บ้านหนองอุ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บ้านหนองอุ่ม เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง มีผลการผลิตข้าวนาปีมากที่สุดในเขตพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย[1]

ภาพหนองอุ่ม ณ ปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

เมื่อประมาณปี 2362 สมัยรัชกาลที่ 2 ตอนปลาย(สมัยกรุงรัตนโกสินทร์) ได้มีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเดินทางมาจากทิศตะวันออก มาจากบริเวณเมืองหงษ์ เก็บถาวร 2018-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[2] เมืองทอง เก็บถาวร 2018-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[3] ซึ่งปัจจุบันอยู่ในท้องที่ของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้นำช้างเป็นพาหนะเดินทางมาสำรวจพื้นที่แห่งใดอุดมสมบูรณ์พอจะอยู่อาศัยได้โดยไม่อดอยาก และได้มาถึงบริเวณที่บ้านหนองอุ่มปัจจุบัน ได้พบว่าเป็นบริเวณที่สำรวจแล้วได้หารือกัน ตกลงกันจะอยู่ตั้งหลักบริเวณนี้ จึงได้ย้อนกลับไปรับครอบครัวบุตรหลานพร้อมสัตว์เลี้ยงเดินทางโดยกองเกวียนย้ายมาอยู่บริเวณปัจจุบัน โดยสันนิษฐานว่ามีผู้นำกลุ่มเป็นคนรุ่นพ่อของมหาชานนท์ (โหว่) ได้หารือการตั้งชื่อหมู่บ้าน แนวความคิดหลายๆคนมีความเห็นตรงกันว่าจะใช้ชื่อว่า บ้านหนองอุ่ม[4] บ้านหนองอุ่มเป็นที่เนินตั้งอยู่ข้างหนองน้ำซึ่งปกคลุ่มด้วยพันธ์ไม้นาๆ ชนิด เช่น ต้นหูลิง ต้นฝ้ายน้ำ ต้นแสง ที่ชอบพื้นที่ชายเลน หนองน้ำจืดทางภาคอีสานเรียกว่า ทาม มีลักษณะเป็นสุ้ม เป็นอุ่มเป็นเถาว์ตามสภาพหนองมีรำรางและน้ำมักหลากมาท่วมอยู่เสมอและทั้งอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำจืดนาๆ ชนิด โดยอาศัยสภาพที่อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรตามสภาพและจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่บ้านสมัยก่อนเรียกว่า ตากวนบ้าน ) ดังมีรายนามอดีตผู้ใหญ่บ้านดังต่อไปนี้

  1. ฉายานามว่าหมื่นอักษร
  2. ฉายานามว่าขุนคลัง
  3. นายแก้ว ชูพันธ์ นามเดิม ขุนพินิจ
  4. ฉายานามว่าขุนสีวิชา
  5. นายพรหม วิชาเรือง
  6. นายพิมพ์ บรรเทา
  7. นายโถน บรรเทา
  8. นายชาย วงศ์แสน
  9. นายเคน บรรเทา
  10. นายแดง กางมัน
  11. นายอ้วย จันทะลุน
  12. นายเคนมา สิริฮาต
  13. นายทองพูน วิชาเรือง
  14. นายสงวน บุญหลักคำ
  15. นายเรืองเวศ รัตน์แสง

ปัจจุบันบ้านหนองอุ่ม มีการแบ่งการปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน คือ 8, 12, 22, 23 อยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้นำหมู่บ้านชุดปัจจุบัน[แก้]

  1. นายศรวุธ บูรพันธ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8
  2. นายทองไสย โยสียา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 12
  3. นายบุญชื่น สงคราม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 22
  4. นายนิพนธ์ จันทะลุน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 23

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ บ้านตำแย
  • ทิศตะวันออก บ้านหัวหนอง บ้านลาด
  • ทิศตะวันตก บ้านหวาย บ้านแหย่ง
  • ทิศใต้ บ้านดอนมัน บ้านแสน บ้านขี บ้านโนนแสบง

ประชากร[แก้]

บ้านหนองอุ่มมีจำนวนประชากร 1,769 คน และ มีจำนวนครัวเรือน 372 ครัวเรือน

สถานศึกษา[แก้]

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองอุ่ม
  2. โรงเรียนหนองอุ่มหวายสามัคคี(โรงเรียนหนองอุ่มวิทยาคารเดิม)

สถานพยาบาล[แก้]

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองอุ่ม(สถานีอนามัยบ้านหนองอุ่มเดิม)

การเดินทาง[แก้]

  1. บ้านหนองอุ่มติดกับหลวงชนบทสาย มค.4009 สามารถเดินทางโดยรถส่วนตัวหรือรถประจำทางสาย 219(สีชมพู)จากบขส.มหาสารคาม-ขอนแก่นได้

ประเพณีและวัฒนธรรม[แก้]

วัฒนธรรมและประเพณีของหมู่บ้านเป็นตามแต่โบราณคือ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ และมีประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้านคือ

  1. ประเพณีเอาบุญบ้าน โดยแต่ละบ้านจะโยงด้ายสายสิญจน์ไปรวมกันที่ใจกลางหมู่บ้าน(ศาลากลางบ้าน) ชาวบ้านจะทำกระทงที่มีรูปปั้นของสมาชิกในครอบครัวและวัวควายและสัตว์ต่างพร้อมเขียนรายชื่อ พร้อมข้าวดำ ข้าวแดง หมากพลู และน้ำหอมใส่ถัง สำหรับทำน้ำมนต์ไปรวมกันที่ศาลากลางบ้านและจะทำศาลไว้รอบหมู่บ้าน โดยมีความเชื่อว่าช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้นภายในหมู่บ้านซึ่ง "พ่อใหญ่ครูหมี" ซึ่งเป็นคนที่ชาวบ้านนับถือและเป็นคนตั้งหลักบือบ้านเป็นคนเริ่มประเพณีนี้
  2. ประเพณีการขอฝนซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวนาภาคอีสาน ได้แก่ พิธีแห่นางแมว พิธีกรรมสวดมัจฉราชจริยาคาถาหรือคาถาปลาช่อน(คาถาขอฝน) พิธีกรรมเทศน์พญาคันคาก โดยจะทำติดต่อกันสามวันหรือจนฝนตก งานบุญบั้งไฟ

งานประจำปี[แก้]

  1. งานบุญผะเหวด จะจัดประจำทุกปี
  2. งานบุญกฐิน
  3. งานบุญบั้งไฟ จะจัดเว้นสองปีหรือสามปีเนื่องจากเป็นงานใหญ่ โดยชาวบ้านในแต่หมู่บ้านจะจัดขบวนแห่มาแข่งขันกัน สมัยก่อนชาวบ้านในหมู่บ้านจะทำบั้งไฟเองโดยมีช่างบั้งไฟแต่ละหมู่ โดยตอนค่ำคนในหมู่บ้านก็จะออกมาช่วยกันทำโดยบั้งไฟจะทำจากท่อเหล็กขนาดใหญ่แต่ปัจจุบันแต่ละหมู่จะระดมเงินเพื่อจัดซื้อบั้งไฟทำสำเร็จที่ทำจากท่อพลาสติกแทน[5]

สถานที่สำคัญทางศาสนาและความเชื่อ[แก้]

  1. วัดพรหมประสิทธิ์
  2. สำนักสงฆ์ป่าเลไลยก์
  3. ศาลากลางบ้าน(หลักบือบ้าน)

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

1. แยกหมู่บ้านเป็นสองหมู่บ้าน คือ 8 และ 12 สมัย นายชาย วงศ์แสน ได้รับการแต่งตั้งเป็นกำนันตำบลนาสีนวน 2. นายเคน บรรเทา เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่ที่ 12 ในปี พ.ศ. 2501 3. น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2521[6] 4. นายสงวน บุญหลักคำ ได้รับตำแหน่งประธานองค์การบริหารส่วนตำบลคนแรกในปี 2542 และหมู่ 8 แยกเป็นหมู่ 22 มี นายทองสอน ไชยโวหาร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกและหมู่ 12 แยกเป็นหมู่ 23 มีนายเรืองเวส รัตน์แสง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

วัตถุโบราณสำคัญ[แก้]

จารึกวัดบ้านหนองอุ่ม

จารึกวัดบ้านหนองอุ่ม[7] เป็นจารึกที่ทำจากหินเขียนด้วยอักษรไทน้อย สันนิษฐานว่าจารึกหลักนี้สร้างรุ่นเดียวกับจารึกวัดบ้านทับม้า (ร. 5 - ร. 6) พุทธศักราช 2411 - 2468

อ้างอิง[แก้]

  1. อำพน ศิริคำ,ข้อมูลพื้นฐานการเกษตร อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม, 2555.
  2. พิสิษฐ์ เรืองวิจิตรไพศาล, เจดีย์ร้างเมืองหงส์(ออนไลน์) , http://oknation.nationtv.tv, แหล่งที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/poppy19/2015/12/10/entry-1 , 18 พฤษภาคม 2561.
  3. พิสิษฐ์ เรืองวิจิตรไพศาล, เจดีย์ร้างเมืองหงส์(ออนไลน์) , http://oknation.nationtv.tv, แหล่งที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/poppy19/2015/12/10/entry-1 , 18 พฤษภาคม 2561.
  4. สงวน บุญหลักคำ, สังทองข์ วิชาเรือง , ประวัติบ้านหนองอุ่ม, 2539.
  5. อิสราภรณ์ ประกอบแสง,"งานบุญบั้งไฟบ้านหนองอุ่ม" ตำบลนาสีนวน, อำเภอกันทรวิชัย, จังหวัดมหาสารคาม(ออนไลน์),12 พฤษภาคม 2561
  6. พิสิษฐ์ เรืองวิจิตรไพศาล, ภูมิศาสตร์ จังหวัดมหาสารคาม(ออนไลน์) , www.sarakhamclick.com , แหล่งที่มา : http://www.sarakhamclick.com/sarakham/จังหวัดมหาสารคาม/ภูมิศาสตร์-จังหวัดมหาสารคาม.html เก็บถาวร 2012-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 กุมภาพันธ์ 2553.
  7. ธวัช ปุณโณทก, "จารึกวัดบ้านหนองอุ่ม", ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 441.