ยุทธการที่เชียร์โนบีล

พิกัด: 51°16′N 30°13′E / 51.267°N 30.217°E / 51.267; 30.217
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เชียร์โนบีล
ส่วนหนึ่งของ การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ปี 2022

แผนที่ดินแดนที่รัสเซียยึดครองทางตอนเหนือของยูเครนหลังยุทธการที่เชียร์โนบีล
วันที่24 กุมภาพันธ์ 2022
สถานที่51°16′N 30°13′E / 51.267°N 30.217°E / 51.267; 30.217
ผล

รัสเซียชนะ

  • กองทัพรัสเซียเข้ายึดครองเขตหวงห้ามเชียร์โนบีลและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
  • กองทัพรัสเซียถอนกำลังเนื่องจากการโยกย้ายกำลังคนทั้งหมดออกจากพื้นที่ในหรือประมาณวันที่ 31 มีนาคม[2]
  • กองทัพยูเครนเข้าควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลอีกครั้ง
คู่สงคราม
รัสเซีย รัสเซีย
สนับสนุน:
เบลารุส เบลารุส[1]
ยูเครน ยูเครน
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กองทัพรัสเซีย กองทัพยูเครน
กำลัง
ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ถูกจับ 200 คน[3]

ยุทธการเชียร์โนบีล หรือ ยุทธการเชอร์โนบิล เป็นการปะทะทางทหารในเขตหวงห้ามเชียร์โนบีล ระหว่างกองทัพรัสเซียกับกองทัพยูเครน เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 วันแรกของการรุกรานยูเครน[4] กองกำลังรัสเซียเข้ารุกรานผ่านทางเบลารุส และสามารถยึดพื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลได้ภายในวันนั้น[5][1][6] ภายในวันที่ 7 มีนาคม ผู้คนราว 300 คน คนงาน 100 คน และทหารยูเครน 200 คน ติดอยู่ในโรงไฟฟ้า นับตั้งแต่รัสเซียเข้ายึดพื้นที่ดังกล่าว[3] ในวันที่ 31 มีนาคม มีรายงานว่ากองกำลังรัสเซียส่วนใหญ่ที่เข้ายึดครองเชียร์โนบีลได้ถอนกำลังออกโดยเป็นส่วนหนึ่งของการรวมกลุ่มของกองกำลังรัสเซียในพื้นที่

เหตุการณ์[แก้]

ในข่วงบ่ายของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 วันแรกของการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย รัฐบาลยูเครนประกาศว่ากองทัพรัสเซียได้ทำการโจมตีในเขตหวงห้ามเชียร์โนบีล[7] ภายในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลยูเครนได้ประกาศว่ารัสเซียเข้ายึดครองพื้นที่เชียร์โนบีลและปรือปิยัจแล้ว[8] ภายหลังการเข้ายึดสำเร็จ เจ้าหน้าที่รัฐของสหรัฐได้ระบุว่ามี "รายงานที่น่าเชื่อถือว่าทหารรัสเซียจับพนักงานที่ทำงานในเชียร์โนบีลเป็นตัวประกัน"[9]

มีรายงานว่าการปะทะเกิดการโจมตีถูกจุดที่เก็บสารกัมมันตภาพรังสี นอกจากนี้ยังพบค่ากัมมันตรังสีสูงขึ้นในพื้นที่[10] อย่างไรก็ตาม องค์การพลังงานปรมาณูนานาชาติระบุว่า "ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต และไม่มีความเสียหายแก่พื้นที่ก่อสร้าง[ในเชียร์โนบีล]"[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Coakley, Amanda. "Lukashenko Is Letting Putin Use Belarus to Attack Ukraine". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
  2. Cole, Brendan (2022-03-31). "Russian troops sickened by contaminated Chernobyl soil: official". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  3. 3.0 3.1 Tobias, Ben (7 March 2022). "Ukraine war: Chernobyl workers' 12-day ordeal under Russian guard". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.
  4. Reuters (24 February 2022). "Chernobyl power plant captured by Russian forces -Ukrainian official". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
  5. "Chernobyl nuclear plant targeted as Russia invades Ukraine". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
  6. "Russian forces seize Chernobyl nuclear power plant". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
  7. "Russian troops breach area near Chernobyl, adviser to Ukrainian minister says". Reuters. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
  8. "Chernobyl power plant captured by Russian forces -Ukrainian official". Reuters. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
  9. Restuccia, Andrew (24 February 2022). "White House Calls for Release of Any Hostages at Chernobyl Site". Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
  10. "Chernobyl no-go zone targeted as Russia invades Ukraine". Associated Press. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
  11. "IAEA Director General Statement on the Situation in Ukraine". International Atomic Energy Agency. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.