ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอนาคู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.นาคู)
อำเภอนาคู
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Na Khu
คำขวัญ: 
น้ำตกผานางคอย รอยเท้าไดโนเสาร์ แหล่งเก่าสลักหิน สนามบินเสรีไทย ก้าวไกลการศึกษา ล้ำค่าวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอนาคู
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอนาคู
พิกัด: 16°46′48″N 104°1′54″E / 16.78000°N 104.03167°E / 16.78000; 104.03167
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด203.092 ตร.กม. (78.414 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด30,990 คน
 • ความหนาแน่น152.59 คน/ตร.กม. (395.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46250
รหัสภูมิศาสตร์4616
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนาคู หมู่ที่ 11 ถนนนาคู-บ้านชาด ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 46250
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นาคู เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอนาคูตั้งอยู่บริเวณทิวเขาภูพาน ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

ประมาณ พ.ศ.2324 ชาวเมืองเซโปน จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอพยพมาครั้งแรกประมาณ 20 ครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำห้วยขามตอนใต้ ระหว่างบ้านโพนสวางกับบ้านโนนศาลา ปัจจุบันนี้ให้ชื่อว่าบ้านท่าไม่

ประมาณปี พ.ศ.2338 ได้ย้ายบ้านเรือนมาตั้งอยู่เชิงเขาภูแดนช้าง บ้านเถียงนาชุม เชิงเขาแห่งนี้เป็นแดนหากินของช้างป่าอยู่ก่อน ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านมีลำน้ำห้วยขาม และห้วยโป่งห่างหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ด้านทิศใต้ของหมู่บ้านหนองขามเฒ่า และลำห้วยพะยังห่างหมู่บ้าน ประมาณ 2 กิโลเมตร ตอนใต้ลงไปอีกมีห้วยแสง ห้วยน้ำปุ้น ห่างหมู่บ้าน 3 กิโลเมตร เป็นทำเลทำการเกษตรอย่างดี จึงตั้งชื่อว่าบ้านนาคลอง

สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีโคตรหลักคำ และพรหมดวงสี ท้าวเพียเมืองวังไม่พอใจจำราชการกับเมืองวัง จึงอพยพครอบครัวข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งตะวันตก พักอยู่เชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตก ขณะนั้นมีหมู่บ้านเป็นหลักอยู่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านนาขาม บ้านนาคู และบ้านนาคลอง ในสมัยเจ้าอนุวงศ์ครองราชย์สมบัติเมืองเวียงจันทร์ เป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพฯ จึงนำท้าวเพียทั้ง 2 ลงไปเฝ้าสวามิภักดิ์ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขอตั้งเป็นเมืองภูแดนช้าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมือง ภูแล่นช้าง

ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าเมืองภูแล่นช้างกับเมืองกุดสิมนารายณ์ มีอาณาเขตคับแคบและตั้งอยู่ใกล้กัน จึงได้ยุบเมืองภูแล่นช้างให้ไปตั้งเป็นเมืองใหม่ที่อำเภอยางตลาดในปัจจุบัน แล้วให้รวมอาณาเขตเมืองภูแล่นช้างเข้ากับเมืองกุดสิมนารายณ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445

และ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ทางราชการได้ยกฐานะตำบลคุ้มเก่าขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเขาวงโดยมี ตำบลคุ้มเก่า ตำบลสงเปลือย ตำบลหนองผือ ตำบลภูแล่นช้าง และตำบลนาคู อยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอเขาวง

ทางราชการเห็นว่าพื้นที่ตำบลนาคูมีประชากรหนาแน่นมากขึ้น ได้แบ่งพื้นที่ ต.นาคู ต.ภูแล่นช้าง ต.สายนาวัง ต.โนนนาจาน และต.บ่อแก้ว ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอนาคู ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[1] จนกระทั่งในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอนาคู โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอนาคูแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 55 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นาคู (Na Khu) 14 หมู่บ้าน
2. สายนาวัง (Sai Na Wang) 8 หมู่บ้าน
3. โนนนาจาน (Non Na Chan) 9 หมู่บ้าน
4. บ่อแก้ว (Bo Kaeo) 14 หมู่บ้าน
5. ภูแล่นช้าง (Phu Laen Chang) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอนาคูประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนาคู ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาคู
  • เทศบาลตำบลภูแล่นช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูแล่นช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคู (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาคู)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสายนาวัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายนาวังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนนาจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนนาจานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อแก้วทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
  • สนามบินเสรีไทย สนามบินลับเมืองนาคู
  • อ่างเก็บน้ำห้วยมะโน
  • น้ำตกผานางคอย
  • วนอุทยานภูแฝก
  • ผาระแงง
  • วัดผาเจริญธรรม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาคู" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 69. 22 มีนาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.