กระดูกต้นขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกต้นขา
(Femur)
มุมมองด้านหน้าของกระดูกต้นขา
รายละเอียด
จุดกำเนิดแกสตรอคนีเมียส , วาสตัส แลทเทอราลิส, วาสตัส มีเดียส, วาสตัส อินเตอร์มีเดียส
จุดเกาะเทนเซอร์ เฟสเชียอี ลาตี, กลูเตียส มีเดียส, กลูเตียส มินิมัส, กลูเตียส แมกซิมัส, อิลิโอพโซแอส
ข้อต่อสะโพก: ด้านบนกับเบ้าหัวกระดูกต้นขาของกระดูกเชิงกราน
เข่า: ด้านล่างกับกระดูกแข้งและกระดูกสะบ้า
ตัวระบุ
MeSHD005269
TA98A02.5.04.001
TA21360
FMA9611
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

กระดูกต้นขา (อังกฤษ: Femur) เป็นกระดูกยาวที่อยู่ภายในต้นขา (thigh) ในมนุษย์ถือว่าเป็นกระดูกที่ยาวที่สุด มีปริมาตรมากที่สุด และแข็งแรงที่สุด ความยาวของกระดูกต้นขาโดยเฉลี่ยของมนุษย์ประมาณ 48 เซนติเมตร และเส้นรอบวงโดยเฉลี่ย 2.34 ซม. และสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 30 เท่าของน้ำหนักผู้ใหญ่[1] กระดูกนี้รับเข้ากับส่วนของสะโพก (ที่เบ้าหัวกระดูกต้นขา (acetabulum)) และส่วนของเข่า

แอ่งระหว่างคอนไดล์[แก้]

แอ่งระหว่างคอนไดล์ (อังกฤษ: intercondylar fossa) เป็นแอ่งกระดูกที่อยู่ระหว่างคอนไดล์ (condyles) ที่ส่วนปลายของกระดูกต้นขา ซึ่งรับเข้ากับเนินระหว่างคอนไดล์ (intercondylar eminence) บนผิวบนของกระดูกแข้ง บริเวณของกระดูกแข้งดังกล่าวประกอบด้วยบริเวณโพสทีเรียร์ อินเตอร์คอนไดลาร์ (posterior intercondylar area) และบริเวณแอนทีเรียร์ อินเตอร์คอนไดลาร์ (anterior intercondylar area) ซึ่งเป็นที่ที่เอ็นแอนทีเรียร์ครูชิเอท (anterior cruciate) และเอ็นโพสทีเรียร์ครูชิเอท (posterior cruciate) มายึดเกาะตามลำดับ

ภาพอื่นๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Longest Human Bone" (ภาษาอังกฤษ). thelongestlistofthelongeststuffatthelongestdomainnameatlonglast.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2007-12-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]