มณฑลไต้หวัน

พิกัด: 23°48′N 121°00′E / 23.8°N 121.0°E / 23.8; 121.0
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑลไต้หวัน

臺灣省
ธงของมณฑลไต้หวัน
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของมณฑลไต้หวัน
ตรา
แผนที่แสดงเขตการปกครองที่เป็นส่วนหนึ่งของมณฑล (สีแดง)
แผนที่แสดงเขตการปกครองที่เป็นส่วนหนึ่งของมณฑล (สีแดง)
พิกัด: 23°48′N 121°00′E / 23.8°N 121.0°E / 23.8; 121.0
ประเทศ สาธารณรัฐจีน
ก่อตั้ง25 ตุลาคม 1945
ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ21 ธันวาคม 1998
ยุบ1 กรกฎาคม 2018[1]
เมืองหลวงของมณฑลไม่มี[ก]
การปกครอง
 • องค์กรไม่มี[ข]
พื้นที่
 • ทั้งหมด25,110.0037 ตร.กม. (9,695.0266 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2020)
 • ทั้งหมด7,060,473 คน
 • ความหนาแน่น280 คน/ตร.กม. (730 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมTaiwanese
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานไต้หวัน)
จำนวนนคร3
จำนวนเทศมณฑล11
ไต้หวัน
"ไต้หวัน" เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และอักษรจีนตัวย่อ (ล่าง)
อักษรจีนตัวเต็ม臺灣 หรือ 台灣
อักษรจีนตัวย่อ台湾
ไปรษณีย์Taiwan
ชื่อย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม หรือ
อักษรจีนตัวย่อ
มณฑลไต้หวัน
อักษรจีนตัวเต็ม臺灣 หรือ 台灣
อักษรจีนตัวย่อ台湾

มณฑลไต้หวัน (จีน: 臺灣省; พินอิน: Táiwān Shěng) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐจีน เป็นมณฑลในนามที่ไม่มีหน้าที่ในการบริหาร[2][3] โดยอำนาจในการบริหารได้ถูกโอนไปยังรัฐบาลกลางและหน่วยงานเทศมณฑล

มณฑลไต้หวันครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 69 ของพื้นที่ควบคุมจริงของสาธารณรัฐจีน และมีประชากรประมาณร้อยละ 31 ของประชากรทั้งหมด ในตอนแรก มณฑลนี้หมายรวมถึงเกาะไต้หวัน (ฟอร์โมซา), เผิงหู (เพสคาโดเรส), เกาะหลานยฺหวี่ (เกาะกล้วยไม้), เกาะกรีน, เกาะเสี่ยวหลิวฉิว และหมู่เกาะรอบ ๆ และเมื่อระหว่างปี 1967 และ 2014 นครปกครองโดยตรงหกแห่ง (ได้แก่ เกาสฺยง ซินเป่ย์ ไถจง ไถหนาน ไทเป และเถา-ยฺเหวียน) ได้แยกออกจากมณฑล และทั้งหมดดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรมาก

หน่วยงานบริหารประจำมณฑลไต้หวันก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน 1945 หลังจากการปกครองของญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพขึ้นในเดือนธันวาคม 1998 โดยมีการโอนหน้าที่บริหารไปยังสภาพัฒนาแห่งชาติและกระทรวงอื่น ๆ ของสภาบริหาร (Executive Yuan) และในเดือนกรกฎาคม 2018 หน่วยงานบริหารของมณฑลได้ถูกยุบ โดยนำงบประมาณและบุคลากรออก[3][4]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตปกครองในปัจจุบัน[แก้]

มณฑลไต้หวันในนามแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เทศมณฑล   และ 3 นคร   ในทางปฏิบัติเขตการปกครองทั้งหมดบริหารโดยตรงโดยรัฐบาลกลาง

แผนที่ เลข ตรา ธง ชื่อ จีนกลาง
(พินอิน)
ฮกเกี้ยนไต้หวัน
(เป่อ่วยจี)
ฮักกาไต้หวัน
(พักฟ้าซื้อ)
1 เทศมณฑลจางฮว่า 彰化縣 Zhānghuà xiàn Chiong-hoà koān Chông-fa yen
2 นครเจียอี้ 嘉義市 Jiāyì shì Ka-gī chhī Kâ-ngi sṳ
3 เทศมณฑลเจียอี้ 嘉義縣 Jiāyì xiàn Ka-gī koān Kâ-ngi yen
4 นครซินจู๋ 新竹市 Xīnzhú shì Sin-tek chhī Sîn-tsuk sṳ
5 เทศมณฑลซินจู๋ 新竹縣 Xīnzhú xiàn Sin-tek koān Sîn-tsuk yen
6 เทศมณฑลฮวาเหลียน 花蓮縣 Huālián xiàn Hoa-liân koān Fâ-lièn yen
7 นครจีหลง 基隆市 Jīlóng shì Ke-lâng chhī Kî-lùng sṳ
8 เทศมณฑลเหมียวลี่ 苗栗縣 Miáolì xiàn Biâu-le̍k koān Mèu-li̍t yen
9 เทศมณฑลหนานโถว 南投縣 Nántóu xiàn Lâm-tâu koān Nàm-thèu yen
10 เทศมณฑลเผิงหู 澎湖縣 Pénghú xiàn Phêⁿ-ô͘ koān Phàng-fù yen
11 เทศมณฑลผิงตง 屏東縣 Píngdōng xiàn Pîn-tong koān Phìn-tûng yen
12 เทศมณฑลไถตง 臺東縣 Táidōng xiàn Tâi-tang koān Thòi-tûng yen
13 เทศมณฑลอี๋หลาน 宜蘭縣 Yílán xiàn Gî-lân koān Ngì-làn yen
14 เทศมณฑลยฺหวินหลิน 雲林縣 Yúnlín xiàn Hûn-lîm koān Yùn-lìm yen

โปรดทราบว่านครปกครองโดยตรงต่าง ๆ อันได้แก่ เกาสง ซินเป่ย์ ไถจง ไถหนาน ไทเป และเถา-ยฺเหวียนนั้นอยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของรัฐบาลกลาง และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลใด ๆ

รัฐพี่น้อง[แก้]

มณฑลไต้หวันเป็นมณฑลพี่น้องกับ 42 รัฐของสหรัฐ[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1945–2018: หน่วยงานบริหารมณฑลไต้หวัน

อ้างอิง[แก้]

  1. 賴清德拍板!省政府7月1日解散、省級機關預算將歸零. ettoday.net (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 2018-06-28.
  2. "Local governments". Office of the President Republic of China (Taiwan). สืบค้นเมื่อ 30 November 2020.
  3. 3.0 3.1 Sarah Shair-Rosenfield (November 2020). "Taiwan combined" (PDF). The University of North Carolina at Chapel Hill. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  4. Sherry Hsiao (29 June 2018). "Provincial-level agencies to be defunded next year". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  5. "Taiwan Provincial Administration Information Hall". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-10. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
  6. "Welcome to the Ohio Department of Development". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-17.
  7. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-29. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Bush, R. & O'Hanlon, M. (2007). A War Like No Other: The Truth About China's Challenge to America. Wiley. ISBN 0-471-98677-1
  • Bush, R. (2006). Untying the Knot: Making Peace in the Taiwan Strait. Brookings Institution Press. ISBN 0-8157-1290-1
  • Carpenter, T. (2006). America's Coming War with China: A Collision Course over Taiwan. Palgrave Macmillan. ISBN 1-4039-6841-1
  • Cole, B. (2006). Taiwan's Security: History and Prospects. Routledge. ISBN 0-415-36581-3
  • Copper, J. (2006). Playing with Fire: The Looming War with China over Taiwan. Praeger Security International General Interest. ISBN 0-275-98888-0
  • Federation of American Scientists et al. (2006). Chinese Nuclear Forces and U.S. Nuclear War Planning
  • Gill, B. (2007). Rising Star: China's New Security Diplomacy. Brookings Institution Press. ISBN 0-8157-3146-9
  • Shirk, S. (2007). China: Fragile Superpower: How China's Internal Politics Could Derail Its Peaceful Rise. Oxford University Press. ISBN 0-19-530609-0
  • Tsang, S. (2006). If China Attacks Taiwan: Military Strategy, Politics and Economics. Routledge. ISBN 0-415-40785-0
  • Tucker, N.B. (2005). Dangerous Strait: the U.S.-Taiwan-China Crisis. Columbia University Press. ISBN 0-231-13564-5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]