สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระราชินีนูร์ อัลฮุซัยน์ (อาหรับ: الحسين نور; เดิม: ลิซ่า นาจีบ ฮัลลาบี (อังกฤษ: Lisa Najeeb Halaby; พระราชสมภพ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นพระมเหสีหม้ายในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ทรงเป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สี่และพระบรมราชินีในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2521 จนถึงปีพ.ศ. 2542

สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีนูร์ในปีพ.ศ. 2553
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
ดำรงพระยศ15 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (20 ปี 237 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีอาลียา
ถัดไปสมเด็จพระราชินีรานยา
พระราชสมภพ23 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (72 พรรษา)
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี., ประเทศสหรัฐอเมริกา
ลิซ่า นาจีบ ฮัลลาบี
พระราชสวามีสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน
พระราชบุตรเจ้าชายฮัมซา
เจ้าชายฮาชิม
เจ้าหญิงอิมาน
เจ้าหญิงไรยา
พระนามเต็ม
นูร์ อัลฮุซัยน์
ราชวงศ์ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดานายนาจีบ ฮัลลาบี
พระราชมารดานางดอริส คาร์ลควิสต์
ศาสนาศาสนาอิสลาม

สมเด็จพระราชินีนูร์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยการริเริ่มประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน การศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน[1] ทรงเป็นองค์ประธานในขบวนการสหวิทยาลัยโลก ทั้งยังทรงเป็นผู้นำที่ร่วมก่อตั้งองค์กร Global Zero ที่เรียกร้องการขจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดไปจากโลก ทรงเป็นกรรมการสถาบันแอสเพนและผู้อพยพสากล[1] รวมไปถึงมูลนิธินูร์อัลฮุซัยน์ ที่ทรงจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของสตรีจอร์แดน[2]

พระราชประวัติ[แก้]

พระชนพ์ชีพช่วงต้นและพื้นฐานครอบครัว[แก้]

สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวชาวซีเรีย อเมริกัน มีพระนามเดิมว่า ลิซ่า นาจีบ ฮัลลาบี[3] เป็นธิดาของนายนาจีบ ฮัลลาบีกับนางดอริส คาร์ลควิสต์ ภรรยาชาวอเมริกันสวีเดน แต่ตัวพระองค์เองทรงเชื่อว่ามีเชื้อสาย อังกฤษ-สกอตแลนด์หรือ ไอริช พระชนกของพระองค์เป็นนักบินทดสอบของกองทัพเรือสหรัฐ ผู้บริหารสายการบินและข้าราชการ เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในการบริหารทรูแมน ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอหน์ เอฟ. เคนเนดี้ ให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารการบินแห่งชาติ นอกจากนี้ นายนาจีบ ฮัลลาบียังมีอาชีพภาคเอกชนโดยทำหน้าที่เป็นผู้บริหารของสายการบินแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 จนถึงปีพ.ศ. 2515

ครอบครัวฮัลลาบีมีบุตร – ธิดาทั้งหมดสามคน ได้แก่

ลิซ่า บุตรสาวคนโต (ต่อมาคือสมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน)

คริสเตียน บุตรชายคนกลาง

อเล็กซ์ซ่า บุตรสาวคนเล็ก

พระชนกและพระชนนีได้หย่าร้างกันในปีพ.ศ. 2520[4]

นายนาจีบ อีเลียส ฮัลลาบี พระอัยกาของสมเด็จพระราชินีนูร์ เป็นผู้อพยพชาวเลบานอน ซีเรียที่อพยพมาจากประเทศเลบานอน[5][6] เขาเป็นนายหน้าซื้อขายปิโตรเลียมตามบันทึกการสำรวจสำมะโนประชากรปีพ.ศ. 2463[7]

พ่อค้านามว่า สแตนเลย์ มาร์คัส จำได้ว่าในช่วงกลางทศวรรษปีพ.ศ. 2463 นายฮัลลาบีได้เปิดร้านชื่อว่าฮัลลาบีแกลเลอรี่ ร้านขายพรมและของตกแต่งภายในที่ Neiman Marcus ในแดลลัส เท็กซัส และได้ดำเนินกิจการร่วมกันกับลอร่า วิลกินส์ ภรรยาชาวเท็กซัสของเขา

นายนาจีบ อีเลียส ฮัลลาบีเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นานและที่ดินของเขาไม่สามารถดำเนินธุรกิจใหม่ได้[8]

การศึกษา[แก้]

พระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนในนิวยอร์กและแคลิฟอร์เนีย ก่อนทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาวิหารแห่งชาติจากเกรดสี่ถึงเกรดแปด ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียน Chapin ในนครนิวยอร์กเป็นเวลาสองปี[9] จากนั้นทรงสำเร็จการศึกษาจาก คองคอร์ด อะคาเดมี่ โรงเรียนมัธยมในคองคอร์ด แมสซาชูเซตส์ ต่อมาทรงเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันด้วยชั้นปีแรกในสหศึกษาและได้รับปริญญาตรีด้านสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองในปีพ.ศ. 2517[10]

การทำงาน[แก้]

หลังจากที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน พระองค์ได้ทรงย้ายไปที่ออสเตรเลียและทรงทำงานให้กับบริษัทที่เชี่ยวชาญในการวางแผนผังเมืองใหม่ด้วยความสนใจเป็นอย่างมากในตะวันออกกลาง หลังจากผ่านไปหนึ่งปี ในปีพ.ศ. 2518 พระองค์ทรงยอมรับข้อเสนองานจาก เวลีน เดวีส์ บริษัทสถาปัตยกรรมและการวางแผนของอังกฤษ ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ออกแบบแบบจำลองเมืองหลวงในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เมื่อมีการเพิ่มความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้บริษัทต้องย้ายถิ่นฐานไปยังสหราชอาณาจักร พระองค์จึงทรงเดินทางไปยังโลกอาหรับและตัดสินใจสมัครเรียนวารสารศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในขณะที่ทรงทำงานวิจัยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบินชั่วคราวในอัมมาน พระองค์ได้ทรงออกจากอาหรับแอร์ และทรงรับงานกับอาลียาแอร์ไลน์ เพื่อเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก[11]

สมเด็จพระราชินี[แก้]

อภิเษกสมรส[แก้]

สมเด็จพระราชินีนูร์ ณ เมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี ในปีพ.ศ. 2521
สมเด็จพระราชินีนูร์และสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์กับ Richard von Weizsäcker ประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีตะวันตกและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง Marianne von Weizsäcker ประเทศจอร์แดน ในปีพ.ศ. 2528

พระองค์ทรงเป็นพระสหายกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ในขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดียังทรงโทมนัสต่อการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีอาลียา พระอัครมเหสีของพระองค์จากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งตก เมื่อปีพ.ศ. 2520 มิตรภาพระหว่างพระองค์และพระราชสวามีได้เริ่มพัฒนามากยิ่งขึ้นและทรงหมั้นในปีพ.ศ. 2521[11]

ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ณ กรุงอัมมาน และทรงได้รับการสถาปนาให้ขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน[12]

พระองค์ได้เข้ารีตศาสนาอิสลามตามพระราชสวามีก่อนอภิเษกสมรส ทรงเปลี่ยนพระนามจากเดิม ลิซ่า ฮัลลาบี เป็นพระนาม นูร์ อัลฮุซัยน์ (แสงสว่างของฮุซัยน์) พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเป็นพระราชพิธีแบบดั้งเดิมของชาวมุสลิม การเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามและการอภิเษกสมรสกับกษัตริย์แห่งจอร์แดนของพระองค์ได้รับการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางในสื่อตะวันตก หลายคนคิดว่าพระองค์จะทรงถูกมองว่าเป็นคนแปลกหน้าในประเทศเพราะพระองค์ทรงเป็นคนอเมริกันเชื้อสายยุโรปส่วนใหญ่ที่ถูกเลี้ยงดูในศาสนาคริสต์ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยพระอัยกาเชื้อสายซีเรียของพระองค์ ทำให้พระองค์ทรงได้รับการพิจารณาจากประชากรส่วนใหญ่ว่าเป็นชาวอาหรับที่ได้เดินทางกลับบ้านมากกว่าชาวต่างชาติ ในไม่นานพระองค์ทรงมีอำนาจและอิทธิพลจากการใช้บทบาทของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ และการศึกษาของพระองค์ในการวางผังเมืองสำหรับการปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางการกุศลและการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศเช่นเดียวกับการเสริมสร้างศักยภาพของสตรีในชีวิตทางเศรษฐกิจของจอร์แดน[13]

พระราชสันตติวงศ์[แก้]

สมเด็จพระราชินีนูร์และสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน มีพระราชบุตรและพระราชธิดาสี่พระองค์

เจ้าชายฮัมซา (ประสูติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2523 ณ กรุงอัมมาน) ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2547 มีพระธิดาห้าพระองค์และพระโอรสหนึ่งพระองค์

เจ้าชายฮาชิม (ประสูติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ณ กรุงอัมมาน) มีพระธิดาสามพระองค์และพระโอรสสองพระองค์

เจ้าหญิงอิมาน (ประสูติเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2526 ณ กรุงอัมมาน) มีพระโอรสหนึ่งพระองค์

เจ้าหญิงไรยา (ประสูติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ณ กรุงอัมมาน)

สมเด็จพระราชินีนูร์ ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน[แก้]

หลังการสวรรคตของพระราชสวามี[แก้]

สมเด็จพระราชินีนูร์ในปีพ.ศ. 2542

สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ด้วยพระโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง พระราชโอรสพระองค์แรกของพระองค์กับเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ อดีตพระราชชายา เจ้าชายอับดุลลอฮ์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดนเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน และได้ทรงสถาปนาเจ้าชายฮัมซาขึ้นเป็นพระรัชทายาท ทว่าในปีพ.ศ. 2547 เจ้าชายฮัมซาทรงถูกถอดพระราชอิสริยยศโดยมิได้ทรงคาดคิด[14][15][16] เนื่องด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 มีพระราชประสงค์ที่จะทรงสถาปนาเจ้าชายฮุซัยน์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระองค์ขึ้นแทน ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[15]

ช่วงปลายพระชนม์ชีพ[แก้]

สมเด็จพระราชินีนูร์ในปีพ.ศ. 2554

สมเด็จพระราชินีนูร์มิเพียงประทับในประเทศจอร์แดนเพียงเท่านั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับพัก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.และสหราชอาณาจักร ตามแต่พระราชประสงค์ พระองค์ยังคงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในนามขององค์กรระหว่างประเทศ[17] ทรงรับสั่งได้ทั้งภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ สมเด็จพระราชินียังทรงโปรดการเล่นสกี สกีน้ำ เทนนิส การทรงเรือใบ การทรงม้า การทรงพระอักษร การทำสวนและการฉายพระรูป[18]

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

• ลิซ่า นาจีบ ฮัลลาบี (23 สิงหาคม พ.ศ. 2494 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2521)

เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (15 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)

เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีนูร์ ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

ตราอาร์มประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนูร์ (Dame of the Order of Charles III)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ราชินีนูร์แห่งจอร์แดน
  2. รายการจอโลก BIOGRAPHY เสนอเรื่องราวของพระราชินีแห่งจอร์แดนพระราชินีนูร์ (QUEEN NOOR)
  3. https://www.biography.com/royalty/queen-noor-of-jordan
  4. Schudel, Matt (30 December 2015). "Doris C. Halaby, mother of Queen Noor of Jordan, dies at 97". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
  5. Halaby, Najeeb E. (1978). "Crosswinds: an airman's memoir". Doubleday. p. 3.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Najeeb E. Halaby, Former Airline Executive, Dies at 87". NYTimes.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Stout, David (3 July 2003). "Najeeb E. Halaby, Former Airline Executive, Dies at 87". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010.
  8. Stanley Marcus. Minding the Store: A Memoir, 1974, pg. 39.
  9. "Portrait of a Princess to Be: Lisa Halaby's Friends Tell of Her Life Before Hussein". People.com. 5 June 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-14. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  10. Lucia Raatma, Queen Noor: American-Born Queen of Jordan, 2006.
  11. 11.0 11.1 "Queen Noor of Jordan Biography". biography.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2011. สืบค้นเมื่อ 20 January 2010.
  12. S.wren, Christopher. "Hussein Marries American And Proclaims Her Queen" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-06-14.
  13. "Middle East | Battle of the wives". BBC News. 9 February 1999. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  14. "Jordan crown prince loses title". BBC News. 29 November 2004. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010.
  15. 15.0 15.1 reuters.com: "Jordan's king names son, 15, as crown prince", 3 July 2009
  16. "Analyzing King Abdullah's Change in the Line of Succession - The Washington Institute for Near East Policy". Washingtoninstitute.org. 29 November 2004. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  17. "Arab News". Arab News. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  18. "Her Majesty Queen Noor of Jordan". Kinghussein.gov.jo. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  19. "Photographic image" (JPG). S-media-cache-ak0.pinimg.com. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  20. "Photographic image" (JPG). 66.media.tumblr.com. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 21.7 21.8 "Jordan3". Royalark.net. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  22. "Photographic image". Kinghusseinfoundation.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 "Here she wears the medal of the order". Coloreddiamond.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-02. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  24. "Photographic image". Theroyalforums.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  25. "Reply to a parliamentary question about the Decoration of Honour" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). p. 520. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
  26. "Photographic image". Media.gettyimages.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  27. Italian Presidency Website, S.M. Noor Regina di Giordania เก็บถาวร 28 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  28. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 October 2013. สืบค้นเมื่อ 17 May 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  29. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 November 2013. สืบค้นเมื่อ 9 June 2014.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  30. "Photographic image" (JPG). S-media-cache-ak0.pinimg.com. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน ถัดไป
อาลียา บาฮาอัดดีน โทคัน
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
(ค.ศ. 1978 - 1999)
รานยา อัลยัสซิน
เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์แห่งเวลส์ ประธานสหวิทยาลัยโลก
(ค.ศ. 1995 - ปัจจุบัน)
ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]