แถบวาย (มุทราศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“แถบวาย” นิยาม “พื้นตราสีเงิน แถบวายแดง”

แถบวาย (อังกฤษ: Pall หรือ pairle) เป็นภาษามุทราศาสตร์และธัชวิทยาที่เป็นเครื่องหมายเรขลักษณ์ที่มีลักษณะเหมือนอักษร “Y” เช่นในแถบขวางวายของธงชาติแอฟริกาใต้ (Flag of South Africa.svg)

นอกจากแถบวายมาตรฐานแล้วก็ยังมีแถบวายที่ประยุกต์เป็นรูปทรงต่างๆ ที่ได้แก่

ตัวอย่าง นิยาม (Blazon) และ คำอธิบาย
DEU Petershagen-Eggersdorf COA.svg แถบวายกลับ (Pall reversed)
เป็นแถบวายกลับหัวกลับหางกับแถบวายมาตรฐาน เช่นที่พบบนตราของปีเตอร์สฮาเก็น-เอ็กเกอร์ดอร์ฟ
Blason Conques.svg แถบวายลอย (shakefork)
เป็นแถบวายที่ปลายทั้งสามไม่จรดขอบโล่ เช่นที่พบบนตราของเมืองคองค์สในฝรั่งเศส
Earl of Glencairn Coat of Arms.svg แถบวายลอยปลายแหลม
เป็นแถบวายที่เหมือนกับแถบวายลอยแต่ปลายแขนวายตอนบนแหลม เช่นที่พบบนตราของเอิร์ลแห่งเกลนแคร์น
Wyssachen-coat of arms.svg แถบวายคลื่น (Pall wavy)
เป็นแถบวายที่มีลักษณะเป็นคลื่น เช่นที่พบบนตราของวิสซาเค็น
Horin znak.jpg แถบวายกลับคลื่น (Pall reversed wavy)
เป็นแถบวายที่กลับหัวกลับหางกับแถบวายมาตรฐานที่มีลักษณะเป็นคลื่น เช่นที่พบบนตราของ Horin
Angl-Canterbury-Arms.svg แถบวายศาสนา (ecclesiastical palls)
แถบวายอาจจะบ่งถึงความเกี่ยวข้องของผู้ถือตราว่าเป็นตราทางศาสนาโดยเฉพาะตราอาร์มของสังฆมณฑลของพระสังฆราช แขนสองข้างตอนบนของ “Y” จรดขอบโล่ แต่แขนตั้งมักจะไม่ลงมาจนถึงของของโล่และมีชายเป็นครุย

อ้างอิง[แก้]

  • Sir James Balfour Paul, Lord Lyon King of Arms (1969, first published 1903). An Ordinary of Arms Contained in the Public Register of All Arms and Bearings in Scotland, (2nd edition, paperback reprint). Baltimore: Genealogical Publishing Co.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แถบวายในมุทราศาสตร์