ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
👏
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 308: บรรทัด 308:


=== ผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต ===
=== ผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต ===
'''ความจริงที่คนไทยโดนหลอกตลอดมา'''
* สถานการณ์ในขณะนั้นพุ่งเป้าไปที่ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งประเด็นนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากปรีดีขณะนั้นมีศัตรูทางการเมืองอยู่จำนวนมากที่ต้องการจะกำจัดออกไป เช่น กลุ่มทหารสาย[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ที่สูญเสียอำนาจหลังร่วมมือกับจักรวรรดิญี่ปุ่นนำประเทศเข้าสู่[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] และ[[พรรคประชาธิปัตย์]] ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขณะนั้น{{อ้างอิง}}

* ในหนังสือ ''The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I'' (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ เขียนโดย วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน ซึ่งเป็นแขกที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในช่วงระยะหนึ่ง ได้เขียนไว้ว่า สายลับญี่ปุ่น ชื่อ ซึจิ มาซาโนบุ ([https://en.wikipedia.org/wiki/Masanobu_Tsuji Tsuji Masanobu]) ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง น่าจะเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ แต่ปัจจุบันมีหลักฐานที่ไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่า นายมาซาโนบุ ซุจิ ผู้นี้ไม่ได้อยู่ใกล้กับกรุงเทพเลย<ref>ดูหนังสือ กลางใจราษฎร์ ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่2(2559) หน้าที่92 ระบุว่าทางการญี่ปุ่นยอมรับว่าซึจิยังอยู่ในประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่2จบ แต่ได้ออกจากประเทสไทยไปเวียดนามตั้งแต่ พฤศจิกายน 2488 ท้ายที่สุดพันเอกซึจิหายสาบสูญไปในประเทศลาวเมื่อ เมษายน 2504</ref> ในขณะที่ในหลวงอานันทมหิดลได้ถูกปลงพระชนม์ ข้อสันนิษฐานนี้จึงตกไป
ของ ผู้เขียน Thailand : A Kingdom in Crisis

'''ช่วงเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน  2489'''

ในหลวงอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ของประเทศสยามที่มีพระชนมายุ 21 พรรษา ได้ถูกยิงที่ศีรษะและเสด็จสวรรคตอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ในพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ ตอนเย็นของวันนั้น เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์พระชนมายุ 19 พรรษา ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ได้ครองราชสมบัติตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ขณะนี้พระองค์ทรงชราภาพและเจ็บป่วยบ่อยครั้ง ทรงเก็บพระองค์เองอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช แต่พระองค์ก็ยังคงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยต่อไปอย่างไม่มีกำหนด

โดยทางการแล้ว คดีฆาตกรรมเรื่องนี้ได้ถูกพรรณาไว้ว่าเป็นเรื่องลึกลับ เป็นปริศนาทางอาชญากรรมที่ผิดวิสัยที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก ซึ่งไม่สามารถเฉลยข้อเท็จจริงออกมาได้ในศตวรรษที่ผ่านมา แต่ในความจริงแล้ว มันชัดเจนมาเป็นเวลานานแล้วว่าใครเป็นผู้ปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8  ความจริงได้ถูกปกปิดโดยระบอบเครือข่ายนิยมกษัตริย์ของประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งจากการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันแสนเข้มงวด นั่นคือ กฎหมายอาญามาตรา112  ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เพื่อจัดการบุคคลต่างๆให้กลายเป็นอาชญากร เมื่อมีการสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองของประเทศไทยอย่างเปิดเผยและโดยสุจริตใจ

หลังจากที่ในหลวงอานันท์ได้เสด็จสวรรคตไปเพียงไม่กี่นาที สถานที่เกิดเหตุได้ถูกจัดเปลี่ยนอย่างจงใจเพื่อปกปิดหลักฐานต่างๆว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแท้จริงแล้วคืออะไร บุคคลที่อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในตอนเช้าของวันนัั้น ไม่เคยเปิดเผยความจริงต่อหน้าสาธารณะว่าได้เกิดอะไรขึ้น และบุคคลคนเดียวในขณะนั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ ตัวกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่เคยเปิดเผยเลยว่าอะไรได้เกิดขึ้น และคงจะนำความลับนี้ลงสู่หลุมฝังศพไปพร้อมๆ กับตัวพระองค์เอง ถึงแม้ว่าจะมีการทำลายหลักฐานต่างๆ และข้อเท็จจริงตามที่บุคคลที่เกี่ยวข้องได้โกหกว่าอะไรเกิดขึ้นในกรณีสวรรคต  แต่จุดสำคัญประการแรกคือ ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ลอบสังหารที่ไม่มีใครรู้จัก สามารถหลบหลีกเข้าไปในพระบรมมหาราชวังในตอนเช้าของวันนั้นได้ การนำเอาปืนสั้น โคลท์ .45 อัตโนมัติออกมาจากตู้ที่อยู่ข้างเตียงนอนของพระองค์ ยิงพระองค์ตรงกลางศีรษะด้วยปืนกระบอกนั้น แล้วหลบหนีไปได้โดยที่ไม่มีใครเห็นเลย คนที่เป็นฆาตกรจะต้องเป็นใครคนใดคนหนึ่งที่อยู่พักอาศัยในพระที่นั่งบรมพิมานเท่านััน

แต่ทันทีหลังจากที่ในหลวงอานันท์สวรรคตไปแล้ว กลับมีการกระจายข่าวออกไปอย่างกว้างขวางว่า พระองค์ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมคือฆ่าตัวตายเอง พระชนนีศรีสังวาลย์ ได้ขอร้องกับนายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ ให้ประกาศว่า การสวรรคตเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวในหลวงอานันท์เอง นายปรีดีและรัฐบาลก็ยินยอมทำตามคำขอร้องนั้น แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ในหลวงอานันท์จะยิงพระองค์เองด้วยความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุทำปืนลั่น ในขณะที่ปืนกระบอกนี้จี้อยู่ตรงหน้าผากของพระองค์ขณะที่นอนหงาย และจากวิถีกระสุนที่วิ่งจากหน้าผากผ่านกระโหลกศีรษะทะลุท้ายทอยของในหลวงอานันท์ ขณะฝ่ายนิยมระบอบเจ้าหลายคนที่เป็นนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้เริ่มการปล่อยข่าวว่า นายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ นำการสวรรคตมาแสวงหาผลประโยชน์เพื่อต้องการฟื้นระบอบเจ้าแบบเก่า เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยให้คืนกลับสู่อดีต

วันที่ 13 มิถุนายน2489 อุปทูตชาร์ล ดับเบิ้ลยู โยสท์ (Charge d’affaires Charles W. Yost ) ส่งโทรเลขลับไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน เล่าถึงการสนทนากับนายดิเรก ชัยนาม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เพิ่งเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ภูมิพลที่ได้กล่าวยืนยันกับนายดิเรกว่า ข่าวลือต่างๆ ที่ว่านายปรีดีวางแผนปลงsพระชนม์หรือนายหลวงปลงพระชนม์พระองค์เอง เป็นเรื่องที่ไร้สาระ และพระองค์มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การสวรรคตของในหลวงอานันท์เป็นเรื่องอุบัติเหตุ…… ขณะที่มรว.เสนีย์ ปราโมชส่งหลานและภรรยาของตนไปที่สถานทูตของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีปรีดีเป็นผู้วางแผนทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์

นายปรีดีและรัฐบาลของเขาได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำหน้าที่ค้นหาความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ในวันที่ 18 มิถุนายน 2489ประกอบด้วย ประธานศาลทั้งสามศาล พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา และอนุกรรมการทางการแพทย์จากหลายฝ่าย

ขณะที่ฝ่ายนิยมระบอบเจ้าได้ปล่อยข่าวว่า กษัตริย์ภูมิพลก็กำลังตกอยู่ในอันตรายด้วย และขอการสนับสนุนจากทูตสหรัฐและอังกฤษ เพื่อการทำรัฐประหารรัฐบาลของนายปรีดี โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องพระราชวงศ์ ขณะที่รายงานจากคณะแพทย์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน2489 ลงความเห็นว่ามีคนยิงรัชกาลที่ 8

โทรเลขลับจากเอกอัครราชทูตอังกฤษเซอร์เจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สัน บันทึกการเปิดเผยของนายดิเรก ชัยนาม ว่าทางวังสั่งให้ปกปิดรายงานของคณะแพทย์เป็นความลับห้ามเผยแพร่เด็ดขาด

ความพยายามของรัฐบาลนายปรีดี ที่พยายามชี้ว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุนับเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐบาลเอง แม้ว่านายกปรีดีมีเจตนาจะรักษาศักดิ์ศรีของสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นรัฐบาลนายปรีดีจำเป็นต้องดำเนินการสอบสวนเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจของตน โดยไม่ต้องไปหวั่นเกรงเรื่องใดๆอีกต่อไปโดยอาจมีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ถ้าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนตัวกษัตริย์ เพราะได้เห็นพิรุธชัดเจนว่าฝ่ายราชวังได้รีบทำความสะอาดเพื่อลบร่องรอยพยานหลักฐานก่อนที่จะยอมให้ใครเข้าไปในห้องพระบรรทมที่เกิดเหตุ ส่วนปืนก็ได้ถูกนำมาวางไว้ข้างๆ และมีการจัดฉากสร้างกระแสให้เกิดความสะเทือนใจ และโกรธแค้น เพื่อโหมโจมตีนายกรัฐมนตรีปรีดีอย่างขนานใหญ่หลายระลอก

ส่วนกษัตริย์ภูมิพลแสดงอาการรู้สึกหดหู่อย่างเห็นได้ชัดต่อการสวรรคตของพระเชษฐา กษัตริย์ภูมิพลดูเหมือนป่วยและซึมเศร้าตลอดเวลาไม่อยากพูดจา และเสด็จไปประทับยังเมืองโลว์ซานน์พร้อมพระชนนี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489เพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลว์ซานน์ ถึงแม้ว่าการไว้ทุกข์ยังไม่ครบ 100 วัน แต่พระองค์ยังคงมีอาการซึมเศร้าเสมอ นานๆครั้งจึงจะเข้าไปเรียนในห้องเรียน และไม่เคยเรียนจบปริญญาใดๆเลย ในปลายปี  2489 พระองค์ส่งข้อความว่า จะไม่เสด็จกลับกรุงเทพเพื่อร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพของในหลวงอานันท์ ดูเหมือนว่าพระองค์มีพระประสงค์จะประทับอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกเป็นเวลาสองถึงสามปี เพื่อที่จะได้สำเร็จการศึกษาของพระองค์ โดยไม่มีแนวโน้มเลยว่า จะสามารถไขปริศนาเบื้องหน้าเบื้องหลังให้กระจ่างแจ้งออกมาได้

'''มีแต่ภูมิพล ที่เป็นคนยิงรัชกาลที่ 8'''

ในขณะที่การสืบสวนกรณีสวรรคตได้เริ่มเข้มข้นขึ้นถึงจุดที่พุ่งเป้าไปยังกษัตริย์ภูมิพลว่าเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 และต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ รัฐบาลกลัวว่าจะมีผลกระทบที่สั่นคลอนต่อเสถียรภาพในการเปิดเผยเรื่องราวนี้ออกมา และไม่ต้องการให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติ

ขณะที่พวกเจ้าบางฝ่ายได้จัดเตรียมให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นมาดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แทน รัฐบาลนายปรีดีได้ตัดสินใจเก็บข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวโยงถึงกษัตริย์ภูมิพลไว้เป็นความลับและทำการควบคุมการเสนอข่าวสารมิให้โยงใยไปถึงตัวกษัตริย์ภูมิพล ดังนั้น พวกนิยมระบอบเจ้าจึงต้องรีบทำการโค่นล้มรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์เมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน 2490 โดยร่วมมือกับกลุ่มคณะทหารของจอมพล ป  พิบูลสงคราม ใช้การโหมโฆษณาชวนเชื่อที่ว่า นายปรีดี พยายามปกปิดซุกซ่อนหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับกรณีสวรรคต เพื่อสร้างความชอบธรรมให้การยึดอำนาจของพวกเขา นายปรีดี พนมยงค์ได้หลบหนีออกนอกประเทศเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง แล้วทำการกล่าวหาจับกุมมหาดเล็กสองคนคือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนีพร้อมกันกับนายเฉลียว ปทุมรส อดีตราชเลขาธิการ  รัฐบาลนายควงที่มาจากการรัฐประหารได้กล่าวหาว่า พวกเขาร่วมกันวางแผนเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีนายปรีดีเป็นต้นคิดในการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ แต่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร ซึ่งเป็นรัชทายาทของการสืบราชสมบัติ ได้แจ้งกับเอกอัครราชทูตอังกฤษ เจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สันว่ารัฐบุรุษอาวุโสไม่เคยมีส่วนรู้เห็นแต่ประการใดในเรื่องการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และที่สำคัญคือกรณีสวรรคตน่าจะเกิดจากที่พระอนุชาภูมิพลทำปืนลั่นโดยอุบัติเหตุ จึงต้องปกปิดเป็นความลับต่อไปอีกนานรวมทั้งการที่รัฐบาลต้องหาทางแก้ตัวให้กษัตริย์ภูมิพล รัฐบาลนายปรีดีต้องพยายามปกปิดข้อเท็จจริงแต่มันกลายเป็นว่าทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์กลับได้บาป

ในเวลานั้น ได้เกิดความตื่นตระหนกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่กษัตริย์ภูมิพลปฏิเสธที่จะเสด็จกลับจากเมืองโลว์ซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และความกังวลใจเรื่องที่กษัตริย์ภูมิพลมีส่วนรู้เห็นในกรณีสวรรคต ซึ่งจะสั่นสะเทือนสถานภาพของพระองค์  ผู้นำของกลุ่มนิยมระบอบกษัตริย์รวมทั้งนายควง อภัยวงศ์หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเดือนกุมภาพันธ์  2491 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน2490 จากเดือนสิงหาคม2489 จนถึงวันที่เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งจาก หลวงธำรงค์ได้กล่าวต่อเอกอัครราชทูตทอมพ์สันของอังกฤษอย่างหนักแน่นว่า กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกยิงสวรรคตโดยกษัตริย์ภูมิพล โดยที่รัฐบาลของเขาไม่สามารถเปิดเผยข่าวนี้ได้ การสอบสวนที่ดำเนินการในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ได้ตัดเรื่องอัตวินิบาตกรรมหรือฆ่าตัวตายออกไป แต่สาธารณชนไม่ควรรับทราบสิ่งต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่สอบสวนได้ค้นพบ เนื่องจากเหตุผลของความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี นายกรัฐมนตรีหลวงธำรงได้มีคำสั่งห้ามทุกคนเปิดเผยข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนโดยเด็ดขาด

ในเดือนถัดมา หลวงธำรงค์ฯ ได้กล่าวอย่างชัดเจนยิ่งกว่าทุกๆ ครั้ง กับนายเอ๊ดวิน สแตนตั้น (Ambassador Edwin Stanton ) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในการดื่มน้ำชาร่วมกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2491 ที่สถานทูตสหรัฐ ว่ากรณีสวรรคตอันเศร้าสลดคงจะต้องเป็นความลับสุดยอดของประเทศไปแล้ว แม้ว่าหลักฐานต่างๆที่มีการรวบรวมกันในขณะที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น มีแนวโน้มที่จะพัวพันเชื่อมโยงมุ่งไปที่กษัตริย์ภูมิพลองค์ หลวงธำรงค์และนายปรีดีเองต่างก็อยู่ในสถานการณ์น้ำท่วมปากแบบเดียวกัน เพราะถ้ามีการเปิดเผยว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้เกี่ยวข้องกรณีสวรรคตอย่างแท้จริง เชื่อว่ากษัตริย์ภูมิพลคงจะต้องสละราชสมบัติ และคงเกิดเรื่องสับสนอลหม่านติดตามมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตจะเป็นรัชทายาทผู้สืบราชสมบัติองค์ต่อไป แต่พระองค์เจ้าจุมภฏฯ และพระชายาไม่ได้รับความนิยม รัชทายาทองค์ต่อมาจากพระองค์เจ้าจุมภฏคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ก็ไม่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ขณะที่อำนาจของสถาบันกษัตริย์ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย

และพี่น้องตระกูลปราโมชคือ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์และ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ได้ร่วมกันวางแผนเตรียมการประกาศว่า กษัตริย์ภูมิพลได้ทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ โดยพวกเขาหวังว่าจะเป็นการบังคับให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติเพื่อเปิดทางให้กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

นายเคนเนท แลนดอน ( Kenneth Landon )ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานฝ่ายเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งโทรเลขถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2491 มีข้อความว่า…รายงานล่าสุดจากแหล่งข่าวหลายแห่ง ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกับการลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ ส่งผลให้ นายควง เตรียมที่จะแถลงการณ์ว่า กษัตริย์ภูมิพลปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์โดยอุบัติเหตุ ซึ่งกษัตริย์ภูมิพลจะสละราชสมบัติ  ต่อจากนั้นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร จะได้รับการสถาปนาให้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป เนื่องจากพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรเป็นคนที่มีวุฒิภาวะสูง รวมทั้งมีความมั่งคั่งอย่างมากด้วย พร้อมทั้งมีประสบการณ์อย่างยาวนานด้านการเมืองภายในวัง  แต่จอมพล ป พิบูลสงคราม ยืนกรานคัดค้านข้อเสนอของนายควงที่จะให้พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป แม้ว่ากษัตริย์ภูมิพลจะปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์ด้วยความตั้งใจหรือเป็นอุบัติเหตุก็ตาม จอมพลป.และนายปรีดีเป็นคู่ปรปักษ์หรือศัตรูทางการเมืองซึ่งสังกัดอยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน แม้ว่าเขาทั้งสองเห็นพ้องต้องกันในการต่อต้านไม่ให้สถาบันกษัตริย์กลับคืนสู่อำนาจอีก แต่พวกเขาไม่ได้ต่อต้านกษัตริย์ภูมิพลเพราะว่าพระองค์ยังไม่ได้เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวและไม่มีบริวารห้อมล้อม จอมพล ป ซึ่งเป็นนายทหารผู้มีอิทธิพลมากของกองทัพ ได้รีบทำรัฐประหารล้มรัฐบาลของนายควง ในเดือนเมษายน  2491  เพราะจอมพล ป. ต้องการให้กษัตริย์ภูมิพลครองราชบัลลังก์ต่อไป โดยจะใช้พยานหลักฐานในคดีสวรรคตมาต่อรองผลประโยชน์กับกษัตริย์ภูมิพลได้ในภายหลัง
{| class="wikitable"
|
|-
|'''เฉลียว บุศย์ และชิต ในศาล'''
|}
การพิจารณาคดีการเสด็จสวรรคตของในหลวงอานันท์ได้เริ่มขึ้น ในตอนบ่ายของวันพุธที่ 28 กันยายน 2491 โดยมีมหาดเล็กสองคนคือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนี รวมทั้งนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งเป็นอดีตราชเลขาธิการ  ถูกกล่าวหาว่า สมคบกันทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ การพิจารณาคดีและการอุทธรณ์ได้ถูกดึงให้ยืดเยื้อเป็นเวลามากกว่า 6 ปี

ในท้ายที่สุด กษัตริย์ภูมิพลได้เสด็จกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างเมื่อเดือนมีนาคม  2493 เพื่อร่วมพระราชพิธีพระบรมศพฯพระเชษฐาของพระองค์ และเข้าพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ รวมทั้งพิธีราชาภิเษกสมรสกับ มรว.หญิงสิริกิติ์ กิติยากร  แล้วพระองค์ก็เสด็จออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2493 ซึ่งเป็นเวลาเพียงสองสามวัน ก่อนที่จะครบรอบการเสด็จสวรรคตของพระเชษฐา  ต่อมาพระองค์จึงได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์เมื่อปลายปี  2494  กษัตริย์ภูมิพลทรงทราบดีว่า นายบุศย์ ปัทมศริน, นายชิต สิงหเสนี และนายเฉลียว ปทุมรส ไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ เกี่ยวกับการปลงพระชนม์ของพระเชษฐาของพระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่กระทำการใดๆ เพื่อช่วยชีวิตของพวกเขา  บุคคลทั้งสามได้ถูกประหารชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 ด้วยข้อหาอาชญากรรมที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำแต่อย่างใด

กษัตริย์ภูมิพลได้เปลี่ยนคำให้การของพระองค์เองหลายครั้ง ทั้งๆที่กษัตริย์ภูมิพลเคยยืนยันอย่างแข็งขันไม่กี่วันหลังจากที่พระเชษฐาสวรรคตว่ามันเป็นอุบัติเหตุ แต่พระองค์กลับยกเลิกคำให้การเหล่านั้นในการพิจารณาคดีครั้งต่อมา โดยพระองค์หันไปเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหลายเรื่อง ที่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือคือให้ร้ายนายเฉลียว ปทุมรส  กษัตริย์ภูมิพลได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์ บีบีซี ซึ่งออกอากาศเมื่อปี 2523 โดยแก้ตัวว่า การคดีสวรรคตเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อน จากการอำพรางคดีโดยบุคคลหลายคนที่มีอำนาจมากทั้งในและต่างประเทศที่ไม่ทราบว่าเป็นใครบ้าง

ระหว่างปีทศวรรษ  2530กษัตริย์ภูมิพลยังได้ให้นายวิลเลียม สตีเวนสัน (William Stevenson )นักเขียนชาวแคนาดา เขียนชีวประวัติกึ่งทางการโดยกษัตริย์ภูมิพลแต่งเรื่องว่านายมาซาโนบุ ซูจิ ( Masanobu Tsuji )นายทหารที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นได้ลักลอบเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง โดยปลอมตัวเป็นพระภิกษุ

ทั้งๆที่นายมาซาโนบุ ซุจิ ผู้นี้ไม่ได้อยู่ใกล้กรุงเทพเลย ในขณะที่ในหลวงอานันท์ถูกปลงพระชนม์ การเปลี่ยนเรื่องราวครั้งแล้วครั้งเล่าไปเรื่อยๆของกษัตริย์ภูมิพลเอง แสดงให้เห็นพิรุธว่า กษัตริย์ภูมิพลพยายามปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน  2489  โดยที่กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยให้คำอธิบายที่น่าเชื่้อถือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกเกี่ยวที่ภายในวงการระดับสูงของประเทศไทย กลับรับรู้กันมาตลอดว่า กษัตริย์ภูมิพลเองที่เป็นผู้ปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งอาจจะเป็นอุบัติเหตุ

บันทึกของนางมากาเร็ต แลนดอน

('''Margaret Landon)'''

นางมากาเร็ต แลนดอนเป็นภรรยาของนายเคนเนท แลนดอน (Kenneth Landon )นักการทูตสหรัฐอเมริกาเมื่อปี  2514 ได้เขียนบันทึกด้วยลายมือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตเก็บไว้ที่หอสมุดวิทยาลัยวีตั้น ( Wheaton College ) สหรัฐอเมริกา  อ้างการสนทนากับนางลิเดีย ณ ระนอง ( Lydia Na Ranong ) ซึ่งเป็นผู้หญิงที่เกิดในตระกูลผู้ดีของจีนและเป็นคนสนิทของกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูงในกรุงเทพฯที่ได้เล่าเรื่องราวที่ได้ยินมาจากแวดวงของพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ว่า มหาดเล็กทั้งสองคน คือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนี ได้รู้เห็นต่อการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์

โดยที่อดีตราชเลขาธิการ คือ นายเฉลียว ปทุมรส มีความสัมพันธ์เป็นชู้สาวกับนางสังวาลย์ และอยู่ในห้องบรรทมของพระนางในขณะที่ในหลวงอานันท์ถูกยิงสวรรคต โดยพระนางสังวาลย์ ซึ่งเป็นพระชนนีมาจากตระกูลสามัญชนและไม่เคยได้รับความชื่นชอบ จากกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่เลย

พระนางเจ้าสว่างวัฒนาส่งเจ้าฟ้ามหิดลไปเรียนที่อเมริกา ได้ส่งเด็กสาวให้เป็นผู้ติดตามไปด้วยสองคนไปเรียนให้ดูเหมือนว่าไปเรียนด้วยกัน แต่ที่จริงแล้วก็ส่งไปเป็นเมียน้อยเพื่อประกบเจ้าฟ้ามหิดล เพราะพระนางสว่างวัฒนากลัวว่าเจ้าฟ้ามหิดลจะไปได้ผู้หญิงต่างชาติเป็นเมีย

แต่เจ้าฟ้ามหิดลได้ตกหลุมรักกับนางสาวสังวาลย์และตัดสินพระทัยที่จะอภิเษกสมรสกับเธอ ซึ่งได้สร้างความตกตะลึงในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์เป็นอย่างมาก โดยมีแนวโน้มว่าพระนางเจ้าสว่างวัฒนาและรัชกาลที่ 6 คงยังคงปฎิเสธที่จะจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส แต่เจ้าฟ้ามหิดลเองได้วางแผนให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้ประกอบพิธีอภิเษกสมรสให้จนสำเร็จ แต่พระบรมวงศานุวงศ์ก็ยังแสดงความเกลียดชังต่อนางสังวาลย์ตลอดมา

ในตอนเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ในหลวงอนันท์อานันท์ยังประชวรอยู่ โดยบรรทมอยู่บนเตียงพร้อมกับหยิบปืนขึ้นมาเล่น เจ้าฟ้าชายภูมิพลเสด็จเข้ามาข้างในห้องบรรทม ในหลวงอานันท์จับปืนขึ้นจ่อมาที่พระเศียรของเจ้าฟ้าภูมิพลและกล่าวว่า “ ฉันสามารถฆ่าเธอได้ ” แต่เจ้าฟ้าภูมิพลก็แย่งปืนมาและยกปืนจ่อที่พระเศียรของในหลวงอานันท์ แล้วกล่าวว่า “ ฉันก็ฆ่าเธอได้เช่นกัน ”  ในหลวงอานันท์ ร้องว่า “ เหนี่ยวไกเลย  เหนี่ยวไกเลย ”

ฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์เชื่อว่า การสืบราชสมบัตินั้นจะถูกผ่านมายังพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทั้งๆที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ถูกกันออกไปแล้วตามพระประสงค์ของรัชกาลที่ 6เนื่องจากว่า พระมารดาของพระองค์เป็นชาวรัสเซีย บุคคลที่น่าจะได้รับการเลือกให้สืบราชบัลลังก์ตามหลักแล้วน่าจะเป็นพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร แต่พระองค์ไม่มีพระโอรส และมีแต่เพียงพระธิดา ซึ่งสมรสกับผู้ชายชาวฝรั่งเศส นายปรีดี พนมยงค์ มีจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งเขียนโดยจอม ป พิบูลสงคราม  1 ปีก่อนหน้าที่จอมพลแปลกจะถึงแก่อสัญกรรม โดยยอมรับสารภาพว่า ข้อกล่าวหาให้ร้ายนายปรีดีในกรณีสวรรคตล้วนเป็นเรื่องเท็จทั้งสิ้น และตัวจอมพล ป.เอง ก็รู้ดีในเรื่องนี้เจ้าฟ้าภูมิพลก็ทำตามนั้นและก็ได้สังหารหรือปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์จริงๆ นางลิเดียเชื่อว่า การปลงพระชนม์เป็นอุบัติเหตุ และมันเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีการจัดการสะสางข้อเท็จจริงกันเลย เจ้าฟ้าภูมิพลตกใจจนลนลานและหวาดกลัวสุดขีด  หลังจากนั้น มหาดเล็กสองคนก็ต้องถูกประหารชีวิตเนื่องจาก ได้เห็นการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นตรงหน้า   พระบรมวงศานุวงศ์เชื่อว่า พระชนนีสังวาลย์ควรจะต้องยืนกรานที่จะเปิดเผยความจริงให้เป็นที่รับรู้กัน เพราะพวกเขาเชื่อว่าการสวรรคตเป็นเรื่องของอุบัติเหตุโดยแท้ มิใช่การฆาตกรรมหรือเจตนาปลงพระชนม์  และประชาชนควรได้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้น เจ้าฟ้าภูมิพลควรสละราชสมบัติไปเป็นพระภิกษุตลอดชีวิตและยินยอมให้ราชสมบัตินั้นเปลี่ยนผ่านไปยังสมาชิกของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นแทน วิธีการนี้จะเป็นวิถีทางที่น่ายกย่องซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุจริตใจ

*


=== จำเลยทั้งสามเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่ ===
=== จำเลยทั้งสามเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:17, 24 ตุลาคม 2561

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
เจ้าพนักงานประกอบพระลองทองใหญ่ กางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรจากคำบรรยายภาพของสำนักพระราชวัง
เจ้าพนักงานประกอบพระลองทองใหญ่ กางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรจากคำบรรยายภาพของสำนักพระราชวัง
การสวรรคต
พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
วันสวรรคต9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
สถานที่สวรรคตพระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง
ประดิษฐานพระบรมศพพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
พระโกศพระบรมโกศทองใหญ่
ฉัตรพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร
พระเมรุพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
ประดิษฐานพระสรีรางคารวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการลดบทบาททางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทุกวันนี้กรณีดังกล่าวยังคงมีการถกเถียงกันอยู่และได้รับความสนใจในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ไม่เป็นประเด็นสาธารณะเพราะกรณีดังกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยโดยตรง[1]

ลำดับเหตุการณ์

ลำดับเหตุการณ์
5 ธันวาคม 2488 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนครพร้อมด้วยพระบรมราชชนนีและพระอนุชา
9 มิถุนายน 2489 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต
21 มิถุนายน 2489 เริ่มชันสูตรพระบรมศพ
15 พฤศจิกายน 2490 ตำรวจทำการจับกุมตัวชิต บุศย์และเฉลียว
17 กุมภาพันธ์ 2498 ประหารชีวิตสามจำเลย
  • วันที่ 5 ธันวาคม 2488 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งพร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
  • วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลาประมาณ 9.30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน เวลาต่อมา สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ว่าเป็น อุบัติเหตุโดยพระองค์[2] รัฐบาลประกาศให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2489ระหว่างการทำความสะอาดพระบรมศพ ได้พบบาดแผลที่พระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย) ซึ่งเป็นบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก[4]
  • ระหว่างช่วงเวลานี้ กลุ่มนิยมเจ้าและพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงหลักฐานความเชื่อมโยงของนายกฯ ปรีดี ในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์[5]
  • วันที่ 18 มิถุนายน 2489 รัฐบาลปรีดีประกาศตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีสวรรคต[6]
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2489 เริ่มทำการชันสูตรพระบรมศพ
  • วันที่ 19 สิงหาคม 2489 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2489 นายปรีดี ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีสวรรคต พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา และทำการสืบคดีต่อไป
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 เกิดการรัฐประหาร 2490 โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลด้านการทุจริตของรัฐบาล และ ปัญหาเรื่องกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 นายปรีดีและพลเรือตรี ถวัลย์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 พันตรี ควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกต่อจากพลเรือตรีถวัยย์ และดำเนินการสืบสวนคดีสวรรคตต่อ
  • วันที่ 15 พฤศจิกายน 2490 ตำรวจทำการจับกุมการจับคุมตัว นายชิต นายบุศย์ และ นายเฉลียว และได้ออกหมายจับนายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย ในฐานะผู้ต้องหาร่วมกันลอบปลงพระชนม์ในหลวง ร.8[7]
  • วันที่ 8 ธันวาคม 2490 แต่งตั้งพ.ต.ท.หลวงแผ้วพาลชน เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ต่อมาเปลี่ยนตัวหัวหน้าฝ่ายสืบสวนเป็นพระพินิจชนคดี พี่เขยของม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งออกจากราชการไปแล้วให้กลับเข้ามาเข้ามาทำงาน[8]
  • วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกแทนพันตรี ควง อภัยวงศ์ ตามมติคณะรัฐประหาร
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 นายปรีดี พยายามกลับไทยโดยก่อ กบฏวังหลวง ขึ้น โดยการรุกเข้ายึดครองพื้นที่พระบรมมหาราชวัง แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และไม่กลับประเทศไทยอีกเลยตลอดชีวิต
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2493 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จกลับมาประเทศไทย เพื่อ ประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ, พระราชพิธีอภิเษกสมรส, และบรมราชาภิเษกแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • วันที่ 27 กันยายน 2494 ศาลชั้นต้นมีมติให้ประหารนายชิต ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม 2494 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวร ระหว่างนั้นจอมพล ป. พิบูลสงครามทำรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ขณะในหลวงทรงอยู่ในเรือที่กำลังเข้ามาในน่านน้ำไทย และเสด็จถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2494
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2498 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบให้ เรื่องโปรดเกล้าฯให้ยกฎีกานี้ (ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ ชิต บุศย์ เฉลียว) ตามที่ราชเลขาธิการแจ้งมาว่า ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกานี้และมีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เตรียมการประหารนักโทษทั้ง 3
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลาตี 2 หัวหน้ากองธุรการเรือนจำอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้นักโทษทั้งสามฟัง และแจ้งว่า “บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามแล้ว โดยพระองค์ได้ทรงขอให้คดีดำเนินไปตามตัวบทกฎหมาย ดังที่ศาลสถิตย์ยุติธรรมชั้นสูงได้ตัดสินไปแล้ว" และประหารชีวิต นาย เฉลียว ด้วยปืนกล 20 นาทีต่อมาได้นำตัว นายชิต ไปประหาร ถัดมาอีก 20 นาที จึงนำตัวนายบุศย์ ไปประหาร[ต้องการอ้างอิง]

เหตุการณ์ช่วงสวรรคต

ไฟล์:สองรัชกาลเสด็จมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.jpg
พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ ทุ่งบางเขน 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489

9 มิถุนายน 2489 (วันเกิดเหตุ)

พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง (สถานที่เกิดเหตุ)

ประมวลจากหนังสือ กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 หน้า 7-20 และ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.8 หน้า 17-19[9]

  • เวลาประมาณ 5 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระราชชนนีทรงตื่นบรรทมแล้วเสด็จเข้าไปปลุกในหลวงอานันท์ที่ห้องนอน (เสด็จผ่านห้องแต่งพระองค์) เพื่อถวายน้ำมันละหุ่ง (มหาดเล็ก 2 คนช่วยยกถาดตามเสด็จ) หลังจากนั้นในหลวงอานันท์ทรงบรรทมต่อ พระราชชนนีกลับไปบรรทมต่อเช่นกันที่ห้องของพระองค์เอง (มหาดเล็กกลับลงชั้นล่าง)
  • เวลาประมาณ 6.20 น. บุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเข้าเวรถวายงานที่พระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • เวลาประมาณ 7.00 น. - 8.00 น. มหาดเล็กรับใช้ขึ้นไปบนพระที่เตรียมจัดตั้งโต๊ะเสวย
  • เวลาประมาณ 7 นาฬิกาเศษ บุศย์ ปัทมศริน เริ่มเวรมหาดเล็กประจำห้องบรรทมในหลวงอานันท์ ยกแก้วน้ำส้มคั้นมาเตรียมถวาย โดยนั่งรออยู่ที่หน้าห้องแต่งพระองค์
  • เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ ในหลวงอานันท์ตื่นบรรทม เข้าห้องสรง ออกจากห้องสรงผ่านห้องแต่งพระองค์กลับไปยังห้องนอน บุศย์ยกน้ำส้มคั้นตามเข้าไปในห้องนอนเพื่อถวาย ในหลวงทรงโบกพระหัตถ์ไม่ต้องการ แล้วเสด็จขึ้นแท่นบรรทม บุศย์จึงวางน้ำส้มไว้ที่ธรณีประตู แล้วกลับมานั่งที่เดิม
  • เวลา 8.55 ชิต สิงหเสนี ขึ้นไปบนพระที่นั่ง เพื่อวัดขนาดดวงพระตราเพื่อเอาไปให้ช่างทำหีบดวงพระตรา ชิตกับบุศย์นั่งคอยอยู่หน้าห้องแต่งพระองค์
  • เวลา 9.00 น. พระพี่เลื้ยงเนื่อง (เนื่อง จิตตดุลย์) ขึ้นไปบนพระที่นั่ง เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีจัดห้องแล้วเก็บฟิล์มหนังในห้องสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช
  • เวลาประมาณ 9 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดชทรงเสวยพระกระยาหารเช้าพระองค์เดียว ณ มุขพระที่นั่งด้านหน้ามีมหาดเล็กรับใช้ 2 -3 คนเสด็จออกจากโต๊ะเสวยไปทางห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ทรงถวายพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วเสด็จกลับห้องของพระองค์
ไฟล์:People's position in Baromphiman Throne Hall (09-06-2489).gif
เส้นทางเคลื่อนไหวของบุคคลต่าง ๆ ในพระที่นั่งบรมพิมานชั้นบน ภายหลังเสียงปืนดังขึ้น เมื่อเช้าวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.30 น.
  • เวลาประมาณ 9.20 น. เสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ภายในห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชิตสะดุ้งอยู่มองหน้าบุศย์และคิดหาที่มาของเสียงปืนอยู่ประมาณ 2 นาที จึงเข้าไปในห้องพระบรรทม พบว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมหลับอยู่เป็นปกติ แต่ปรากฏว่ามีพระโลหิตไหลเปื้อนพระศอและพระอังสะ (ไหล่) ด้านซ้าย ชิตจึงวิ่งไปที่ห้องบรรทมของสมเด็จพระราชชนนีแล้วกราบทูลว่า “ในหลวงยิงพระองค์”[10] สมเด็จพระราชชนนีตกพระทัย ทรงร้องขึ้นได้เพียงคำเดียวและรีบวิ่งไปที่ห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทันที ชิต, พระพี่เลี้ยงเนื่อง, สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ, และจรูญได้วิ่งตามเสด็จสมเด็จพระราชชนนีไปติด ๆ

ขณะนั้นมีคนอยู่บริเวณพระที่นั่งชั้นบน 8 ด้วยกันคือ

  1. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (บรรทมอยู่ในห้องของพระองค์)
  2. ชิต สิงหเสนี (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)
  3. บุศย์ ปัทมศริน (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)
  4. ฉลาด เทียมงามสัจ (อยู่ห้องเสวยมุขพระที่นั่ง)
  5. จรูญ ตะละภัฎ (อยู่ในห้องสมเด็จพระบรมราชชนนี)
  6. พระพี่เลี้ยงเนื่อง (อยู่ในห้องสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช)
  7. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (อยู่ในห้องเครื่องเล่น)
  8. สมเด็จพระราชชนนี (อยู่ในห้องของพระองค์)

ขณะที่เสียงปืนดังขึ้น ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน นั่งอยู่ที่พื้นระเบียงหน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์เป็นทางเดียวจะเข้าสู่ห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันมหิดล[11]

  • เมื่อไปถึงที่ห้องพระบรรทมนั้น ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเสียแล้ว ในลักษณะของคนที่นอนหลับธรรมดา มีผ้าคลุมพระองค์ตั้งแต่ข้อพระบาทมาจนถึงพระอุระ ที่พระบรมศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระศพบริเวณข้อพระกรซ้ายมีปืนพกกองทัพบกสหรัฐ ผลิตโดยบริษัทโคลต์ ขนาดกระสุน 11 มม. ซึ่งนายฉันท์ หุ้มแพร มหาดเล็กเป็นผู้ทูลเกล้าฯถวาย[12] วางอยู่ในลักษณะชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ปากกระบอกปืนชี้ไปที่ปลายพระแท่นบรรทม สมเด็จพระราชชนนีได้โถมพระองค์เข้ากอดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอต้องพยุงสมเด็จพระราชชนนีไปประทับที่พระเก้าอี้ปลายแท่นพระบรรทม
  • จากนั้นสมเด็จพระราชชนนีจึงมีรับสั่งให้ตามพันตรี นายแพทย์ หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ (นิตย์ เปาเวทย์) แพทย์ประจำพระองค์ มาตรวจพระอาการของในหลวง ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องได้จับพระชีพจรของในหลวงที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย พบว่าพระชีพจรเต้นอยู่เล็กน้อยแล้วหยุด พระวรกายยังอุ่นอยู่ จึงเอาผ้าคลุมพระองค์มาซับบริเวณปากแผล และปืนกระบอกที่คาดว่าเป็นเหตุทำให้ในหลวงสวรรคตไปให้บุศย์เก็บพระแสงปืนไว้ที่ลิ้นชักพระภูษา เหตุการณ์ช่วงนี้ได้ก่อปัญหาในการพิสูจน์หลักฐานในเวลาต่อมาเมื่อมีการจัดตั้ง “ศาลกลางเมือง” เพื่อสอบสวนกรณีสวรรคต
  • เวลาประมาณ 10.00 น. หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ได้มาถึงสถานที่เกิดเหตุและตรวจพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตแล้ว โดยบริเวณปากแผลมีผ้าพันแผลพันอยู่ เมื่อแกะผ้าพันแผลออกไม่พบรอยเขม่าดินปืน นอกจากนี้พระบรมศพยังได้ถูกชำระในขั้นต้นไปแล้วตามคำสั่งของสมเด็จพระราชชนนี[13] โดยสมเด็จพระราชชนนีได้ให้เหตุผลว่า จะได้ไม่เป็นการลำบากในการเตรียมงานถวายน้ำสรงพระบรมศพในช่วงบ่าย
  • ในช่วงเวลาเดียวกัน พระยาเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล) สมุหพระราชพิธีได้เดินทางไปที่ทำเนียบท่าช้าง ที่พักของปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งข่าวการสวรรคต (ขณะนั้นปรีดีประชุมกับหลวงเชวงศักดิ์สงคราม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) พลตำรวจเอก พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) (อธิบดีกรมตำรวจ) และหลวงสัมฤทธิ์ สุขุมวาท (สัมฤทธิ์ สุขุมวาท) (ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล) เรื่องกรรมกรที่มักกะสันหยุดงานประท้วง)
  • ประมาณ 11.00 น. ปรีดีมาถึงพระที่นั่งบรมพิมาน และสั่งให้พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) อัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเชิญคณะรัฐมนตรี มาประชุมเกี่ยวกับเรื่องการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมสรุปว่าให้ออกแถลงการณ์แจ้งให้ประชาชนทราบว่า การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอุบัติเหตุ แถลงการณ์ของกรมตำรวจที่ออกมาในวันนั้นก็มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน
  • เวลา 21.00 น. รัฐบาลเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อแจ้งให้สภาทราบเรื่องการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และสรรหาผู้สืบราชสมบัติ ที่ประชุมได้ลงมติถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ขึ้นสืบราชสมบัติ เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" จากนั้นปรีดีประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงความรับผิดชอบ

10 มิถุนายน 2489

  • เจ้าหน้าที่และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เดินทางมาทำการฉีดยารักษาสภาพพระบรมศพ ระหว่างการทำความสะอาดพระบรมศพเพื่อเตรียมการฉีดยานั้น คณะแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้พบบาดแผลที่พระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย) ซึ่งเป็นบาดแผลที่ทะลุจากรูกระสุนปืนที่พระพักตร์บริเวณพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงระหว่างพระขนง (คิ้ว) ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า ที่จริงแล้วในหลวงถูกลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก และเนื่องจากบาดแผลที่ท้ายทอยเล็กกว่าที่พระนลาฏ ซึ่งโดยปกติลักษณะบาดแผลรูเข้าจะมีขนาดเล็กกว่ารูออก จึงเกิดข่าวลือว่าอาจจะถูกยิงจากข้างหลัง ทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยว่ารัฐบาลมีส่วนในการปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมตำรวจจึงออกแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าได้ตั้งประเด็นการสวรรคตไว้ 3 ประเด็น คือ
  1. มีผู้ลอบปลงพระชนม์
  2. ทรงพระราชอัตวินิบาตกรรม (ปลงพระชนม์เอง)
  3. เป็นอุบัติเหตุ

11 มิถุนายน 2489

  • กรมตำรวจยังคงแถลงการณ์ยืนยันว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตด้วยอุบัติเหตุ แต่ประชาชนยังคงมีความคลางแคลงใจต่อรัฐบาลอยู่เช่นเดิม ในวันนี้ทางกรมตำรวจได้นำปืนของกลางที่พบในวันสวรรคตไปให้กรมวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ
  • ปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

18 มิถุนายน 2489

ประเด็นสวรรคตมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น โดยนายปรีดีเป็นผู้ต้องสงสัยในฐานะผู้บงการให้ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่๘ เพื่อให้ตนรอดพ้นจากข้อกล่าวหา นายปรีดีจึงสั่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้น ซึ่งถูกเรียกสั้นๆว่า ศาลกลางเมือง เพื่อทำการสืบสวนกรณีสวรรคต[14]

สถานที่เกิดเหตุ

เหตุเกิดที่ชั้น 2 ของพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมหาราชวัง

แผนผัง พระที่นั่งชั้น 2
ไฟล์:ภาพเคลื่อนไหวจำลองการเคลื่อนไหวหลังเสียงปืนดัง.webm
ภาคเคลื่อนไหวจำลองการเคลื่อนไหวของบุคคลทั้ง8บนพระที่นั่งบรมพิมาน หลังเสียงปืนดัง

สถานที่เกิดเหตุ คือในห้องบรรทมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 8) จากการสอบสวนพบว่า ไม่พบร่องรอยการปีนป่ายจากภายนอก และทางเข้าออกห้องบรรทมมีแค่ทางเดียวในขณะนั้น โดย

  • ด้านเหนือ ทางห้องทรงพระอักษร ถูกลงกลอนจากภายในตลอดและหลังเกิดเหตุ
  • ด้านตะวันตก ติดกับห้องทรงพระสำราญ มีประตู 3 บาน แต่ถูกปิดตายทั้งหมด โดยลงกลอนจากฝั่งห้องบรรทม และฝั่งห้องทรงพระสำราญมีตู้โต๊ะเก้าอี้วางกั้นอยู่ เป็นอันว่า ด้านกลางนี้ไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าออก คงเหลือแค่เพียงทางเดียว คือ
  • ด้านใต้ ตรงส่วนห้องแต่งพระองค์ ซึ่งมีนายชิต นายบุศย์ นั่งเฝ้าอยู่ตลอดเวลาทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ[15]

มีบันได 3 ทางที่เชื่อมชั้นล่างกับชั้น 2 คือ

  • บันไดเวียน ด้านตะวันตก ที่อยู่ระหว่างห้องสมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระอนุชา แต่ถูกปิดตายไว้นานแล้วก่อนเกิดเหตุ[16] และทางเชื่อมห้องสมเด็จพระอนุชาและห้องเครื่องเล่นถูกปิดตาย แต่ประตูที่เหลือเปิดตลอดเวลา[17]
  • บันไดเล็ก ติดกับห้องเครื่องเล่นเชื่อมชั้น 1 กับชั้น 2 และห้องใต้หลังคา เปิดใช้ตอน 7 โมง และจะถูกปิดเมื่อหมดเวลาคือไม่มีแขก เมื่อเปิดใช้จะมียามเฝ้าอยู่ที่ชั้นล่าง[18]
  • บันไดใหญ่ เปิดตลอดเวลา เวลากลางคืนจะมียามเฝ้าชั้นบน วันที่เกิดเหตุ มียามเฝ้าอยู่ข้างล่างคนนึงคือนายพร หอมเนียม[19]
แผนผัง พระที่นั่งชั้นล่าง

ขณะเกิดเหตุมีมหาดเล็กยืนยามอยู่ ดังที่เห็นในภาพคือ มุมหน้าพระที่นั่ง 2 คน ที่บันไดหลังข้างอ่างน้ำพุ 2 คน กับบันไดขึ้นชานชาลาสุดพระที่นั่งด้านตะวันตก 1 คน และมีชาวที่อยู่เวรที่บันไดระหว่างห้องภูษากับห้องเครื่องเล่นอีก[20]

  • ร.ท.ณรงค์ สายทอง เป็นผู้บังคับกองทหารมหาดเล็กที่รักษาพระที่นั่งบรมพิมาน ได้สอบถามทหารยามทั้ง (พลทหาร ขจร ยิ้มรักษา, พลทหาร บุญชู กัณหะ, พลทหาร รอย แจ้งเวหา, พลทหาร ร่อน กลิ่นผล, พลทหารเค้า ดีประสิทธิ์) ที่อยู่เฝ้าประตูพระที่นั่ง ได้ความว่าหลังเสียงปืน ไม่มีคนวิ่งออกมจากพระที่นั่งไปข้างนอกเลย[21]
  • พลทหารขจร ยิ้มรักษา เฝ้าอยู่ที่บันไดพระที่นั่งคู่กับพลทหารบุญชู ก่อนเสียงปืนไม่พบใครผ่านตนเองเข้าไปในพระที่นั่งสักคนเดียว เฝ้าอยู่จนได้ยินเสียงปืนแล้ว ก็ไม่พบว่ามีใครผ่านเข้าออก[22]
  • พลทหารบุญชู กัณหะ เฝ้าอยู่ที่บันไดพระที่นั่งคู่กับพลทหารขจร หลังเสียงปืนไม่เห็นมีใครผ่านขึ้นลง จนถึง 11.00น. ก็ไม่พบเห็นผ่านเข้าออกเลย[23]
  • พลทหารลอย แจ้งเวหา เฝ้าอยู่ที่บันไดข้างซ้ายด้านหลังพระที่นั่งคู่กับพลทหารร่อนอยู่ทางด้านขวา หลังเสียงปืนมีมหาดเล็กเชิญเครื่องเสวย 2 คนผ่านขึ้นลงบันไดกลาง นอกนั้นไม่พบใครผ่าน และก่อนเสียงปืนไม่มีคนแปลกปลอมผ่านไปเลย[24]
  • พลทหารร่อน กลิ่นผล เฝ้าอยู่ทางบันไดหลังคู่กับพลทหารลอย หลังเสียงปืนเห็นมีคนเชิญเครื่องเสวย 2 คนผ่านขึ้นลงบันไดกลาง นอกจากนี้ไม่พบเห็นใครผ่านขึ้นลง[25]
  • พลทหารเค้า ดีประสิทธิ์ เฝ้าอยู่บันไดด้านตะวันตก มีประตูอยู่แต่ถูกปิดตายไว้ และก่อนถึงหลังเสียงปืน ไม่พบเห็นใครผ่านทางประตูที่ตนเฝ้าอยู่เลย[26]
  • นายพร หอมเนียม เฝ้าอยู่บันไดอัฒจันทร์ใหญ่ หลังเสียงปืนเห็นนายมณี บูรณสุตและนายมังกร ภมรบุตรขึ้นๆ ลงๆ นอกจากนี้ไม่พบเห็นมีใครแปลกปลอม[27]
รูปถ่ายพระแท่นบรรทมจากเบื้องพระบาท
รูปถ่ายพระแท่นบรรทมจากเบื้องพระเศียร

โดยพระแท่นบรรทมจะมีพระวิสูตร (มุ้ง) คลุมรอบด้าน และมีเหล็กทับกดอยู่ การเข้าออกต้องแหวกพระวิสูตรเข้าไป และพระวิสูตรไม่มีรอยทะลุ หัวกระสุนพุ่งลงทะลุผ่านพระเศียร และพระเขนย (หมอน) ไปฝังในฟูกที่นอนข้างใต้[28]

การชันสูตรพระบรมศพ

ช่วงแรกหลังเหตุการณ์ ทางรัฐบาลปรีดีในขณะนั้นไม่ได้มีความคิดที่จะต้องชันสูตรพระบรมศพ และกรมขุนชัยนาทฯเองก็ได้ห้ามปรามไว้[29] ต่อมารัฐบาลฯได้ออกประกาศในขณะนั้นสันนิษฐานว่าเป็นอุปัทวเหตุ(โดยพระองค์เอง)[30] และได้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาขึ้นสืบทอดราชบัลลังก์[31] ไม่กี่วันต่อมาฝ่ายปฏิปักษ์ของปรีดีฯนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มนิยมเจ้าได้นำมาเป็นประเด็นทางการเมือง โดยกล่าวหาว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ และมีนายปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้[32] เพื่อสยบข่าวลือและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ นายกปรีดีจึงประกาศจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนขึ้น และดำเนินการชันสูตรพระบรมศพ เพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่าง[33] การชันสูตรพระบรมศพเริ่มวันที่ 26 มิถุนายน 2489[34]

สภาพพระบรมศพเริ่มแรก

ไฟล์:Rama8012.jpg
ภาพจำลองลักษณะท่าทางพระบรมศพ
ไฟล์:Rama8011.jpg
ภาพจำลองลักษณะท่าทางพระบรมศพ
ไฟล์:Rama8013.jpg
อาวุธปืนของกลาง

ต้องอาศัยจากคำให้การบุคคลที่เข้าไปพบพระบรมศพกลุ่มแรก[35]ในการการวิเคราะห์ เนื่องจากว่าภายหลังเมื่อตำรวจไปถึงได้มีการเคลื่อนย้ายและขยับพระบรมศพและวัตถุในที่เกิดเหตุไปจากเดิมแล้ว[36]

สภาพพระบรมศพ ทรงบรรทมหงายพิงพระเขนย (หมอน) คล้ายคนนอนหลับอย่างปกติ มีผ้าคลุมตั้งแต่พระอุระ (อก) ตลอดจนถึงข้อพระบาท (ข้อเท้า) มีพระโลหิต (เลือด) ไหลโทรมพระพักตร์ (หน้า) ลงมาที่พระเขนยและผ้าลาดพระยี่ภู่ พระเศียร (ศีรษะ) ตะแคงไปทางด้านขวาเล็กน้อย บริเวณกึ่งกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงตรงเหนือพระขนง (คิ้ว) ซ้าย มีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณกว้างยาวประมาณ 4 ซม. พระเนตร (ตา) ทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ฉลองพระเนตร (แว่นตา) พระเกศา (ผม) แสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ (ปาก) ปิด พระกร (แขน) ทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกันอยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 ซม. มีปืนของกลางขนาดลำกล้อง 11 มม. วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนานและห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก)

ลักษณะบาดแผล และวิถีกระสุน[37]

ผลการชันสูตรพระบรมศพ

การชันสูตรพระบรมศพเริ่มในวันที่ 26 มิถุนายน 2489 โดยมี นพ.สุด แสงวิเชียร และ นพ.สงกรานต์ นิยมเสน เป็นผู้ลงมือผ่าตัดพระบรมศพด้วยกัน และมี นพ.สงัด เปล่งวานิช เป็นผู้คอยจดบันทึกผล[38]

  • ผลตรวจสอบสารพิษ ไม่พบว่า ร.8 ได้รับสารพิษแต่อย่างใด[39]
  • วิถีกระสุนเข้าทางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณกลางหน้าผากเหนือพระขนง (คิ้ว) ซ้ายเล็กน้อย และ ทะลุออกทางพระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย) โดยมีวิถีเฉียงจากบนลงล่าง และมีทิศทางเอียงจากซ้ายไปขวา[40]
  • บาดแผลที่พระนลาฎ เป็นรูปกากบาท หนังฉีกแยกเป็น 4 แฉก ทั้ง 4 แฉกจดกัน ศูนย์กลางของแผลกากบาทอยู่ที่บริเวณกลางหน้าผากเหนือคิ้วซ้ายประมาณ 1 เซนติเมตร[41]
  • ปากกระบอกปืนต้องกดชิดติดบริเวณบาดแผลเมื่อลั่นไก ไม่เช่นนั้นก็ห่างไม่เกิน 5 เซนติเมตร[42]
  • ไม่พบอาการอาการ “คาดาเวอริค สปัสซัม” (Cadaveric Spasm) ในพระบรมศพ กล่าวคือเป็นอาการเกร็งค้างของกล้ามเนื้ออันเกิดจากสมองตายเฉียบพลัน (ในกรณีนี้คือถูกกระสุนปืน) เนื่องจากส่วนสมองของพระบรมศพถูกกระสุนทำลายฉับพลัน[43] ซึ่งอาจแสดงให้เห็นชัดเจนจากบริเวณ แขน ขา มือ นิ้วมือ เป็นต้น

ความเห็นแพทย์จากการชันสูตร

หลังชันสูตรพระบรมศพ คณะแพทย์ได้ลงความเห็นไว้ว่า

  • ลอบปลงพระชนม์ 16 เสียง
  • ปลงพระชนม์เอง 4 เสียง
  • อุบัติเหตุ 2 เสียง

โดยคณะแพทย์ 20 คน เป็นแพทย์ไทย 16 คน แพทย์ต่างชาติ 4 คน (อเมริกัน 1 คน, แพทย์จากกองทัพบริติชและบริติชอินเดีย 3 คน)[44] และใน 16 คนแรกที่เพิ่งกล่าวถึง 8 คนบอกตัด “อุบัติเหตุ” ออกไปเลยว่าเป็นไปไม่ได้ (หนึ่งในนั้น นพ.ชุบ โชติกเสถียร ตัดการยิงพระองค์เองออกหมดคือ ตัด “ปลงพระชนม์เอง” ด้วย) ที่เหลือเกือบทุกคนใส่ “อุบัติเหตุ” ไว้หลังสุด (คือเรียงลำดับความเป็นไปได้ว่า “ถูกปลงพระชนม์, ปลงพระชนม์เอง หรือ อุบัติเหตุ”)[45] นอกจากนี้แพทย์บางคนที่ไม่เจาะจงตัดอุบัติเหตุทิ้ง ยังให้เหตุผลว่าแม้จะมีความเป็นไปได้ แต่ก็น้อยมากไม่ถึง 1 ในล้าน เช่นนพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเพท และนพ.ใช้ ยูนิพันธ์[46] โดยการนับของแพทย์ นับจากใครเห็นว่าเหตุใดมีน้ำหนักมากสุด ให้นับอย่างนั้นเป็น 1 อย่างอื่นไม่นับ[47]

การวินิจฉัยของศาล

ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลใหม่ได้ทำการสืบสวนต่อ โดยพุ่งเป้าไปที่เป็นการลอบปลงพระชนม์ โดยมีนายชิต นายบุศย์ นายเฉลียว นายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย เป็นจำเลย จากนั้นอัยการได้นำสืบ คดีขึ้นสู่ศาล ทั้ง 3 ศาลวินิจฉัยความเป็นไปได้ดังนี้ จากความเป็นไปได้ทั้ง 4 แบ่งเป็น

การกระทำโดยพระองค์เอง

  • ตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย)
  • ไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ)

การกระทำโดยผู้อื่น

  • ตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์)
  • ไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ)

ศาลชั้นต้น

  1. กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[48]
  2. กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[49]
  3. กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์) ศาลมั่นใจว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[50]
  4. กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[51]

ศาลชั้นอุทธรณ์

  1. กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[52]
  2. กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[53]
  3. กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์) ศาลเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[54]
  4. กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่าให้ตัดข้อนี้ทิ้งโดยไม่มีทางที่จะโต้แย้งได้[55]

ศาลชั้นฎีกา

  1. กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่ามิใช่การกระทำโดยพระองค์เอง[56]
  2. กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่ามิใช่การกระทำโดยพระองค์เอง[57]
  3. กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์) ศาลเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[58]
  4. กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลฎีกาไม่ได้กล่าวถึงข้อนี้[59]

นอกจากนี้ ประเด็นเรื่อง การสวรรคตเพราะอุบัติเหตุโดยการกระทำของผู้อื่น ในข้อสรุปรายงานของคณะกรรมการสอบสวนพฤติการณ์สวรรคต ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2489 ก็ได้สรุปไปในทำนองเดียวกับศาล คือ "อุบัติเหตุเกิดจากการกระทำของผู้อื่นนั้นไม่มีเค้ามูลอันจำต้องพิจารณาถึง"[60]

ความเห็นแย้งศาลอุทธรณ์

หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ทำความเห็นแย้งไว้ในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า คดีนี้ควรพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสาม[61] นอกจากนี้ หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ยังให้ความเห็นว่าอาจเป็นอุบัติเหตุโดยพระองค์เอง ดังที่กล่าวไว้ในในเอกสารความเห็นแย้ง[62] และกล่าวย้ำอีกครั้งในบทสัมภาษณ์ในอีกหลายปีให้หลัง[63]

ผลกระทบ

  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชสืบราชสมบัติเป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"

ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ในเวลานั้น ได้แก่

  1. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
  2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร
  3. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
  • คดีนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างสำคัญประการหนึ่งของรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เนื่องจากรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรีคนถัดจากปรีดี) ไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองสายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากการเมืองไทยภายหลังรัฐประหารครั้งนี้ด้วย

การตั้งคณะกรรมการการสอบสวน

วันที่ 18 มิถุนายน ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อสอบหาข้อเท็จจริงให้ปรากฏ ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีศาลอาญา อธิบดีกรมอัยการ ประธานพฤฒสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สามพระองค์ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นเลขานุการ และนายสอาด นาวีเจริญ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรมในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต

การดำเนินคดี

ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ตำรวจได้ทำการจับกุม นายชิต นายบุศย์ นายเฉลียว และออกหมายจับ นายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย จากพยานและหลักฐานที่มีอยู่ขณะนั้น ศาลนี้เชื่อว่า นายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ได้ร่วมสมคบคิดกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8[64] จึงพิพากษาดังนี้

  • ศาลชั้นต้น มีมติให้ประหารชีวิต นายชิต สิงหเสนี โดยให้ยกฟ้อง นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายเฉลียว ปทุมรส
  • ศาลอุทธรณ์ มีมติให้ประหารชีวิต นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน โดยให้ยกฟ้อง นายเฉลียว ปทุมรส
  • ศาลฎีกามีมติ มีมติให้ประหารชีวิต นายชิต นายบุศย์ และ นายเฉลียว ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ ด้วยการยิงเป้าที่เรือนจำบางขวาง

ทฤษฎีและความเชื่อ

ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรัชกาลที่ 8 มักจะเขียนสาเหตุของการสวรรคตไว้แต่เพียงสั้น ๆ ทำนองว่า "เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง" หลายฉบับอาจระบุสาเหตุเพิ่มเติมด้วย ทำนองว่า "เป็นเพราะพระแสงปืนลั่นระหว่างทรงทำความสะอาดพระแสงปืน" เข้าใจว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการโต้เถียงกรณีสวรรคต

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรณีสวรรคตนี้แม้ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัดเจน จึงทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ซึ่งพยายามจะอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น โดยประเด็นหลักก็คือกรณีสวรรคตนี้ เป็นการปลงพระชนม์โดยบุคคลอื่น หรือรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำการอัตวินิบาตกรรมปลงพระชนม์ตัวพระองค์เอง

สำหรับทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ก็จะต้องอธิบายประเด็นสำคัญให้ได้คือ ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต และประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ จำเลยที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่ากระทำความผิดนั้น แท้จริงเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่

ผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต

ความจริงที่คนไทยโดนหลอกตลอดมา

ของ ผู้เขียน Thailand : A Kingdom in Crisis

ช่วงเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน  2489

ในหลวงอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ของประเทศสยามที่มีพระชนมายุ 21 พรรษา ได้ถูกยิงที่ศีรษะและเสด็จสวรรคตอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ในพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ ตอนเย็นของวันนั้น เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์พระชนมายุ 19 พรรษา ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ได้ครองราชสมบัติตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ขณะนี้พระองค์ทรงชราภาพและเจ็บป่วยบ่อยครั้ง ทรงเก็บพระองค์เองอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช แต่พระองค์ก็ยังคงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยต่อไปอย่างไม่มีกำหนด

โดยทางการแล้ว คดีฆาตกรรมเรื่องนี้ได้ถูกพรรณาไว้ว่าเป็นเรื่องลึกลับ เป็นปริศนาทางอาชญากรรมที่ผิดวิสัยที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก ซึ่งไม่สามารถเฉลยข้อเท็จจริงออกมาได้ในศตวรรษที่ผ่านมา แต่ในความจริงแล้ว มันชัดเจนมาเป็นเวลานานแล้วว่าใครเป็นผู้ปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8  ความจริงได้ถูกปกปิดโดยระบอบเครือข่ายนิยมกษัตริย์ของประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งจากการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันแสนเข้มงวด นั่นคือ กฎหมายอาญามาตรา112  ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เพื่อจัดการบุคคลต่างๆให้กลายเป็นอาชญากร เมื่อมีการสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองของประเทศไทยอย่างเปิดเผยและโดยสุจริตใจ

หลังจากที่ในหลวงอานันท์ได้เสด็จสวรรคตไปเพียงไม่กี่นาที สถานที่เกิดเหตุได้ถูกจัดเปลี่ยนอย่างจงใจเพื่อปกปิดหลักฐานต่างๆว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแท้จริงแล้วคืออะไร บุคคลที่อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในตอนเช้าของวันนัั้น ไม่เคยเปิดเผยความจริงต่อหน้าสาธารณะว่าได้เกิดอะไรขึ้น และบุคคลคนเดียวในขณะนั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ ตัวกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่เคยเปิดเผยเลยว่าอะไรได้เกิดขึ้น และคงจะนำความลับนี้ลงสู่หลุมฝังศพไปพร้อมๆ กับตัวพระองค์เอง ถึงแม้ว่าจะมีการทำลายหลักฐานต่างๆ และข้อเท็จจริงตามที่บุคคลที่เกี่ยวข้องได้โกหกว่าอะไรเกิดขึ้นในกรณีสวรรคต  แต่จุดสำคัญประการแรกคือ ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ลอบสังหารที่ไม่มีใครรู้จัก สามารถหลบหลีกเข้าไปในพระบรมมหาราชวังในตอนเช้าของวันนั้นได้ การนำเอาปืนสั้น โคลท์ .45 อัตโนมัติออกมาจากตู้ที่อยู่ข้างเตียงนอนของพระองค์ ยิงพระองค์ตรงกลางศีรษะด้วยปืนกระบอกนั้น แล้วหลบหนีไปได้โดยที่ไม่มีใครเห็นเลย คนที่เป็นฆาตกรจะต้องเป็นใครคนใดคนหนึ่งที่อยู่พักอาศัยในพระที่นั่งบรมพิมานเท่านััน

แต่ทันทีหลังจากที่ในหลวงอานันท์สวรรคตไปแล้ว กลับมีการกระจายข่าวออกไปอย่างกว้างขวางว่า พระองค์ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมคือฆ่าตัวตายเอง พระชนนีศรีสังวาลย์ ได้ขอร้องกับนายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ ให้ประกาศว่า การสวรรคตเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวในหลวงอานันท์เอง นายปรีดีและรัฐบาลก็ยินยอมทำตามคำขอร้องนั้น แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ในหลวงอานันท์จะยิงพระองค์เองด้วยความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุทำปืนลั่น ในขณะที่ปืนกระบอกนี้จี้อยู่ตรงหน้าผากของพระองค์ขณะที่นอนหงาย และจากวิถีกระสุนที่วิ่งจากหน้าผากผ่านกระโหลกศีรษะทะลุท้ายทอยของในหลวงอานันท์ ขณะฝ่ายนิยมระบอบเจ้าหลายคนที่เป็นนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้เริ่มการปล่อยข่าวว่า นายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ นำการสวรรคตมาแสวงหาผลประโยชน์เพื่อต้องการฟื้นระบอบเจ้าแบบเก่า เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยให้คืนกลับสู่อดีต

วันที่ 13 มิถุนายน2489 อุปทูตชาร์ล ดับเบิ้ลยู โยสท์ (Charge d’affaires Charles W. Yost ) ส่งโทรเลขลับไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน เล่าถึงการสนทนากับนายดิเรก ชัยนาม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เพิ่งเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ภูมิพลที่ได้กล่าวยืนยันกับนายดิเรกว่า ข่าวลือต่างๆ ที่ว่านายปรีดีวางแผนปลงsพระชนม์หรือนายหลวงปลงพระชนม์พระองค์เอง เป็นเรื่องที่ไร้สาระ และพระองค์มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การสวรรคตของในหลวงอานันท์เป็นเรื่องอุบัติเหตุ…… ขณะที่มรว.เสนีย์ ปราโมชส่งหลานและภรรยาของตนไปที่สถานทูตของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีปรีดีเป็นผู้วางแผนทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์

นายปรีดีและรัฐบาลของเขาได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำหน้าที่ค้นหาความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ในวันที่ 18 มิถุนายน 2489ประกอบด้วย ประธานศาลทั้งสามศาล พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา และอนุกรรมการทางการแพทย์จากหลายฝ่าย

ขณะที่ฝ่ายนิยมระบอบเจ้าได้ปล่อยข่าวว่า กษัตริย์ภูมิพลก็กำลังตกอยู่ในอันตรายด้วย และขอการสนับสนุนจากทูตสหรัฐและอังกฤษ เพื่อการทำรัฐประหารรัฐบาลของนายปรีดี โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องพระราชวงศ์ ขณะที่รายงานจากคณะแพทย์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน2489 ลงความเห็นว่ามีคนยิงรัชกาลที่ 8

โทรเลขลับจากเอกอัครราชทูตอังกฤษเซอร์เจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สัน บันทึกการเปิดเผยของนายดิเรก ชัยนาม ว่าทางวังสั่งให้ปกปิดรายงานของคณะแพทย์เป็นความลับห้ามเผยแพร่เด็ดขาด

ความพยายามของรัฐบาลนายปรีดี ที่พยายามชี้ว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุนับเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐบาลเอง แม้ว่านายกปรีดีมีเจตนาจะรักษาศักดิ์ศรีของสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นรัฐบาลนายปรีดีจำเป็นต้องดำเนินการสอบสวนเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจของตน โดยไม่ต้องไปหวั่นเกรงเรื่องใดๆอีกต่อไปโดยอาจมีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ถ้าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนตัวกษัตริย์ เพราะได้เห็นพิรุธชัดเจนว่าฝ่ายราชวังได้รีบทำความสะอาดเพื่อลบร่องรอยพยานหลักฐานก่อนที่จะยอมให้ใครเข้าไปในห้องพระบรรทมที่เกิดเหตุ ส่วนปืนก็ได้ถูกนำมาวางไว้ข้างๆ และมีการจัดฉากสร้างกระแสให้เกิดความสะเทือนใจ และโกรธแค้น เพื่อโหมโจมตีนายกรัฐมนตรีปรีดีอย่างขนานใหญ่หลายระลอก

ส่วนกษัตริย์ภูมิพลแสดงอาการรู้สึกหดหู่อย่างเห็นได้ชัดต่อการสวรรคตของพระเชษฐา กษัตริย์ภูมิพลดูเหมือนป่วยและซึมเศร้าตลอดเวลาไม่อยากพูดจา และเสด็จไปประทับยังเมืองโลว์ซานน์พร้อมพระชนนี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489เพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลว์ซานน์ ถึงแม้ว่าการไว้ทุกข์ยังไม่ครบ 100 วัน แต่พระองค์ยังคงมีอาการซึมเศร้าเสมอ นานๆครั้งจึงจะเข้าไปเรียนในห้องเรียน และไม่เคยเรียนจบปริญญาใดๆเลย ในปลายปี  2489 พระองค์ส่งข้อความว่า จะไม่เสด็จกลับกรุงเทพเพื่อร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพของในหลวงอานันท์ ดูเหมือนว่าพระองค์มีพระประสงค์จะประทับอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกเป็นเวลาสองถึงสามปี เพื่อที่จะได้สำเร็จการศึกษาของพระองค์ โดยไม่มีแนวโน้มเลยว่า จะสามารถไขปริศนาเบื้องหน้าเบื้องหลังให้กระจ่างแจ้งออกมาได้

มีแต่ภูมิพล ที่เป็นคนยิงรัชกาลที่ 8

ในขณะที่การสืบสวนกรณีสวรรคตได้เริ่มเข้มข้นขึ้นถึงจุดที่พุ่งเป้าไปยังกษัตริย์ภูมิพลว่าเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 และต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ รัฐบาลกลัวว่าจะมีผลกระทบที่สั่นคลอนต่อเสถียรภาพในการเปิดเผยเรื่องราวนี้ออกมา และไม่ต้องการให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติ

ขณะที่พวกเจ้าบางฝ่ายได้จัดเตรียมให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นมาดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แทน รัฐบาลนายปรีดีได้ตัดสินใจเก็บข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวโยงถึงกษัตริย์ภูมิพลไว้เป็นความลับและทำการควบคุมการเสนอข่าวสารมิให้โยงใยไปถึงตัวกษัตริย์ภูมิพล ดังนั้น พวกนิยมระบอบเจ้าจึงต้องรีบทำการโค่นล้มรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์เมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน 2490 โดยร่วมมือกับกลุ่มคณะทหารของจอมพล ป  พิบูลสงคราม ใช้การโหมโฆษณาชวนเชื่อที่ว่า นายปรีดี พยายามปกปิดซุกซ่อนหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับกรณีสวรรคต เพื่อสร้างความชอบธรรมให้การยึดอำนาจของพวกเขา นายปรีดี พนมยงค์ได้หลบหนีออกนอกประเทศเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง แล้วทำการกล่าวหาจับกุมมหาดเล็กสองคนคือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนีพร้อมกันกับนายเฉลียว ปทุมรส อดีตราชเลขาธิการ  รัฐบาลนายควงที่มาจากการรัฐประหารได้กล่าวหาว่า พวกเขาร่วมกันวางแผนเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีนายปรีดีเป็นต้นคิดในการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ แต่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร ซึ่งเป็นรัชทายาทของการสืบราชสมบัติ ได้แจ้งกับเอกอัครราชทูตอังกฤษ เจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สันว่ารัฐบุรุษอาวุโสไม่เคยมีส่วนรู้เห็นแต่ประการใดในเรื่องการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และที่สำคัญคือกรณีสวรรคตน่าจะเกิดจากที่พระอนุชาภูมิพลทำปืนลั่นโดยอุบัติเหตุ จึงต้องปกปิดเป็นความลับต่อไปอีกนานรวมทั้งการที่รัฐบาลต้องหาทางแก้ตัวให้กษัตริย์ภูมิพล รัฐบาลนายปรีดีต้องพยายามปกปิดข้อเท็จจริงแต่มันกลายเป็นว่าทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์กลับได้บาป

ในเวลานั้น ได้เกิดความตื่นตระหนกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่กษัตริย์ภูมิพลปฏิเสธที่จะเสด็จกลับจากเมืองโลว์ซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และความกังวลใจเรื่องที่กษัตริย์ภูมิพลมีส่วนรู้เห็นในกรณีสวรรคต ซึ่งจะสั่นสะเทือนสถานภาพของพระองค์  ผู้นำของกลุ่มนิยมระบอบกษัตริย์รวมทั้งนายควง อภัยวงศ์หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเดือนกุมภาพันธ์  2491 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน2490 จากเดือนสิงหาคม2489 จนถึงวันที่เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งจาก หลวงธำรงค์ได้กล่าวต่อเอกอัครราชทูตทอมพ์สันของอังกฤษอย่างหนักแน่นว่า กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกยิงสวรรคตโดยกษัตริย์ภูมิพล โดยที่รัฐบาลของเขาไม่สามารถเปิดเผยข่าวนี้ได้ การสอบสวนที่ดำเนินการในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ได้ตัดเรื่องอัตวินิบาตกรรมหรือฆ่าตัวตายออกไป แต่สาธารณชนไม่ควรรับทราบสิ่งต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่สอบสวนได้ค้นพบ เนื่องจากเหตุผลของความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี นายกรัฐมนตรีหลวงธำรงได้มีคำสั่งห้ามทุกคนเปิดเผยข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนโดยเด็ดขาด

ในเดือนถัดมา หลวงธำรงค์ฯ ได้กล่าวอย่างชัดเจนยิ่งกว่าทุกๆ ครั้ง กับนายเอ๊ดวิน สแตนตั้น (Ambassador Edwin Stanton ) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในการดื่มน้ำชาร่วมกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2491 ที่สถานทูตสหรัฐ ว่ากรณีสวรรคตอันเศร้าสลดคงจะต้องเป็นความลับสุดยอดของประเทศไปแล้ว แม้ว่าหลักฐานต่างๆที่มีการรวบรวมกันในขณะที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น มีแนวโน้มที่จะพัวพันเชื่อมโยงมุ่งไปที่กษัตริย์ภูมิพลองค์ หลวงธำรงค์และนายปรีดีเองต่างก็อยู่ในสถานการณ์น้ำท่วมปากแบบเดียวกัน เพราะถ้ามีการเปิดเผยว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้เกี่ยวข้องกรณีสวรรคตอย่างแท้จริง เชื่อว่ากษัตริย์ภูมิพลคงจะต้องสละราชสมบัติ และคงเกิดเรื่องสับสนอลหม่านติดตามมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตจะเป็นรัชทายาทผู้สืบราชสมบัติองค์ต่อไป แต่พระองค์เจ้าจุมภฏฯ และพระชายาไม่ได้รับความนิยม รัชทายาทองค์ต่อมาจากพระองค์เจ้าจุมภฏคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ก็ไม่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ขณะที่อำนาจของสถาบันกษัตริย์ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย

และพี่น้องตระกูลปราโมชคือ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์และ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ได้ร่วมกันวางแผนเตรียมการประกาศว่า กษัตริย์ภูมิพลได้ทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ โดยพวกเขาหวังว่าจะเป็นการบังคับให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติเพื่อเปิดทางให้กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

นายเคนเนท แลนดอน ( Kenneth Landon )ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานฝ่ายเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งโทรเลขถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2491 มีข้อความว่า…รายงานล่าสุดจากแหล่งข่าวหลายแห่ง ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกับการลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ ส่งผลให้ นายควง เตรียมที่จะแถลงการณ์ว่า กษัตริย์ภูมิพลปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์โดยอุบัติเหตุ ซึ่งกษัตริย์ภูมิพลจะสละราชสมบัติ  ต่อจากนั้นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร จะได้รับการสถาปนาให้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป เนื่องจากพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรเป็นคนที่มีวุฒิภาวะสูง รวมทั้งมีความมั่งคั่งอย่างมากด้วย พร้อมทั้งมีประสบการณ์อย่างยาวนานด้านการเมืองภายในวัง  แต่จอมพล ป พิบูลสงคราม ยืนกรานคัดค้านข้อเสนอของนายควงที่จะให้พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป แม้ว่ากษัตริย์ภูมิพลจะปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์ด้วยความตั้งใจหรือเป็นอุบัติเหตุก็ตาม จอมพลป.และนายปรีดีเป็นคู่ปรปักษ์หรือศัตรูทางการเมืองซึ่งสังกัดอยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน แม้ว่าเขาทั้งสองเห็นพ้องต้องกันในการต่อต้านไม่ให้สถาบันกษัตริย์กลับคืนสู่อำนาจอีก แต่พวกเขาไม่ได้ต่อต้านกษัตริย์ภูมิพลเพราะว่าพระองค์ยังไม่ได้เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวและไม่มีบริวารห้อมล้อม จอมพล ป ซึ่งเป็นนายทหารผู้มีอิทธิพลมากของกองทัพ ได้รีบทำรัฐประหารล้มรัฐบาลของนายควง ในเดือนเมษายน  2491  เพราะจอมพล ป. ต้องการให้กษัตริย์ภูมิพลครองราชบัลลังก์ต่อไป โดยจะใช้พยานหลักฐานในคดีสวรรคตมาต่อรองผลประโยชน์กับกษัตริย์ภูมิพลได้ในภายหลัง

เฉลียว บุศย์ และชิต ในศาล

การพิจารณาคดีการเสด็จสวรรคตของในหลวงอานันท์ได้เริ่มขึ้น ในตอนบ่ายของวันพุธที่ 28 กันยายน 2491 โดยมีมหาดเล็กสองคนคือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนี รวมทั้งนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งเป็นอดีตราชเลขาธิการ  ถูกกล่าวหาว่า สมคบกันทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ การพิจารณาคดีและการอุทธรณ์ได้ถูกดึงให้ยืดเยื้อเป็นเวลามากกว่า 6 ปี

ในท้ายที่สุด กษัตริย์ภูมิพลได้เสด็จกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างเมื่อเดือนมีนาคม  2493 เพื่อร่วมพระราชพิธีพระบรมศพฯพระเชษฐาของพระองค์ และเข้าพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ รวมทั้งพิธีราชาภิเษกสมรสกับ มรว.หญิงสิริกิติ์ กิติยากร  แล้วพระองค์ก็เสด็จออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2493 ซึ่งเป็นเวลาเพียงสองสามวัน ก่อนที่จะครบรอบการเสด็จสวรรคตของพระเชษฐา  ต่อมาพระองค์จึงได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์เมื่อปลายปี  2494  กษัตริย์ภูมิพลทรงทราบดีว่า นายบุศย์ ปัทมศริน, นายชิต สิงหเสนี และนายเฉลียว ปทุมรส ไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ เกี่ยวกับการปลงพระชนม์ของพระเชษฐาของพระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่กระทำการใดๆ เพื่อช่วยชีวิตของพวกเขา  บุคคลทั้งสามได้ถูกประหารชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 ด้วยข้อหาอาชญากรรมที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำแต่อย่างใด

กษัตริย์ภูมิพลได้เปลี่ยนคำให้การของพระองค์เองหลายครั้ง ทั้งๆที่กษัตริย์ภูมิพลเคยยืนยันอย่างแข็งขันไม่กี่วันหลังจากที่พระเชษฐาสวรรคตว่ามันเป็นอุบัติเหตุ แต่พระองค์กลับยกเลิกคำให้การเหล่านั้นในการพิจารณาคดีครั้งต่อมา โดยพระองค์หันไปเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหลายเรื่อง ที่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือคือให้ร้ายนายเฉลียว ปทุมรส  กษัตริย์ภูมิพลได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์ บีบีซี ซึ่งออกอากาศเมื่อปี 2523 โดยแก้ตัวว่า การคดีสวรรคตเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อน จากการอำพรางคดีโดยบุคคลหลายคนที่มีอำนาจมากทั้งในและต่างประเทศที่ไม่ทราบว่าเป็นใครบ้าง

ระหว่างปีทศวรรษ  2530กษัตริย์ภูมิพลยังได้ให้นายวิลเลียม สตีเวนสัน (William Stevenson )นักเขียนชาวแคนาดา เขียนชีวประวัติกึ่งทางการโดยกษัตริย์ภูมิพลแต่งเรื่องว่านายมาซาโนบุ ซูจิ ( Masanobu Tsuji )นายทหารที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นได้ลักลอบเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง โดยปลอมตัวเป็นพระภิกษุ

ทั้งๆที่นายมาซาโนบุ ซุจิ ผู้นี้ไม่ได้อยู่ใกล้กรุงเทพเลย ในขณะที่ในหลวงอานันท์ถูกปลงพระชนม์ การเปลี่ยนเรื่องราวครั้งแล้วครั้งเล่าไปเรื่อยๆของกษัตริย์ภูมิพลเอง แสดงให้เห็นพิรุธว่า กษัตริย์ภูมิพลพยายามปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน  2489  โดยที่กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยให้คำอธิบายที่น่าเชื่้อถือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกเกี่ยวที่ภายในวงการระดับสูงของประเทศไทย กลับรับรู้กันมาตลอดว่า กษัตริย์ภูมิพลเองที่เป็นผู้ปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งอาจจะเป็นอุบัติเหตุ

บันทึกของนางมากาเร็ต แลนดอน

(Margaret Landon)

นางมากาเร็ต แลนดอนเป็นภรรยาของนายเคนเนท แลนดอน (Kenneth Landon )นักการทูตสหรัฐอเมริกาเมื่อปี  2514 ได้เขียนบันทึกด้วยลายมือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตเก็บไว้ที่หอสมุดวิทยาลัยวีตั้น ( Wheaton College ) สหรัฐอเมริกา  อ้างการสนทนากับนางลิเดีย ณ ระนอง ( Lydia Na Ranong ) ซึ่งเป็นผู้หญิงที่เกิดในตระกูลผู้ดีของจีนและเป็นคนสนิทของกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูงในกรุงเทพฯที่ได้เล่าเรื่องราวที่ได้ยินมาจากแวดวงของพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ว่า มหาดเล็กทั้งสองคน คือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนี ได้รู้เห็นต่อการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์

โดยที่อดีตราชเลขาธิการ คือ นายเฉลียว ปทุมรส มีความสัมพันธ์เป็นชู้สาวกับนางสังวาลย์ และอยู่ในห้องบรรทมของพระนางในขณะที่ในหลวงอานันท์ถูกยิงสวรรคต โดยพระนางสังวาลย์ ซึ่งเป็นพระชนนีมาจากตระกูลสามัญชนและไม่เคยได้รับความชื่นชอบ จากกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่เลย

พระนางเจ้าสว่างวัฒนาส่งเจ้าฟ้ามหิดลไปเรียนที่อเมริกา ได้ส่งเด็กสาวให้เป็นผู้ติดตามไปด้วยสองคนไปเรียนให้ดูเหมือนว่าไปเรียนด้วยกัน แต่ที่จริงแล้วก็ส่งไปเป็นเมียน้อยเพื่อประกบเจ้าฟ้ามหิดล เพราะพระนางสว่างวัฒนากลัวว่าเจ้าฟ้ามหิดลจะไปได้ผู้หญิงต่างชาติเป็นเมีย

แต่เจ้าฟ้ามหิดลได้ตกหลุมรักกับนางสาวสังวาลย์และตัดสินพระทัยที่จะอภิเษกสมรสกับเธอ ซึ่งได้สร้างความตกตะลึงในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์เป็นอย่างมาก โดยมีแนวโน้มว่าพระนางเจ้าสว่างวัฒนาและรัชกาลที่ 6 คงยังคงปฎิเสธที่จะจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส แต่เจ้าฟ้ามหิดลเองได้วางแผนให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้ประกอบพิธีอภิเษกสมรสให้จนสำเร็จ แต่พระบรมวงศานุวงศ์ก็ยังแสดงความเกลียดชังต่อนางสังวาลย์ตลอดมา

ในตอนเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ในหลวงอนันท์อานันท์ยังประชวรอยู่ โดยบรรทมอยู่บนเตียงพร้อมกับหยิบปืนขึ้นมาเล่น เจ้าฟ้าชายภูมิพลเสด็จเข้ามาข้างในห้องบรรทม ในหลวงอานันท์จับปืนขึ้นจ่อมาที่พระเศียรของเจ้าฟ้าภูมิพลและกล่าวว่า “ ฉันสามารถฆ่าเธอได้ ” แต่เจ้าฟ้าภูมิพลก็แย่งปืนมาและยกปืนจ่อที่พระเศียรของในหลวงอานันท์ แล้วกล่าวว่า “ ฉันก็ฆ่าเธอได้เช่นกัน ”  ในหลวงอานันท์ ร้องว่า “ เหนี่ยวไกเลย  เหนี่ยวไกเลย ”

ฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์เชื่อว่า การสืบราชสมบัตินั้นจะถูกผ่านมายังพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทั้งๆที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ถูกกันออกไปแล้วตามพระประสงค์ของรัชกาลที่ 6เนื่องจากว่า พระมารดาของพระองค์เป็นชาวรัสเซีย บุคคลที่น่าจะได้รับการเลือกให้สืบราชบัลลังก์ตามหลักแล้วน่าจะเป็นพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร แต่พระองค์ไม่มีพระโอรส และมีแต่เพียงพระธิดา ซึ่งสมรสกับผู้ชายชาวฝรั่งเศส นายปรีดี พนมยงค์ มีจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งเขียนโดยจอม ป พิบูลสงคราม  1 ปีก่อนหน้าที่จอมพลแปลกจะถึงแก่อสัญกรรม โดยยอมรับสารภาพว่า ข้อกล่าวหาให้ร้ายนายปรีดีในกรณีสวรรคตล้วนเป็นเรื่องเท็จทั้งสิ้น และตัวจอมพล ป.เอง ก็รู้ดีในเรื่องนี้เจ้าฟ้าภูมิพลก็ทำตามนั้นและก็ได้สังหารหรือปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์จริงๆ นางลิเดียเชื่อว่า การปลงพระชนม์เป็นอุบัติเหตุ และมันเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีการจัดการสะสางข้อเท็จจริงกันเลย เจ้าฟ้าภูมิพลตกใจจนลนลานและหวาดกลัวสุดขีด  หลังจากนั้น มหาดเล็กสองคนก็ต้องถูกประหารชีวิตเนื่องจาก ได้เห็นการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นตรงหน้า   พระบรมวงศานุวงศ์เชื่อว่า พระชนนีสังวาลย์ควรจะต้องยืนกรานที่จะเปิดเผยความจริงให้เป็นที่รับรู้กัน เพราะพวกเขาเชื่อว่าการสวรรคตเป็นเรื่องของอุบัติเหตุโดยแท้ มิใช่การฆาตกรรมหรือเจตนาปลงพระชนม์  และประชาชนควรได้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้น เจ้าฟ้าภูมิพลควรสละราชสมบัติไปเป็นพระภิกษุตลอดชีวิตและยินยอมให้ราชสมบัตินั้นเปลี่ยนผ่านไปยังสมาชิกของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นแทน วิธีการนี้จะเป็นวิถีทางที่น่ายกย่องซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุจริตใจ

จำเลยทั้งสามเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่

ข้อสังเกตคือ ระหว่างที่การสืบสวนโดยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กำลังคืบหน้านั้น คณะทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ก่อรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งให้ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง พล.ต.ต. พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) (พี่เขยของหม่อมราชวงศ์เสนีย์และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พรรคประชาธิปัตย์) อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ให้กลับเข้ารับราชการ เพื่อทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ นำไปสู่การจับกุมจำเลยทั้งสามในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เพียง 12 วันหลังรัฐประหาร และหลังจากการจับกุมนั้น พระพินิจชนคดีก็ยังไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ทันในระยะเวลาสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดคือ 90 วัน รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีจึงได้เสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ขยายกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีสวรรคตได้เป็นพิเศษ ให้ศาลอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาได้หลายครั้ง รวมเวลาไม่เกิน 180 วัน[65] ก่อนการประหารชีวิต เฉลียว ปทุมรส 1 ใน 3 จำเลยของคดีดังกล่าว ได้ขอพบพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และเล่ากันว่า เฉลียวได้บอกชื่อฆาตกรตัวจริงให้พลตำรวจเอกเผ่าทราบ[ต้องการอ้างอิง]

และถึงแม้สังคมบางส่วนจะว่าปรีดีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต แต่กรณีคดีของจำเลยทั้งสามที่ถูกประหารชีวิตไปก็ไม่เคยถูกรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่เลย ทั้งในกระบวนการยุติธรรมหรือการศึกษาหาความจริงใหม่ ทั้งที่ข้อกล่าวหาของจำเลยทั้งสามและปรีดีนั้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด (ข้อกล่าวหาคือ "ปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของจำเลยทั้งสาม")[66] และมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าอย่างน้อยหนึ่งในสามจำเลยน่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์[65]

ความเชื่อว่าทรงทำอัตวินิบาตกรรม

ทฤษฎีนี้มุ่งอธิบายประเด็นความขัดแย้งในราชสำนัก และเหตุผลที่ทำให้ในที่สุดรัชกาลที่ 8 ทรงตัดสินใจเช่นนั้น เอกสารสำคัญที่เสนอทฤษฎีนี้ก็คือหนังสือ The Devil’s Discus: An Enquiry Into the Death of Ananda, King of Siam โดย เรนย์ ครูเกอร์ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2507 หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อ กงจักรปีศาจ

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) เคยเขียนวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ลงใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ว่าหนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลที่ผิดพลาด รวมถึงวิจารณ์ตัวนายปรีดีและผู้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากสุลักษณ์เชื่อว่าปรีดีมีส่วนเกี่ยวของกับการปลงพระชนม์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในภายหลัง สุลักษณ์ได้เขียนเล่าในปาจารยสาร ฉบับกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2550 ว่าการเขียนวิจารณ์ในครั้งนั้นเป็นเพราะเขาหลงเชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่อ และต่อมาเขาจึงไถ่บาปด้วยการเขียนหนังสือเกี่ยวกับปรีดี และต่อมามีการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Powers That Be: Pridi Banomyong through the Rise and Fall of Thai Democracy[67][66]

อ้างอิง

  1. https://www.youtube.com/watch?v=5WzWy_BPxL0 ตั้งแต่นาทีที่8.30-9.30 อ.สมศักดิ์ได้ตั้งคำถามถึงสาเหตุที่สังคมไม่ยอมพูดเรื่องนี้ รวมทั้งบุคคลสำคัญๆเช่น ดร.ป๋วย และ ดิเรก ชัยนาม
  2. ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ หน้า ๑ ตอนที่ ๓๙ เล่มที่ ๖๓
  3. ประกาศสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสืบราชสันตติวงศ์ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๙ มิถุนายน ๒๔๘๙.
  4. อ้างอิงเรื่องการค้นพบแผลที่ท้ายทอย http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_8
    • คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 207/2489 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2489
    • หน้า 31-32 อ้างอิงคำชี้แจงของพันเอกช่วงฯ รัฐมนตรีมหาดไทย ในหนังสือ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคตร.๘ จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภาคเอกชน (ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2543)
    • หน้า 33-35 อ้างอิงเอกสารลับสุดยอด ของเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศอังกฤษ (ฉบับแปลไทย) ในหนังสือ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคตร.๘ จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภาคเอกชน (ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2543)
    • หน้า 140-143 อ้างอิงเอกสารลับสุดยอด ของเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศอังกฤษ (สำเนาเอกสารฉบับจริง) ในหนังสือ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคตร.๘ จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภาคเอกชน (ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2543)
    • หน้า 46 และ 52 หนังสือ จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ โดย ปรีดี พนมยงค์ (ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 5 เมื่อเดือน กันยายน 2543 http://www.openbase.in.th/files/pridibook083.pdf
    • หน้า 33-35 หนังสือ ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลา, 2544
    • หน้า 21-22 (ในส่วนคำนำ) และ 15-23 (ในบท ปรีดี พนมยงค์ กับกรณีสวรรคต) ในหนังสือ "เรื่องนายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์" (ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 4 เมื่อ มีนาคม 2543) จัดจำหน่ายโดย บริษัท เคล็ดไทย จำกัด http://www.openbase.in.th/files/pridibook179.pdf
    • หน้า 44 หนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดย สุพจน์ ด่านตระกูล (ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 3) เมื่อ สิงหาคม 2544 http://www.openbase.in.th/files/pridibook227.pdf
    • หน้า 83 หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ โดยบุญร่วม เทียมจันทร์
    • สุลักษณ์ ศิวรักษ์ กล่าวไว้ในนาทีที่ 10.05-10.15 ในบทสัมภาษณ์ในรายการ ตอบโจทย์ฯ-สถาบันพระมหากษัตริย์ วันที่ 14 มีนาคม 2013 https://www.youtube.com/watch?v=BKeEALhJ-o0
    • จากคำยืนยันของหลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ กรณีนายตี๋มาสารภาพบาปเรื่องรับจ้างเป็นพยานเท็จ https://www.youtube.com/watch?v=g4k3vAa-KxM ตัดมาบางส่วนจากสารคดีปรีดี พนมยงค์ https://www.youtube.com/watch?v=bTe9bUY8jic
    • คำสารภาพของนายตี๋ ศรีสุวรรณ 25 มกราคม 2522 หน้า 289-292 อ้างอิงจากจดหมายฉบับจริง ในหนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดย สุพจน์ ด่านตระกูล (ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 3) เมื่อ สิงหาคม 2544
    • พินัยกรรมของ พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) หน้า 232-257 และ 259-288 (สำเนาฉบับจริง) หนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดย สุพจน์ ด่านตระกูล (ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 3) เมื่อ สิงหาคม 2544
    • หน้า 26 และ 65 ในหนังสือ "นายปรีดี พนมยงค์ กับแผนลอบปลงพระชนม์ของ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี" โดยสุพจน์ ด่านตระกูล (ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 3) เมื่อ กันยายน 2543
  5. หน้า 72-73 อ้างอิงประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 23 ตอนที่ 45 วันที่ 25 มิถุนายน 2489 ในหนังสือ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคตร.๘ จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภาคเอกชน (ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2543)
  6. หน้า 66 หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์
  7. หน้า 70 หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์
  8. สรรใจ แสงวิเชียร และ วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 และ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.8 หน้า 17 หน้า 7–20
  9. หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ หน้า 116-117 โดยบุญ่รวม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำให้การนายชิต
  10. บุญร่วม เทียมจันทร์. คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8. หน้า 20[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  11. อ้างอิงหนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับบสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 หน้า 51 101 148 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์
  12. ดูหนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ร.8 ฉบับสมบูรณ์ หน้า 130-131 อ้างอิงคำให้การสมเด็จพระราชชนนี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2493 ณ สถาณเอกอัครราชทูตไทย ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล
  13. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต(ฉบับสมบูรณ์) หน้า 43-46 โดยสุพจน์ ด่านตระกูล
  14. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต(ฉบับสมบูรณ์) หน้า 148-149 โดยสุพจน์ ด่านตระกูล อ้างอิงมาจาก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2497
  15. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต(ฉบับสมบูรณ์) หน้า 162-163 คำให้การพระพี่เลี้ยงเนื่อง
  16. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต(ฉบับสมบูรณ์) หน้า 158 คำให้การของ นายเวศน์ สุนทรรัตน์ มหาดเล็กห้องพระบรรทมในหลวงองค์ปัจจุบัน
  17. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต(ฉบับสมบูรณ์) หน้า 163 คำให้การพระพี่เลี้ยงเนื่อง
  18. * ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์) หน้า 388 อ้างอิงความเห็นแย้งหลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์
    • หนังสือ คำตัดสินใหม่ กรณีสวรรคต ร.๘
  19. คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.๘ คำพิพากษาฉบับสมบูรณ์ที่สุด พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ หน้า 477-478 อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และหน้า 580 อ้างบันทึกความเห็นแย้งของหลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  20. หนังสือบันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ หน้า 442-443 อ้างอิง คำให้การ ร.ท.ณรงค์ สายทอง
  21. หนังสือบันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ หน้า 451 อ้างอิง คำให้การ พลทหารขจร ยิ้มรักษา
  22. หนังสือบันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ หน้า 453 อ้างอิง คำให้การ พลทหารบุญชู กัณหะ
  23. หนังสือบันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่๘ หน้า 454-454 อ้างอิง คำให้การ พลทหารลอย แจ้งเวหา
  24. หนังสือบันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ หน้า 456-457 อ้างอิง คำให้การ พลทหารร่อน กลิ่นผล
  25. หนังสือบันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ หน้า 457 อ้างอิง คำให้การ พลทหารเค้า ดีประสิทธิ์
  26. หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 หน้า 581 ของบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงจากความเห็นแย้งของหลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์
  27. * กรณีสวรรคต ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙, หน้า 133-134
    • คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.๘ (ฉบับสมบูรณ์) พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 หน้า 190 219 334 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์
    • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์) โดยสุพจน์ ด่านตระกูล
    • http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/2.html, ปริศนากรณีสวรรคต ตอนที่ 2
  28. หนังสือของเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล หน้า 26 อ้างอิงจากประกาศสำนักพระราชวัง ดู พระราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ หน้า1 ตอนที่ 39 เล่ม 63
  29. หนังสือ รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (๒๔๗๕-๒๕๑๗) หน้า 534-535 ของนายประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ อ้างอิงรายงานการประชุมรัฐสภา
    • หนังสือ ขอเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ หน้า 25-26 และ 44-45
    • http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/blog-post_15.html ราชนิกูลชั้นสูงบางคน (ระดับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ) ได้ไปพบทูตอังกฤษประจำไทย ปล่อยข่าวว่าในหลวงอานันท์ถูกลอบปลงพระชนม์อย่างแน่นอน อ้างอิงจาก หนังสือคำพิพากษาใหม่กรณีสวรรคต ร.8, 2523, หน้า199-201
    • มีคนไปตะโกนว่า ปรีดีฆ่าในหลวง ต่อมาถูกจับได้และได้ซักทอดไปยังสส.พรรคประชาธิปัตย์ ดู หน้า 10 บทความ-การ์ตูน, เลียง ไชยกาล: เจ้าของกระทู้ล้มรัฐบาล (2). "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,235: วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
    • บทสัมภาษณ์ในรายการ ตอบโจทย์ฯ-สถาบันพระมหากษัตริย์ วันที่ 14 มีนาคม 2013 ตั้งแต่นาทีที่ 10.04-10.35 ดู https://www.youtube.com/watch?v=BKeEALhJ-o0
    • คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 207/2489 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2489
    • จอมพลประภาสกล่าวว่ามีการล่อยข่าว จากบทสัมภาษณ์จอมพลประภาส ดูหนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ หน้า 346 โดยสุพจน์ ด่านตระกูล
    • ดูหนังสือ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคต ร.๘ โดยคำพิพากษาศาลแพ่ง ตีพิมพ์ 14 มิถุนายน 2522 โดย โครงการฉลอง100ปี ชาตกาล หน้าที่ 29-30 และหน้า 31-32ที่กล่าวถึงว่ามีการโทรศัพท์ไปปล่อยข่าวลือให้ร้ายรัฐบาลปรีดี
  30. หนังงสือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ หน้า 45-46 โดยสุพจน์ ด่านตระกูล อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 24 ตอนที่ 45 วันที่ 25 มิถุนายน 2489
    • หนังสือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ หน้า 60 โดยสุพจน์ ด่านตระกูล อ้างอิง คำให้การนายแพทย์นิตย์ฯ ต่อศาลสถิตยุติธรรม เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2492
    • หนังสือ เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต หน้า 125 โดย นพ.สุด แสงวิเชียร
  31. หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ ลอบปลงพระชนม์ ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจัน อ้างอิงคำให้การของ นายชิต นส.จรูญ พระพี่เลี้ยงเนื่อง พระอนุชา
  32. คำให้การบุคคลกลุ่มแรกใน * หนังสือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ หน้า 125-129 และหน้า 222-223 โดยสุพจน์ ด่านตระกูล
    • หน้งสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 หน้า 69 และ 108-109 โดย บุญร่วม เทียมจันทร์
  33. อ้างอิงจาก
    • ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต หน้า 9-10
    • พจน์ ด่านตระกูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์) โดยสุพจน์ ด่านตระกูล หน้า 50-51
    • หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ หน้า 374
    • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "http://somsakwork.blogspot.jp/2007/11/2.html ตรงส่วนลักษณะพระบรมศพ
  34. หน้า 372-373 หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8 ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
  35. หนังสือ บันทึกการสอบสวรกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ โดยคณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษยอาวุโส หน้า 270-272 หนังสืออ้างอิงคำให้การ นพ.อวย เกตุสิงห์ ให้การต่อศาลกลางเมือง และหน้า 67 ใบรับรองผลการตรวจสอบหาสารพิษ โดย กัปตัน ไอ.เอม.เอส ปาโถโลยีส อ้างอิงจาก ข่าวโฆษณาการ ฉบับพิเศษ 5, วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2489
    • หนังสือ เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต บันทึกของ นพ.สุด แสงวิเชียง ยืนยันว่าไม่พบสารพิษแต่อย่างใด
    • หน้า 375 หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8 ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
  36. หนังสือ เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต หน้า 9-10 บันทึกของนพ.สุด แสงวิเชียง https://issuu.com/angkut/docs/____________________________________b0fd570cdb522f
    • หนังสือ บันทึกการสอบสวรกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ โดยคณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส หน้า 324 อ้างอิงเอกสารลงนามโดย พลตำรวจโทพระรามอินทรา
    • หนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ร.8 ฉบับสมบูรณ์ หน้า 50-51 อ้างอิงคำให้การ นพ.นิตย์ เมื่อ 15 มกราคม 2492 โดย สุพจน์ ด่านตระกูล
    • หน้า 374 และ 403 หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8 ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
  37. หน้า 372-373 หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8 ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
  38. http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/2.html ลักษณะพระบรมศพ
    • หน้า 376 และ 378 หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8 ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงจาก ความเห็นคณะแพทย์ ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
  39. หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 หน้า 59 60 226 228 400 433 444 620 อ้างอิงคำพิพากษาศาล ชั้นต้น, อุทธรณ์, ฎีกา โดย บุญร่วม เทียมจันทร์
  40. ดูหนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.๘ ฉบับสมบูรณ์หน้า พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 59-60 โดยบุญ่รวม เทียมจันทร์
  41. * http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/2.html ปริศนากรณีสวรรคต ตอนที่ 2 โดยดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
    • แถลงการณ์กรมตำรวจเรื่องรายงานของแพทย์เกี่ยวกับพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ตีพิมพ์ใน สรรใจและวิมลพรรณ, กรณีสวรรคต ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙, หน้า ๔๔-๔๙ และ บันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘, หน้า ๕๗-๖๕
  42. หน้า 208 และ 226 หนังสือ บันทึกการสอบสวรกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ โดยคณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษยอาวุโส
  43. หนังสือ บันทึกการสอบสวรกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ โดยคณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษยอาวุโส หน้า 184 อ้างอิงคำให้การ นพ.ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์
  44. หน้า 231-232 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลอาญา 27 กันยายน 2494
  45. หน้า 232-233 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลอาญา 27 กันยายน 2494
  46. หน้า 229-230 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลอาญา 27 กันยายน 2494
  47. หน้า 232 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลอาญา 27 กันยายน 2494
  48. หน้า 408 และ 543-544 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 28 ตุลาคม 2496
  49. หน้า 406 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุธรณ์ 28 ตุลาคม 2496
  50. หน้า 475-476 และ 487 และ 523 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 28 ตุลาคม 2496
  51. หน้า 402 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 28 ตุลาคม 2496
  52. หน้า 620 และ 640 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา 12 ตุลาคม 2497
  53. หน้า 620 และ 640 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา 12 ตุลาคม 2497
  54. หน้า 633-634 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา 12 ตุลาคม 2497
  55. ไม่มีการพูดถึงกรณีนี้ในคำพิพาษาศาลฎีกา ดูหน้า 611-634หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา 12 ตุลาคม 2497
    • ดูหนังสือ "คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คดีประทุษฐ์ร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่๘" จัดพิมพ์โดย โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์ http://www.openbase.in.th/files/pridibook232.pdf
    • หนังสือ "คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา พร้อมด้วยคำแถลงของอัยการโจทย์ ความอาญาคดีประทุษฐร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่๘" หนังสือที่ระลึกในงานทำบุญอายุครบ ๕รอบ มลว.บุญรับ พินิจชนคดี 10 มกราคม 2498
  56. หนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต(ฉบับสมบูรณ์) โดยสุพจน์ ด่านตระกูล ตีพิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ. 2544 หน้า81
  57. หน้า 568 และ 587 หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงความเห็นแย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยหลวงปริพนธ์พจน์พิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 28 ตุลาคม 2496
    • หน้า 501 หนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์) โดยสุพจน์ ด่านตระกูล อ้างอิงเสาเนาเอกสารฉบับจริง ของหลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์
    • หนังสือ ความเห็นแย้งคำพิพากษากรณีสวรรคต โดย นเรศ นโรปกรณ์ http://www.su-usedbook.com/product.detail_15673_th_5257164
    • หนังสือ "ข้อโต้แย้งกรณีสวรรคต กับ ความเห็นแย้ง โดย หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์" โดยสุพจน์ ด่านตระกูล http://khunmaebook.tarad.com/product.detail_646347_th_4841072#
  58. หน้า 577หนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.๘ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดยบุญร่วม เทียมจันทร์ อ้างอิงความเห็นแย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยหลวงปริพนธ์พจน์พิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 28 ตุลาคม 2496
    • หน้า 379 หนังสือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์) โดยสุพจน์ ด่านตระกูล อ้างอิงเสาเนาเอกสารฉบับจริง ของหลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์
    • หน้า 164 อ้างอิงความเห็นแย้งหลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ในหนังสือคำตัดสินใหม่กรณีสวรรคตร.๘ ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2543 โดยคณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปีชาตกาลนายปรีดี พนมยงค์ http://www.openbase.in.th/files/pridibook231.pdf
  59. หน้า 188 อ้างอิงบทสัมภาษณ์พิเศษ หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ โดยนเรศ นโรปกรณ์ ในหนังสือคำตัดสินใหม่กรณีสวรรคตร.๘ ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน2543 โดยคณะกรรมการดำเนินงานฉลอง100ปีชาตกาลนายปรีดี พนมยงค์ http://www.openbase.in.th/files/pridibook231.pdf
  60. * https://www.youtube.com/watch?v=k48gueRlkwg, ดร.สมศักดิ เจียมธีรสกุล กล่าวถึงกระบวนการเอาผิดจำเลยทั้งสาม
    • หนังสือ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฏีกา คดีประทุษฐ์ร้าย
    • หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.๘ (ฉบับสมบูรณ์) พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2551 โดย บุญร่วม เทียมจันทร์
  61. 65.0 65.1 สุพจน์ ด่านตระกูล, ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต, นิตยสารสารคดี, เมษายน พ.ศ. 2543
  62. 66.0 66.1 กานต์ ยืนยง, บทความ: เมื่อเราถูกสาป ให้จดจำประวัติศาสตร์อย่างกระพร่องกระแพร่ง, ประชาไท, 1 มีนาคม 2551
  63. ปาจารยสาร, 32: 1 (กันยายน-ตุลาคม 2550), หน้า 80-82

เอกสารอ่านเพิ่ม

บทความภาษาไทย

  • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์
  • รายละเอียดและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนพฤติการณ์ในการที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต. ดุลพาห, 28 (1 ม.ค.–ก.พ. 2534): 68-134.
  • ชาลาดิน ชามชาวัลลา (นามแฝง). ว่าด้วยแอกอันหนึ่งในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. ปาจารยสาร, 28 (3 มี.ค.–มิ.ย. 2545): 29-38.
  • พุทธพล มงคลสุวรรณ. กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489: ความทรงจำและการเมืองของความทรงจำ = The mysterious death of King Rama VIII on june 9, 1943: Memories and the politics of memories. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 23 (3 2546): 201-237.
  • ปรามินทร์ เครือทอง. หลักฐานประวัติศาสตร์ที่เหลืออยู่กรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8. ศิลปวัฒนธรรม. 24 (7 พ.ค. 2546): 114-121.
  • ส. ศิวรักษ์ (นามแฝง). คำวิจารณ์หนังสือ "พระราชาผู้อภิวัฒน์" (The Revolutionary King: The True Life Sequel of the King and I). ปาจารยสาร, 26 (2 พ.ย.2542.–ก.พ..2543).
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "ปริศนากรณีสวรรคต," ฟ้าเดียวกัน 6, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2551): 116-135. หรือฉบับออนไลน์ที่ http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/blog-post.html และ http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/2.html
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "ข้อมูลใหม่กรณีสวรรคต: หลวงธำรงระบุชัด ผลการสอบสวนใครคือผู้องสงสัยที่แท้จริง," ฟ้าเดียวกัน 7, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2552): 60-73.
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "50 ปี การประหารชีวิต," ฟ้าเดียวกัน 3, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2548) 64-80.

หนังสือภาษาไทย

  • ไข่มุกด์ ชูโต, คุณ. พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลของปวงชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. (ม.ป.ท.): โรงพิมพ์หยีเฮง, (ม.ป.ป.).
  • คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกฉลอง 100 ปี รัฐบุรุษอาวุโส นายปรีดี พนมยงค์ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 145/2541. สารคดี ฉบับพิเศษ คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิริยะธุรกิจ, 2543.
  • คำตัดสินใหม่ กรณีสวรรคต ร.8 โดย คำพิพากษาศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ 5810/2522 (วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522). กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2523.
  • คำพิพากษาศาลอาญา คดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2517.
  • คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2517.
  • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย 2475-2500 = Political History of Thailand. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2544.
  • ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์. ในหลวงอานันท์กับคดีลอบปลงพระชนม์. กรุงเทพ: พีจี. 2517.
  • พุฒ บูรณสมภพ, พ.ต.อ. ชัยชนะและความพ่ายแพ้ของบุรุษเหล็กแห่งเอเชีย. กรุงเทพฯ : ศูนย์รวมข่าวเอกลักษณ์, (ม.ป.ป.).
  • บุญร่วม เทียมจันทร์ คดีประวัติศาสตร์ ลอบปลงพระชนม์ร.8 พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2550.
  • มรกต เจวจินดา. ภาพลักษณ์ ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2526 = The Images of Pridi Banomyong and Thai Politics, 1932-1983. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
  • ส. ศิวรักษ์ (นามปากกา). เรื่องนายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส. ศิวรักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2543.
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลา, 2544.
  • สรรใจ แสงวิเชียร และ วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : แหล่งพิมพ์เรือใบ, 2517.
  • สุด แสงวิเชียร. เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต. กรุงเทพฯ : บี พี พี เอส, 2529.
  • สุพจน์ ด่านตระกูล. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย), 2544.
  • อนันต์ อมรรตัย. แผนการปลงพระชนม์ ร.8 ของนายปรีดี พนมยงค์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จิรวรรณนุสรณ์, 2526
  • บุญร่วม เทียมจันทร์ และ คณะ . เจาะลึกเบื้องหลังคดัประวัติศาสตร์ คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่8 และคดีพยายามลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่9. พิมพ์ครั้งแรก กรุงเทพฯ ฐานบัณฑิต 2556

หนังสือภาษาอังกฤษ

  • Kruger, Rayne. The Devil’s Discus: An Enquiry Into the Death of Ananda, King of Siam. London: Cassell, 1964.
  • Sivaraksa, Sulak. Powers that Be : Pridi Banomyong through the Rise and Fall of Thai Democracy. Lantern Books, 2000. ISBN 9747449188
  • Stevenson, William. The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I. London: Constable, 2000.

แหล่งข้อมูลอื่น