ข้ามไปเนื้อหา

ทศศีล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศีล 10)

ศีล 10 หรือ ทศศีล สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล 8 แต่แยกข้อ 7 เป็น 2 ข้อ เลื่อนข้อ 8 เป็น 9 และเติมข้อ 10 คือ

ศีล 10 ข้อ

[แก้]
  1. เว้นจากทำลายชีวิต
  2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
  3. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
  4. เว้นจากพูดเท็จ
  5. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
  6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเวลาตั้งแต่เลยเที่ยงขึ้นไปจนถึงขึ้นเช้าวันใหม่
  7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ[1]
  8. เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ
  9. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ
  10. เว้นจากการรับทองและเงิน

ศีล 10 นี้ ประกอบด้วยศีล 5 ข้อแรกเป็นของฆราวาส [2] สำหรับผู้ครองเรือน ส่วนศีล 10 เป็นข้อปฏิบัติของสามเณร สามเณรี และสิกขมานา (ผู้ที่ขอบวชเป็นภิกษุณี ซึ่งต้องบวชเป็นสามเณรี และไม่ผิดศีลข้อ 1 2 3 4 5 6 เป็นเวลาถึง 2 ปีโดยไม่ขาดศีลทั้ง 6 ข้อโดยไม่ขาดเลย แต่ข้อ 7 8 9 10 ขาดได้บ้าง) รวมทั้งเป็นข้อปฏิบัติของ สมณะนักบวชนอกพระศาสนา (หนึ่งในเทวทูต 4) ก็ถือศีล 10 มาก่อน เป็นศีลขั้นต่ำของพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายมีปกติไม่ผิดศีลข้อ 1 ถึงข้อ 9 ตลอดชีวิต และมีปกติรักษาศีลข้อ 10 เป็นธรรมชาติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. คำว่า “นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา” ในสิกขาบทนี้ แปลได้ 2 นัย คือ นัยที่ 1 แปลว่า “การดูการละเล่นอัน เป็นข้าศึกต่อกุศลคือการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลงดนตรี” (ดู ที.สี. (แปล) 9/13/6 ประกอบ) นัยที่ 2 แปลว่า “การฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี และการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล” ในที่นี้แปลตามนัยที่ 2 คำว่า “ทัสสนา” มิได้จำกัดความหมายเพียงการดู การเห็นเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการฟัง การได้ยินด้วย คำว่า “ข้าศึกต่อกุศล” แปลจากคำว่า “วิสูกะ” หมายถึง เป็นเหตุทำลายกุศลธรรม ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น และหมายถึงเป็นข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสมต่อพระพุทธศาสนา ในสิกขาบทนี้พึงทราบนัยเพิ่มเติมอีก 2 นัย คือ (1) จะจัดเป็นการล่วงละเมิดสิกขาบทได้ต่อเมื่อเข้าไปดูเพราะประสงค์จะเห็นเท่านั้น แต่ถ้าบังเอิญการละเล่นนั้นผ่านมาให้เห็นเองทางที่ตนยืน นั่ง หรือนอนอยู่ ไม่จัดเป็นการล่วงละเมิด จัดเป็นเพียงความเศร้าหมอง (2) เพลงขับร้อง (คีตะ) ที่ประกอบด้วยธรรม ถือเป็นความเหมาะสม ไม่ห้าม แต่ธรรมที่ประกอบเป็นเพลงขับร้อง ถือเป็นความไม่เหมาะสม (ขุ.ขุ.อ. 2/27-28)
  2. อมร อำไพรุ่งเรือง. (2545). การศึกษาพฤติกรรมการรักษาและการล่วงละเมิดศีล 5 ของพุทธศาสนิกชน กรุงเทพมหานคร A STUDY OF THE BEHAVIOR IN OBSERVING AND VIOLATING THE FIVE PRECEPTS BY THE BUDDHISTS IN BANGKOK. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา), บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย