กงจักรปีศาจ
กงจักรปีศาจ | |
---|---|
![]() | |
ผู้ประพันธ์ | เรย์นี ครูเกอร์ |
ผู้แปล | ร.อ.ชลิต ชัยสิทธิเวช |
ประเทศ | อังกฤษ |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
หัวเรื่อง | อาชญากรรม, การเมือง, จิตวิทยา, ประวัติศาสตร์ |
ประเภท | สารคดี |
สำนักพิมพ์ | Cassell & Co., Ltd. |
วันที่พิมพ์ | 1964, พิมพ์ครั้งที่ 2 2009 |
ชนิดสื่อ | หนังสือปกแข็ง/ปกอ่อน (พิมพ์ครั้งที่ 2) |
หน้า | 260 หน้า |
ISBN | 978-988-97752-5-4 |
กงจักรปีศาจ (อังกฤษ: The Devil's Discus) เป็นหนังสือสืบสวนการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) แห่งสยาม เขียนโดยนักเขียนชาวอังกฤษ-แอฟริกาใต้ที่ชื่อ เรย์นี ครูเกอร์ (Rayne Kruger) [1]
เนื้อหาโดยสรุปของหนังสือ[แก้]
หนังสือแบ่งเป็น 4 หมวดหลัก ๆ แต่ละหมวดยังแบ่งเป็นบทย่อย ๆ หมวด "Before (ก่อน)" เป็นหมวดอารัมภบทก่อนไปถึงการการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พูดถึงความเป็นไปของสยามและพื้นหลังของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
หมวดต่อไป “The Life and Death of Ananda (ชีวิตและความตายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล)” มีทั้งสิ้น 10 บท เป็นพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ตั้งแต่ทรงพระราชสมภพ ณ เมืองไฮเดลแบร์กในปี พ.ศ. 2468 จนถึงเสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนอย่างลึกลับภายในพระบรมมหาราชวังในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หมวดนี้จะพูดถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยรอบกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและบุคคลที่กลายเป็นหัวข้อในการสืบสวนสาเหตุการเสด็จสวรรคต
“The Trial (การสอบสวน)” เป็นหมวดที่ 3 มีด้วยกัน 8 บท เป็นสรุปเหตุการณ์และข้อคิดเห็นของการสอบสวนการปลงพระชนม์ตามที่สามเจ้าหน้าที่พระราชวังที่เป็นจำเลย รวมถึงผู้ยื่นอุทธรณ์ทั้งสองที่การสอบสวนกินเวลามากกว่า 6 ปีและผลของการประหารชีวิตจำเลยทั้งสามในปี พ.ศ. 2498
หมวดสุดท้าย “Who Killed Ananda? ใครปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” เป็นการวิเคราะห์ของครูเกอร์จากหลักฐาน นำไปสู่ข้อสรุปของเขาที่ว่าคำอธิบายที่น่าพอใจคือทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมปลงพระชนม์ตัวพระองค์เอง เขาสนับสนุนทฤษฏีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวระหว่างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและเพื่อนนักศึกษานิติศาสตร์ แมรีเลน เฟอร์รารี (Marylene Ferrari) ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับในกลุ่มสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ในสยาม
ประวัติการตีพิมพ์[แก้]
กงจักรปีศาจตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2507 โดยสำนักพิมพ์แคสเซลล์ (Cassell) รัฐบาลไทยได้สั่งห้ามตีพิมพ์ในทันทีและตัวครูเกอร์เองก็ถูกห้ามเข้าประเทศไทยด้วยเช่นกัน [2]
กงจักรปีศาจได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย ร.อ.ชลิต ชัยสิทธิเวช ในปี พ.ศ. 2517 และมีการหมุนเวียนขายอยู่ในตลาดมืดในประเทศไทย โรงพิมพ์ที่ตีพิมพ์หนังสือฉบับภาษาไทยโดนเผาทำลาย[3] และหนังสือกงจักรปีศาจจัดเป็นหนังสือต้องห้ามในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549[4]
เนื่องจากกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) [5] ต้นฉบับภาษาอังกฤษจึงถูกพิมพ์ซ้ำในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โดยสำนักพิมพ์ DMP ในฮ่องกง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Kruger, Rayne The Devil's Discus: The Death of Ananda King of Siam. DMP Publications. ISBN 978-988-97752-5-4.
- ↑ The Times, Obituaries, Rayne Kruger, 1 January 2003
- ↑ The Daily Telegraph, Obituaries, Rayne Kruger, 9 January 2003
- ↑ "คำสั่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ ที่ ๓/๒๕๔๙ เรื่อง ห้ามการขาย หรือจ่ายแจกและให้ยึดสิ่งพิมพ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (พิเศษ 73 ง): 31. 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Freedom Against Censorship Thailand (FACT) http://facthai.wordpress.com/