พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ)
พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี) |
มรณภาพ | 12 เมษายน พ.ศ. 2567 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก พ.ม. ป.ธ.9 พธ.บ. M.A.(สันสกฤต) พธ.ด.(พระพุทธศาสนา) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดศาลาลอย (พระอารามหลวง) จังหวัดสุรินทร์ |
อุปสมบท | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 |
พรรษา | 69 |
ตำแหน่ง | อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11,อดีตเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดศาลาลอย (พระอารามหลวง) จังหวัดสุรินทร์ |
พระพรหมวชิรโมลี นามเดิม ทองอยู่ พิศลืม ฉายา ญาณวิสุทฺโธ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏฝ่ายมหานิกาย [1]อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์) ฝ่ายมหานิกาย,อดีตเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดศาลาลอย (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์,อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์,อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์,อดีตประธานโครงการก่อสร้างบ้านธรรมรวมใจเพื่อผู้ยากไร้ หมู่บ้านรักษาศีล5 คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์
ชาติภูมิ
[แก้]พระพรหมวชิรโมลี นามเดิมชื่อ ทองอยู่ พิศลืม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 9 ปีระกา) ณ หมู่ 5 บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อ นายเคล็ม มารดาชื่อ นางแคน นามสกุล พิศลืม
บรรพชาและอุปสมบท
[แก้]บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ณ วัดกลางสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยมีพระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์
และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ณ พัทธสีมา วัดกลางสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิภัชกัลยาณธรรม (จันทร์ กลฺยาณมุตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิทธิการโกศล (เทพ นนฺโท) เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ญาณวิสุทฺโธ”
วุฒิการศึกษา
[แก้]- แผนกนักธรรม-บาลี
- พ.ศ. 2497 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สถานศึกษา สำนักศาสนศึกษาวัดศาลาลอย สำนักเรียนคณะจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2513 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สถานศึกษา สำนักศาสนศึกษาวัดบุญวาทย์วิหาร สำนักเรียนคณะจังหวัดลำปาง
- แผนกสามัญ
- พ.ศ. 2480 สำเร็จการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 (ประเภทสมัครสอบ) กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.)
- พ.ศ. 2511 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) รุ่นที่ 14 สถานศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2519 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาสันสกฤต สถานศึกษา มหาวิทยาลัยมัทราส ประเทศอินเดีย
- พ.ศ. 2552 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา (พธ.ด.) สถานศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2551 แก่พุทธศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 54 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นที่ 19 และพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต รุ่นที่ 5 โดยมีเจ้าพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เดินทางมาเป็นองค์ประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตร ในวันอาทิตย์ที่ 17 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2552 ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำเร็จการศึกษาด้วยวัย 76 ปี
งานปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ประเภทวัดราษฎร์ วัดศาลาลอย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็น "รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์" (พระมหาทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ|พิศลืม)
- พ.ศ. 2529 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2533 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดราษฎร์เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และรักษาการเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย (พระอารามหลวง) วันที่ 1 เดือน ตุลาคม พุทธศักราช 2533
- พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 4 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มอบพระบัญชาแต่งตั้ง
- พ.ศ. 2539 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2540 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2556 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์[2][3]
- พ.ศ. 2558 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์) ฝ่ายมหานิกาย
งานการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2507 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ธรรมสนามหลวง ปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
- พ.ศ. 2508 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดพิชยญาติการาม แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2509 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย ณ โรงเรียนสตรีสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
- พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักศาสนศึกษาวัดบุญวาทย์วิหาร สำนักเรียนคณะจังหวัดลำปาง
- พ.ศ. 2523 - 2539 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดสุรินทร์ โดยการมอบหมายจากพระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2524-2547 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา (พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาสุรินทร์) วัดกลางสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2534 เป็นประธานศูนย์ครูพระปริยัตินิเทศก์ จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดการโรงเรียนบาลีสาธิต (พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ) วัดศาลาลอย พระอารามหลวง จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2539 เป็นเจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบบาลีสนามหลวง ปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ
- อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
งานการเผยแพร่
[แก้]- พ.ศ. 2508 เป็นพระธรรมทูตจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2535 เป็นรองประธานกลุ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน เป็นประธานจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉพาะส่วนของวัดศาลาลอย พระอารามหลวง ในแต่ละปีมีเยาวชนเข้าบรรพชาเป็นสามเณรไม่ต่ำกว่า 100 รูป และเยาวชนสตรีร่วมปฏิบัติธรรมไม่ต่ำกว่า 150 คน
- พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน เป็นประธานกลุ่มเผยแพร่พระพุทธศาสนา จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2540 เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการอบรมประชาชนประจำจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2540 เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตจังหวัดสุรินทร์
งานสาธารณูปการ
[แก้]- พ.ศ. 2543 ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดศาลาลอย ขนาด 16 x 32 เมตร ลักษณะทรงไทยประยุกต์ หลังคามุงกระเบื้อง จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง จำนวน 13,750,000 บาท (สิบสามล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
- พ.ศ. 2543 ดำเนินการก่อสร้างศาลา “โสวภาค” วัดศาลาลอย เป็นศาลาเรือนไทยประยุกต์ ขนาด 5 x 9 เมตร เสาไม้ โครงหลังคาเป็นไม้ ใช้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น จำนวน 390,500 บาท (สามแสนเก้าหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน)
- พ.ศ. 2544 ดำเนินการก่อสร้างโรงครัว ขนาดกว้าง 4 x 12 เมตร ชั้นเดียว พื้นปูด้วยกระเบื้อง หลังคามุงกระเบื้อง สิ้นค่าก่อสร้าง จำนวน 250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
- พ.ศ. 2545 ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลา “นิตยา” ซึ่งเป็นศาลาธรรมสังเวช ลักษณะศาลาเรือนไทยประยุกต์ ขนาด 5 X 12 เสาหินขัด หลังคามุงกระเบื้อง ใช้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 450,099 บาท (สี่แสนห้าหมื่นเก้าสิบเก้าบาทถ้วน) รวมค่าสาธารณูปการทั้งสิ้น 14,840,599 บาท (สิบสี่ล้านแปดแสนสี่หมื่นห้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
งานปฏิสังขรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 ได้ปฏิสังขรณ์เมรุ โดยเปลี่ยนเป็นเตาปลอดมลพิษตามมาตรฐานของกรมการศาสนา เป็นจำนวนเงิน 1,800,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน) รวมค่าปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น 1,800, 000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน) รวมค่าสาธารณูปการและปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น 16,640,599 บาท (สิบหกล้านหกแสนสี่หมื่นห้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
งานสาธารณสงเคราะห์
[แก้]- พ.ศ. 2543 ดำเนินการสร้างโรงอบยาสมุนไพร และบริการนวดแผนโบราณ จำนวน 1 หลัง เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. โดยการดูแลของสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ราคาค่าก่อสร้าง 259,200 บาท (สองแสนห้าหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน)
- พ.ศ. 2545 ดำเนินการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลศพ วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 20 เมตร จำนวน 1 หลัง หลังคามุงกระเบื้อง เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 350,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) รวมงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งสิ้น 609,200 บาท (หกแสนเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน)
- 25 กรกฎาคม 2563 ดำริก่อตั้งโครงการบ้านธรรมรวมใจเพื่อผู้ยากไร้จังหวัดสุรินทร์ เมตตาในพระพรหมวชิรโมลีและคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดสุรินทร์ และโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- 28 กรกฎาคม 2564 เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2565 จัดทำโรงทานร่วมกับผู้มีจิตศรัทธา จำนวน 15,000 บาท มอบทุนประกอบสัมมาชีพแก่ครัวเรือนยากไร้ 12 ครัวเรือน ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ จำนวน 12,000 บาท โดยครัวเรือนยากไร้ได้นำปัจจัยดังกล่าวจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจผักอินทรีย์แก้จน ชุมชนยะวึก และดำเนินการขยายเป็น 26 ครัวเรือนในปัจจุบัน
- 12 สิงหาคม 2564 ร่วมทำบุญแมสธรรมรวมใจ ต้านภัยโควิด ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 จำนวน 89,000 ชิ้น
- พ.ศ. 2564 ช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด สงเคราะห์ข้าวสารและอาหารแห้ง ถุงยังชีพ แก่ประชาชนชุมชนเทศบาลเมืองสุรินทร์ มูลค่าทั้งสิ้น 109,000 บาท
- 25 กรกฎาคม 2565 มอบทุนการศึกษา ข้าวสารอาหารแห้งและสิ่งของ และทุนประกอบสัมมาชีพ รวมทั้งสิ้น 269,700 บาท ดังนี้ ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และนักเรียน จำนวน 136 ทุน เป็นปัจจัยทั้งสิ้น 132,500 บาท บริจาคข้าวสารอาหารแห้งและสิ่งของแก่ผู้ยากไร้ ชุมชนเมืองสุรินทร์ จำนวน 600 ชุด มูลค่าทั้งสิ้น 163,200 บาท มอบทุนประกอบสัมมาชีพ กลุ่มวิสาหกิจผักอินทรีย์แก้จน ชุมชนยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ 10,000 บาท
- 30 กันยายน 2565 ถวายปัจจัยช่วยเหลือวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอรัตนบุรี อำเภอโนนนารายณ์และอำเภอสำโรงทาบ อำเภอละ 10,000 บาท และยารักษาโรค 3,400 บาท รวมทั้งสิ้น 33,400 บาท
- 13 ตุลาคม 2565 บริจาคเวชภัณฑ์ น้ำดื่มและสิ่งของช่วยเหลือน้ำท่วงจังหวัดสุรินทร์ ผ่านคณะสงฆ์ จำนวน 150 ชุด มูลค่าทั้งสิ้น 43,100 บาท
- 2 กุมภาพันธ์ 2566 มอบชุดปัจจัยดำรงชีพ แก่เหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 120 ชุด มอบข้าวสารแก่ผู้ยากไร้ เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จำนวน 120 ครัวเรือน มูลค่าทั้งสิ้น 53,400 บาท
- 6 เมษายน 2566 มอบรถเข็นแก่ตึกสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 3 คัน
- 25 กรกฎาคม 2566 มอบทุนการศึกษาและข้าวสารอาหารแห้งและสิ่งของ ดังนี้ ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และนักเรียน จำนวน 136 ทุน เป็นปัจจัยทั้งสิ้น 119,500 บาท บริจาคข้าวสารอาหารแห้งและสิ่งของแก่ผู้ยากไร้ ชุมชนเมืองสุรินทร์ จำนวน 640 ชุด มูลค่าทั้งสิ้น 225,200 บาท
- 26 สิงหาคม 2566 โครงการหมู่บ้านศีล 5 ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ มอบทุนประกอบสัมมาชีพแก่กลุ่มวิสาหกิจผักอินทรีย์แก้จน ชุมชนยะวึก อ.ชุมพลบุรี 10,000 บาท โดยหมู่บ้านได้รับรางวัลหมู่บ้านศีล 5 ระดับจังหวัดและระดับภาค ตามลำดับ
- 25 กรกฎาคม 2563-ปัจจุบัน บ้านธรรมรวมใจเพื่อผู้ยากไร้ เมตตาในพระพรหมวชิรโมลีและคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ได้ดำเนินการสร้างบ้าน รวมทั้งสิ้น 25 หลัง รวมทั้งมอบปัจจัยในการประกอบอาชีพ ข้าวสารอาหารแห้งและสิ่งของ มูลค่าทั้งสิ้น 225,200 บาท
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2533 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาการจัดการพระปริยัติธรรมดีเด่น
- พ.ศ. 2539 ได้รับประกาศเกียรติคุณ จากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาจิตผู้ต้องขัง
- พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์มีมติให้ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา เมื่อวันที่ 22 เดือนกันยายน พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์เข้าถวายปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา เมื่อวันที่ 4 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2548
- พ.ศ. 2555 ได้รับธรรมบัตรเชิดชูเกียรติ รางวัลคนดีศรีสังคม ดาราอวอร์ด จากเสถียรธรรมสถาน โดย แม่ชี ศันสนีย์ เสถียรสุต เป็นผู้นำมามอบให้ด้วยตนเอง ณ วัดศาลาลอย พระอารามหลวง จังหวัดสุรินทร์
- 3 กรกฎาคม 2565 ได้รับรางวัลประชาบดี โดย พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล เป็นผู้แทนพระองค์ มาเป็นประธานในพิธีประทานรางวัล “ประชาบดี” ประจำปี 2564 แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากและผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากที่ประพฤติตนดีเด่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
นามที่เป็นอนุสรณ์ที่ระลึก
[แก้]- อาคารพระธรรมโมลี(ทองอยู่) สำนักงานวิทยาเขตสุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
- วัดพรหมวิสุทธาราม(ในความอุปถัมภ์พระพรหมวชิรโมลี(ทองอยู่)) ตำบลบุฤๅษี อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
มรณภาพ
[แก้]พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) ป.ธ.9 เข้ารักษาอาการอาพาธด้วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567 ภายหลังได้มีภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่น ได้แก่ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร เกร็ดเลือดต่ำ ไตวายเฉียบพลัน ภาวะความดันโลหิตต่ำ มีสัญญาณชีพไม่คงที่ ชีพจรต่ำลง ไม่ตอบสนองในการรักษาพยาบาล และถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุได้ 90 ปี 69 พรรษา เมื่อวันศุกร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 00.38 น. ณ โรงพยาบาลสุรินทร์ อาคาร 14 ชั้น 2 หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2[5]
สมณศักดิ์,พัดยศ
[แก้]- พ.ศ. 2513 ได้รับพระราชทานทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค มีสมณศักดิ์พัดยศทางวิชาการเปรียญธรรม ที่ พระมหาทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในพิธีทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค และเปรียญธรรม 6 ประโยค ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2524 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระศรีธีรพงศ์,(สป.)
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชวิสุทธิเมธี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [6]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพปัญญาเมธี ศรีปริยัติธรรมดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2548 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมโมลี ศรีปริยัตโยดม วิกรมธรรมธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- 6 มิถุนายน พ.ศ. 2564 มีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนาสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามที่ พระพรหมวชิรโมลี ศรีปริยัตบริหาร ไพศาลศาสนกิจดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ "พระธรรมโมลี" เป็น "พระพรหมวชิรโมลี"". Thai PBS.
- ↑ "แสนอแต่งตั้ง พระโสภณปริยัตยาภรณ์ วัดพรหมสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์". มหาเถรสมาคม. 30 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
- ↑ "เสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑" (PDF). มหาเถรสมาคม. 30 กันยายน 2556. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ chanhena, Bandit. "ศิษย์สุดอาลัย สิ้นพระมหาเถระนักการศึกษา "พระพรหมวชิรโมลี" มรณภาพ สิริอายุ 90 ปี". เดลินิวส์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 119, ตอนที่ 105 ฉบับพิเศษ, 5 ธันวาคม 2535, หน้า 11
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 116, ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 2 ข, 12 มกราคม 2549, หน้า 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์[ลิงก์เสีย], เล่ม 138, ตอนที่ 29 ข, 6 มิถุนายน 2564, หน้า 3
- ↑ "โปรดเกล้าฯสถาปนา "พระธรรมโมลี" ขึ้นเป็น "พระพรหมวชิรโมลี"". posttoday. 2021-06-06.
ก่อนหน้า | พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระมหาสุรพงษ์ เตมิโย | เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย (พ.ศ. 2523 - 12 เมษายน พ.ศ. 2567) |
พระราชวิมลโมลี (มานพ ปิยสีโล) | ||
พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) | เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (พ.ศ. 2540 - 2556) |
พระโสภณปริยัตยาภรณ์ (ฉัตต์ สจฺจวโร) |