ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟองมัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


[[หมวดหมู่:เครื่องหมายวรรคตอนไทย|๏]]
[[หมวดหมู่:เครื่องหมายวรรคตอนไทย|๏]]
[[หมวดหมู่:อักษรไทย]]
[[หมวดหมู่:อักษรไทย] ครวยเหรี้ยๆ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:16, 4 กรกฎาคม 2561

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

ฟองมัน หรือ ตาไก่ (๏) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อขึ้นต้นบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว โดยไม่จำเป็นต้องย่อหน้าหรือขึ้นบรรทัดใหม่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ฟองมันเมื่อขึ้นต้นบทร้อยกรองเท่านั้น

๏ เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
รับกฐินภิญโญโมทนา
ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย
จาก นิราศภูเขาทอง

นอกจากเครื่องหมายฟองมันที่เป็นรูปวงกลมแล้ว ในสมัยโบราณยังนิยมใช้เครื่องหมาย ฟองมันฟันหนู ( ๏̎ ) นั่นคือ มีเครื่องหมาย ฟันหนู (") วางอยู่บนฟองมัน ใช้กำกับเมื่อจะขึ้นต้นบท หรือตอน โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ฟันหนูฟองมัน หรือ ฝนทองฟองมัน บางแห่งใช้เครื่องหมายวงกลมเล็ก ( ๐̎ ) มีฟันหนูวางอยู่ข้างบน เรียกว่า ฟองดัน ก็มี

ฟองมันไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xEF (239) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E4F [1]

ฟองมันในภาษาอื่น

ภาษาอื่นที่ใช้ฟองมันคือภาษาเขมร () มีชื่อเรียกว่า กุกฺกุฎเนตฺร ซึ่งแปลว่า ตาไก่ ใช้เมื่อขึ้นต้นบทเหมือนกับภาษาไทย

อ้างอิง

  • หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ. ราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5 (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2533.

[[หมวดหมู่:อักษรไทย] ครวยเหรี้ยๆ