ข้ามไปเนื้อหา

เขตการปกครองของไต้หวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไต้หวัน หรือเรียกในชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน แบ่งเขตการปกครองตามกฎหมายออกเป็นหลายระดับ[1] เนื่องจากไต้หวันมีสถานะทางการเมืองที่ซับซ้อน ทำให้ระบบการแบ่งเขตการปกครองโดยนิตินัยเดิมที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และระบบพฤตินัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ

ตามรัฐธรรมนูญ สาธารณรัฐจีนแบ่งออกเป็น มณฑล [zh] และนครปกครองโดยตรง โดยแต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น นครภายใต้มณฑล และเทศมณฑล (อำเภอ) แต่ในปัจจุบัน มณฑลได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ และไม่มีบทบาทหน้าที่อีกต่อไป[2]

ด้วยความที่มณฑลไม่มีบทบาทหน้าที่ในทางปฏิบัติ ไต้หวันจึงมีการแบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 22 แห่ง โดยแต่ละแห่งจะมีรัฐบาลท้องถิ่นที่นำโดยหัวหน้าที่มาจากการเลือกตั้งและสภาท้องถิ่น งานที่รัฐบาลท้องถิ่นรับผิดชอบหรือรับผิดชอบบางส่วน ได้แก่ การบริการสังคม การศึกษา การวางผังเมือง การโยธาสาธารณะ การจัดการน้ำ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การขนส่ง และความปลอดภัยสาธารณะ และเขตการปกครองระดับบนสุดจึงมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ นครปกครองโดยตรง นครภายใต้มณฑล และเทศมณฑล (อำเภอ) โดยที่ทั้งนครปกครองโดยตรงและนครภายใต้มณฑลจะแบ่งย่อยออกเป็นเขต ส่วนเทศมณฑลจะแบ่งย่อยออกเป็นเมือง ตำบล และนครภายใต้เทศมณฑล เขตการปกครองเหล่านี้สามารถปกครองตนเองได้ระดับหนึ่ง และมีหน่วยงานของรัฐที่มีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งและสภาท้องถิ่น ซึ่งจะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันกับเทศมณฑล

เมื่อสาธารณรัฐจีนล่าถอยมายังไต้หวันในปี 1949 สาธารณรัฐจีนมีดินแดนที่อ้างสิทธิ์ซึ่งประกอบด้วย 35 มณฑล, 12 นครปกครองโดยตรง, 1 เขตปกครองพิเศษ และ 2 เขตปกครองตนเอง อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐจีนได้ควบคุมเพียงแค่มณฑลไต้หวัน และเกาะบางเกาะของมณฑลฝูเจี้ยนเท่านั้น นอกจากนี้ สาธารณรัฐจีนยังได้ควบคุมเกาะปราตัสและเกาะไท่ผิงในหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะทะเลจีนใต้ที่มีข้อพิพาท โดยหลังจากการถอยล่าไปไต้หวันของสาธารณรัฐจีน บรรดาเกาะดังกล่าวได้รับการกำหนดให้อยู่ภายใต้การบริหารของนครเกาสฺยง[3]

นับตั้งแต่ปี 1949 รัฐบาลได้ทำการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ภายใต้การควบคุม ได้แก่ ยกไทเปให้กลายเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 1967 เช่นเดียวกับเกาสฺยงในปี 1979 และปรับปรุงการบริหารระดับมณฑลให้มีความคล่องตัวขึ้น โดยถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ของมณฑลไปยังรัฐบาลกลาง (มณฑลฝูเจี้ยนในปี 1956 และมณฑลไต้หวันในปี 1998)[4] ในปี 2010 ได้มีการยกฐานะซินเป่ย์ ไถจง และไถหนาน ขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง และในปี 2014 ได้มีการยกฐานะเทศมณฑลเถายฺเหวียน ขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง การยกฐานะครั้งนี้ทำให้เขตการปกครองต่าง ๆ ที่กล่าวไปมีฐานะปัจจุบันเป็นเขตการปกครองระดับบนสุด[5]

ตามมาตรา 4 ของรัฐบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนครปกครองโดยตรงยังมีผลบังคับใช้กับเทศมณฑลที่มีประชากรเกิน 2 ล้านคนด้วย แม้ว่าในปัจจุบันบทบัญญัตินี้จะไม่ได้บังคับใช้กับเทศมณฑลใด ๆ ของไต้หวัน แต่ก็เคยบังคับใช้กับเทศมณฑลไทเป (ปัจจุบันคือนครซินเป่ย์) และเทศมณฑลเถายฺเหวียน (ปัจจุบันคือนครเถายฺเหวียน)

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบสาธารณรัฐในปี 1912 นั้น พรรคชาตินิยม (國民黨 Guómíndǎng; Kuomintang) ได้เถลิงอำนาจในประเทศจีน เขตการปกครองยังคงเป็นเหมือนในสมัยราชาธิปไตย เวลานั้น ประเทศจีนมี

เฉพาะพื้นที่ไต้หวันปัจจุบันนั้นเดิมประกอบด้วย มณฑลไต้หวัน (臺灣省 Táiwān Shěng; Taiwan Province) และมณฑลฝูเจี้ยน (福建省 Fújiàn Shěng; Fujian Province)

ต่อมาในปี 1949 สงครามกลางเมืองส่งผลให้พรรคสังคมนิยม (共产党 Gòngchǎndǎng; Communist Party) ได้เป็นใหญ่ในประเทศจีน พรรคสังคมนิยมเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบสังคมนิยม และเรียกประเทศเสียใหม่ว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" พรรคชาตินิยมจึงหนีไปยังเกาะไต้หวัน และจัดตั้งการปกครองบนพื้นที่ไต้หวันแยกเป็นประเทศต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เรียกว่า "สาธารณรัฐจีน" แต่พรรคสังคมนิยมยังคงถือว่า พื้นที่ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับทั้งสาธารณรัฐจีนเองก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนปัจจุบัน

สาธารณรัฐจีนนั้นชั้นแรกยังบริหารตามเขตการปกครองเดิม คือ มีมณฑลไต้หวัน กับมณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลทั้ง 2 แบ่งออกเป็นเทศบาลมณฑล และเทศมณฑล กับทั้งมีเขตการปกครองพิเศษเรียกว่า เทศบาลพิเศษ อยู่ในสังกัด แต่ภายหลังมีการจัดระเบียบใหม่ ในช่วงปี 1967 ถึง 2010 มีการแยกเทศบาลพิเศษออกจากมณฑลเพื่อให้ปกครองตนเองโดยขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา มีการให้เทศบาลมณฑลกับเทศมณฑลปกครองตนเองโดยขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางเช่นกัน ไม่ปกครองผ่านมณฑลอีก แต่ยังคงสังกัดมณฑลอย่างเดิม ปัจจุบัน มณฑลจึงเหลืออยู่แต่ในนาม แต่ก็ยังมิได้ยุบเลิกไปเสียทีเดียว[6][7]

ดินแดน

[แก้]

ในปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สาธารณรัฐจีนได้ไต้หวัน (ฟอร์โมซา) และเผิงหู (เพสคาโดเรส) จากจักรวรรดิญี่ปุ่น ต่อมาในปี 1949 และ 1950 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่นำโดยก๊กมินตั๋งแพ้สงครามกลางเมืองจีน จึงถอยไปตั้งรัฐบาลที่ไทเป ไต้หวัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีนสูญเสียอำนาจปกครองเกือบทั้งหมดในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเหลือเพียงเกาะนอกชายฝั่งบางส่วนเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง

[แก้]

ข้างล่างนี้เป็นตารางสรุปการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองของไต้หวัน

ชื่อ หมายเหตุ
มณฑลฝูเจี้ยน เมืองหลวงของมณฑลย้ายจากฝูโจวมายังจินเฉิง เทศมณฑลจินเหมิน ในปี 1949 รัฐบาลมณฑลถูกลดขนาดลงในปี 1956 และยุบเลิกในปี 2019
มณฑลไต้หวัน เมืองหลวงของมณฑลย้ายจากไทเปมายังหมู่บ้านใหม่จงซิงในปี 1956 รัฐบาลมณฑลถูกลดขนาดลงในปี 1998 และยุบเลิกในปี 2018
นครเกาสฺยง เดิมเป็นนครภายใต้มณฑล ได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 1979 และในปี 2010 ได้ควบรวมเทศมณฑลเกาสฺยงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนครเกาสฺยง
นครซินเป่ย์ (นครไทเปใหม่) เดิมเป็นเทศมณฑลไทเป ได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 2010
นครไถจง ยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงโดยการควบรวมนครไถจงกับเทศมณฑลไถจงในปี 2010
นครไถหนาน ยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงโดยการควบรวมนครไถหนานกับเทศมณฑลไถหนานในปี 2010
นครไทเป เดิมเป็นนครภายใต้มณฑล ได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 1967
นครเถา-ยฺเหวียน เดิมเป็นเทศมณฑลเถา-ยฺเหวียน ได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 2014

การยกฐานะครั้งนี้ทำให้เขตการปกครองต่าง ๆ ดังกล่าวมีฐานะปัจจุบันเป็นเขตการปกครองระดับบนสุด ซึ่งได้แก่ มณฑลในนาม 2 แห่งที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหาร, นครปกครองโดยตรง 6 แห่ง, และเขตการปกครองที่อยู่ภายใต้มณฑล ได้แก่ เทศมณฑล 13 แห่ง และนคร 3 แห่ง[8]

ระบบปัจจุบัน

[แก้]
ภาพรวมของเขตการปกครองของสาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐจีน
พื้นที่เสรี[] แผ่นดินใหญ่[]
นครปกครองโดยตรง[][] มณฑล[] ไม่ได้ปกครอง[]
นคร[][][] เทศมณฑล[]
เขต[] เขต
ชนพื้นเมือง
ภูเขา
[]
เขต[] นคร
ภายใต้
เทศมณฑล
[][]
เมือง[][] ตำบล[][] ตำบล
ชนพื้นเมือง
ภูเขา
[][]
หมู่บ้านในเมือง[] หมู่บ้านชนบท[]
ละแวก
หมายเหตุ
  1. เรียกอีกอย่างว่า พื้นที่ไต้หวัน หรือ พื้นที่ไถ-หมิ่น (จีน: 臺閩地區; แปลตรงตัว: "เขตไต้หวัน–ฝูเจี้ยน")
  2. แผ่นดินใหญ่ในที่นี้ประกอบด้วย จีนแผ่นดินใหญ่ ทิเบต และมองโกเลียนอก (ก่อนหน้านี้)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 มีฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้ง
  4. 4.0 4.1 4.2 นครปกครองโดยตรง, นคร, และนครภายใต้เทศมณฑล ทั้งหมดนี้ในภาษาจีนเรียกว่า ชื่อ (จีน: ; พินอิน: shì; แปลตรงตัว: "นคร")
  5. ปัจจุบันเป็นมณฑลในนาม การปกครองระดับมณฑลได้ถูกยกเลิกแล้ว
  6. จากรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน พื้นที่แผ่นดินใหญ่มีโครงสร้างการปกครองเดียวกันกับพื้นที่เสรี ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกับของสาธารณรัฐจีน
  7. บางครั้งก็เรียกว่า นครภายใต้มณฑล (จีน: 省轄市) เพื่อที่จะแยกความแตกต่างจาก นครปกครองโดยตรง และนครภายใต้เทศมณฑล
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 มีผู้อำนวยการเขตที่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า
  9. 9.0 9.1 มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า


นครปกครองโดยตรง เทศมณฑล และนครภายใต้มณฑล

[แก้]

ปัจจุบันมีเขตการปกครองระดับบนสุดอยู่ 3 ประเภท จำนวนรวมทั้งสิ้น 22 แห่ง และบริหารโดยตรงโดยรัฐบาลกลาง (สภาบริหาร, Executive Yuan) ตามรัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่นของไต้หวัน เขตการปกครองที่มีประชากรมากกว่า 1.25 ล้านคน สามารถยกขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรงได้ เขตการปกครองที่มีประชากรระหว่าง 0.5 ถึง 1.25 ล้านคน สามารถยกขึ้นเป็นนครได้ และเทศมณฑลที่มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน สามารถให้สิทธิพิเศษบางอย่างในการปกครองตนเองซึ่งออกแบบมาสำหรับนครปกครองโดยตรง

ชื่อ อักษรจีน พินอิน เป๊ะอวยจี จำนวน
    นครปกครองโดยตรง 直轄市 zhíxiáshì ti̍t-hat-chhī 6
    เทศมณฑล xiàn koān 13
    นคร shì chhī 3

เขตการปกครองทั้ง 22 แห่งเหล่านี้ได้รับการบังคับใช้โดยรัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่น ในฐานะองค์กรปกครองตนเองท้องถิ่น แต่ละแห่งมีฝ่ายบริหารของตนเองที่เรียกว่า "รัฐบาลนคร/รัฐบาลเทศมณฑล" และฝ่ายนิติบัญญัติของตนเองที่เรียกว่า "สภานคร/สภาเทศมณฑล" ทั้งนายกเทศมนตรีนคร ผู้ปกครองเทศมณฑล และสมาชิกสภานิติบัญญัติ ทั้งหมดนี้ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนภายใต้เขตอำนาจของตนทุกสี่ปี

  • นครปกครองโดยตรง 6 แห่ง, นครภายใต้มณฑล 3 แห่ง, และเทศมณฑล 10 แห่ง อยู่บนเกาะหลักไต้หวัน
นครปกครองโดยตรง เทศมณฑล นคร
นครเกาสฺยง
นครซินเป่ย์ (นครไทเปใหม่)
นครไถจง
นครไถหนาน
นครไทเป
นครเถา-ยฺเหวียน
เทศมณฑลจางฮว่า
เทศมณฑลเจียอี้
เทศมณฑลซินจู๋
เทศมณฑลฮวาเหลียน
เทศมณฑลเหมียวลี่
เทศมณฑลหนานโถว
เทศมณฑลผิงตง
เทศมณฑลไถตง
เทศมณฑลอี๋หลาน
เทศมณฑลยฺหวินหลิน
นครเจียอี้
นครซินจู๋
นครจีหลง

เมือง ตำบล นครภายใต้เทศมณฑล และเขต

[แก้]

เขตการปกครองระดับบนสุดทั้ง 22 แห่ง แบ่งย่อยออกเป็น 368 เขตการปกครอง สามารถจัดประเภทได้ดังตารางข้างล่างนี้

ชื่อ อักษรจีน พินอิน เป๊ะอวยจี อยู่ภายใต้การปกครองของ มีอำนาจปกครองตนเอง จำนวน
ตำบลชนพื้นเมืองภูเขา 山地鄉 shāndì xiāng soaⁿ-tē hiong เทศมณฑล ใช่ 24
ตำบล xiāng hiong เทศมณฑล ใช่ 122
เมือง zhèn tìn เทศมณฑล ใช่ 38
นครภายใต้เทศมณฑล 縣轄市 xiànxiáshì koān-hat-chhī เทศมณฑล ใช่ 14
เขตชนพื้นเมืองภูเขา 原住民區 yuánzhùmín qū gôan-chū-bîn khu นครปกครองโดยตรง ใช่ 6
เขต khu นครปกครองโดยตรง
นครภายใต้มณฑล
ไม่ 164

เขตการปกครองระดับล่าง

[แก้]

เขตการปกครองทั้ง 368 แห่ง แบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้านและละแวก

ชื่อ อักษรจีน พินอิน เป๊ะอวยจี อยู่ภายใต้การปกครองของ จำนวน
หมู่บ้านชนบท cūn chhun ตำบลชนพื้นเมืองภูเขา
ตำบล
7,835
หมู่บ้านในเมือง เมือง
นครภายใต้เทศมณฑล
เขตชนพื้นเมืองภูเขา
เขต
ละแวก lín lîn หมู่บ้านชนบท
หมู่บ้านในเมือง
147,877

ผู้ใหญ่บ้านจะได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตนทุก ๆ สี่ปี และหัวหน้าละแวกจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้ใหญ่บ้าน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hwang, Jim (October 1999). "Gone with the Times". Taiwan Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-26. สืบค้นเมื่อ 2012-01-11.
  2. "Taiwan Provincial Government Official Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2019. สืบค้นเมื่อ 21 October 2018.
  3. "World: Asia-Pacific Analysis: Flashpoint Spratly". BBC. 14 February 1999.
  4. Hwang, Jim (1 ตุลาคม 1999). "Gone with the Times". Taiwan Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2012.
  5. "中華民國國情簡介 政府組織". Taipei: Government Information Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2012. สืบค้นเมื่อ 13 April 2012.
  6. "臺灣省政府功能業務與組織調整暫行條例 in Chinese". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-19. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.
  7. "Taiwan Review-Gone with the Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.
  8. 中華民國國情簡介 政府組織 เก็บถาวร 2012-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]