ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิโรจน์ ลักขณาอดิศร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
rw
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
'''วิโรจน์ ลักขณาอดิศร''' (เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัด[[พรรคก้าวไกล]] (เดิมสังกัด[[พรรคอนาคตใหม่]]) จาก[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562|การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2562]] โดยเขาเคยเป็นวิศกร ที่เปลี่ยนเส้นทางมาทำงานด้านการศึกษาและงานบริหารในองค์กรเอกชนยาวนานกว่า 16 ปี รวมถึงมีผลงานหนังสือหลายเล่ม ก่อนที่จะตัดสินใจมาทำงานการเมือง
'''วิโรจน์ ลักขณาอดิศร''' (เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัด[[พรรคก้าวไกล]] (เดิมสังกัด[[พรรคอนาคตใหม่]]) จาก[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562|การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2562]] โดยเขาเคยเป็นวิศกร ที่เปลี่ยนเส้นทางมาทำงานด้านการศึกษาและงานบริหารในองค์กรเอกชนยาวนานกว่า 16 ปี รวมถึงมีผลงานหนังสือหลายเล่ม ก่อนที่จะตัดสินใจมาทำงานการเมือง


วิโรจน์ตัดสินใจทำงานร่วมกับ[[พรรคอนาคตใหม่]] เนื่องจากต้องการสนับสนุนอุดมการณ์ของพรรค โดยไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ <ref>[https://www.matichon.co.th/prachachuen/interview/news_1939543 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร วิศวกร ‘ผู้ตกกระไดพลอยโจน’ สู่สภาผู้แทนราษฎร]</ref> แต่เมื่อได้เข้าไปทำงานในสภาแล้ว เขาได้กลายเป็นดาวรุ่งในสภาอย่างรวดเร็ว จากลีลาและเนื้อหาที่เขาใช้อภิปรายเกี่ยวกับแฉเบื้องหลังปฏิบัติการลับ IO
วิโรจน์ตัดสินใจทำงานร่วมกับ[[พรรคอนาคตใหม่]] เนื่องจากต้องการสนับสนุนอุดมการณ์ของพรรค โดยไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อต่อมา เขาได้ย้ายมาอยู่[[พรรคก้าวไกล]]ในปี 2563 หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค และดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคก้าวไกล

ต่อมา เขาได้ย้ายมาอยู่[[พรรคก้าวไกล]]ในปี 2563 หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค และดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคก้าวไกล ในปี 2564 ที่ผ่านมา เขายังได้รับรางวัล ‘บุคคลแห่งปี’ สาขาการเมือง จาก THAILAND ZOCIAL AWARDS 2021 <ref name=":1">[https://www.facebook.com/thailandzocialawards/photos/1669667586548284 ผู้ที่ได้รับรางวัล "Person of The Year" สาขา Politics ได้แก่ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร]</ref> <ref name=":2">[https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/145230 "THAILAND ZOCIAL AWARDS 2021" รางวัลผู้ทรงอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียแห่งปี]</ref>


== ชีวิตวัยเด็ก ==
== ชีวิตวัยเด็ก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:22, 24 มกราคม 2565

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
โฆษกพรรคก้าวไกล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 ธันวาคม พ.ศ. 2520 (46 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่
ก้าวไกล
บุตร1 คน
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาชีพ
  • นักการเมือง
เว็บไซต์https://web.facebook.com/wirojlak
ชื่อเล่นโรจน์

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล (เดิมสังกัดพรรคอนาคตใหม่) จากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2562 โดยเขาเคยเป็นวิศกร ที่เปลี่ยนเส้นทางมาทำงานด้านการศึกษาและงานบริหารในองค์กรเอกชนยาวนานกว่า 16 ปี รวมถึงมีผลงานหนังสือหลายเล่ม ก่อนที่จะตัดสินใจมาทำงานการเมือง

วิโรจน์ตัดสินใจทำงานร่วมกับพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากต้องการสนับสนุนอุดมการณ์ของพรรค โดยไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อต่อมา เขาได้ย้ายมาอยู่พรรคก้าวไกลในปี 2563 หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค และดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคก้าวไกล

ชีวิตวัยเด็ก

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เขาเกิดและเติบโตในกรุงเทพมหานคร เป็นพี่ชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 3 คน ในครอบครัวชนชั้นกลาง [1] พ่อแม่ประกอบอาชีพค้าขาย ทำให้ชีวิตในวัยเด็กไม่ได้ลำบากมากนัก แต่ก็ยังต้องช่วยพ่อแม่ทำงานและประหยัดเงิน จึงทำให้เขาได้เรียนรู้ว่า การได้รับการศึกษาที่ดีนั้นไม่ใช่แค่ภาระของพ่อแม่เท่านั้น แต่รัฐควรสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศที่ดี จะเอื้อให้เด็กนักเรียนที่ครอบครัวที่มีข้อจำกัดมากกว่าเขาสามารถเติบโตมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพได้

แม้ในวัยเด็ก วิโรจน์ไม่ได้เรียนเก่งนัก แต่พ่อแม่ของเขาก็พยายามส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับลูก ๆ ทุกคน พร้อมกับมีผู้ใหญ่ที่ดีคอยชี้แนะ เขาจึงพยายามปรับเปลี่ยนแนวคิดในการเรียนมีวินัยในการเรียนจนสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา​ที่โรงเรียนวัดสุทธิ​ว​รา​ราม และเลือกเรียน​ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมยานยนต์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระดับปริญญาตรี เพราะเขาชอบวิชาคำนวณ และยุคนั้นไทยตั้งเป้าจะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก [2]

ระหว่างที่เรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิโรจน์ ได้เข้าชมรมโต้วาทีและการบันเทิง เพราะต้องการหากิจกรรมที่ตอบสนองความสนใจด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเนื้อหาวิชาการ การทำกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เขาได้พัฒนาทักษะการพูด และทดลองการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวด้วยวิธีการที่แปลกใหม่น่าสนใจ [3] ซึ่งเป็นทักษะที่เขาสามารถหยิบมาใช้ในชีวิตการทำงานในภาคเอกชนและในงานการเมืองจนโดดเด่นมากในเวลาต่อมา

หลังจากเริ่มทำงานได้ไม่นาน วิโรจน์ก็ตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมา เมื่อเขามีความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม จึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) จากคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) [4]

การทำงานในภาคเอกชน

ก่อนจะมาทำงานการเมือง วิโรจน์เคยทำงานด้านวิศกรรม และงานบริหารกับบริษัทเอกชนเกือบ 20 ปี โดยหลังเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิโรจน์ออกมาทำงานเป็นวิศวกรควบคุมคุณภาพกับบริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วงปี 2542 – 2544

เมื่อพบว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเพียงแต่รับเทคโนโลยีของต่างชาติมาใช้เท่านั้น ทำให้เขาไม่ค่อยได้ใช้ความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมที่เรียนมาเท่าที่ควร วิโรจน์จึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้สำหรับการเปลี่ยนสายงาน [3] ไปเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษา ด้านระบบบริหารคุณภาพและการบริหารจัดการ รวมถึงฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่างๆ ให้บริษัท โนโว ควอลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้การกำกับของ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปี 2544 – 2546

ไฟล์:วิโรจน์ ลักขณาอดิศร 21 มกราคา 2022.jpg
วิโรจน์ใช้เวลา 12 ปีระหว่างการทำงานในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ซีเอ็ดวางแผนในการพัฒนาสื่อและหนังสือเรียนให้มีประสิทธิภาพ และนั่นทำให้เขาสนใจและเห็นปัญหาการศึกษาของประเทศอย่างชัดเจน

ต่อมาในปี 2546 วิโรจน์ได้ย้ายมาทำงานที่ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) [3] ซึ่งเป็นบริษัทที่เขาทำงานยาวนานถึงปี 2561 นอกจากจะเป็นงานที่ทำให้เขาได้ใช้ทักษะการบริหารแล้ว ยังทำให้เขามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาของไทยอย่างลึกซึ้งอีกด้วย

ตลอดระยะเวลา 16 ปีของการทำงานในฐานะเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร [5] ทำให้อดีตวิศวกรที่มีพื้นฐานด้านการคิดเชิงระบบและการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่แล้ว ได้เข้าใจมนุษย์และสังคม ซึ่งหลายมุมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ เขาทำงานบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับโครงสร้างธุรกิจ วางระบบและพัฒนามาตรฐานการทำงานภายในองค์กร รวมถึงการบุกเบิกโครงการใหม่ๆ และโครงการข้ามสายงานต่างๆ ในองค์กร

แม้จะมีการตัดสินใจที่ผิดพลาด มีโครงการที่ทำไม่สำเร็จอยู่บ้าง แต่หนึ่งในโครงการที่เขาภูมิใจคือ โครงการที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายกฎหมายของบริษัทเข้าไปช่วยพนักงานประนอมหนี้กับธนาคารจนสามารถปลดหนี้ และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีได้

ต่อมา วิโรจน์ยังได้รับมอบหมายให้มาผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ซีเอ็ด บุกเบิกธุรกิจด้านการศึกษาของบริษัท จึงมีการทดลองยุทธศาสตร์และบริหารงานธุรกิจการศึกษาใหม่ๆ ซึ่งทำให้เขาได้เรียนรู้จากทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วง 12 ปีนี้ นอกจากนี้ เขายังวางแผนและควบคุมการพัฒนาหลักสูตร หนังสือเรียน สื่อการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้กับโรงเรียน จึงทำให้เขามองเห็นอุปสรรคในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย

ในช่วงปี 2559 – 2561 วิโรจน์ยังได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ดูแลงานบริหารกิจกรรมการตลาด และการบริหารสินค้าที่ไม่ใช่หนังสือ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องพยายามทำร้านหนังสือให้น่าสนใจและดึงดูดลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่งเสริมการขาย การปรับส่วนผสมของสินค้า และหมวดหนังสือ และสินค้าอื่นๆ ภายในร้าน การตลาดผ่านสื่อโซเชียล และการพัฒนากิจกรรมทางการตลาดสำหรับกลุ่มลูกค้าสมาชิก

ในช่วงนี้ วิโรจน์ ได้เป็นหนึ่งในทีมที่ผลักดันให้เว็บไซต์ของซีเอ็ดให้กลายมาเป็นร้านหนังสือออนไลน์ที่มีหนังสือให้เลือกมากที่สุดในประเทศในขณะนั้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาหนังสือและซื้อผ่านออนไลน์ได้อย่างสะดวก และได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ในช่วงปี 2549 – 2561 วิโรจน์ ยังเคยเป็นกรรมการวิชาการ ของโรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งบริษัทซีเอ็ดและกลุ่มรักลูกได้เข้าไปบุกเบิกเรื่องการพัฒนาด้านวิชาการ โดย วิโรจน์ ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร แผนการสอน และกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ภายในโรงเรียน รวมถึงเสนอแนะเกี่ยวกับการคัดเลือก และใช้หนังสือเรียน และสื่อการเรียนการสอนต่างๆ ภายในโรงเรียน โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

ช่วงไม่กี่ปีก่อนทำงานการเมือง วิโรจน์ยังเคยเป็นทำเพจเฟซบุ๊ก ที่ชื่อว่า Education Facet ซึ่งเป็นเพจที่ให้ความรู้กับกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเยาวชน โดยปัจจุบันมีผู้ติดตามมากกว่า 87,000 คน

วิโรจน์ยังได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรประจำมูลนิธิคนไทยเก่งขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นวิทยากรในหลักสูตร เพื่อพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา อีกทั้งยังได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษ และวิทยากร ให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในหัวข้อเกี่ยวกับ การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ให้กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม รวมถึงเคยได้รับเชิญให้เป็นผู้อ่านประเมินบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อีกด้วย    

งานการเมือง

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ทำงานกับพรรคอนาคตใหม่ โดยช่วยลงพื้นที่หาเสียงให้ ผู้สมัคร ส.ส. เขต และร่วมขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ก่อนได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และเขาได้กลายเป็นดาวรุ่งในสภาอย่างรวดเร็วจากเนื้อหา ลีลาการพูดฉะฉาน และเทคนิคในการนำเสนอที่เขาใช้ในการอภิปรายในสภา [6] นอกจากนี้ วิโรจน์ ยังได้รับความสนใจมากขึ้น ในฐานะที่เป็นนักการเมืองที่ใช้โซเชียลมีเดีย ในการสื่อสารพูดคุยกับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกันเอง

ไฟล์:วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ในฐานะ ส.ส.พรรคก้าวไกล.jpg
วิโรจน์ ในฐานะ ส.ส.พรรคก้าวไกลขณะกำลังอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร

วิโรจน์ยังเป็น ส.ส. ที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างน่าจดจำมากที่สุดคนหนึ่ง โดยการอภิปรายที่สร้างความแปลกใหม่จนเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดครั้งหนึ่ง คือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อปี 2563 ต่อกรณีที่รัฐบาลมีการปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (Information Operation: IO) เพื่อสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนและด้อยค่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง [7] โดยระหว่างการอภิปราย วิโรจน์ ได้เปิด QR Code ให้ประชาชนได้เข้าถึงกลุ่ม LINE ของขบวนการ IO ของทหาร [8] ถือเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการใช้สื่อ Interactive ให้ประชาชนสามารถร่วมตรวจสอบรัฐบาลไปพร้อมกับผู้อภิปราย

เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค วิโรจน์ และเพื่อนส.ส. อีกหลายคนได้ ย้ายอยู่พรรคก้าวไกล โดยตั้งใจจะสานต่ออุดมการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ ซึ่ง วิโรจน์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคก้าวไกล [9]

หลังจากย้ายมาอยู่พรรคก้าวไกล การอภิปรายของ วิโรจน์ ก็ยังคงได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก ทั้งการอภิปรายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564 ในวาระที่ 2 ที่ วิโรจน์ ได้เปรียบเทียบงบประมาณในการจัดซื้อถุงเท้า ผ้าขาวม้า และกางเกงในของกองทัพ ที่มีราคาเป็น 3 เท่า ของราคาค้าปลีก ที่สามารถซื้อได้จากร้านค้าออนไลน์ [10]

นอกจากนี้ วิโรจน์ ยังเป็นหนึ่งใน ส.ส. ที่คอยติดตามสถานการณ์โควิด-19 ใกล้ชิดมาตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการระบาดในไทย เขาได้ออกมาเตือนและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวสถานการณ์การระบาด การจัดหาและกระจายชุดตรวจโรค วัคซีนและยารักษาโรคอย่างสม่ำเสมอ

ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อกันยายน 2564 ที่ผ่านมา วิโรจน์ ได้ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของรัฐบาลในการกระจายความเสี่ยงในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 และมีการเปิดเผยเนื้อหาสัญญาจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าที่ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งมีการใช้งบประมาณรัฐอุดหนุนให้บริษัทเอกชนผลิตวัคซีน แต่ไทยกลับไม่ได้รับสิทธิในการได้รับวัคซีนก่อนประเทศอื่น อีกทั้งยังไม่มีกำหนดการส่งมอบวัคซีนที่ชัดเจนระบุไว้ในสัญญาอีกด้วย [11] การอภิปรายครั้งนี้สามารถสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลในการจัดหาวัคซีนทางเลือก และเร่งการจัดฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้มากขึ้นในช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา

อีกบทบาทหนึ่งของวิโรจน์ ที่ถูกพูดถึงกันในวงกว้าง โดยเฉพาะในหมู่นักเรียน นักศึกษา ครู และนักการศึกษาสมัยใหม่ ก็คือ การเป็นกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร [12] ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย จากประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการศึกษามาหลายปี วิโรจน์ มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนให้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของอาหาร นมโรงเรียน รถโรงเรียน ความปลอดภัยภายในโรงเรียน ห้องน้ำ และสุขอนามัย การลดภาระงานธุรการของครู เพื่อให้ครูมีเวลาในการดูแลนักเรียนเพิ่มมากขึ้น [13] และการทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ที่ปลอดจากการกลั่นแกล้งรังแก (Bullying-Free School) และปลอดจากการล่วงละเมิดคุกคาม จากอำนาจนิยมต่างๆ [14]

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิโรจน์ ยังได้มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนออนไลน์ได้ ขณะที่คุณภาพการเรียนการสอนก็ลดลง กระทบกับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีกระแส #เลื่อนสอบ บนโซเชียลมีเดีย เรียกร้องให้มีการเลื่อนสอบ TCAS ซึ่งเป็นการสอบเพื่อนำคะแนนไปยื่นสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัย เนื่องจากโควิด-19 ทำให้มีปัญหาหลายด้าน วิโรจน์จึงออกมาเป็นปากเป็นเสียงช่วยกดดันกระทรวงศึกษาธิการให้เลื่อนสอบ [15]

ไฟล์:ส.ส.วิโรจน์ ในพื้นที่น้ำท่วม.jpg
ในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล วิโรจน์ปฏิบัติงานในพื้นที่น้ำท่วมจังหวัดยครศรีธรรมราช 2562

นอกจากนี้ วิโรจน์ ยังได้ตั้งกระทู้ถามต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ ศูนย์เด็กเล็กใน กทม. ที่ถูกละเลยมายาวนานกว่า 40 ปี โดย วิโรจน์ ได้ชี้ให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ ศูนย์เด็กเล็กใน กทม. ไม่ว่าจะเป็น กรณีที่ ครูพี่เลี้ยงเด็กใน ‘ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน’ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด ถูกจ้างในฐานะ ‘อาสาสมัคร’ ไม่มีความมั่นคงในชีวิต ไม่ได้รับสวัสดิการเท่าที่ควร โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ไปจนถึงงบประมาณสำหรับอาหารกลางวันเด็กก็มีจำกัดจนเด็กเสี่ยงแคระแกร็น รวมถึงสุขอนามัย ความเป็นอยู่ของเด็กๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร [16]

รางวัลและเกียรติยศ

  • รางวัล "Person Of The Year" สาขา Politics โดย THAILAND ZOCIAL AWARDS 2021 (พ.ศ. 2564) [17] [18] ซึ่งเป็นรางวัลที่ประเมินผลจากข้อมูลจากโซเชียลมีเดียต่างๆ

ผลงานหนังสือ

  • ปูทางให้ลูกไป สู่เส้นชัยที่ลูกหวัง
  • กลยุทธ์ HR ที่จับต้องได้ (Tangible HR Strategy)
  • ลีนอย่างไรสร้างกำไรให้องค์กร (Profitable Lean Manufacturing)
  • หลุดจากกับดัก Balanced Scorecard [19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เสียงวิจารณ์

ปี 2562 วิโรจน์ ได้ทวีตข้อความ เกี่ยวกับการทุจริต ‘หมอนยางประชารัฐ’ ส่งผลให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้แจ้งความ วิโรจน์ ในข้อหา มีส่วนร่วมในการกระทำผิด ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตลอดจนดำเนินคดีทางแพ่งและอาญา [21] แต่ได้ถอนแจ้งความในเวลาต่อมา

นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดในไทยปี 2563 วิโรจน์ และพรรคก้าวไกล ได้วิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในและนอกสภา จึงทำให้ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลตอบโต้เขาว่า เขาอภิปรายโดยไม่มีข้อมูลจริง [22] นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาล และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุขยังกล่าวว่า วิโรจน์ พยายาม “ด้อยค่าวัคซีน” จากการวิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนโคโรนาแวคของบริษัทซิโนแวค พร้อมแนะนำให้เร่งนำวัคซีนชนิด mRNA มาฉีดให้บุคคลากรทางการแพทย์และประชาชน [23] [24]

ในกรณีการอภิปรายซักฟอกปมการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด เอื้อประโยชน์บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ และใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ปิดปากคนที่วิจารณ์เรื่องวัคซีน วิโรจน์ ยังถูกวิจารณ์ว่า เขาพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และ สิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ว่ากล่าวว่า “พ่อแม่ไม่สั่งสอน” [25] [26]

ในเดือนเมษายน 2564 วิโรจน์ ถูกสังคมออนไลน์ วิจารณ์การเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่สถาบันบำราศนราดูร วันที่ 16 เมษายน ทั้งที่เขาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล มาโดยตลอด อีกทั้งยังถูกตั้งข้อสงสัยว่าใช้เส้นสายในการเข้ารับการฉีดวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ ด้วยหรือไม่ ซึ่งวิโรจน์ ได้ชี้แจงว่า การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม “แต่หากรัฐบาลบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่านี้ ประชาชนย่อมมีทางเลือกที่ดีกว่านี้ โดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง” พร้อมกับยืนยันว่า เขาไปฉีดวัคซีนตามหมายของสภา ไม่ได้ใช้เส้นสายในการเข้ารับการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด [27]

เดือนกรกฎาคม 2564 สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) ได้ออกแถลงการณ์ ขอให้ วิโรจน์ ถอนคำพูดและขอโทษต่อสังคม หลังจากที่เขาแสดงความเห็นว่า ครูคนหนึ่งที่ใช้กรรไกรกล้อนผมนักเรียนหญิงเป็นการละเมิดสิทธิ ควรลาออก และเรียกตัวเองว่าอาชญากร โดยสมาคมฯ มองว่าเป็นการกล่าวหาที่รุนแรงเกินจริง หากไม่ดำเนินการ สมาคมฯ และองค์กรครูอื่นๆ จะไม่สนับสนุนพรรคก้าวไกล [28] แต่ วิโรจน์ ยืนยันว่าจะไม่ถอนจุดยืนในการปกป้องเด็กจากการถูกคุกคาม [29]

ชีวิตส่วนตัว

ในเวลาว่างของ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร มักจะใช้ไปกับการอ่านหนังสือหลากหลายแนว นอกจากนี้ เขายังชอบดูการแข่งขันฟุตบอล โดยเขาชื่นชอบสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล

วิโรจน์ สมรสกับภรรยา และมีลูกสาว 1 คน โดยเขาเลือกที่จะส่งลูกให้เข้าเรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน เพื่อให้ลูกไม่เสียเวลาในการเดินทาง ได้พัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม และสามารถบริหารจัดการตัวเองได้

จากประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษามาหลายปี วิโรจน์ เชื่อว่า ลูกควรมี ‘อธิปไตยในการหาความรู้’ พ่อแม่ควรมีหน้าที่เพียงส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ใช่นำความฝันของตัวเองไปยัดให้เด็ก เขาพยายามเลี้ยงลูกที่ในช่วงปฐมวัยตามหลักการพัฒนาทักษะ Executive Function เพื่อฝึกฝนการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของลูก มากกว่าจะเน้นการป้อนเนื้อหาวิชาการ เพราะมองว่าเป็นทักษะที่จะเป็นประโยชน์กับลูกในอนาคต

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 วิโรจน์ได้อภิปรายในรัฐสภาว่า ลูกสาวของเขาอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐเฝ้าติดตาม [30]

อ้างอิง

  1. ปูมหลัง “วิโรจน์” ดาวจรัสแสง ลูกชาวบ้านธรรมดา ดีกรีนักโต้วาที สู่ ส.ส.มือแฉ
  2. วิโรจน์ ลักขณาอดิศร: ฝันสลายของคนรุ่นใหม่และการศึกษาไทยที่บดขยี้ให้คนไม่เท่ากัน
  3. 3.0 3.1 3.2 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร วิศวกร ‘ผู้ตกกระไดพลอยโจน’ สู่สภาผู้แทนราษฎร
  4. ประวัติ ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
  5. แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2560 corporate.se-ed.com
  6. ที่สุดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดาวเด่นแจ้งเกิด ฝ่ายค้านร้าวฉาน ภัยร้ายรัฐบาล กำลังมา
  7. “วิโรจน์” โชว์เอกสารแฉ กอ.รมน. เบื้องหลัง “IO” ปลุกปั่น-สร้างความแตกแยก
  8. อภิปรายไม่ไว้วางใจ : อัด'บิ๊กตู่-อนุทิน'ล้มเหลวจัดหาวัคซีน-จับตา ส.ค.ได้แอสตร้าฯ เท่าไร
  9. 'ก้าวไกล' ยัน 54 ส.ส. อดีต อนค. ย้ายสังกัดพรรคแล้ว
  10. วิโรจน์ แฉพิรุธจัดซื้อ ชุดลำลองพลทหาร ชี้แพงเวอร์ ใน SHOPEE ถูกกว่าเท่าตัว
  11. ‘วิโรจน์’ กางสัญญาลักปิดลักเปิด ที่ ปชช.ต้องรู้ ทั้ง ‘ราคา-เงื่อนไขผูกพัน’ ผงะพบชื่อ ‘สยามไบโอไซเอนซ์’ หรา
  12. รายนาม คณะกรรมาธิการการศึกษา
  13. "วิโรจน์" ขอปรับงบฯศธ. 450 ล้านบาท ลดภาระครู-คืนครูสู่ห้องเรียน
  14. วิโรจน์ ยกปม ครูจุ๋ม จี้ศธ.แก้ปัญหาความรุนแรง ทุกสังกัด-ทั้งประเทศ
  15. วิโรจน์ ข้องใจทำไมไม่ขยับตารางสอบ TCAS – ปลัด ศธ. แจงนักเรียนส่วนใหญ่จองตารางเดินทางไว้แล้ว
  16. กทม. ทำสัญญาจ้างเอาเปรียบ ‘ครูพี่เลี้ยง’ - ‘มหาดไทย’ อย่านิ่งเฉย
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :2
  19. ผลการค้นหา : วิโรจน์ ลักขณาอดิศร se-ed.com
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓
  21. "ธรรมนัส" แจ้งความ "วิโรจน์" ส.ส.อนาคตใหม่ โพสต์หมิ่นปมหมอนยางพารา
  22. “วัชรพงศ์” ซัด “วิโรจน์” อำมหิตด้อยค่าวัคซีนให้คนไม่ฉีด ขอให้หยุดหวังผลประโยชน์ทางการเมือง
  23. นายกฯ ขอระวังคำพูดอย่าด้อยค่าวัคซีน หวั่นกระทบนำเข้า
  24. สธ. ขออย่าด้อยค่าวัคซีน ‘ซิโนแวค’ ชี้ ยังสามารถลดป่วย-เสียชีวิต ได้ถึง 90%
  25. อภิปรายไม่ไว้วางใจ : อนุทิน-วิโรจน์ จับ “โกหก” กันกลางสภาปมวัคซีนต้านโควิด-19 ขณะที่ “ทีมองครักษ์” พปชร. พาดพิง “พ่อ” ส.ส. ก้าวไกล
  26. ข่าวอภิปรายเดือด! ปารีณา-สิระ ด่า วิโรจน์ พ่อแม่ไม่สั่งสอน
  27. "วิโรจน์" ทวิตพร้อมฉีดวัคซีน โควิด-19 เหตุ ทุกซี.ซี. เป็นเงินภาษีประชาชน ก่อนถูกชาวเน็ตวิจารณ์
  28. ส.ส.วิโรจน์ ไม่ถอย แม้ ส.ผู้บริหาร ร.ร.มัธยมขู่แบน เหตุวิจารณ์ครูกล้อนผมเด็กว่าอาชญากร
  29. วิโรจน์ทวีต ไม่ถอนจุดยืนปกป้องเด็ก
  30. "วิโรจน์" เดือด สาป "บิ๊กตู่-อนุทิน" แรง ส.ส.องครักษ์ประท้วงโต้กลับอย่าเสียดสี

แหล่งข้อมูลอื่น