ไตรพันธมิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไตรพันธมิตร

  • Dreibund
  • Hármas szövetség
  • Triplice alleanza
  • Tripla Alianță
1882–1914
ไตรพันธมิตรใน ค.ศ. 1913 แสดงในสีแดง
ไตรพันธมิตรใน ค.ศ. 1913 แสดงในสีแดง
สถานะพันธมิตรทางการทหาร
เมืองหลวง
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสวยงาม
• ทวิพันธมิตร
(เยอรมนี / ออสเตรีย-ฮังการี)
7 ตุลาคม 1879
• ไตรพันธมิตร
(เยอรมนี / ออสเตรีย-ฮังการี / อิตาลี)
20 พฤษภาคม 1882
• โรมาเนียเข้าร่วมอย่างลับ ๆ
18 ตุลาคม 1883
• ยุบเลิก
28 มิถุนายน 1914
ก่อนหน้า
ถัดไป
ทวิพันธมิตร
ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
ธงชาติเยอรมนี
ธงชาติอิตาลี
ธงชาติออสเตรีย
ธงชาติฮังการี
ประมุขไตรพันธมิตร: วิลเฮ็ล์มที่ 1 (เยอรมนี), ฟรีดริชที่ 3 (เยอรมนี), วิลเฮ็ล์มที่ 2 (เยอรมนี), ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 (ออสเตรีย-ฮังการี), อุมแบร์โตที่ 1 (อิตาลี) และวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 (อิตาลี)

ไตรพันธมิตร (อังกฤษ: Triple Alliance) เป็นพันธมิตรทางการทหารระหว่างเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ซึ่งจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1882[1] กระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นใน ค.ศ. 1914[2] ประเทศภาคีให้สัญญาจะช่วยเหลือกันในกรณีที่ถูกโจมตีจากรัฐมหาอำนาจอื่นอีกสองรัฐ หรือในกรณีของเยอรมนีและอิตาลี หมายถึงการโจมตีจากฝรั่งเศสเพียงประเทศเดียว ในแถลงการณ์เพิ่มเติม อิตาลีระบุไว้ว่าข้อผูกพันของตนไม่อาจถือว่าเป็นการมุ่งต่อต้านสหราชอาณาจักร ไม่นานหลังจากต่ออายุพันธมิตรในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1902 อิตาลีได้ขยายการรับประกันที่คล้ายกันไปถึงฝรั่งเศสด้วยอย่างลับ ๆ[1]

เมื่อเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีพบว่าตนอยู่ในสภาวะสงครามในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 กับปรปักษ์ไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศส และพันธมิตรของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย อิตาลีมีข้อผูกพันจะต้องให้การสนับสนุนฝ่ายมหาอำนาจกลาง แต่อิตาลีไม่ได้เข้าสู่สงครามเพราะไตรพันธมิตรเป็นพันธมิตรทางทหารเพื่อการป้องกัน และเยอรมนีกับออสเตรีย-ฮังการีเป็นฝ่ายรุกรานก่อน หลังจากนั้น อิตาลีเข้าร่วมสงครามโดยเข้ากับฝ่ายไตรภาคีต่อต้านออสเตรีย-ฮังการีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915[2] และเยอรมนีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1916

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Charles Seymour (1916). The Diplomatic Background of the War, 1870–1914. Yale University Press. p. 35, 147.
  2. 2.0 2.1 Robert Kann (1974). A History of the Habsburg Empire, 1526–1918. University of California Press. pp. 470–472.