ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอบ้านนาเดิม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 115: บรรทัด 115:
'''''แหล่งท่องเที่ยวสถานที่สำคัญอื่นๆ'''''
'''''แหล่งท่องเที่ยวสถานที่สำคัญอื่นๆ'''''


- สถานีรถไฟ บ้านนา อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา
- สถานีรถไฟ บ้านนา อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา
สถานีบ้านนา (สถานีรถไฟบ้านนา)
โดย เทพ รักบำรุง ครู คศ.๓ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม
สงวนลิขสิทธิ์ : อนุญาตเฉพาะผู้ขออนุญาตนำไปใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สถานีรถไฟบ้านนา มีชื่อ รหัส : 4247 ชื่อภาษาไทย : บ้านนา ชื่อภาษาอังกฤษ : Ban Na Station ชื่อย่อภาษาไทย : นน. เป็นสถานีชั้น 3 มี ระบบอาณัติสัญญาณ : แบบหางปลา ไม่มีสัญญาณออก ปัจจุบันตั้งอยู่ถนนหน้าอำเภอ เขตเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84240 ประวัติความเป็นมาสถานีรถไฟบ้านนา
สถานีรถไฟบ้านนา มีพิกัดที่ตั้ง : กิโลเมตร กม. ที่ 662+340 เกี่ยวเนื่องกับทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สมัยเริ่มก่อตั้งสถานีบ้านนามีความสำคัญมากเนื่องจากสถานที่ตั้งของสถานีอยู่ในเขตอำเภอลำพูนต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านนาซึ่งมีเขตการปกครองหลายตำบลคือ 1. ตำบลบ้านนา 2. ตำบลท่าเรือ 3. ตำบลทุ่งเตา 4. ตำบลลำพูน (ตำบลกอบแกบ) 5. ตำบลนาสาร 6. ตำบลพรุพรี 7. ตำบลท่าชี 8. ตำบลทุ่งหลวง 9. ตำบลเวียงสระ 10. ตำบลบางเมา 11. ตำบลกรูด 12. ตำบลเคียนซา 13. ตำบลพ่วงพรมคร 14. ตำบลกระปาน อำเภอบ้านนาจึงเป็นศูนย์รวมประชากรและแหล่งทรัพยากร ในเขตอำเภอบ้านนามีป่าสงวนไว้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงคือไม้ฟืน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรไอน้ำ สถานีบ้านนา มีการก่อสร้างสถานีมีอุปกรณ์ทันสมัย บริเวณชานชลา เขตสถานีที่กว้างใหญ่ สร้างรางรถไฟที่ใช้กลับหัวรถจักรไอน้ำ สำหรับเติมน้ำ เติมเชื้อเพลิง (ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวถูกรื้อใช้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอบ้านนาเดิม) สถานี มีบ้านพักอาศัยของพนักงานรถไฟ ด้านการบริการ ด้านการก่อสร้างซ่อมบำรุงรักษาราง สถานีบ้านนาสามารถเชื่อมการสื่อสาร โทรเลข โทรศัพท์ จึงมีความสำคัญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความสำคัญของสถานีรถไฟบ้านนา
1. เป็นสถานที่พักผ่อนใจและนันทนาการของประชาชน
2. เป็นสถานที่พักอาศัยของพนักงานรถไฟในด้านการบริการ การก่อสร้างซ่อมบำรุงรักษา
3. เป็นศูนย์กลางพบปะสังสรรค์ สถานที่ใช้บริการประชาชนด้านสาธารณูปโภคและบริการสินค้า
4. เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและเปิดการใช้เส้นทางรถไฟสายใต้จนถึงปัจจุบัน
5. เป็นสถานที่บริการการเดินทางโดยสารของบุคคลและขนส่งสินค้าขาเข้า ขาออก วัสดุ ผลผลิตในท้องถิ่น
6. เป็นสถานที่มีความสำคัญ ด้านการสื่อสารอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องทาง ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิต ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการพัฒนาการของท้องที่ภายในอำเภอและอำเภอที่มีเขตติดต่อกัน


== อาชีพ ==
== อาชีพ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:06, 16 มิถุนายน 2561

อำเภอบ้านนาเดิม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ban Na Doem
คำขวัญ: 
ยางพาราเขียวขจี รสดีผลไม้ หลากหลายพระดี ศักดิ์ศรีเมืองเก่า เขาพลูน้ำแร่ร้อน พักผ่อนแม่นำตาปี
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอบ้านนาเดิม
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอบ้านนาเดิม
พิกัด: 8°53′6″N 99°18′36″E / 8.88500°N 99.31000°E / 8.88500; 99.31000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด207.3 ตร.กม. (80.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด24,211 คน
 • ความหนาแน่น116.79 คน/ตร.กม. (302.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84240
รหัสภูมิศาสตร์8413
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ้านนาเดิม หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84240
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอบ้านนาเดิม เป็นอำเภออยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอบ้านนาเดิมมีการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและภาคใต้เพื่อรองรับความเจริญของการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ด้านอ่าวไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต สงขลา กรุงเทพมหานคร จังหวัดสำคัญและประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากพื้นที่อำเภอใกล้เคียงมีทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิดสมบูรณ์เพียงพอ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานีและภาคใต้ทั้งภายในภายนอกของภูมิภาคได้อย่างเต็มที่และมีศักยภาพ

ที่ตั้ง

อำเภอบ้านนาเดิมตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันออกของจังหวัดมีแม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำตาปี คลองยา และคลองลำพูนไหลผ่านนำความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุสำคัญต่อเศรษฐกิจและด้านการเกษตร อำเภอบ้านนาเดิม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งสามารถพัฒนาได้ดีเนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอต่างๆและจังหวัดสำคัญของภาคใต้มีความสะดวกด้านคมนาคมทั้งทางเรือ ทางอากาศ ทางรถไฟ ทางบกมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ทางหลวงสายเอเซีย A–2) จากชุมพรถึงสุไหงโก-ลกต่อไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มีถนนที่ทันสมัยคือทางหลวงสายเลขที่ 44 เรียกว่าสะพานเศรษฐกิจโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Sea Board) เป็นถนนเชื่อมระหว่างชายฝั่งทะเลตะวันออกอ่าวไทยกับชายฝั่งตะวันตกทะเลอันดามัน เริ่มจากจังหวัดกระบี่ผ่านอำเภออ่าวลึก อำเภอปลายพระยาเข้าเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีจุดตัดกับถนนทางหลวงสายเลขที่ 41 (ทางหลวงสายเอเซีย A–18) ถนนเชื่อมกันติดต่อได้ ทั้งคาบสมุทรภาคใต้ จุดตัดอยู่ในตำบลท่าเรือ จุดตัดกับเส้นทางรถไฟสายใต้ที่บ้านเขาพลู ตำบลนาใต้

อาณาเขตติดต่อ

ประวัติอำเภอบ้านนาเดิม

อำเภอบ้านนาเดิมได้รับอารยธรรมก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรไชยา เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2447 กระทรวงมหาดไทยได้โอนมาขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดขนาดใหญ่สุดของภาคใต้ มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ตอนบนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จากอดีตถึงสมัยปัจจุบันอำเภอบ้านนาเดิมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญ ซึ่งนายเทพ รักบำรุง ครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นอำเภอบ้านนาเดิมและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้บันทึกเรื่องราว จัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาท้องถิ่นของเรา และได้มอบให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอบ้านนาเดิม มีรายละเอียดดังนี้

1. เริ่มต้นประวัติศาสตร์ "บ้านนา" มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ได้รับอารยธรรมมาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ มีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานรอบอ่าวบ้านดอน ลุ่มแม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำอิปัน คลองฉวาง คลองหา คลองลำพูน คลองยา คลองท่าสะท้อน มีหลักฐานความเจริญบริเวณบ้านน้ำรอบ บ้านท่าสะท้อน บ้านท่าเรือ บ้านควนท่าแร่ บ้านนาสาร ภูเขาถ้ำขรม เมืองเวียงสระ เคียนซา พระแสง ถึงสมัยประวัติศาสตร์บ้านนาอยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรไชยา และเมืองนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์สยาม สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

2. สมัยเรียกชื่อ “ท้องที่ลำพูน” ในอดีตรู้จักในนาม บ้านนา เนื่องจากประชาชนมีที่ทำนาจำนวนมากและเรียกตามท้องที่ตั้งหมู่บ้านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า บ้านนา และ ลำพูน ส่วนประชาชนในท้องถิ่นเรียกว่า “บ้านนา” - ปี พ.ศ. 2354 เป็นท้องที่ชื่อ ท้องที่ลำพูน ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช เอกสารทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า “ท้องที่ลำพูน เป็นแขวงชั้นนอกด้านใต้ต่อแดนเมืองกระบี่ ด้านตะวันตกต่อแดนเมืองพังงาและตะกั่วป่า ด้านตะวันออกต่อแดนเมืองกาญจนดิษฐ์” โดยดูแลท้องที่เวียงสระ ท้องที่ส้องห้วยมะนาว ท้องที่อิปัน ท้องที่ฉวางท่าชี ประกอบด้วย อำเภอถ้ำขรม อำเภอน้ำพุ อำเภอท่าชี โดยมี วัดโฉละ เป็นที่เลณฑุบาต (หมายเหตุ เมืองนครศรีธรรมราชก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองเป็น ท้องที่ มีนายที่ดูแล อำเภอ มีนายอำเภอดูแล แขวง มีนายแขวงดูแล)

- ปรากฏหลักฐานในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช สมัยรัชกาลที่ 2 ปี พ.ศ. 2354 เกี่ยวกับข้าราชการที่ลำพูนดังนี้ คือ “ หลวงอินทรพิชัย นายที่ลำพูน ถือศักดินา ๘๐๐ ฝ่ายซ้าย ขุนเพชรกำแพง ปลัด ถือศักดินา ๔๐๐ หมื่นเทพรักษา รอง ถือศักดินา ๒๐๐ หมื่นพรหมอักษร สมุห์บัญชี ถือศักดินา ๒๐๐ หมื่นจิตอักษร สมุห์บัญชี ถือศักดินา ๒๐๐ หมื่นสุรบุรี เป็นสารวัตร ถือศักดินา ๒๐๐ หมื่นเกล้าเป็นสารวัตร ถือศักดินา ๒๐๐ สิริ หลวง ขุน หมื่น ที่ลำพูน หลวง ๑ ขุน ๑ หมื่น ๕ รวม ๗ คน ”' - ปี พ.ศ. 2420 มีการจัดปกครองท้องที่แขวงลำพูน คือ แยกท้องที่เวียงสระและท้องที่ส้องห้วยมะนาวออกเป็น 2 อำเภอคือ อำเภอเวียงสระ และอำเภอบ้านส้อง อำเภอเวียงสระต่อมาเรียกชื่ออำเภอคลองตาล โดยมี วัดเวียง เป็นที่เลณฑุบาต ท้องที่ลำพูนได้ดูแลราชการท้องที่ดังกล่าวตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

3. สมัยเรียกชื่อ “อำเภอลำพูน” สมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองประเทศสยาม ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่น ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) และข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ.117 (พ.ศ. 2441) พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้จัดเขตการปกครอง เมืองนครศรีธรรมราช เป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด (ปากพนัง) อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอกลาย อำเภอสิชล อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอเขาพังไกร และอำเภอลำพูน ในส่วนอำเภอลำพูน จัดการปกครอง ดังรายละเอียดดังนี้คือ ยุบอำเภออิปันเป็นตำบลอิปัน ยุบอำเภอพะแสงเป็นตำบลพะแสง ยุบอำเภอพนมเป็นตำบลพนม มารวมกับตำบลที่มีอยู่ของท้องที่ลำพูน คือ ตำบลกอบแกบ ตำบลทุ่งเตา ตำบลท่าเรือ ตำบลบ้านนา ตั้งเป็น อำเภอลำพูน ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลบ้านนา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้กับวัดบ้านนาติดกับคลองลำพูน บริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบ้านนาเดิม - ปี พ.ศ. 2442(ร.ศ.118) แยกตำบลและตั้งตำบลขึ้นใหม่ คือ ตำบลเวียงสระ ตำบลทุ่งหลวง ตำบลท่าเรือ ตำบลพรุพี ตำบลอู่มาต (นาสาร) ตำบลลำพูน (กอบแกบ) ตำบลทุ่งเตา ตำบลท่าเรือ ตำบลบ้านนา ย้ายที่ว่าการอำเภอลำพูน(บริเวณโรงพยาบาลบ้านนาเดิม มาสร้างใหม่บริเวณตลาดเทศบาลบ้านนาในปัจจุบัน) - ปี พ.ศ. 2442 พระยาสุขุมนัยวินิต(ปั้น สุขุม ต่อมาเลื่อนยศเป็นพระยายมราช) สมุหเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช ได้มาตรวจราชการที่อำเภอลำพูน พิจารณาเห็นว่าการจัดการปกครองอำเภอลำพูน ยังไม่เหมาะสมเพราะไม่สะดวกต่อการเดินทางของประชาชนจึงได้แยกตำบลอีปัน และ ตำบลพะแสง ตั้งเป็น อำเภอพะแสง แยกตำบลพนม ตั้งเป็น กิ่งอำเภอพนม ออกจากอำเภอลำพูน - ปี พ.ศ. 2449(ร.ศ.125)ย้ายศาลารัฐบาลมณฑล(ศร.)ชุมพร มาตั้งที่บ้านดอน เปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็นชื่อ มณฑลสุราษฎร์ ตั้งศาลารัฐบาลมณฑลที่บ้านดอน เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา เป็นเมืองสุราษฎร์ธานี และโอนอำเภอพะแสง(ต่อมาเปลี่ยนเป็นพระแสง) กิ่งอำเภอพนม และอำเภอลำพูน จากเมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราชมาขึ้นกับเมืองสุราษฎร์ธานี จึงทำให้อำเภอลำพูน กิ่งอำเภอพนมและอำเภอพระแสง มาอยู่ในเมืองสุราษฎร์ธานี

4. สมัยเรียกชื่อ “ อำเภอบ้านนา ” และ “อำเภอบ้านนาสาร ” - ปี พ.ศ. 2460 (ร.ศ.136) กระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนชื่อ อำเภอลำพูน เป็น“อำเภอบ้านนา”ตามชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการเนื่องจากอยู่ใกล้สถานีรถไฟบ้านนา ประชาชนส่วนใหญ่เรียกว่า “อำเภอบ้านนา” - ปี พ.ศ. 2465 (ร.ศ.141) กระทรวงมหาดไทยได้โอนตำบลบางเบา ตำบลกรูด จากอำเภอท่าโรงช้าง ตำบลเคียนซา ตำบลพ่วงพรหมครจากอำเภอพะแสงมาขึ้นกับอำเภอบ้านนา ทำให้มีตำบลเพิ่มขึ้นคือ 1. ตำบลบ้านนา 2. ตำบลท่าเรือ 3. ตำบลทุ่งเตา 4. ตำบลกอบแกบ (ลำพูน) 5. ตำบลนาสาร 6. ตำบลพรุพี 7. ตำบลท่าชี (น้ำพุ) 8. ตำบลทุ่งหลวง 9. ตำบลเวียงสระ 10. ตำบลบางเบา 11. ตำบลกรูด 12. ตำบลเคียนซา 13. ตำบลพ่วงพรหมคร 14. ตำบลตะปาน - ปี พ.ศ. 2481 สมัยรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้เปลี่ยน ชื่อ สยาม เป็น ราชอาณาจักรไทย และวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2481 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบ้านนา ไปตั้งที่ ตำบลนาสาร - ปี พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านนา โดยนำชื่อเดิม “บ้านนา”รวมกับสถานที่ตั้งตำบล“นาสาร” เป็นอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าอำเภอบ้านนาสาร มีท้องที่กว้างขวางมีประชากรมาก บางตำบลตั้งอยู่ห่างไกลจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ไม่สะดวกแก่การปกครองและการติดต่อราชการของประชาชนกระทรวงมหาดไทยจึงได้ปรับปรุงตั้งกิ่งอำเภอขึ้น ดังนี้

- วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2511 รวมตำบลเวียงสระ ตำบลทุ่งหลวง ตั้งเป็น กิ่งอำเภอชื่อว่า “กิ่งอำเภอเวียงสระ” ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเวียงสระ

- วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2513 รวมตำบลเคียนซา ตำบลพ่วงพรหมคร ตั้งเป็น กิ่งอำเภอชื่อว่า “กิ่งอำเภอเคียนซา” ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอเคียนซา

- วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2519 รวมตำบลบ้านนา ตำบลท่าเรือ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอชื่อว่า “กิ่งอำเภอบ้านนาเดิม” และต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ้านนาเดิม

5. สมัยเรียกชื่อ “ กิ่งอำเภอบ้านนาเดิม” - ปี พ.ศ. 2519 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 มีคณะทำงานประกอบด้วย กำนันดวน เพ็ชรานันท์ กำนันจำนงค์ วงศ์สกุล นายแกล้ว คงทองและกรรมการได้ประสานงานให้มีประกาศจัดตั้ง กิ่งอำเภอบ้านนาเดิมโดยมี 2 ตำบล คือตำบลท่าเรือและตำบลบ้านนา ใช้ศาลาการเปรียญของวัดทองประธาน และสร้างอาคารใหม่เป็นที่ว่าทำการกิ่งอำเภอบริเวณวัดทองประธาน มีนายนิกร ทิพย์สุวรรณ ปลัดอำเภอเป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอบ้านนาเดิม - ปี พ.ศ. 2523 เริ่มก่อสร้างอาคารที่ว่าการกิ่งอำเภอ ตรงกันข้ามกับสถานีรถไฟบ้านนา - ปี พ.ศ. 2525 ตั้งตำบลทรัพย์ทวี แยกมาจากตำบลท่าเรือ - ปี พ.ศ. 2526 ตั้งตำบลนาใต้ แยกมาจากตำบลบ้านนา - วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านนาเดิม เป็น อำเภอบ้านนาเดิม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 107 ตอนที่ 83

6. สมัยปัจจุบัน “ อำเภอบ้านนาเดิม” - เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้นายเจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอบ้านนาเดิม ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอไชยา ให้นายธนวรรษ รอดจิตต์ จากอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาเดิมแบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน จัดการปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย เทศบาลตำบลบ้านนา มีชุมชน 4 ชุมชน มีนายธงชัย ว่องทรง เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านนา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา มีจำนวน 10 หมู่บ้าน นายทศพร ขวัญม่วง เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา นายเริงศักดิ์ เพชรานันท์ เป็นกำนันตำบลบ้านนา องค์การบริหารส่วนตำบลนาใต้ มีจำนวน 9 หมู่บ้าน นายทศพล ใจสมุทร เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาใต้ นายชาตรี ลิ้มซุ้นตี้ เป็นกำนันตำบลนาใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ มีจำนวน 6 หมู่บ้าน นายสุเทพ นาคสวาท เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ นายชิงชัย ไชยยศ เป็นกำนันตำบลท่าเรือ องค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์ทวี มีจำนวน 5 หมู่บ้าน นายสุทธิพงศ์ รอดจิตต์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์ทวี นายวันชัย รักษ์ทอง เป็นกำนันตำบลทรัพย์ทวี

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบ้านนาเดิมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บ้านนา (Ban Na) 10 หมู่บ้าน
2. ท่าเรือ (Tha Ruea) 6 หมู่บ้าน
3. ทรัพย์ทวี (Sap Thawi) 5 หมู่บ้าน
4. นาใต้ (Na Tai) 9 หมู่บ้าน
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบ้านนาเดิมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านนาและบางส่วนของตำบลนาใต้
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านนา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเรือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์ทวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรัพย์ทวีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาใต้ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านนา)

การคมนาคม

- ทางถนน สามารถติดต่อกับหมู่บ้านอื่นได้ตลอดทั้งปีโดยทางรถยนต์ และการเดินทางสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรถยนต์ผ่านถนนสายเอเชียหรือทางหลวงหมายเลข 41 และถนนสายเซาเทิร์นซีบอร์ด

- ทางรถไฟ มีรถไฟสายใต้บริการในท้องถิ่น และสามารถติดต่อได้ทั่วประเทศ

การท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

- ป่าพรุกงบ้านนาเดิม สวนป่าพฤกษศาสตร์โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม แอ่งน้ำห้วยใหญ่ สระน้ำบ้านสวยศรี อยู่ในตำบลบ้านนา - บ่อน้ำพุร้อนเขาพลู ป่าพรุทุ่งกระจูด ป่าเสม็ด อยู่ในตำบลท่าเรือ - แม่น้ำตาปี และทุ่งปักขอ อยู่ในตำบลทรัพย์ทวี

แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานและนมัสการพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง

- วัดควนท่าแร่ วัดควนพระ อยู่ในตำบลทรัพย์ทวี - วัดบ้านนา(วัดใต้) วัดชโลตมาราม(วัดน้ำฉ่า)มีเกจิอาจารย์หลวงพ่อทองสุข อยู่ในตำบลนาใต้ - วัดห้วยใหญ่ (วัดชุมพูพล) วัดทองประธาน มีเกจิอาจารย์หลวงพ่อทอง หลวงพ่อกล่อม อยู่ในตำบลบ้านนา - วัดท่าเรือ (วัดอินทการาม) มีเกจิอาจารย์ หลวงพ่อท่านเจ้าฟ้า อยู่ในตำบลบ้านท่าเรือ

แหล่งท่องเที่ยวสถานที่สำคัญอื่นๆ

- สถานีรถไฟ บ้านนา อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา สถานีบ้านนา (สถานีรถไฟบ้านนา) โดย เทพ รักบำรุง ครู คศ.๓ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม สงวนลิขสิทธิ์ : อนุญาตเฉพาะผู้ขออนุญาตนำไปใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้า


สถานีรถไฟบ้านนา มีชื่อ รหัส  : 4247 ชื่อภาษาไทย : บ้านนา ชื่อภาษาอังกฤษ : Ban Na Station ชื่อย่อภาษาไทย : นน. เป็นสถานีชั้น 3 มี ระบบอาณัติสัญญาณ : แบบหางปลา ไม่มีสัญญาณออก ปัจจุบันตั้งอยู่ถนนหน้าอำเภอ เขตเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84240 ประวัติความเป็นมาสถานีรถไฟบ้านนา สถานีรถไฟบ้านนา มีพิกัดที่ตั้ง  : กิโลเมตร กม. ที่ 662+340 เกี่ยวเนื่องกับทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สมัยเริ่มก่อตั้งสถานีบ้านนามีความสำคัญมากเนื่องจากสถานที่ตั้งของสถานีอยู่ในเขตอำเภอลำพูนต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านนาซึ่งมีเขตการปกครองหลายตำบลคือ 1. ตำบลบ้านนา 2. ตำบลท่าเรือ 3. ตำบลทุ่งเตา 4. ตำบลลำพูน (ตำบลกอบแกบ) 5. ตำบลนาสาร 6. ตำบลพรุพรี 7. ตำบลท่าชี 8. ตำบลทุ่งหลวง 9. ตำบลเวียงสระ 10. ตำบลบางเมา 11. ตำบลกรูด 12. ตำบลเคียนซา 13. ตำบลพ่วงพรมคร 14. ตำบลกระปาน อำเภอบ้านนาจึงเป็นศูนย์รวมประชากรและแหล่งทรัพยากร ในเขตอำเภอบ้านนามีป่าสงวนไว้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงคือไม้ฟืน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรไอน้ำ สถานีบ้านนา มีการก่อสร้างสถานีมีอุปกรณ์ทันสมัย บริเวณชานชลา เขตสถานีที่กว้างใหญ่ สร้างรางรถไฟที่ใช้กลับหัวรถจักรไอน้ำ สำหรับเติมน้ำ เติมเชื้อเพลิง (ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวถูกรื้อใช้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอบ้านนาเดิม) สถานี มีบ้านพักอาศัยของพนักงานรถไฟ ด้านการบริการ ด้านการก่อสร้างซ่อมบำรุงรักษาราง สถานีบ้านนาสามารถเชื่อมการสื่อสาร โทรเลข โทรศัพท์ จึงมีความสำคัญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความสำคัญของสถานีรถไฟบ้านนา 1. เป็นสถานที่พักผ่อนใจและนันทนาการของประชาชน 2. เป็นสถานที่พักอาศัยของพนักงานรถไฟในด้านการบริการ การก่อสร้างซ่อมบำรุงรักษา 3. เป็นศูนย์กลางพบปะสังสรรค์ สถานที่ใช้บริการประชาชนด้านสาธารณูปโภคและบริการสินค้า 4. เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและเปิดการใช้เส้นทางรถไฟสายใต้จนถึงปัจจุบัน 5. เป็นสถานที่บริการการเดินทางโดยสารของบุคคลและขนส่งสินค้าขาเข้า ขาออก วัสดุ ผลผลิตในท้องถิ่น 6. เป็นสถานที่มีความสำคัญ ด้านการสื่อสารอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องทาง ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิต ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการพัฒนาการของท้องที่ภายในอำเภอและอำเภอที่มีเขตติดต่อกัน

อาชีพ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม