ข้ามไปเนื้อหา

เซนทอร์ (ดาวเคราะห์น้อย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซนทอร์ (อังกฤษ: Centaur) คือวัตถุคล้ายดาวเคราะห์ขนาดเล็กในระบบสุริยะรอบนอกที่มีวงโคจรไม่แน่นอน ตั้งชื่อตามเผ่าพันธุ์เซนทอร์ในตำนานปรัมปรา เนื่องจากมันมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างดาวเคราะห์น้อยกับดาวหาง วงโคจรของเซนทอร์ตัดหรืออาจตัดกับวงโคจรของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ในระบบ และมีช่วงอายุที่เปลี่ยนแปลงอยู่หลายล้านปี[1]

วัตถุคล้ายเซนทอร์ดวงแรกที่ค้นพบคือ 944 ฮิดัลโก ในปี ค.ศ. 1920 ในตอนนั้นมันยังไม่ถูกจัดประเภทเป็นประชากรชนิดใหม่ในระบบ จนกระทั่งมีการค้นพบ 2060 ไครอน ในปี ค.ศ. 1977 เซนทอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ค้นพบคือ 10199 ชาริโคล ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1997 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 260 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่พอๆ กับดาวเคราะห์น้อยขนาดย่อมๆ ในแถบหลักทีเดียว

ยังไม่เคยมีการถ่ายภาพระยะใกล้ของเซนทอร์ได้เลย แม้จะมีหลักฐานอยู่ในภาพถ่ายดวงจันทร์ฟีบี ของดาวเสาร์ ซึ่งถ่ายจากยานคาสสินีในปี ค.ศ. 2004 อาจจะจับภาพของเซนทอร์ไว้ได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Horner, J.; Evans, N.W.; Bailey, M. E. (2004). Simulations of the Population of Centaurs I: The Bulk Statistics. เก็บข้อมูลเมื่อ 22 กันยายน 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]