สโมสรฟุตบอลสุไหงปาดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉะเชิงเทรา ซิตี้
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอล ฉะเชิงเทรา ซิตี้
ฉายาพยัคฆ์ร้ายบูโดพลัดถิ่น
ก่อตั้ง2016; 8 ปีที่แล้ว (2016) ในชื่อ สโมสรฟุตบอล สุไหงปาดี
2022; 2 ปีที่แล้ว (2022) ในชื่อ สโมสรฟุตบอล นราธิวาส
สนามสนามบึงสิงห์, จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประธานอภิชาติ อุ่นแอบ
ผู้จัดการอรรถพล อุ่นแอบ
ผู้ฝึกสอนนิมิตร ลิ่วตระกูล
ลีกไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
2565อันดับ 3 รอบมินิลีก กลุ่มบี
โซนภาคตะวันออกตอนบน
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอล ฉะเชิงเทรา ซิตี้ เป็นสโมสรฟุตบอลไทยที่ตั้งอยู่ใน อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย สโมสรเข้าร่วม ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2565 – โซนภาคตะวันออก

ประวัติ[แก้]

สโมสรฟุตบอลสุไหงปาดี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ที่ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยมีมัสรูดิง ฮามิ กำนันตำบลปะลุรู เป็นประธานสโมสร และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันฟุตบอลดิวิชัน 3 ฤดูกาล 2559 กลุ่มภาคใต้ [1]โดยการรับช่วงสิทธิในการลงแข่งขันมาจาก ทีมฟุตบอลโรงเรียนรัตนโกสินทร์ 9

ดิวิชั่น 3[แก้]

สโมสรลงแข่งขันอย่างเป็นทางการนัดแรก เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ในการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 3 นัดที่เสมอกับกับ สโมสรฟุตบอลนิวบอล สตูล 0–0 ที่สนามฟุตบอลเทศบาลตำบลเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ต่อมาสโมสรยิงประตูในการแข่งขันได้เป็นครั้งแรกในนัดที่เสมอกับ สโมสรฟุตบอลสุราษฎร์ธานี ยูไนเต็ด 1–1 โดย ฮาฟีซี สาและ เป็นคนยิงประตูแรกให้กับสโมสร และสโมสรสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ

ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ เพื่อหาทีมที่จะได้เลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในระดับไทยลีก 4 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สุไหงปาดี เอฟซี เสมอกับ สุราษฎร์ธานี ยูไนเต็ด 1–1 และแพ้ในการดวลจุดโทษ ทำให้ได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศในการแข่งขันดิวิชั่น 3 กลุ่มภาคใต้[2]

ไทยลีก 4[แก้]

หลังจากการแข่งขันในฤดูกาล 2559 เสร็จสิ้น สโมสรฟุตบอลสุราษฎร์ธานี ยูไนเต็ด ที่ชนะเลิศในดิวิชั่น 3 กลุ่มภาคใต้ และได้สิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในไทยลีก 4 ประสบปัญหาในเรื่องของสนามแข่งขันที่จะใช้เป็นสนามเหย้า จึงทำให้สโมสรฟุตบอลสุไหงปาดี ที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิในการแข่งขันไปแทนโดยได้รับความยินยอมจากสุราษฎร์ ยูไนเต็ด[3]

โดยสโมสรลงแข่งขันในลีกอาชีพเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ในนัดที่แพ้สโมสรฟุตบอลภูเก็ต 0–5 ที่สนามกีฬามหาราช จังหวัดนราธิวาส

รายชื่อผู้เล่น[แก้]

ทำเนียบผู้ฝึกสอน[แก้]

ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2561
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง ความสำเร็จ
ประภาร นาคพงศ์ ไทย ไทย ธันวาคม พ.ศ. 2559 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 รองชนะเลิศ ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์
โซนภาคใต้ ,(เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 4)
ปพณ ปุณญะรักษิต ไทย ไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 กันยายน พ.ศ. 2560
นิมิตร ลิ่วตระกูล ไทย ไทย สิงหาคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบัน

ผู้บริหาร[แก้]

  • 2017
ตำแหน่ง สัญชาติ ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย อภิชาติ อุ่นแอบ
ผู้จัดการทีม ไทย อรรถพล อุ่นแอบ
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ไทย นายือรี อารอมะ
ผู้ฝึกสอน ไทย ปพณ ปุณญะรักษิต
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ไทย อีฟาฟ เจ๊ะเต๊ะ
โค้ชผู้รักษาประตู ไทย รอสลี รอแด

ชุดแข่งที่ใช้และผู้สนับสนุน[แก้]

ปี ผู้ผลิต ผู้สนับสนุนหลัก
(อกเสื้อ)
2559 Spicer ไทย เชฟโลเรต
(สุไหงโกลก)
2560 Eureka ไทย พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช

ผลงาน[แก้]

สถิติของสโมสร[แก้]

สถิติในแต่ละฤดูกาล[แก้]

  • 2560 - ไทยลีก 4 โซนภาคใต้ - อันดับ 9 (ตกชั้น)
  • 2561 - ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคใต้ตอนล่าง - รอบมินิลีก อันดับ 2 กลุ่มบี
  • 2562 - ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคใต้ตอนล่าง - รอบมินิลีก อันดับ 2 กลุ่มบี
  • 2565 - ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคตะวันออกตอนบน - รอบมินิลีก อันดับ 3 กลุ่มบี (แข่งขันในชื่อสโมสรนราธิวาส เอฟซี)

สถิติเกี่ยวกับการแข่งขัน[แก้]

  • การแข่งขันในระดับลีกอาชีพนัดแรก
  • แพ้มากที่สุด
  • ผลงานที่ดีที่สุดในลีก
  • จำนวนผู้ชมสูงสุดในการแข่งขันนัดเหย้า

สถิติผู้เล่น[แก้]

  • ผู้เล่นที่ยิงประตูแรกให้สโมสรในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
  • ผู้เล่นที่ยิงประตูได้มากที่สุดในการแข่งขันหนึ่งนัด
  • ผู้เล่นที่ยิงประตูในลีกได้มากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.supersubthailand.com/news/13528-33/index.html
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  3. http://www.supersubthailand.com/news/14650-7/index.html