". Muscat Daily (ภาษาอังกฤษ). 9 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2023. สืบค้นเมื่อ 11 September 2023.
- ↑ "222 Pakistani athletes set to participate in Asian Games 2023". Geo Super (ภาษาอังกฤษ). 23 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2023.
- ↑ Galvez, Waylon (23 May 2023). "PH to send 400-plus athletes in Asian Games". The Manila Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
- ↑ "QOC Announces Team Qatar Participation in Hangzhou Asian Games". Qatar Olympic Committee (ภาษาอังกฤษ). 11 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2023. สืบค้นเมื่อ 11 September 2023.
- ↑ "193 Saudi athletes prepare to compete in 19 sports at Asian Games". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 29 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 September 2023.
- ↑ "Team Singapore to field its largest Asian Games contingent in Hangzhou Games". Singapore National Olympic Council (ภาษาอังกฤษ). 5 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
- ↑ Lloyd, Owen (17 September 2023). "South Korea aiming for Hangzhou 2022 medals table podium with record delegation". Inside the games. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
- ↑ "NOC Entries - Team Sri Lanka". Asian Games 2022. Hangzhou Asian Games Organising Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-01. สืบค้นเมื่อ 24 September 2023.
- ↑ "140 athletes to represent UAE in 19th Asian Games Hangzhou". Emirates 247 (ภาษาอังกฤษ). 30 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2023. สืบค้นเมื่อ 11 September 2023.
- ↑ "Vietnam aims for golds in 7 sports at ASIAD 19". Vietnam Plus (ภาษาอังกฤษ). 3 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2023.
- ↑ "Competition Medal Count". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-30. สืบค้นเมื่อ September 24, 2023.
- ↑ "Hangzhou 2022 Asian Games host broadcaster to showcase 'noble' city to the world". Olympic Council of Asia. 25 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2023. สืบค้นเมื่อ 29 August 2023.
- ↑ "China Media Group Broadcast Services Official Website". cmgbs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2023. สืบค้นเมื่อ 29 August 2023.
- ↑ 林文琪 (2023-09-15). "腾讯、抖音、快手获杭州亚运转播权,首次实现全球云转播". 南方都市报. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
- ↑ 有线宽频. "杭州亞運|有線寬頻奪香港獨家轉播權". 有线宽频 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-23. สืบค้นเมื่อ 2022-10-17.
- ↑ Dhyani, Kunal (2022-01-27). "Asian Games LIVE Broadcast: Sony Pictures Networks India bags exclusive rights to broadcast Asian Games LIVE in Indian Sub-Continent". Inside Sport India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
- ↑ 趙若評 (2022-04-14). "東森超視轉播9月杭州亞運". 銘報 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-01. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ Phumin Kamkhet (2023-09-20). "เอเชียนเกมส์ 2023 : โปรแกรมถ่ายทอดสด, ตารางแข่ง, สรุปเหรียญรางวัล". sportingnews.
- ↑ "九一八警報未響 杭州亞運遇爭議 網傳「照顧來賓情緒」 當局:5月已辦不重響". Ming Pao.
- ↑ Boben, Blassy (2023-09-22). "India says China issued invalid visas to three Indian athletes for Asian Games". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2023-08-30.
- ↑ Berkeley, Geoff (2023-09-24). "Exclusive: OCA warned by WADA over use of North Korea flag at Hangzhou 2022". Inside the Games. สืบค้นเมื่อ 2023-08-30.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | เอเชียนเกมส์ 2022 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เอเชียนเกมส์ 2018 (จาการ์ตา–ปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย) |
การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (ค.ศ. 2022) |
เอเชียนเกมส์ 2026 (ไอจิ–นาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น) |