สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ในปี พ.ศ. 2559 | |||||
พระมหากษัตริย์แห่งจอร์แดน | |||||
ครองราชย์ | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน (25 ปี 292 วัน) | ||||
ราชาภิเษก | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2542 | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ | ||||
พระรัชทายาท | เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน | ||||
พระราชสมภพ | 30 มกราคม พ.ศ. 2505 กรุงอัมมาน, ประเทศจอร์แดน | ||||
พระอัครมเหสี | รานยา อัลยัสซิน | ||||
พระราชบุตร รายละเอียด | เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน เจ้าหญิงอีมาน เจ้าหญิงซัลมา เจ้าชายฮาเชม | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ฮัชไมต์ | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ | ||||
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ | ||||
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม | ||||
ลายพระอภิไธย |
พระราชวงศ์จอร์แดน |
---|
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน
|
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 บิน อัลฮุซัยน์ (อาหรับ: الملك عبد الله الثاني بن الحسين, ʿAbdullāh al-thani bin Al-Husayn, พระราชสมภพ 30 มกราคม พ.ศ. 2505) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งจอร์แดน เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน และเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์
พระราชประวัติ
[แก้]พระราชสมภพ
[แก้]สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2505 ณ กรุงอัมมาน เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ และเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ อดีตพระวรราชชายาชาวอังกฤษ (พระนามเดิม แอนทัวเนตต์ เอวริล การ์ดิเนอร์)[1]
พระนาม "อับดุลลอฮ์" นั้น นำมาจากพระปรมาภิไธยของ สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 พระปัยกา[2][3] ทรงเป็นลูกหลานรุ่นที่ 41 นบีมุฮัมมัด ในสายฟาฏิมะฮ์ ธิดานบีมุฮัมมัด กับสามีคืออะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ[1]
ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ พระองค์เป็นองค์รัชทายาทแห่งจอร์แดนภายใต้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2495[3][4]
เนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมือง สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์มีพระราชดำริสถาปนารัชทายาทที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นแทน ดังนั้นพระองค์จึงทรงสถาปนาเจ้าชายฮะซัน พระอนุชาขึ้นเป็นพระรัชทายาทในปีพ.ศ. 2508[5][6]
การศึกษา
[แก้]ทรงเริ่มการศึกษาในปีพ.ศ. 2509 ที่วิทยาลัยการศึกษาอิสลามในอัมมาน จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเซนต์เอ็ดมันด์ในสหราชอาณาจักร พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอีเกิลบรุกและเดียร์ฟิลด์ อะคาเดมี่ในสหรัฐอเมริกา[1]
เสด็จขึ้นครองราชย์
[แก้]เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 อภิเษกสมรสกับรานยา อัลยัสซิน ชาวปาเลสไตน์ มีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์
พระราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 | |
---|---|
ตราประจำพระอิสริยยศ | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ยัวร์มาเจสตี |
การขานรับ | ฮิสมาเจสตี |
ลำดับโปเจียม | 1 |
พระราชอิสริยยศ
[แก้]• ฮิสรอยัลไฮเนส มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน (30 มกราคม พ.ศ. 2505 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2508) ฃ
• ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายอับดุลลอฮ์ บิน ฮุซัยน์แห่งจอร์แดน (1 มีนาคม พ.ศ. 2508 – 24 มกราคม พ.ศ. 2542)
• ฮิสรอยัลไฮเนส มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน ( 24 มกราคม พ.ศ. 2542 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)
• ฮิสมาเจสตี สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน)
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน | พระมหากษัตริย์จอร์แดน (ค.ศ. 1999 — ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในราชสมบัติ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "His Majesty King Abdullah II ibn Al-Hussein". kingabdullah.jo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2017.
- ↑ Jawad Anani (23 พฤศจิกายน 2015). "Enacting laws". The Jordan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2018.
- ↑ 3.0 3.1 "Jordan profile – Leaders". BBC. 3 กุมภาพันธ์ 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "Jordan's king names son, 15, as crown prince". Reuters. 3 กรกฎาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2018.
- ↑ Jehl, Douglas (1999). "King Hussein Selects Eldest Son, Abdullah, as Successor". The New York Times.
- ↑ Hoiberg, Dale H., บ.ก. (2010). "Abdullah II". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-ak Bayes (15th ed.). Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica Inc. pp. 23. ISBN 978-1-59339-837-8.