การปนรหัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปนรหัส (อังกฤษ: code-mixing) คือการใช้ภาษามากกว่าหนึ่งภาษาหรือวิธภาษามากกว่าหนึ่งวิธภาษาปนกันภายในประโยค เช่น การพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษในประโยค "เขาไม่ serious เรื่อง plan เที่ยวเลย" เป็นต้น

นักวิชาการบางคนใช้ศัพท์ การปนรหัส และศัพท์ การสลับรหัส แทนกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาวากยสัมพันธ์ วิทยาหน่วยคำ และลักษณะทางรูปอื่น ๆ ของภาษา[1][2] นักวิชาการคนอื่น ๆ ตั้งสมมุติฐานว่าด้วยบทนิยามของ การปนรหัส ให้มีความเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น แต่บทนิยามเฉพาะเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปตามสาขาย่อยของภาษาศาสตร์ ทฤษฎีการศึกษา การสื่อสาร ฯลฯ

การปนรหัสมีลักษณะคล้ายกับการใช้หรือการเกิดภาษาผสมแก้ขัดหรือพิดจิน แต่ภาษาผสมแก้ขัดจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้พูดที่ไม่ได้พูดภาษาเดียวกัน ในขณะที่การปนรหัสอาจเกิดขึ้นภายในสภาพแวดล้อมหลายภาษาที่ซึ่งผู้พูดพูดภาษาเดียวกันมากกว่าหนึ่งภาษา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Muysken, Pieter. 2000. Bilingual Speech: A Typology of Code-mixing. Cambridge University Press. ISBN 0-521-77168-4
  2. Bokamba, Eyamba G. 1989. Are there syntactic constraints on code-mixing? World Englishes, 8(3), 277-292.