ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอบางบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.บางบาล)
อำเภอบางบาล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Ban
คำขวัญ: 
นายขนมต้มลือไกล ดนตรีไทยลือลั่น หลวงพ่อขันศักดิ์สิทธิ์ อิฐมอญเนื้อแกร่ง แหล่งผลิตก้านธูป
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางบาล
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางบาล
พิกัด: 14°22′25″N 100°29′8″E / 14.37361°N 100.48556°E / 14.37361; 100.48556
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด135.3 ตร.กม. (52.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด33,366 คน
 • ความหนาแน่น246.61 คน/ตร.กม. (638.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13250
รหัสภูมิศาสตร์1405
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางบาล หมู่ที่ 1
ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13250
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางบาล เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอเสนาใน ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1] พื้นที่อำเภอบางบาลถือเป็นพื้นที่รับน้ำที่สำคัญซึ่งทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยใหญ่สำหรับชาวอำเภอบางบาลมาตลอด

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบางบาลตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติศาสตร์

[แก้]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลบางชะนี แยกออกจากตำบลบ้านกุ่ม ตั้งตำบลวัดยม แยกออกจากตำบลบางบาล ตำบลกบเจา และตำบลไทรน้อย ตั้งตำบลมหาพราหมณ์ แยกออกจากตำบลสะพานไทย ตั้งตำบลบ้านคลัง แยกออกจากตำบลบ้านขาว และตำบลกบเจา ตั้งตำบลบางหลวงโดด แยกออกจากตำบลบางหัก ตั้งตำบลวัดตะกู แยกออกจากตำบลบางหลวง ตั้งตำบลทางช้าง แยกออกจากตำบลบางหลวง[2]
  • วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลบางบาล ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางบาล ตำบลบ้านกุ่ม ตำบลบางชะนี และตำบลไทรน้อย[3]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกบเจา ในท้องที่ตำบลกบเจา[4]
  • วันที่ 28 มีนาคม 2504 โอนหมู่บ้านหมู่ที่ 2,3 ตำบลกบเจา ตั้งเป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 4,5 ตำบลสะพานไทย และโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 4,5 ตำบลสะพานไทย ตั้งเป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 2,3 ตำบลกบเจา[5]
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2534 จัดตั้งสุขาภิบาลมหาพราหมณ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลมหาพราหมณ์ และตำบลสะพานไทย[6]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางบาล และสุขาภิบาลมหาพราหมณ์ เป็น เทศบาลตำบลบางบาล และเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ตามลำดับ
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลทางช้าง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า[7]
  • วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลวัดตะกู รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า[8] ยุบสภาตำบลสะพานไทย และสภาตำบลวัดยม รวมกับเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์[9]
  • วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ยุบสภาตำบลบางบาล สภาตำบลไทรน้อย สภาตำบลบ้านกุ่ม และสภาตำบลบางชะนี รวมกับเทศบาลตำบลบางบาล[10]
  • วันที่ 6 ตุลาคม 2547 ยุบสภาตำบลมหาพราหมณ์ รวมกับเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์[11] ยุบสภาตำบลบางหลวงโดด และสภาตำบลบางหัก รวมกับเทศบาลตำบลบางบาล[12] ยุบสภาตำบลบางหลวง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า[13]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

พื้นที่อำเภอบางบาลแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 16 ตำบล 111 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางบาล (Bang Ban) 9. น้ำเต้า (Namtao)
2. วัดยม (Wat Yom) 10. ทางช้าง (Thang Chang)
3. ไทรน้อย (Sai Noi) 11. วัดตะกู (Wat Taku)
4. สะพานไทย (Saphan Thai) 12. บางหลวง (Bang Luang)
5. มหาพราหมณ์ (Maha Phram) 13. บางหลวงโดด (Bang Luang Dot)
6. กบเจา (Kop Chao) 14. บางหัก (Bang Hak)
7. บ้านคลัง (Ban Khlang) 15. บางชะนี (Bang Chani)
8. พระขาว (Phra Khao) 16. บ้านกุ่ม (Ban Kum)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

พื้นที่อำเภอบางบาลประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบางบาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบาล ตำบลไทรน้อย ตำบลบางหลวงโดด ตำบลบางหัก ตำบลบางชะนี และตำบลบ้านกุ่มทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดยม ตำบลสะพานไทย และตำบลมหาพราหมณ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกบเจา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกบเจาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านคลังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระขาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเต้า ตำบลทางช้าง ตำบลวัดตะกู และตำบลบางหลวงทั้งตำบล

ศาสนสถาน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 35-36. 26 มกราคม 2500.
  4. [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (33 ง): 922–924. 11 เมษายน 2504.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (177 ง): (ฉบับพิเศษ) 37-39. 7 ตุลาคม 2534.
  7. [3] เก็บถาวร 2023-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล
  8. [4] เก็บถาวร 2023-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล
  9. [5] เก็บถาวร 2023-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภากับเทศบาล
  10. [6] เก็บถาวร 2020-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล
  11. [7][ลิงก์เสีย]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล
  12. [8][ลิงก์เสีย]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล
  13. [9][ลิงก์เสีย]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลบางหลวงกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]