ข้ามไปเนื้อหา

ซินเป่ย์

พิกัด: 25°00′40″N 121°26′45″E / 25.01111°N 121.44583°E / 25.01111; 121.44583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครซินเป่ย์


นครไทเปใหม่
สถานที่ต่าง ๆ ในนครซินเป่ย์
ธงของนครซินเป่ย์
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของนครซินเป่ย์
โลโก้
ที่มาของชื่อ: จีน: 新北; แปลตรงตัว: "เหนือใหม่"
แผนที่
ที่ตั้งของซินเป่ย์ในประเทศไต้หวัน
ที่ตั้งของซินเป่ย์ในประเทศไต้หวัน
พิกัด: 25°00′40″N 121°26′45″E / 25.01111°N 121.44583°E / 25.01111; 121.44583
ประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
ศูนย์กลางเขตปั่นเฉียว
เขต
การปกครอง
 • องค์กร
 • นายกเทศมนตรีโหว โหย่วอี๋ (ก๊กมินตั๋ง)
พื้นที่[1][2]
 • นครปกครองโดยตรง2,052.57 ตร.กม. (792.50 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,140 ตร.กม. (440 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่9 จาก 22
ประชากร
 (ตุลาคม 2019)[3]
 • นครปกครองโดยตรง4,014,560 คน
 • อันดับ1 จาก 22
 • ความหนาแน่น2,000 คน/ตร.กม. (5,100 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[4]8,535,000 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง7,500 คน/ตร.กม. (19,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานชาติ)
รหัสไปรษณีย์207, 208, 220 – 224, 226 – 228, 231 – 239, 241 – 244, 247 – 249, 251 – 253
รหัสพื้นที่(0)2
รหัส ISO 3166TW-NWT
เว็บไซต์foreigner.ntpc.gov.tw แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ (ในภาษาอังกฤษ)
นครซินเป่ย์
ภาษาจีน新北
ความหมายตามตัวอักษรนครเหนือใหม่

นครซินเป่ย์ หรือ นครไทเปใหม่ (จีน: 新北市;[หมายเหตุ 1] อังกฤษ: New Taipei City) เป็นนครปกครองโดยตรงแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไต้หวัน เมืองนี้มีที่ตั้งติดแนวชายฝั่งทางทิศเหนือของเกาะและล้อมรอบแอ่งไทเป นครซินเป่ย์เป็นนครปกครองโดยตรงที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากนครเกาสฺยง มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับนครจีหลง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเทศมณฑลอี๋หลาน ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับนครเถาหยวน และมีอาณาเขตโอบล้อมนครไทเปโดยสมบูรณ์ ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เขตปั่นเฉียว ซึ่งเป็นพื้นที่การค้าที่ใหญ่ที่สุดด้วย นครซินเป่ย์เดิมคือ เทศมณฑลไทเป ก่อนที่จะยกฐานะเป็นนครปี 2010

ชื่อ

[แก้]

นครซินเป่ย์ ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นนครในปี 2010 มีชื่อเรียกว่า เทศมณฑลไทเป หลังจากที่จำนวนประชากรของเทศมณฑลไทเปแซงหน้านครไทเปแล้ว ก็มีการตัดสินใจว่าเทศมณฑลควรได้รับการยกฐานะเป็นนคร แต่ก็ไม่สามารถใช้ชื่อใหม่เป็น "นครไทเป" ได้ เนื่องจากซ้ำกับนครไทเปเดิม

ชื่อของเขตการปกครองแห่งใหม่นี้ ในตอนแรกสะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Xinbei City ตามการถอดเป็นอักษรโรมันระบบพินอิน[5][6] แต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีคนแรกของเทศบาลนครทั้งสองคนคัดค้านชื่อดังกล่าว ผลสุดท้าย จากความคิดเห็นของสาธารณชน นายเอริก จู นายกเทศมนตรีคนแรกจึงได้ร้องขอและได้รับการอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย (MOI) ให้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น New Taipei City[7][8] และเริ่มใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2010

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ประวัติศาสตร์ช่วงต้น

[แก้]

จากบันทึกทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่า นครซินเป่ย์มีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคหินใหม่ โดยมีการขุดพบวัตถุโบราณในเขตปาหลี่ ซึ่งเป็นซากที่มีมาตั้งแต่ 7000 ถึง 4700 ปีก่อนคริสตกาล พื้นที่บริเวณนครซินเป่ย์เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองที่ราบที่เรียกว่าชาวเกอตางาลัน และพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเคยมีชาวอตายัลอาศัยอยู่ในเขตอูไหล จากบันทึกครั้งแรกเกี่ยวกับการอพยพของผู้คนจากจีนแผ่นดินใหญ่พบว่ามีมาตั้งแต่ปี 1620 ทำให้ชนเผ่าท้องถิ่นต้องถูกขับไล่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ภูเขา แต่เมื่อเวลาผ่านไปนับปี ชาวพื้นเมืองจำนวนมากก็ได้หลอมรวมเข้ากับประชากรทั่วไป[9]

ราชวงศ์ชิง

[แก้]

ในช่วงที่ราชวงศ์ชิงปกครองไต้หวัน คนจีนฮั่นเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่เป็นนครซินเป่ย์ในปัจจุบันในปี 1694 จำนวนผู้อพยพจากจีนแผ่นดินได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากทศวรรษแห่งการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรือง ตั้มจุ้ย (ตั้นฉุ่ย) ได้กลายเป็นท่าเรือการค้าระหว่างประเทศในปี 1850 มีการก่อตั้งสถานกงสุลและร้านค้าของอังกฤษในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งช่วยส่งเสริมธุรกิจชาในท้องถิ่น ส่งผลให้มีการส่งออกใบชาจำนวนมากไปยังยุโรป ปี 1875 เฉิ่น เป่าเจินได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งจังหวัดไทเป ต่อมาได้มีการประกาศจัดตั้งมณฑลฝูเจี้ยนไต้หวันในปี 1887 และพื้นที่ที่เป็นนครซินเป่ย์ในปัจจุบันก็ได้ตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจของจังหวัดไทเป[10][11]

ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น

[แก้]

ในปี 1895 ราชวงศ์ชิงได้ส่งมอบไต้หวันให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น พื้นที่ที่เป็นนครซินเป่ย์ รวมทั้งไทเป จีหลง และอี๋หลานในขณะนั้น อยู่ภายใต้การปกครองของ จังหวัดไทโฮกุ ได้มีการค้นพบทองคำและแหล่งแร่อื่น ๆ ที่บริเวณภูเขาจีหลง กระตุ้นให้เกิดการขุดเหมืองในพื้นที่แห่งนี้ เดือนตุลาคม 1896 รัฐบาลญี่ปุ่นได้แบ่งพื้นที่ทำเหมืองบริเวณภูเขาจีหลงออกเป็น 2 เขต ได้แก่ เขตตะวันออก กำหนดให้ชื่อว่า คินกาเซกิ และเขตตะวันตก กำหนดให้ชื่อว่า คีวฟุง ปัจจุบันทั้ง 2 เขตนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตรุ่ยฟาง และยังมีการออกกฎข้อบังคับห้ามไม่ให้บริษัทเหมืองแร่ในท้องถิ่นของไต้หวันทำเหมืองในพื้นที่ แต่จะให้สิทธิ์ในการทำเหมืองแก่บริษัทญี่ปุ่นแทน[12]

สาธารณรัฐจีน

[แก้]

หลังจากญี่ปุ่นมอบไต้หวันให้แก่สาธารณรัฐจีนในเดือนตุลาคม 1945 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมในปีเดียวกัน พื้นที่ที่เป็นนครซินเป่ย์ในปัจจุบันเป็นเขตการปกครองที่มีชื่อว่า เทศมณฑลไทเป โดยมีนครปั่นเฉียวเป็นศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑล ในเดือนกรกฎาคม 1949 ขนาดเนื้อที่ของเทศมณฑลไทเปลดลง เนื่องจากเมืองเป่ย์โถวและเมืองชื่อหลินแยกตัวออกไปเป็นส่วนหนึ่งของสำนักบริหารเฉ่าชานที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักบริหารหยางหมิงซาน วันที่ 1 กรกฎาคม 1968 ขนาดเนื้อที่ของเทศมณฑลไทเปลดลงอีก 205.16 ตารางกิโลเมตร (79.21 ตารางไมล์) เนื่องจากเมืองจิ๋งเหม่ย์ เมืองหนานกั่ง ตำบลมู่จ้า และตำบลเน่ย์หู พร้อมด้วยเมืองเป่ย์โถวและเมืองชื่อหลิน ได้แยกไปรวมกับนครไทเป

ต่อมา เทศมณฑลไทเปได้แบ่งเป็น 10 นครภายใต้เทศมณฑล, 4 เมือง และ 15 ตำบล และแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น 1,017 หมู่บ้าน และ 21,683 ละแวก[13] เดือนสิงหาคม 1992 มีการปรับเส้นแบ่งเขตระหว่างนครไทเปและเทศมณฑลไทเป ทำให้ขนาดเนื้อที่ของเทศมณฑลไทเปลดลงไปอีก 0.03 ตารางกิโลเมตร (0.012 ตารางไมล์)[14] วันที่ 25 ธันวาคม 2010 เทศมณฑลไทเปได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในชื่อ นครซินเป่ย์ ซึ่งประกอบด้วย 29 เขต โดยมีเขตปั่นเฉียวเป็นที่ตั้งศาลาว่าการนคร[15]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
แม่น้ำตั้นฉุ่ย

นครซินเป่ย์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเกาะไต้หวัน ครอบคลุมอาณาเขตกว้างใหญ่และมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ได้แก่ ภูเขา เนินเขา ที่ราบ และแอ่งลุ่มน้ำ ทางตอนเหนือของเมืองมีแนวชายฝั่งยาว 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) ซึ่งมีชายหาดที่สวยงาม แม่น้ำตั้นฉุ่ยเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านนครซินเป่ย์ มีแม่น้ำสาขา 3 สายใหญ่ ได้แก่ แม่น้ำซินเตี้ยน แม่น้ำจีหลง และแม่น้ำต้าฮั่น โดยบางช่วงได้จัดทำเป็นสวนสาธารณะริมแม่น้ำ ยอดเขาที่สูงที่สุดในเมืองคือ เขาจู๋จึ ซึ่งมีความสูง 1,094 เมตร ตั้งอยู่ในเขตซานจือ[10]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ภูมิอากาศของเมืองมีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น โดยมีมรสุมตามฤดูกาล และมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอสม่ำเสมอตลอดทั้งปี โดยทั่วไปในแต่ละปี อุณหภูมิจะแตกต่างกันไปตั้งแต่อบอุ่นไปจนถึงร้อน ยกเว้นตอนเกิดแนวปะทะอากาศเย็นในช่วงเดือนฤดูหนาว ซึ่งบางครั้งอุณหภูมิอาจลดลงจนถึงต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส (50 องศาฟาเรนไฮต์) โดยปกติแล้ว เดือนมกราคมจะเป็นเดือนที่อากาศเย็นที่สุด และเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่อากาศอบอุ่นที่สุด

การปกครอง

[แก้]
โหว โหย่วอี๋ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีนครซินเป่ย์
สำนักบริหารนครซินเป่ย์
สภานครซินเป่ย์

นครซินเป่ย์เป็นเขตเทศบาลพิเศษที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของรัฐบาลกลางสาธารณรัฐจีน ฝ่ายบริหารนครซินเป่ย์มีหัวหน้าเป็นนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ศาลาว่าการนครซินเป่ย์ในเขตปั่นเฉียว นายกเทศมนตรีนครซินเป่ย์คนปัจจุบันคือ โหว โหย่วอี๋ จากพรรคก๊กมินตั๋ง

การบริหารเทศบาล

[แก้]

นครซินเป่ย์แบ่งออกเป็น 28 เขต (; ) และ 1 เขตชนพื้นเมืองภูเขา (山地原住民區; shāndì yuánzhùmín qū)[17] และแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น 1,017 หมู่บ้าน (; ) และ 21,683 ละแวก (; lín) ที่ตั้งของศาลาว่าการอยู่ที่เขตปั่นเฉียว

ประชากรศาสตร์

[แก้]

การแปรผันของประชากร

[แก้]

ข้อมูลตั้งแต่ปี 1981[18]

ปี ค.ศ. 1981 1982 1983 1984 1985 1986 1987 1988 1989 1990
จำนวนประชากร 2,354,858 2,445,129 2,514,191 2,588,396 2,663,683 2,727,510 2,800,881 2,888,326 2,970,205 3,048,034
ปี ค.ศ. 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000
จำนวนประชากร 3,107,278 3,162,346 3,222,629 3,260,731 3,305,615 3,355,299 3,420,535 3,459,624 3,510,917 3,567,896
ปี ค.ศ. 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010
จำนวนประชากร 3,610,252 3,641,446 3,676,533 3,708,099 3,736,677 3,767,095 3,798,015 3,833,730 3,873,653 3,897,367
ปี ค.ศ. 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020
จำนวนประชากร 3,916,451 3,939,305 3,954,929 3,966,818 3,970,644 3,979,208 3,986,689 3,995,717 4,018,696

หมายเหตุ

[แก้]

คำในภาษาพื้นเมือง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 《中華民國統計資訊網》縣市重要統計指標查詢系統網 (ภาษาจีนตัวเต็ม). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  2. "Demographia World Urban Areas PDF (April 2016)" (PDF). Demographia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  3. 105年6月統計速報. 新北市政府主計處 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2016. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
  4. "Demographia World Urban Areas PDF" (PDF). Demographia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
  5. 標準地名譯寫準則. Ministry of Justice of the Republic of China. 9 November 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 23 December 2010.
  6. 中文譯音使用原則 (PDF). Ministry of Education of the Republic of China. 18 December 2008. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2011. สืบค้นเมื่อ 23 December 2010.
  7. 新北市譯名 朱立倫依多數民意. Central News Agency. 20 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2012. สืบค้นเมื่อ 23 December 2010.
  8. 尊重新北市政府的意見,新北市譯寫為「New Taipei City」 (Press release). Ministry of Interior of the Republic of China. 31 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2011. สืบค้นเมื่อ 31 December 2010.
  9. "Cincinnati Sister Cities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  10. 10.0 10.1 "New Taipei City Government - History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  11. "New Taipei City - A Metropolis Redefined". YouTube. 17 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 November 2015.
  12. "Historical background". taiwan.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2014.
  13. "Great Taipei Travel: Great Taipei Tours, Maps, Hotels, Attractions & Travel News(旅遊王TravelKing)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  14. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 May 2018. สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  15. "New Taipei City Government - Introduction". Foreigner.ntpc.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2013. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
  16. "Climate". Central Weather Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2017. สืบค้นเมื่อ 17 August 2014.
  17. 臺灣地區鄉鎮市區級以上行政區域名稱中英對照表 (PDF). Online Translation System of Geographic Name, Ministry of Interior. 16 June 2011. pp. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 March 2012.
  18. "內政部統計月報-鄉鎮市區人口變化表". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]