การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย พ.ศ. 2565 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย-ยูเครน | |||||||
สถานการณ์ทางทหาร ณ วันที่ 3 มกราคม ควบคุมโดยยูเครน ครอบครองโดยรัสเซีย | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ยูเครน | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
การจัดขบวนรบ | การจัดขบวนรบ | ||||||
กำลัง | |||||||
| |||||||
การประมาณกำลัง ณ ช่วงเริ่มต้นของการรุกราน | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
จำนวนที่รายงานมีหลากหลายมาก ดูรายละเอียดที่ การบาดเจ็บล้มตายและผลกระทบด้านมนุษยธรรม |
รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เป็นการยกระดับความรุนแรงของสงครามรัสเซีย–ยูเครน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2557 การรุกรานทำให้เกิดวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[10][11] โดยมีชาวยูเครน 6.9 ล้านคนเดินทางออกนอกประเทศ[12] และหนึ่งในสามกลายเป็นประชากรพลัดถิ่น[13][14] ขณะเดียวกันรัสเซียเผชิญกับการอพยพออกนอกประเทศครั้งใหญ่สุดนับแต่การปฏิวัติเดือนตุลาคมในปี 2460[15] และยังทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารทั่วโลก[16][17]
ในช่วงเริ่มต้นของสงครามรัสเซีย-ยูเครนใน พ.ศ. 2557 รัสเซียได้ผนวกดินแดนไครเมีย และกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียเข้ายึดพื้นที่บางส่วนของภูมิภาคดอนบัส ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน ทำให้เกิดสงครามระดับภูมิภาคที่นั่น[18][19] ใน พ.ศ. 2564 รัสเซียได้เริ่มต้นสร้างกองทัพขนาดใหญ่ตามแนวชายแดนที่มีพรมแดนติดกับยูเครน ซึ่งรวบรวมทหารได้ถึง 190,000 นาย พร้อมกับยุทโธปกรณ์ ในการออกอากาศก่อนการรุกรานไม่นาน วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้สนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน,[20] ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิทธิในการมีสถานะเป็นมลรัฐของยูเครน[21][22] และกล่าวหาอย่างผิด ๆ [23] ว่ายูเครนถูกปกครองโดยนีโอนาซีซึ่งข่มเหงชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซีย[24][25] ปูตินยังกล่าวอีกว่าองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท) เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัสเซีย โดยการขยายไปทางตะวันออกตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษ 2543 ซึ่งเนโทโต้แย้ง[26] รัสเซียเรียกร้องให้เนโทยุติการขยายตัวและกีดกันยูเครนจากการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรอย่างถาวร[27] สหรัฐและประเทศอื่น ๆ กล่าวหาว่ารัสเซียวางแผนโจมตีหรือรุกรานยูเครน ซึ่งเจ้าหน้าที่รัสเซียปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[31]
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 รัสเซียได้รับรองสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ซึ่งเป็นสองรัฐที่ประกาศตนเองในดอนบัสที่ควบคุมโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซีย[32] วันรุ่งขึ้น สภาสหพันธรัฐรัสเซียอนุญาตให้ใช้กำลังทหารในต่างประเทศ และกองทหารรัสเซียได้เข้าไปยังดินแดนทั้งสองอย่างเปิดเผย[33] การรุกรานเริ่มขึ้นในเช้าวันที่ 24 กุมภาพันธ์[34] เมื่อปูตินประกาศ "ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ" เพื่อ "ลบล้างอิทธิพลของนาซีออกจาก" ยูเครน[35][36] ไม่กี่นาทีต่อมา ขีปนาวุธและการโจมตีทางอากาศได้โจมตีทั่วยูเครน รวมทั้งเคียฟ เมืองหลวง ตามมาด้วยการโจมตีภาคพื้นดินขนาดใหญ่จากหลายทิศทาง[37][38] วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประธานาธิบดียูเครน ตอบสนองโดยการประกาศใช้กฎอัยการศึกและการระดมพลทั่วไปของพลเมืองยูเครนชายทั้งหมดที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 60 ปี ซึ่งถูกห้ามไม่ให้ออกนอกประเทศ[39][40]
ในช่วงแรกของการรุกราน การโจมตีของรัสเซียได้เริ่มต้นขึ้นที่แนวรบด้านเหนือจากเบลารุสไปยังเคียฟ, แนวรบด้านตะวันออกเฉียงเหนือไปที่คาร์กิว, แนวรบด้านใต้จากไครเมีย และแนวรบด้านตะวันออกเฉียงใต้จากเมืองลูฮันสก์และดอแนตสก์[41][42] ช่วงเดือนมีนาคม การรุกของรัสเซียไปยังเคียฟหยุดชะงัก ท่ามกลางความสูญเสียและการต่อต้านอย่างแข็งแกร่งของยูเครน กองทหารรัสเซียก็ถอยทัพจากแคว้นเคียฟ ภายในวันที่ 3 เมษายน เมื่อวันที่ 8 เมษายน รัสเซียประกาศว่ากำลังของตนในยูเครนตอนใต้และตะวันออกจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลอะเลคซันดร์ ดวอร์นีคอฟ และหน่วยบางหน่วยที่ถอนตัวออกจากยูเครนตอนเหนือก็ถูกส่งไปยังดอนบัสอีกครั้ง[43] เมื่อวันที่ 19 เมษายน รัสเซียได้เริ่มการโจมตีครั้งใหม่ในบริเวณแนวรบยาว 500 กิโลเมตร ซึ่งทอดยาวจากคาร์กิวไปยังดอแนตสก์และลูฮันสก์ ด้วยการโจมตีด้วยขีปนาวุธพร้อมกันที่มุ่งเป้าไปที่ทางตอนเหนือของเคียฟและเมืองลวิวในทางตะวันตกของยูเครน[44] เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม กองกำลังรัสเซียที่อยู่ใกล้เมืองคาร์กิวได้ถอนกำลังออกหลังจากการโจมตีตอบโต้ของยูเครน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม มารีอูปอลถูกกองทหารรัสเซียยึดหลังจากการล้อมโรงงานเหล็กอาซอว์สตัลเป็นเวลานาน[45][46] วันที่ 19 เมษายน รัสเซียเปิดฉากการโจมตีรอบใหม่ในภูมิภาคดอนบัส โดยแคว้นลูฮันสก์ถูกยึดทั้งหมดในวันที่ 3 กรกฎาคม[47] กองกำลังรัสเซียยังคงทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายทางทหารและพลเรือนที่อยู่ห่างจากแนวหน้า[48][49] กองกำลังรัสเซียเปิดฉากการรุกโต้ตอบในภาคใต้เมื่อเดือนสิงหาคม และในภาคตะวันออกในเดือนกันยายน
การรุกรานได้รับการประณามอย่างกว้างขวางจากนานาชาติว่าเป็นการกระทำที่ก้าวร้าว[50][51] สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติที่เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทั้งหมด ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสั่งให้รัสเซียระงับปฏิบัติการทางทหารและสภายุโรปขับไล่รัสเซีย หลายประเทศกำหนดมาตรการคว่ำบาตรใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัสเซียและทั่วโลก[52] และให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการทหารแก่ยูเครน[53] การประท้วงเกิดขึ้นทั่วโลก; ผู้ที่อยู่ในรัสเซียถูกจับกุมเป็นจำนวนมากและมีการเซ็นเซอร์สื่อ,[54][55] รวมถึงการห้ามใช้คำว่า "สงคราม" และ "การรุกราน"[38] บริษัทหลายแห่งถอนผลิตภัณฑ์และบริการของตนออกจากรัสเซียและเบลารุส และสื่อที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐของรัสเซียถูกห้ามไม่ให้ออกอากาศและนำออกจากแพลตฟอร์มออนไลน์ ศาลอาญาระหว่างประเทศเปิดการสอบสวนอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในยูเครนตั้งแต่การปฏิวัติศักดิ์ศรีใน พ.ศ. 2556–2557 ไปจนถึงอาชญากรรมสงครามในการรุกราน พ.ศ. 2565[56]
ภูมิหลัง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคหลังสหภาพโซเวียต
[แก้]หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เมื่อปี 2534 ยูเครนและรัสเซียก็ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อกัน โดยยูเครนยินยอมที่จะปลดอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศและยอมรับรายงานกรุงบูดาเปสต์เรื่องการประกันความมั่นคง[57] ภายใต้เงื่อนไขว่ารัสเซีย สหรัฐ และสหราชอาณาจักรจะต้องไม่ใช้กำลังเพื่อละเมิดดินแดนหรืออธิปไตยของยูเครน[58][59] ในปี 2542 รัสเซียเป็นผู้ลงนามกฎบัตรความมั่นคงยุโรป ซึ่งยืนยันว่าชาติยุโรปมีอิสระในการเลือกหรือเปลี่ยนการจัดการด้านความมั่นคงของตนเองได้[60] ประเทศยุโรปตะวันออกรวม 14 ประเทศเข้าร่วมกับเนโทซึ่งมีเหตุผลบางส่วนมาจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงส่วนภูมิภาคจากรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญรัสเซียปี 2536 สงครามในอับฮาเซียหรือสงครามเชเชนครั้งที่ 1 ผู้นำรัสเซียอ้างว่าการรับสมาชิกเพิ่มของเนโทเป็นการละเมิดการรับประกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเนโทจะไม่ขยายตัวมาทางตะวันออก[27][61]
ต่อมาใน พ.ศ. 2551 วลาดีมีร์ ปูติน ออกมาเรียกร้องต่อต้านไม่ให้ยูเครนเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือเนโท[62][63] เหตุการณ์นี้ทำให้มีนักวิเคราะห์มองว่า รัสเซียต้องการที่จะฟื้นฟูลัทธิเบรจเนฟ ซึ่งจำกัดอธิปไตยของยูเครนไว้ไม่ให้เหนือกว่าชาติอื่น ๆ ในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอ เมื่อครั้งที่ยูเครนยังอยู่ใต้อำนาจของสหภาพโซเวียต[64]
การปฏิวัติยูเครน
[แก้]ในปี 2556 เกิดการประท้วงยูโรไมดาน ทำให้วิกตอร์ ยานูกอวึช ประธานาธิบดีของยูเครนในขณะนั้น เซ็นสัญญากับฝ่ายค้าน เพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ ยานูกอวึชหลบหนีออกจากกรุงเคียฟก่อนที่จะถูกถอดถอนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[65][66][67] แต่ยังคงมีผู้นำจากบริเวณยูเครนตะวันออกที่ให้ความเคารพในตัวเขาอยู่[68] ทำให้เกิดความขัดแย้งนิยมรัสเซีย[69] ตามมาด้วยการผนวกไครเมียของประเทศรัสเซีย และนำไปสู่การจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และลูฮันสก์ที่บริเวณดอนบัส[70][71]
เหตุการณ์ก่อนเกิดสงคราม
[แก้]ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น (มีนาคม พ.ศ. 2564 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)
[แก้]นับตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 รัสเซียเริ่มเสริมกำลังทหารครั้งใหญ่ใกล้กับพรมแดนรัสเซีย–ยูเครน ซึ่งตามมาด้วยการเสริมกำลังทหารครั้งที่สองระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ทั้งในรัสเซียและเบลารุส[73] ระหว่างการเสริมกำลังเหล่านี้ รัฐบาลรัสเซียได้ออกมาปฏิเสธหลายครั้งว่ามีแผนที่จะรุกรานหรือโจมตียูเครน[29][74] บรรดาผู้ที่ออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าวรวมถึงดมีตรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาล ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, เซียร์เกย์ เรียบคอฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564,[28] อะนาโตลี อันโตนอฟ เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหรัฐ ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[29] และ อะเลคซันดร์ ซเมเยฟสกี เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำเช็กเกีย ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[30]
นีโคไล ปาตรูเชฟ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีปูติน[75] ซึ่งเชื่อว่าฝ่ายตะวันตกทำสงครามกับรัสเซียมาเป็นเวลาหลายปีโดยที่ไม่ได้ประกาศสงคราม[76] เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับปรับปรุงของรัสเซียซึ่งได้รับการเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยได้ระบุไว้ว่า รัสเซียอาจใช้ "วิธีการขั้นรุนแรง" เพื่อ "ขัดขวางหรือป้องกันการกระทำที่ไม่เป็นมิตรที่คุกคามอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนสหพันธรัฐรัสเซีย"[77][78]
ในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 หลังจากที่รัสเซียออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว สหรัฐได้เผยแพร่ข่าวกรองเกี่ยวกับแผนการรุกรานของรัสเซีย ซึ่งรวมไปถึงภาพถ่ายทางดาวเทียมที่แสดงถึงกองกำลังและยุทโธปกรณ์ของรัสเซียที่อยู่ใกล้กับพรมแดนรัสเซีย–ยูเครน[79] หน่วยข่าวกรองรายงานว่ามีการจัดทำรายชื่อสถานที่และบุคคลสำคัญที่จะถูกสังหารหรือถูกตัดรอนกำลังเมื่อมีการรุกราน[80] สหรัฐยังคงเผยแพร่รายงานที่คาดการณ์ถึงแผนการรุกรานยูเครนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ[80]
สถานการณ์
[แก้]แนวรบตอนเหนือของยูเครน
[แก้]กองทัพรัสเซียมีความพยายามที่จะเข้ายึดครองเมืองเคียฟ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของยูเครน โดยการเคลื่อนทัพหลักเข้ามาจากทางประเทศเบลารุส บุกเข้ามาตามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำนีเปอร์เพื่อเข้าปิดล้อมเคียฟ โดยมีทัพย่อยอีกสองทัพเคลื่อนเข้ามาจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำนีเปอร์เพื่อให้การสนับสนุน ได้แก่ กองทัพที่เมืองแชร์นีฮิวและกองทัพที่เมืองซูมือ เคลื่อนเข้ามาเพื่อช่วยปิดล้อมเคียฟจากฝั่งตะวันออก[81][82]
ในวันแรกที่รัสเซียเริ่มรุกรานยูเครน รัสเซียสามารถยึดครองเชอร์โนบิลและปรือปิยัจซึ่งเป็นเมืองร้างได้สำเร็จ[83][84] การเคลื่อนทัพของรัสเซียชะลอลงที่เมืองอีวันกิว ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณชานเมืองเคียฟ รัสเซียพยายามที่จะยึดครองเคียฟให้ได้ในเวลาอันสั้น โดยทำการโจมตีสนามบินสองแห่งใกล้เคียฟ และส่งหน่วยรบพิเศษสเปซนาซเข้าไปแทรกซึมเคียฟ แต่ความพยายามดังกล่าวล้มเหลว[85] นอกจากนี้ รัสเซียยังพยายามที่จะลอบสังหารประธานาธิบดียูเครนด้วย โดยส่งกองกำลังทหารรับจ้างและทหารจากเชชเนียเข้าไปปฏิบัติการ แต่ความพยายามดังกล่าวก็ล้มเหลวเช่นกัน โดยยูเครนอ้างว่ามีเจ้าหน้าที่ในหน่วยข่าวกรองของรัสเซียคอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้ยูเครนสามารถขัดขวางแผนการได้สำเร็จ[86]
แนวรบตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน
[แก้]เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กองทัพรัสเซียสามารถเคลื่อนเข้าแคว้นแชร์นีฮิวที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครนและปิดล้อมเมืองแชร์นีฮิวได้สำเร็จ ในวันถัดมา รัสเซียได้บุกเข้าเมืองกอนอตอป และสามารถยึดครองเมืองได้สำเร็จ[87][88]
ในวันเดียวกัน มีการเคลื่อนทัพเข้าแคว้นซูมือ และหน่วยรบของรัสเซียได้เข้าโจมตีเมืองซูมือ ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนรัสเซีย–ยูเครนแค่ 35 กิโลเมตร แต่การเคลื่อนทัพของรัสเซียในบริเวณนี้ก็หยุดลงเนื่องจากเกิดการสู้รบอย่างหนักในเมืองซูมือ แหล่งข่าวในประเทศยูเครนอ้างว่า ยานหุ้มเกราะของรัสเซียถูกทำลายมากกว่าหนึ่งร้อยคัน และมีทหารนับสิบนายถูกจับได้สำเร็จ[89] ในวันเดียวกัน มีรายงานว่าเมืองออคตือร์กาก็ถูกโจมตีเช่นกัน และมีรายงานว่ากองทัพรัสเซียมีการใช้ระเบิดสุญญากาศเพื่อโจมตีเมือง[90]
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม นายเฟรเดอริก เคแกน นักวิชาการชาวอเมริกัน เขียนวิเคราะห์สถานการณ์ในยูเครนว่า การรุกรานยูเครนของรัสเซียที่เมืองซูมือ “ถือเป็นการรุกรานที่ประสบความสำเร็จและอันตรายมากที่สุดในความพยายามที่จะรุกรานเคียฟ” นายเฟรเดอริกยังให้ความเห็นว่า สภาพทางภูมิศาสตร์ของบริเวณนั้นทำให้กองทัพรัสเซียได้เปรียบ เพราะเป็นพื้นที่โล่ง เรียบ และมีประชากรไม่หนาแน่น กองทัพรัสเซียจึงสามารถเคลื่อนอาวุธและเครื่องจักรกลได้ง่าย ส่วนฝ่ายยูเครนจะหาตำแหน่งป้องกันการรุกรานได้ยาก[91]
แนวรบตะวันออกของยูเครน
[แก้]ที่ภาคตะวันออกของยูเครน กองทัพรัสเซียพยายามเข้ายึดครองเมืองคาร์กิว ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนแค่ 35 กิโลเมตร[92][93] ในระหว่างการสู้รบ รถถังของรัสเซียต้องเจอกับการต่อต้านอย่างหนักจากยูเครน และเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ กองทัพรัสเซียก็ทำการยิงขีปนาวุธใส่เมืองคาร์กิว ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน ที่ปรึกษาของประธานาธิบดียูเครนเรียกยุทธการครั้งนี้ว่า “สตาลินกราดแห่งศตวรรษที่ 21”[94]
เช้าวันที่ 25 กุมภาพันธ์ กองทัพรัสเซียทำการเคลื่อนทัพเข้ามาจากสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์เพื่อเข้าโจมตีเมืองมารีอูปอล แต่เกิดการปะทะกับกองทัพยูเครนที่หมู่บ้านปาฟโลปีล ทำให้กองทัพรัสเซียพ่ายแพ้ไป[95][96][97] ในคืนวันนั้น กองทัพเรือของรัสเซียทำการโจมตีชายฝั่งทะเลอะซอฟ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองมารีอูปอลไปทางตะวันตกประมาณ 70 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ระบุว่า กองทัพรัสเซียอาจทำการเคลื่อนพลนับพันคนขึ้นบกที่ชายฝั่งดังกล่าว[98][99][100] ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม ผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ ระบุว่ากองทัพของดอแนตสก์สามารถล้อมเมืองวอลนอวาคาได้สำเร็จ ในวันที่ 2 มีนาคม กองทัพรัสเซียถูกผลักดันออกจากเมืองซีวีโรดอแนตสก์ หลังเกิดการปะทะกันที่เมืองดังกล่าว[101]
จนถึงวันที่ 18 มีนาคม เมืองมารีอูปอลก็ถูกปิดล้อมอย่างสมบูรณ์ เกิดการสู้รบที่ใจกลางเมือง ทำให้ประชาชนอพยพออกจากเมืองได้ยากขึ้น[102] ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม โรงเรียนศิลปะแห่งหนึ่งในเมืองมารีอูปอลซึ่งเป็นที่หลบภัยของผู้คนราว 400 คนก็ถูกวางระเบิดโดยรัสเซีย[103] ในวันเดียวกัน กองทัพรัสเซียก็ทำการปิดล้อมและโจมตีเมืองต่อไป โดยกองทัพรัสเซียต้องการให้มีการยอมแพ้อย่างสมบูรณ์ แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลของยูเครนไม่ยอม[41][104]
แนวรบตะวันตกของรัสเซีย
[แก้]การบุกยึดครองแคว้นคูสต์ สิงหาคม 2567
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (สิงหาคม 2024) |
แนวรบทางอากาศ
[แก้]เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ กองกำลังรัสเซียได้โจมตีฐานทัพอากาศชูฮูย[105] ซึ่งเป็นที่จัดเก็บอากาศยานไร้คนขับของยูเครน การโจมตีครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับแหล่งจัดเก็บเชื้อเพลิงและโครงสร้างพื้นฐานของฐานทัพ[106] วันรุ่งขึ้น ฐานทัพอากาศมิลเลอร์โรโวในประเทศรัสเซียถูกกองกำลังทหารยูเครนโจมตีโดยใช้ขีปนาวุธ OTR-21 ทอชกา เจ้าหน้าที่ยูเครนระบุว่าขีปนาวุธทำลายเครื่องบิน ของกองทัพอากาศรัสเซียไปหลายลำ และทำให้เกิดเพลิงไหม้[107] [108] เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่ารัสเซียใช้ระบบขีปนาวุธ 9K720 อิสคานเดอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเบลารุส เพื่อโจมตีท่าอากาศยานจีโทมือร์ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานพลเรือน[109] ระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนหลายแห่งถูกทำลายหรือเสียหายในวันแรกของการรุกรานโดยการโจมตีทางอากาศของรัสเซีย[110]
การบาดเจ็บล้มตายและผลกระทบด้านมนุษยธรรม
[แก้]การบาดเจ็บล้มตาย
[แก้]รายละเอียด | จำนวน | ช่วงเวลา | แหล่งข้อมูล |
---|---|---|---|
พลเรือน | 24,332+ เสียชีวิต (โดยประมาณ)[d] 2,500–2,700 เสียชีวิต (รายงาน)[111][112] |
24 กุมภาพันธ์ – 23 เมษายน 2022 24 กุมภาพันธ์ – 18 เมษายน 2022 |
รัฐบาลยูเครน |
2,435+ เสียชีวิต, 2,946+ บาดเจ็บ | 24 กุมภาพันธ์ – 21 เมษายน พ.ศ. 2565 | สหประชาชาติ[112] | |
1,252 กุมขัง | 21 กันยายน – 25 กันยายน พ.ศ. 2565 | เดอะนิวยอร์กไทมส์[113] | |
กองทัพยูเครน (กองทัพยูเครน, กองกำลังป้องกันประเทศยูเครน) |
2,500–3,000 เสียชีวิต, 10,000 บาดเจ็บ | 24 กุมภาพันธ์ – 15 เมษายน พ.ศ. 2565 | รัฐบาลยูเครน[114] |
2,000–4,000 เสียชีวิต | 24 กุมภาพันธ์ – 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 | ประมาณการโดยสหรัฐ[115] | |
23,367 เสียชีวิต | 24 กุมภาพันธ์ – 16 เมษายน พ.ศ. 2565 | รัฐบาลรัสเซีย[116] | |
กองทัพรัสเซีย | 1,351 เสียชีวิต, 3,825 บาดเจ็บ[e] | 24 กุมภาพันธ์ – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565 | รัฐบาลรัสเซีย[124] |
กองทัพสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ | 1,188 เสียชีวิต, 4,956 บาดเจ็บ | 26 กุมภาพันธ์ – 14 เมษายน พ.ศ. 2565 | สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์[f] |
กองทัพสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ | 500–600 เสียชีวิต | 24 กุมภาพันธ์ – 5 เมษายน พ.ศ. 2565 | รัฐบาลรัสเซีย[g] |
กองกำลังรัสเซียและพันธมิตร (กองทัพรัสเซีย, กองกำลังป้องกันประเทศรัสเซีย, กลุ่มแวกเนอร์, ดอแนตสก์กับลูฮันสก์) |
30,000–40,000 ผู้บาดเจ็บ[h] | 24 กุมภาพันธ์ – 23 มีนาคม พ.ศ. 2565 | ประมาณการโดยเนโท[129] |
10,000+ เสียชีวิต | 24 กุมภาพันธ์ – 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 | ประมาณการโดยสหรัฐ[130] | |
21,000 สูญหาย | 24 กุมภาพันธ์ – 21 เมษายน พ.ศ. 2565 | รัฐบาลยูเครน[131] |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์เป็นรัฐแบ่งแยกที่ประกาศเอกราชในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ทั้งสองรับรองซึ่งกันและกัน และจากรัสเซีย ซีเรีย และเกาหลีเหนือ กับบางรัฐที่ได้รับการยอมรับบางส่วน ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 รัสเซียประกาศผนวกทั้งสองสาธารณรัฐประชาชนเข้าเป็นของตนเองอย่างเป็นทางการ
- ↑ กองกำลังรัสเซียได้รับอนุญาตให้เป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานจากดินแดนเบลารุส[1][2] อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ประธานาธิบดีเบลารุสยังระบุด้วยว่ากองทหารเบลารุสสามารถมีส่วนร่วมในการรุกรานได้หากจำเป็น[3] และมีการใช้ดินแดนเบลารุสเพื่อยิงขีปนาวุธเข้าสู่ยูเครน[4] ข้าราชการยูเครนอ้างว่าทหารเบลารุสเข้ามาในยูเครนแล้ว[5]' ดูเพิ่มเติมที่: การมีส่วนร่วมของเบลารุสในการรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565
- ↑ รวมภูมิภาคที่รัสเซียหรือกองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียควบคุมตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เช่น ไครเมียหรือนครดอแนตสก์; สงครามนี้ยังส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ของรัสเซียตะวันตก
- ↑ See table here in the Civilian deaths by areas section for a detailed breakdown of civilian deaths by cities or provinces, according to Ukrainian authorities
- ↑ Includes only servicemen of the Russian Armed Forces,[117] while an additional 17 Rosgvardiya members were confirmed to have been killed,[118][119][120][121][122] with more reported dead.[123]
- ↑ The DPR stated 1,201 of its servicemen were killed and 5,006 wounded between 1 January and 14 April 2022,[125] of which 13 died and 50 were wounded between 1 January and 25 February 2022,[126] leaving a total of 1,188 killed and 4,956 wounded in the period of the Russian invasion.
- ↑ Russia stated 1,500 DPR and LPR servicemen were killed 24 Feb.–5 April 2022.[127] Taking into account that officially confirmed DPR losses were 979 killed 26 Feb.–7 April 2022,[128][126] it can be estimated 500–600 LPR servicemen died 24 Feb.–5 April 2022.
- ↑ Including 7,000–15,000 killed, as well as wounded, missing and captured.
ดูเพิ่ม
[แก้]- สมัยประชุมพิเศษฉุกเฉินที่ 11 ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
- คดีระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซีย (พ.ศ. 2565)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lister, Tim; Kesa, Julia (24 February 2022). "Ukraine says it was attacked through Russian, Belarus and Crimea borders". Kyiv: CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Murphy, Palu (24 February 2022). "Troops and military vehicles have entered Ukraine from Belarus". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Rodionov, Maxim; Balmforth, Tom (25 February 2022). "Belarusian troops could be used in operation against Ukraine if needed, Lukashenko says". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Missiles launched into Ukraine from Belarus". BBC News. 27 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Ukrainian Official Says Belarus Has Joined the War, as Russia Pummels Kharkiv". Time. 1 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2022. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ Barnes, Julian E.; Crowley, Michael; Schmitt, Eric (10 January 2022). "Russia Positioning Helicopters, in Possible Sign of Ukraine Plans". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
- ↑ Bengali, Shashank (18 February 2022). "The U.S. says Russia's troop buildup could be as high as 190,000 in and near Ukraine". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2022. สืบค้นเมื่อ 18 February 2022.
- ↑ 8.0 8.1 Hackett, James, บ.ก. (February 2021). The Military Balance 2021 (1st ed.). Abingdon, Oxfordshire: International Institute for Strategic Studies. ISBN 978-1-03-201227-8. OCLC 1292198893. OL 32226712M.
- ↑ The Military Balance 2022. International Institute for Strategic Studies. February 2022. ISBN 9781000620030.
- ↑ Blake, Daniel Keane, Elly (15 March 2022). "What is the Homes for Ukraine refugees scheme and how do you apply?". Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 15 March 2022.
- ↑ "Ukrainian exodus could be Europe's biggest refugee crisis since World War II". El Pais. 3 March 2022.
- ↑ "Situation Ukraine Refugee Situation". United Nations High Commissioner for Refugees. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
- ↑ Ratcliffe, Rebecca; Clayton, Abené; Gabbatt, Adam; Chao-Fong, Léonie; Lock, Samantha; Ambrose, Tom (19 March 2022). "Biden outlines 'consequences' if China aids Russia – as it happened". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 28 March 2022.
- ↑ "Ukraine war: Putin being misled by fearful advisers, US says". BBC News. 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
- ↑ Boutsko, Anastassia (5 April 2022). "Who are the Russians leaving their country?". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 11 April 2022.
- ↑ Barbaro, Michael; Chaturvedi, Asthaa; Szypko, Rob; Quester, Rachel; Johnson, Michael; Baylen, Liz O.; Daniel, Chelsea; Powell, Dan; Lozano, Marion (5 April 2022). "How the War in Ukraine is Creating a Global Food Crisis". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 15 June 2022.
- ↑ "The coming food catastrophe". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 15 June 2022.
- ↑ Kirby, Jen (28 February 2022). "Putin's invasion of Ukraine, explained". Vox. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Conflict in Ukraine". Global Conflict Tracker. Council on Foreign Relations. 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Russia's invasion of Ukraine". The Economist. 26 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
Though the target of Mr. Putin's tirade on February 21st was Ukraine, the former Soviet republics now in NATO, Estonia, Latvia and Lithuania, have cause for alarm over his irredentism.
- ↑ Perrigo, Billy (22 February 2022). "How Putin's Denial of Ukraine's Statehood Rewrites History". Time. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Putin Says He Does Not Plan to 'Restore Empire'". The Moscow Times. 22 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2 March 2022.
- ↑ Tabarovsky, Izabella; Finkel, Evgeny (27 February 2022). "Statement on the War in Ukraine by Scholars of Genocide, Nazism and World War II". The Jewish Journal of Greater Los Angeles. สืบค้นเมื่อ 6 April 2022.
- ↑ Abbruzzese, Jason (24 February 2022). "Putin says he is fighting a resurgence of Nazism. That's not true". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Thompson, Stuart A. (10 March 2022). "4 Falsehoods Russians Are Told About the War". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 March 2022.
- ↑ "NATO-Russia relations: the facts". NATO. 27 January 2022. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
NATO is a defensive alliance. Our purpose is to protect our member states. Every country that joins NATO undertakes to uphold its principles and policies. This includes the commitment that 'NATO does not seek confrontation and poses no threat to Russia,' as reaffirmed at the Brussels Summit this year. NATO enlargement is not directed against Russia. Every sovereign nation has the right to choose its own security arrangements. This is a fundamental principle of European security, one that Russia has also subscribed to and should respect. In fact, after the end of the Cold War, Russia committed to building an inclusive European security architecture, including through the Charter of Paris, the establishment of the OSCE, the creation of the Euro-Atlantic Partnership Council, and the NATO-Russia Founding Act.
- ↑ 27.0 27.1 Wiegrefe, Klaus (15 February 2022). "NATO's Eastward Expansion: Is Vladimir Putin Right?". Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ 28.0 28.1 Farley, Robert; Kiely, Eugene (24 February 2022). "Russian Rhetoric Ahead of Attack Against Ukraine: Deny, Deflect, Mislead". FactCheck.org. Photograph by Aris Messinis (Agence-France Presse). Annenberg Public Policy Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
Nov. 28 – ... 'Russia has never hatched, is not hatching and will never hatch any plans to attack anyone,' Peskov said. ... Jan. 19 – ... Ryabkov ... 'We do not want and will not take any action of aggressive character. We will not attack, strike, invade, quote unquote, whatever Ukraine.'
- ↑ 29.0 29.1 29.2 Taylor, Adam (24 February 2022). "Russia's attack on Ukraine came after months of denials it would attack". The Washington Post. Photograph by Evgeniy Maloletka (Associated Press). Nash Holdings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
On Sunday ... "There is no invasion. There is no such plans," Antonov said.
- ↑ 30.0 30.1 Fořtová, Klára (8 มีนาคม 2022). "Velvyslanec Ukrajiny v Česku denně promlouvá, ruský mlčí a je 'neviditelný'" [Ukraine's ambassador to the Czech Republic speaks daily, the Russian is silent and 'invisible']. Mladá fronta DNES (ภาษาเช็ก). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2022.
Zmejevský ... 'Důrazně jsme odmítli jako nepodložená obvinění Ruska z přípravy, agrese vůči Ukrajině a fámy o vstupu ruských jednotek na ukrajinské území,' stojí v něm.
[Zmeevsky ... 'We emphatically dismissed Russia's allegations of preparation, aggression against Ukraine and rumors of Russian troops entering Ukrainian territory,' he said.] - ↑ [28][29][30]
- ↑ Hernandez, Joe (23 February 2022) [22 February 2022]. "Why Luhansk and Donetsk are key to understanding the latest escalation in Ukraine". Photograph by Aleksey Filippov (Agence-France Presse) via Getty Images. NPR. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ Hodge, Nathan (26 February 2022). "Russia's Federation Council gives consent to Putin on use of armed forces abroad, Russian agencies report". Moscow: CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Nikolskaya, Polina; Osborn, Andrew (24 February 2022). "Russia's Putin authorises 'special military operation' against Ukraine". Reuters. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
- ↑ Grunau, Andrea; von Hein, Matthias; Theise, Eugen; Weber, Joscha (25 February 2022). "Fact check: Do Vladimir Putin's justifications for going to war against Ukraine add up?". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.
- ↑ Waxman, Olivia B. (3 March 2022). "Historians on What Putin Gets Wrong About 'Denazification' in Ukraine". Time. สืบค้นเมื่อ 6 March 2022.
- ↑ "Russia attacks Ukraine". CNN. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ 38.0 38.1 Kirby, Paul (9 March 2022). "Why is Russia invading Ukraine and what does Putin want?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 9 March 2022.
- ↑ "Ukrainian president signs decree on general mobilisation of population -Interfax". Reuters. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Zelensky signs decree declaring general mobilization". Interfax-Ukraine. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ 41.0 41.1 "Ukraine rejects Russian demand to surrender port city of Mariupol in exchange for safe passage". CBS News. 20 March 2022. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ "Ukraine refuses to surrender Mariupol as scope of human toll remains unclear". Canadian Broadcasting Corporation. 21 March 2022. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ "Trending news: BBC: Putin replaces military commander in Ukraine – The Moscow Times". Hindustan News Hub. 8 April 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-09. สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.
- ↑ Arraf, Jane; Nechepurenko, Ivan; Landler, Mark (19 April 2022). "Ukraine Says Russia Begins Assault in the East After Raining Missiles Nationwide". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022.
- ↑ "Russia says remaining 531 Azovstal defenders surrender, steelworks siege over". Yahoo! News. 20 May 2022.
- ↑ Sommerville, Quentin (11 May 2022). "Ukraine war: Russia pushed back from Kharkiv - report from front line". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2022.
- ↑ Balmforth, Tom (4 July 2022). "Analysis: Russia hails capture of Luhansk region, but big Ukraine battles lie ahead". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.
- ↑ Myre, Greg (26 June 2022). "Russia bombs Kyiv in a weekend missile barrage across Ukraine". NPR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.
- ↑ "Russia hits Lviv again as Putin's campaign of terror focuses on Ukraine's shell-shocked east". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.
- ↑ "UN resolution against Ukraine invasion: Full text". Al Jazeera. 2 March 2022. สืบค้นเมื่อ 25 March 2022.
The General Assembly ... [d]eplores in the strongest terms the aggression by the Russian Federation against Ukraine in violation of Article 2 (4) of the Charter
- ↑ Scheffer, David J. (17 March 2022). "Can Russia Be Held Accountable for War Crimes in Ukraine?". Council on Foreign Relations. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
Russia's invasion of Ukraine constitutes the crime of aggression under international law.
- ↑ Chernova, Anna; Cotovio, Vasco; Thompson, Mark (28 February 2022). "Sanctions slams Russian economy". CNN. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
- ↑ "NATO to deploy thousands of commandos to nations near Ukraine". Al Jazeera. 25 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Morin, Rebecca; Subramanian, Courtney; Collins, Michael; Garrison, Joey; Groppe, Maureen (24 February 2022). "World leaders condemn Russian invasion of Ukraine; EU promises 'harshest' sanctions – live updates". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Stewart, Briar; Seminoff, Corinne; Kozlov, Dmitry (24 February 2022). "More than 1,700 people detained in widespread Russian protests against Ukraine invasion". CBC News. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Corder, Mike (3 March 2022). "ICC prosecutor launches Ukraine war crimes investigation". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 19 March 2022.
- ↑ Budjeryn, Mariana. "Issue Brief #3: The Breach: Ukraine's Territorial Integrity and the Budapest Memorandum" (PDF). Woodrow Wilson International Center for Scholars. สืบค้นเมื่อ 6 March 2022.
- ↑ Vasylenko, Volodymyr (15 December 2009). "On assurances without guarantees in a 'shelved document'". The Day. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.
- ↑ Harahan, Joseph P. (2014). "With Courage and Persistence: Eliminating and Securing Weapons of Mass Destruction with the Nunn-Luger Cooperative Threat Reduction Programs" (PDF). DTRA History Series. Defense Threat Reduction Agency. ASIN B01LYEJ56H. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.
- ↑ "Istanbul Document 1999". Organization for Security and Co-operation in Europe. 19 November 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2014. สืบค้นเมื่อ 21 July 2015.
- ↑ Hall, Gavin E. L. (14 February 2022). "Ukraine: the history behind Russia's claim that Nato promised not to expand to the east". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 14 March 2022.
- ↑ Harding, Luke; Borger, Julian; Chrisafis, Angelique (2 April 2008). "Bush-Putin row grows as pact pushes east". The Guardian. Moscow; Bucharest; Paris. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
- ↑ Dawar, Anil (4 April 2008). "Putin warns Nato over expansion". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2022. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
The Russian president, Vladimir Putin, today repeated his warning that Moscow would view any attempt to expand NATO to its borders as a 'direct threat'.
- ↑ Chifu, Iulian; Nantoi, Oazu; Sushko, Oleksandr (2009). "Russia–Georgia War of August 2008: Ukrainian Approach" (PDF). The Russian Georgian War: A trilateral cognitive institutional approach of the crisis decision-making process. Bucharest: Editura Curtea Veche. p. 181. ISBN 978-973-1983-19-6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2018. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
Conceptually, Russia sees Ukraine within the sphere of own 'privileged interests'; in fact, it means a modernized version of Brezhnev's doctrine of 'limited sovereignty', realized after the occupation of Czechoslovakia in 1968.
- ↑ "Rada removes Yanukovych from office, schedules new elections for May 25". Interfax-Ukraine. 24 February 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.
- ↑ Sindelar, Daisy (23 February 2014). "Was Yanukovych's Ouster Constitutional?". Radiofreeeurope/Radioliberty. Radio Free Europe/Radio Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2014.
- ↑ Feffer, John (14 March 2014). "Who Are These 'People,' Anyway?". HuffPost. Buzzfeed. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2014. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
At that point, his own party abandoned him and called for a vote to take place. Parliament then voted to remove Yanukovych from office by a margin of 328 to 0.
- ↑ Polityuk, Pavel; Robinson, Matt; Baczynska, Gabriela; Goettig, Marcin; Graff, Peter; Elgood, Giles (22 February 2014). Roche, Andrew (บ.ก.). "Ukraine parliament removes Yanukovich, who flees Kiev in "coup"". Reuters. Kyiv: Thomson Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2016. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
Underscoring Ukraine's regional divisions, leaders of Russian-speaking eastern provinces loyal to Yanukovich voted to challenge anti-Yanukovich steps by the central parliament.
- ↑ Fisher, Max (3 September 2014). "Everything you need to know about the Ukraine crisis". Vox (ภาษาอังกฤษ). Vox Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
- ↑ Grytsenko, Oksana; Vlasova, Anastasia (12 April 2014). "Armed pro-Russian insurgents in Luhansk say they are ready for police raid". Kyiv Post. Luhansk: Businessgroup LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2014. สืบค้นเมื่อ 1 February 2022.
... their top aim is federalization of the country through all-Ukrainian referendum, one step from secession from the nation. 'It should be a federation in the borders of Ukraine, but with the right to separate if people demand this,' Kariakin said, confident that 85 percent of people in Luhansk Oblast, Ukraine's seventh most populous with 2.2 million people, support him.
- ↑ Ragozin, Leonid (16 March 2019). "Annexation of Crimea: A masterclass in political manipulation". aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). Riga: Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2020. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
Putin framed the invasion and eventual annexation of Crimea as an act of salvation rather than a clear violation of international law and turned a revolution which could have marked the end of his rule into a much-needed popularity booster ...
- ↑ "173rd Airborne Brigade battalion heads to Latvia as Ukraine comes under Russian attack". Stars and Stripes. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Schogol, Jeff (22 February 2022). "Here's what those mysterious white 'Z' markings on Russian military equipment may mean". Task & Purpose. North Equity. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
[B]ottom line is the 'Z' markings (and others like it) are a deconfliction measure to help prevent fratricide, or friendly fire incidents.
- ↑ "Putin attacked Ukraine after insisting for months there was no plan to do so. Now he says there's no plan to take over". Kharkiv: CBS News (ตีพิมพ์ 22 February 2022). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Troianovski, Anton (30 January 2022). "The Hard-Line Russian Advisers Who Have Putin's Ear". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 March 2022.
- ↑ Galeotti, Mark (5 July 2021). "New National Security Strategy Is a Paranoid's Charter". Moscow Times. สืบค้นเมื่อ 28 March 2022.
- ↑ "Russia's security strategy envisages 'forceful methods'". ABC News. 31 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 March 2022.
- ↑ Paulick, Jane, บ.ก. (11 March 2022). "Putin's inner circle: Who has the Russian president's ear on the war in Ukraine?". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 28 March 2022.
- ↑ Harris, Shane; Sonne, Paul (3 December 2021). "Russia planning massive military offensive against Ukraine involving 175,000 troops, U.S. intelligence warns". The Washington Post. Nash Holdings. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
[U].S. intelligence has found the Kremlin is planning a multi-frontal offensive as soon as early next year involving up to 175,000 troops ... .
- ↑ 80.0 80.1 Merchant, Nomaan (25 February 2022). "US intel predicted Russia's invasion plans. Did it matter?". Associated Press. Photographs by Alexei Alexandrov and Alex Brandon (AP Photo). Washington, D.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Institute for the Study of War". ISW (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Russian Offensive Campaign Assessment, March 4". Critical Threats.
- ↑ Agencies. "Ukraine loses control of Chernobyl nuclear site, amid battles in Kyiv outskirts". www.timesofisrael.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Gazeta.ua (2022-02-25). "Українські військові під Києвом зупинили колону російських танків". Gazeta.ua (ภาษายูเครน).
- ↑ Roblin, Sebastien (27 February 2022). "At Vasylkiv, Ukrainians Repel Russia's Paratroopers and Commandos in Frantic Night Battle". 19FortyFive. Retrieved 5 March 2022.
- ↑ Rana, Manveen. "Volodymyr Zelensky survives three assassination attempts in days" (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
- ↑ Ward, Alexander (25 February 2022). "'Almost not possible' for Ukraine to win without West's help, Ukraine official says". Politico. Archived from the original on 26 February 2022. Retrieved 26 February 2022.
- ↑ "Ukraine war news from February 25: Kyiv suburbs breached, Russian forces face resistance, Zelensky warns Russia will 'storm' capital". Financial Times. 26 February 2022. Archived from the original on 26 February 2022. Retrieved 26 February 2022.
- ↑ "Бои под Сумами: артиллерия и "Байрактары" уничтожили 100 танков и 20 "Градов" оккупантов". Archived from the original on 28 February 2022. Retrieved 28 February 2022.
- ↑ Polyakovskaya, Tanya (26 February 2022). Российская военная техника заняла территорию бывшего аэропорта "Бердянск" – горсовет [Russian military equipment occupied the territory of the former airport "Berdyansk" – city council] (in Russian). Berdyansk city council. Ukrainian Independent Information Agency. Archived from the original on 26 February 2022. Retrieved 26 February 2022.
- ↑ "Russian Offensive Campaign Assessment, March 4". Critical Threats.
- ↑ Losh, Jack (25 February 2022). "Kharkiv's Resistance to Russia's War Has Already Begun". Foreign Policy. Archived from the original on 25 February 2022. Retrieved 27 February 2022.
- ↑ "Росія атакувала українські міста: де відбулися бої" [Russia attacked Ukrainian cities: where the fighting took place]. Channel 24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Russia-Ukraine War: What to know on Day 7 of Russian assault". AP News. 2 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 March 2022.
- ↑ "Fierce battles raging in all directions near Mariupol – mayor". Interfax-Ukraine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Richárd, Jabronka (25 February 2022). "Így áll most a háború Ukrajnában: több nagyvárosban harcok dúlnak, megtámadtak egy orosz repülőteret" [This is how the war in Ukraine is now: fighting is raging in several big cities, a Russian airport has been attacked]. Ellenszél (ภาษาฮังการี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Battle ongoing near Mariupol – mayor". Ukrinform. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ ""Amphibious assault" underway west of Mariupol on the Sea of Azov, senior US defense official says". CNN. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Russian Navy Carries Out Amphibious Assault Near Mariupol". The Maritime Executive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Russian forces are about 31 miles outside southeastern Ukrainian city of Mariupol, US defense official says". CNN. 27 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Новини України: Російське вторгнення: поточна ситуація на Луганщині" [News of Ukraine: Russian invasion: the current situation in Luhansk region]. Гал-інфо (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 3 March 2022.
- ↑ Boffey, Daniel; Tondo, Lorenzo (18 March 2022). "Fighting reaches central Mariupol as shelling hinders rescue attempts". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ "Russian forces bomb school sheltering 400 people in Mariupol, city council says". CNN. 20 March 2022. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ "Ukraine refuses to surrender Mariupol as scope of human toll remains unclear". Canadian Broadcasting Corporation. 21 March 2022. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ "Ukraine: Video appears to show aftermath of missile strike on air base in Chuhuiv". Sky News. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 April 2022.
- ↑ Sheetz, Michael (24 February 2022). "Satellite imagery shows Russian attack on Ukraine from space". CNBC. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
- ↑ Dutton, Jack (25 February 2022). "Russian Military Base Blown Up as Ukraine Fights Back". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Ukrainian Armed Forces attacked Millerovo with Tochka-U". Rostov Gazeta. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Airport in central Ukraine reportedly targeted by missile fired from Belarus". The Times of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ Ukraine's battle for control of its skies
- ↑ "National police: 900 Ukrainians missing, 2,500 killed, 500 illegally imprisoned". Interfax-Ukraine. 18 April 2022. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022.
- ↑ 112.0 112.1 "Ukraine: civilian casualty update 20 April 2022". Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. 20 April 2022. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022.
- ↑ "At least 1,252 people are detained in protests across Russia". NYTimes. 22 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2022.
- ↑ Herb, Jeremy (15 April 2022). "Exclusive: Zelensky says world should be prepared for possibility Putin could use nuclear weapons". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 April 2022.
- ↑ "Up to 6,000 Russians may have been killed in Ukraine so far, U.S. official estimates". CBS News. 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 9 March 2022.
- ↑ "Russian Defense Ministry to publish data on military deaths from Ukrainian documents". TASS. 16 April 2022. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022.
- ↑ "Russia says 1,351 soldiers died in Ukraine". Stars and Stripes. Associated Press. 25 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2022. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Trending news: Commander of Kuzbass SOBR killed in military operation in Ukraine - The Moscow Times". Hindustan News Hub. 28 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-05. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
- ↑ "Chechnya's Ramzan Kadyrov says his fighters killed in Ukraine". Al Arabiya. AFP. 1 มีนาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.
- ↑ "Funerals for 3 Russian police officers killed in Uraine". Euronews. 12 March 2022.
- ↑ "Атака Харькова на автозаках. В Украине погибли как минимум четверо старших офицеров владимирского СОБРа". Mediazona. 22 March 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-12. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
- ↑ "12 National Guards Appeal Dismissal For Refusing To Invade Ukraine". The Moscow Times. 25 มีนาคม 2022. OCLC 1097137921. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.
- ↑ "'Sent As Cannon Fodder': Locals Confront Russian Governor Over 'Deceived' Soldiers In Ukraine". Radio Free Europe/Radio Liberty.
- ↑ "Russian army says 1,351 soldiers killed in Ukraine". Al Arabiya. 25 March 2022. สืบค้นเมื่อ 25 March 2022.
- ↑ "Overview of the social and humanitarian situation that has developed on the territory of the Donetsk People's Republic as a result of military operations in the period from 9 to 15 April 2022". Human Rights Ombudsman in the Donetsk People's Republic. 15 April 2022. สืบค้นเมื่อ 15 April 2022.
- ↑ 126.0 126.1 "The overview of the current social and humanitarian situation in the territory of the Donetsk People's Republic as a result of hostilities in the period from 19 and 25 February 2022". Human Rights Ombudsman in the Donetsk People's Republic. 12 February 2022. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ Новости, Р. И. А. (5 April 2022). Буча и концентрированное зло: последний аргумент против русских. РИА Новости (ภาษารัสเซีย).
- ↑ "Overview of the social and humanitarian situation that has developed on the territory of the Donetsk People's Republic as a result of military operations in the period from 2 to 8 April 2022". Human Rights Ombudsman in the Donetsk People's Republic. 8 April 2022. สืบค้นเมื่อ 8 April 2022.
- ↑ Michaels, Daniel (23 March 2022). "NATO: Up to 40,000 Russian Troops Killed, Wounded, Taken Prisoner or Missing in Ukraine". The Wall Street Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2022. สืบค้นเมื่อ 23 March 2022.
- ↑ "What next for Russia?". The Economist. 2 April 2022. สืบค้นเมื่อ 6 April 2022.
- ↑ "РФ втратила в Україні від початку повномасштабного вторгнення 21 тис. особового складу, 829 танків і 172 літаки". Interfax-Ukraine. 21 April 2022. สืบค้นเมื่อ 21 April 2022.
บทอ่านเพิ่ม
[แก้]- Derix, Steven. Zelensky: Ukraine's President and His Country (2022) excerpt
- D'Anieri, Paul (31 October 2019). Ukraine and Russia: From Civilized Divorce to Uncivil War. Cambridge University Press. ISBN 978-1-108-48609-5.
- Marples, David R. ed. The War in Ukraine's Donbas: Origins, Contexts, and the Future (2022) excerpt
- Menon, Rajan; Rumer, Eugene B. (6 February 2015). Conflict in Ukraine: The Unwinding of the Post-Cold War Order. MIT Press. ISBN 978-0-262-53629-5. OCLC 1029335958.
- Smith, Christopher M. (15 March 2022). Ukraine's Revolt, Russia's Revenge. Brookings Institution Press. ISBN 978-0-8157-3925-8. OCLC 1287616684.
- Watling, Jack; Reynolds, Nick (22 April 2022). Operation Z: The Death Throes of an Imperial Delusion (PDF) (Report). Royal United Services Institute.
- Wood, Elizabeth A.; Pomeranz, William E.; Merry, E. Wayne; Trudolyubov, Maxim (15 December 2015). Roots of Russia's War in Ukraine. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-80138-6. OCLC 1008637056.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565
- Russia invades Ukraine live updates. CNN.
- Ukraine live updates. BBC News.
- Video of aftermath, including injured pregnant woman being carried, after Russian airstrike on hospital in Mariupol, Ukraine. Sky News, March 9, 2022
- Russia invades Ukraine. Reuters, 10 March 2022
- Video archive by RFE/RL
- Tracking Social Media Takedowns and Content Moderation During the 2022 Russian Invasion of Ukraine (updated weekly)