ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
ก่อตั้ง2559
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
จำนวนทีม252
ระดับในพีระมิด5
เลื่อนชั้นสู่ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
ถ้วยระดับประเทศไทยเอฟเอคัพ
ทีมชนะเลิศปัจจุบันราษีไศล ยูไนเต็ด
(2565)
ชนะเลิศมากที่สุดราษีไศล ยูไนเต็ด
(1 สมัย)
เว็บไซต์Thailand Amateur League (TA)
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2566

ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (อังกฤษ: Thailand Amateur League) คือ ลีกฟุตบอลระดับสมัครเล่นของประเทศไทย และนับเป็นลีกลำดับชั้นที่ 5 ของระบบฟุตบอลลีกภายในประเทศ

ประวัติ[แก้]

ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ ถือกำเนิดขึ้นจากแนวความคิดของ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ต้องการพัฒนาฟุตบอลระดับล่างให้ดีขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาโครงสร้างฟุตบอลไทยโดยได้ยุบรวมฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข., ค. และ ง. เข้าด้วยกันและปรับเป็นระบบฟุตบอลลีกตามแบบสากล[1]

วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 ที่สมาคมกีฬาฟุตบอล อาคารพงษ์สุภี พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลได้เป็นประธานในการจับสลากแบ่งโซนสำหรับฤดูกาล 2559 โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็นโซนต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 5 โซนและมีทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 104 ทีม ซึ่งแชมป์ของแต่ละโซนจะได้เลื่อนขั้นขึ้นไปแข่งขันในไทยลีก 4 ต่อไป

ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำการเปลี่ยนชื่อลีกจาก ฟุตบอลดิวิชัน 3 เป็น ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ (TA)

ทีมชนะเลิศไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก[แก้]

2559 ถึง 2564[แก้]

# ฤดูกาล จำนวน
สโมสร
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ กรุงเทพปริมณฑล สโมสรที่เลื่อนชั้น
1 2559 104 ช้างเผือก เชียงใหม่ เมืองเลย ยูไนเต็ด บ้านค่าย ยูไนเต็ด สิงห์บุรี โคปูน สุราษฎร์ธานี ยูไนเต็ด ช้างเผือก เชียงใหม่, เมืองเลย ยูไนเต็ด, บ้านค่าย ยูไนเต็ด, สิงห์บุรี โคปูน และสุไหงปาดี
2 2560 117 นครแม่สอด ยูไนเต็ด โขงชีมูล อีสาน ดีบีชออร่า พัทยา ชัยนาท ยูไนเต็ด หาดใหญ่ ซิตี้ แอร์ฟอร์ซ โรบินสัน นครแม่สอด ยูไนเต็ด, โขงชีมูล, อีสาน ดีบีชออร่า พัทยา, ชัยนาท ยูไนเต็ด, แอร์ฟอร์ซ โรบินสัน และหาดใหญ่ ซิตี้
3 2561 168 แม่โจ้ ยูไนเต็ด ขอนแก่นมอดินแดง เทศบาลตำบลเกาะขวาง สระบุรี ยูไนเต็ด เมืองคอน ดับบลิวยู มหาวิทยาลัยธนบุรี แม่โจ้ ยูไนเต็ด, วัดโบสถ์ ซิตี้, ขอนแก่นมอดินแดง, เทศบาลตำบลเกาะขวาง, สระบุรี ยูไนเต็ด, มหาวิทยาลัยธนบุรี, เมืองคอน ดับบลิวยู และยาลอ ซิตี้
4 2562 230 สมาคมกีฬาจังหวัดพิษณุโลก ยูดี หนองหาน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กาญจนพัฒน์ สงขลา ทหารอากาศ สมาคมกีฬาจังหวัดพิษณุโลก, ยูดี หนองหาน, หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง, กาญจนพัฒน์, ทหารอากาศ, สงขลา, เชียงราย ล้านนา, สิงห์ระฆังทอง เมืองกาญจน์ และป่าตอง ซิตี้
2563 งดจัดการแข่งขันเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย
2564 งดจัดการแข่งขันเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย

2565 ถึง ปัจจุบัน[แก้]

# ฤดูกาล จำนวน
สโมสร
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ กรุงเทพปริมณฑล สโมสรที่เลื่อนชั้น
5 2565 253 ราษีไศล ยูไนเต็ด เมืองตรัง ยูไนเต็ด กงไกรลาศ ยูไนเต็ด ราษีไศล ยูไนเต็ด กองเรือรบ ยูไนเต็ด กาญจนบุรี ซิตี้ เมืองตรัง ยูไนเต็ด สมุทรสาคร ซิตี้ กงไกรลาศ ยูไนเต็ด, โรงสีแม่ใจธนะโชติวัฒน์, ราษีไศล ยูไนเต็ด, กองเรือรบ ยูไนเต็ด, กาญจนบุรี ซิตี้, ลพบุรี ซิตี้, เมืองตรัง ยูไนเต็ด, เวียงสระ ซิตี้, เมืองคนดี ยูไนเต็ด, สมุทรสาคร ซิตี้
6 2566 138 ชาติตระการ ซิตี้ ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด กองเรือยุทธการ โคกสำโรง สตูล ร่มเกล้า ยูไนเต็ด สตูล
หมายเหตุ
  • ตัวหนาและตัวเอน หมายถึง สโมสรที่ได้รางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศระดับประเทศตามลำดับ ซึ่งการแข่งขันระดับประเทศมีขึ้นครั้งแรกในฤดูกาล 2562
  • สโมสรเปลี่ยนชื่อหลังจากเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 4 (จนถึงฤดูกาล 2562) / ไทยลีก 3 (2565–)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:ฟุตบอลลีกระดับห้า