ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ อีเอส-11/1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อมติ
สมัชชาใหญ่แห่ง
สหประชาชาติที่ อีเอส-11/1
วันที่: 2 มีนาคม 2565
การประชุมครั้งที่: สมัยประชุมพิเศษฉุกเฉินที่ 11
รหัส: A/RES/ES-11/1 (เอกสาร)

คะแนนเสียง: รับ: 141 

งดออกเสียง: 35  ไม่รับ: 5 

เรื่อง: การรุกรานยูเครน
ผล: รับข้อมติ

  เห็นชอบ
  คัดค้าน
  งดออกเสียง
  ไม่มา
  ไม่ใช่สมาชิกยูเอ็น

ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ อีเอส-11/1 เป็นข้อมติของสมัยประชุมพิเศษฉุกเฉินที่ 11 ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ลงมติรับเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 มีใจความคัดค้านการรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565 และเรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารออกไป รวมทั้งเพิกถอนการวินิจฉัยรับรองสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ย่อหน้า 10 ของข้อมติฯ นี้ยืนยันว่าเบลารุสมีส่วนในการใช้กำลังโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อยูเครน[1] ข้อมติฯ นี้มี 141 ประเทศลงมติเห็นชอบ 5 ประเทศลงมติคัดค้าน และ 35 ประเทศงดออกเสียง[2]

การออกเสียง[แก้]

ออกเสียง[3] จำนวน รัฐ % ของเสียง % ของสมาชิก
ยูเอ็นทั้งหมด
เห็นชอบ 141 กรีซ, กรีเนดา, กัมพูชา, กัวเตมาลา, กาตาร์, กานา, กาบอง, กาบูเวร์ดี, กายอานา, เกาหลีใต้, แกมเบีย, โกตดิวัวร์, คอโมโรส, คอสตาริกา, คิริบาส, คูเวต, เคนยา, แคนาดา, โครเอเชีย, โคลอมเบีย, จอร์เจีย, จอร์แดน, จาเมกา, จิบูตี, ชาด, ชิลี, เช็กเกีย, ซานมารีโน, ซามัว, ซาอุดีอาระเบีย, ซูรินาม, เซเชลส์, เซนต์คิตส์และเนวิส, เซนต์ลูเชีย, เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์, เซอร์เบีย, เซาตูแมอีปริงซีป, เซียร์ราลีโอน, แซมเบีย, โซมาเลีย, ไซปรัส, ญี่ปุ่น, ดอมินีกา, เดนมาร์ก, ตรินิแดดและโตเบโก, ตองงา, ติมอร์-เลสเต, ตุรกี, ตูนิเซีย, ตูวาลู, ไทย, นอร์เวย์, นาอูรู, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, เนปาล, ไนจีเรีย, ไนเจอร์, บราซิล, บรูไน, บอตสวานา, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, บาร์เบโดส, บาห์เรน, บาฮามาส, เบนิน, เบลเยียม, เบลีซ, ปานามา, ปาปัวนิวกินี, ปารากวัย, ปาเลา, เปรู, โปรตุเกส, โปแลนด์, ฝรั่งเศส, พม่า, ฟินแลนด์, ฟิลิปปินส์, ฟีจี, ภูฏาน, มอนเตเนโกร, มอริเชียส, มอริเตเนีย, มอลโดวา, มอลตา, มัลดีฟส์, มาซิโดเนียเหนือ, มาลาวี, มาเลเซีย, เม็กซิโก, โมนาโก, ไมโครนีเชีย, ยูเครน, เยเมน, เยอรมนี, รวันดา, โรมาเนีย, ลักเซมเบิร์ก, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, ลิเบีย, ลีชเทินชไตน์, เลโซโท, เลบานอน, ไลบีเรีย, วานูวาตู, สเปน, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, สวิตเซอร์แลนด์, สวีเดน, สหรัฐ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, สาธารณรัฐโดมินิกัน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, สิงคโปร์, หมู่เกาะโซโลมอน, หมู่เกาะมาร์แชลล์, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อันดอร์รา, อัฟกานิสถาน, อาร์เจนตินา, อิตาลี, อินโดนีเซีย, อิสราเอล, อียิปต์, อุรุกวัย, เอกวาดอร์, เอสโตเนีย, แอนทีกาและบาร์บิวดา, แอลเบเนีย, โอมาน, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, ฮอนดูรัส, ฮังการี, เฮติ 77.90% 73.06%
คัดค้าน 5 เกาหลีเหนือ, ซีเรีย, เบลารุส, รัสเซีย, เอริเทรีย 2.76% 2.59%
งดออกเสียง 35 คาซัคสถาน, คิวบา, คีร์กีซสถาน, จีน, ซิมบับเว, ซูดาน, ซูดานใต้, เซเนกัล, ทาจิกิสถาน, แทนซาเนีย, นามิเบีย, นิการากัว, บังกลาเทศ, บุรุนดี, โบลิเวีย, ปากีสถาน, มองโกเลีย, มาดากัสการ์, มาลี, โมซัมบิก, ยูกันดา, ลาว, เวียดนาม, ศรีลังกา, สาธารณรัฐคองโก, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, อาร์มีเนีย, อิเควทอเรียลกินี, อินเดีย, อิรัก, อิหร่าน, เอลซัลวาดอร์, แองโกลา, แอฟริกาใต้, แอลจีเรีย 19.34% 18.13%
ไม่มา 12 กินี, กินี-บิสเซา, แคเมอรูน, เติร์กเมนิสถาน, โตโก, บูร์กินาฟาโซ, โมร็อกโก, เวเนซุเอลา,[a] อาเซอร์ไบจาน, อุซเบกิสถาน, เอธิโอเปีย, เอสวาตินี 6.18%
รวม 193 100% 100%

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เวเนซุเอลาถูกระงับไม่ให้ลงคะแนนเสียงในสมัยประชุมที่ 76 และสมัยประชุมพิเศษฉุกเฉินที่ 11 เนื่องจากไม่ได้ชำระค่าบำรุงสมาชิกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ไม่ได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษจากสมัชชา[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "UN resolution against Ukraine invasion: Full text". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 3 March 2022.
  2. "Ukraine: UN General Assembly condemns invasion as Russia reports gains". Deutsche Welle. 2 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 March 2022.
  3. "Aggression against Ukraine : Voting Summary" (ภาษาอังกฤษ). United Nations. 2022-03-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2022.
  4. Secretary-General, UN (2022-02-27). "Letter dated 27 February 2022 from the Secretary-General addressed to the President of the General Assembly" (ภาษาอังกฤษ). จดหมายถึง.