อาชญากรรมสงครามระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศพในชุดพลเรือนที่ถูกทหารรัสเซียยิงนอนบนถนนในบูชา มือของศพหนึ่งถูกมัดไพล่หลังอยู่ วันที่ 3 เมษายน 2565

นับตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มรุกรานยูเครนใน พ.ศ. 2565 ทางการและกองทัพรัสเซียถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมสงครามโดยเจตนาโจมตีต่อเป้าหมายพลเรือน[1][2][3] และการโจมตีพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นโดยไม่เลือก[4][5][6] กองทัพรัสเซียถูกกล่าวหาว่าทำให้ประชากรพลเรือนต้องได้รับภยันตรายที่ไม่จำเป็นและไม่ได้สัดส่วนโดยใช้กระสุนบรรจุระเบิดพวง ซึ่งเป็นอาวุธที่ 110 รัฐห้ามใช้[7] เพราะเป็นอันตรายทันทีและในระยะยาวต่อพลเรือน[8][9][10] และโดยการยิงอาวุธระเบิดอื่นที่มีผลเป็นวงกว้าง เช่น ระเบิดที่ทิ้งจากอากาศ ขีปนาวุธ กระสุนปืนใหญ่หนัก และจรวดที่ยิงคราวละหลาย ๆ ลูก ผลของการโจมตีของกองทัพรัสเซียคือความเสียหายหรือการทำลายล้างซึ่งอาคารพลเรือน รวมทั้งบ้านเรือน โรงพยาบาล โรงเรียน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาคารประวัติศาสตร์และโบสถ์[11][12] ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศยังระบุว่ามีหลักฐานที่บ่งชี้ว่ารัสเซียกำลังพุ่งเป้าไปยังโรงพยาบาลของยูเครนทั่วประเทศอย่างเจตนา[13]

ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน พบว่าการรุกรานนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นพลเรือนอย่างน้อย 2,829 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 3,180 คน[14]

เดอะการ์เดียน รายงานว่า หลังรัสเซียถอนกำลังออกจากพื้นที่ทางเหนือของกรุงเคียฟ มี "หลักฐานกองพะเนิน" ถึงการข่มขืนกระทำชำเรา ทรมานและการประหารชีวิตอย่างรวบรัดต่อพลเรือนยูเครนโดยกองทัพรัสเซีย[15] มีการกล่าวหาว่าพลเรือนยูเครนถูกบังคับเนรเทศจากมารีอูปอลในการควบคุมของรัสเซียไปยังประเทศรัสเซีย[16] รวมทั้งเด็ก[17] มีความรุนแรงทางเพศอย่างเป็นระบบและขนานใหญ่[18][19] และมีการฆ่าพลเรือนยูเครนโดยกองกำลังรัสเซียโดยเจตนา[20] ปลายเดือนมีนาคมหลังยูเครนยึดเมืองบูชาซึ่งอยู่ทางเหนือของกรุงเคียฟคืนได้ มีการพบหลักฐานว่ามีการสังหารหมู่โดยกองกำลังรัสเซีย รวมทั้งการทรมานและการฆ่าโดยเจตนา[21][22][23] ตำรวจกรุงเคียฟระบุว่าพบศพพลเรือนกว่า 900 ศพในภูมิภาคเคียฟหลังกองกำลังรัสเซียถอยออกไป ซึ่งส่วนใหญ่ถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัด[24] และคณะผู้แทนเฝ้าสังเกตสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในยูเครนจดบันทึกการฆ่าพลเรือนอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย 50 คนในบูชา[25] ในเดือนแรกของการรุกราน คณะผู้แทนฯ ยังได้จดบันทึกการกักขังนักหนังสือพิมพ์ นักเคลื่อนไหว และข้าราชการยูเครนโดยพลการในดินแดนที่รัสเซียยึดครอง[26][9][27]

ในวันที่ 2 มีนาคม อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เปิดการสอบสวนสมบูรณ์ต่อข้อกล่าวหาอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือการล้างเผ่าพันธุ์ในอดีตและปัจจุบันที่ก่อในประเทศยูเครนโดยผู้ใดตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป ตั้งวิธีการออนไลน์เพื่อให้บุคคลเสนอหลักฐานเพื่อเริ่มติดต่อกับผู้สอบสวน และส่งทีมผู้สอบสวน นักกฎหมายและบุคลากรอาชีพอื่นไปยังยูเครนเพื่อเริ่มเก็บหลักฐาน[28][29] ยูเครนและรัสเซียไม่เป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรมซึ่งเป็นเอกสารกฎหมายที่ก่อตั้ง ICC แต่ยูเครนยอมรับเขตอำนาจของ ICC เมื่อมีการลงนามในปฏิญญาตั้งแต่ปี 2556 และ 2557[30] มีหน่วยงานระหว่างประเทศอิสระอื่นอีก 2 แห่งที่กำลังสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในพื้นที่ ได้แก่ คณะกรรมการสอบสวนเรื่องยูเครนระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 4 มีนาคม และคณะผู้แทนเฝ้าสังเกตสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในยูเครน ซึ่งก่อตั้งโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ปลายเดือนมีนาคม อัยการสูงสุดของยูเครนแถลงว่าอัยการยูเครนได้รวบรวมหลักฐาน "คดีอาชญากรรมสงครามที่เป็นไปได้" 2500 คดี และ "ผู้ต้องสงสัยหลายร้อยคน"[31] ในวันที่ 7 เมษายน 2565 สหประชาชาติระงับสมาชิกภาพคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ของรัสเซีย[32]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Chernihiv: Are these Russia's weapons of war?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-03.
  2. Gall, Carlotta; Kramer, Andrew E. (2022-04-03). "In a Kyiv Suburb,'They Shot Everyone They Saw'". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-05-03.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HRW_Vehicles
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AI_RU_military_indiscriminate_attacks
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HRW_Deadly Attacks
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HRMMU_Statement_March
  7. "United Nations Treaty Collection". สืบค้นเมื่อ 11 April 2022.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HRW_UA_RU_cluster_munition
  9. 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HRMMU_Report_March
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Wired_Cluster
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reid_Heritage
  12. https://www.eupoliticalreport.eu/russia-kidnaps-ukrainian-children/#:~:text=According%20to%20Ukrainian%20Government%20data,children%20to%20life%20and%20security.
  13. [1]
  14. "Ukraine: civilian casualty update 28 April 2022". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-28.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Guardian_Rape
  16. "Ukraine: US condemns 'unconscionable' forced deportations of civilians from Mariupol". The Guardian. 20 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 April 2022.
  17. Ochab, Ewelina U. (10 April 2022). "Ukrainian Children Forcibly Transferred And Subjected To Illegal Adoptions". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-28.
  18. Engelbrecht, Cora (29 March 2022). "Reports of sexual violence involving Russian soldiers are multiplying, Ukrainian officials say". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2022. สืบค้นเมื่อ 1 April 2022.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NPR_Rape
  20. "War in Ukraine: Street in Bucha found strewn with dead bodies". BBC News. 2 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  21. "In Bucha, the scope of Russian barbarity is coming into focus". Washington Post. 7 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2022.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thetimes2
  23. "Ukraine documents alleged atrocities by retreating Russians". CBS News. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
  24. "Police: More than 900 civilian bodies found in Kyiv region". Associated Press. 15 April 2022.
  25. "Ensuring accountability for atrocities committed in Ukraine". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-03.
  26. "Russians use abduction, hostage-taking to threaten Ukrainian journalists in occupied zones". Reporters without borders. 25 March 2022. สืบค้นเมื่อ 27 March 2022.
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BBC_Civilians_abducted
  28. "ICC prosecutor: Team leaves to investigate war crimes in Ukraine". Thomson Reuters. 2022-03-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
  29. "Statement of ICC Prosecutor, Karim A.A. Khan QC, on the Situation in Ukraine: Additional Referrals from Japan and North Macedonia; Contact portal launched for provision of information". www.icc-cpi.int. 11 March 2022. สืบค้นเมื่อ 23 March 2022.
  30. "Statement of ICC Prosecutor, Karim A.A. Khan QC, on the Situation in Ukraine: "I have decided to proceed with opening an investigation."". www.icc-cpi.int. 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 23 March 2022.
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Telegraph_2500_warcrimes_cases
  32. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Nichols-2022-04-07