แอร์อาระเบีย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
| |||||||
ก่อตั้ง | 3 กุมภาพันธ์ 2546 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 28 ตุลาคม 2546 | ||||||
ท่าหลัก | |||||||
สะสมไมล์ | Airewards | ||||||
พันธมิตรการบิน | องค์การขนส่งทางอากาศอาหรับ | ||||||
บริษัทลูก | |||||||
ขนาดฝูงบิน | 44 | ||||||
จุดหมาย | 115 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | |||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
รายได้ | AED 3.7 billion(FY 2014)[1] | ||||||
กำไร | AED 566 million(FY 2014)[1] | ||||||
สินทรัพย์ | AED 10.574 million (FY 2014)[2] | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | AED 5.054 million (FY 2014)[2] | ||||||
พนักงาน | 2,302 (Dec, 2013)[3] | ||||||
เว็บไซต์ | www |
แอร์ อาระเบีย (อาหรับ: العربية للطيران) คือ สายการบินต้นทุนต่ำ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในศูนย์ขนส่งสินค้าชาร์จาห์ ท่าอากาศยานนานาชาติชาร์จาห์, ชาร์จาห์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สายการบินดำเนินการให้บริการสู่จุดหมายปลายทาง 51 สถานที่ใน ตะวันออกกลาง, อเมริกาเหนือ, ชมพูทวีป, เอเชียกลาง และ ยุโรปใน 22 ประเทศจากชาร์จาห์ 28 จุดหมายปลายทางใน 9 ประเทศจากคาซาบลังกา, เฟซ, นาดอร์ และ แทนเจียร์ และ 6 จุดหมายปลายทางใน 4 ประเทศจากอะเล็กซานเดรีย
ท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชาร์จาห์ สิ่งที่แตกต่างของแอร์อาระเบียที่เป็นสารการบินต้นทุนต่ำที่ให้บริการเชื่อมต่อกับหลายเที่ยวบินในท่าอากาศยานหลัก โดยมุ่งเน้นไปในกลุ่มเมืองอะเล็กซานเดรียและคาซาบลังกา[4]
ประวัติ
[แก้]แอร์ อาระเบีย (العربية للطيران) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 โดย พระราชกฤษฎีกาอามีรี่ ออกโดย สุลต่าน บิน โมฮัมหมัด อัล กาซิมี่ ตามกฏของ ชาร์จาห์ และเป็นสมาชิกของ สภาสูงสุดของสหรัฐอาหรับเอมิ กลายเป็นสารการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกของภูมิภาค โดยเริ่มดำเนินการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2546 ด้วยเที่ยวบินจาก ชาร์จาห์ ยูเออี ถึง ท่าอากาศยานนานาชาติบาห์เรน และสามารถทำกำไรตั้งแต่ปีที่ก่อตั้ง ในช่วงต้นปี 2549 ได้เสนอขายหุ้นครั้งแรกจำนวน 55% ของหุ้นบริษัท
กิจการของบริษัท
[แก้]ผู้บริการและเจ้าของ
[แก้]แอร์อาระเบียเปิดตัวในปี 2546 เป็นสารการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกในตะวันออกกลาง ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดูไบ ภายใต้ชื่อ (DFM: AIRARABIA) ซึ่งทำให้ตอนนี้เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์กว่า 10,000 ล้าน AED แอร์อาระเบียในวันนี้ประกอบด้วยกลุ่มของสารการบินและบริษัทที่ให้บริการการท่องเที่ยวในตะวันออกลางและแอฟริกาเหนือ
คณะกรรมการประกอบด้วยสมาชิก 7 คน โดยได้รับการคัดเลือกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี แอร์อาระเบียได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการและอุปสรรคทางการค้าอย่างใกล้ชิด
Board Member | Title |
---|---|
อับดุลลา บิน โมฮัมหมัด อัล ทานี่ | ประธานกรรมการบริการ |
อเดล อับดุล อลิ | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริหาร |
ดร. การ์เนม โมฮัมเม็ด อัล ฮาจรี่ | กรรมการอิสระ |
อะรีฟ นาควิ | สมาชิกไม่บริหาร |
อับดุลลา บิน โมฮัมหมัด อัล ทานี่ | กรรมการอิสระ |
ชีค คาลิด อิสสาม อัล การ์สสิมี่ | กรรมการอิสระ |
อลิ ซาลิม อัล มิดฟา | กรรมการอิสระ |
สำนักงานใหญ่
[แก้]สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท่าอากาศยานนานาชาติซาร์จาห์[5]
พันธมิตรทางการค้า
[แก้]สารการบินแอร์อาระเบียได้ทำสัญญากิจการร่วมค้าในสี่สถานีหลัก โดยเป็นการร่ามทุนกับสายการบินแบร์สกินลาร์คแอร์เซอร์วิส
อียิปต์
[แก้]แอร์อาระเบีย อียิปต์ เริ่มดำเนินการร่วมทุนกันระหว่างแอร์อาระเบียและอียิปต์เตียนทราเวลและบริษัทการท่องเที่ยว ทราฟโค กรุ๊ป โดยใช้ชื่อว่า "แอร์อาระเบีย อียิปต์" โดยมีสนามบินหลักอยู่ที่ อเล็กซานเดรีย อียิปต์[6] โดยสารการบินได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 22 พฤศภาคม 2553 และดำเนินการให้บริการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2553 มีเครื่องให้บริการจำนวน 3 ลำ ในจำนวน 2 ลำให้บริการตามตารางการบิน และอีก 1 ลำ เป็นการให้บริการแบบเช่าเหมาลำจากยุโรปมายังทะเลแดง
จอร์แดน
[แก้]แอร์อาระเบีย จอร์แดน ใช้ตัวย่อในสมาคมระหว่างประเทศ IATA คือ ทีบีเอ (TBA) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 สารการบินแอร์อาระเบียได้มีข้อตกลงกับ ทานทาสกรุ๊ป เพื่อจัดตั้ง "สารการบินแอร์อาระเบีย" มีฐานหลักอยู่ที่ อัมมาน จอร์แดน ปฏิบัติการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติควีนอาเลีย ไปยัง ยุโรป,ตะวันออกกลาง และ อเมริกาเหนือ[7] เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 สารการบินได้ประกาศถึงความล่าช้าที่จะเป็นศูนย์กลาวของประเทศรวมถึงปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น[8] เดือนมกราคม 2558 สารการบินแอร์อาระเบียออกมาประกาศการเข้าซื้อกิจการของสารการบินเพตราในอัตราส่วนร้อยล่ะ 49 โดยผู้ถือหุ้นหลักของสารการบินเพตรายังคงถือหุ้นในอัตราส่วนร้อยล่ะ 51 และจะมีการรีแบรนด์สารการบินแอร์อาระเบีย จอร์แดนในช่วงต้นปีนี้อีกด้วย โดยจะมีการเพิ่มเครื่องบิน เอ320 อีก 2 ลำ เพื่อจะได้เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของกรุงอัมมาน[9] แอร์อาระเบีย จอร์แดน ยังได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยัง คูเวต, ชาม เอล เช็ค, เออบิล และ เจดด้า
โมรอคโค
[แก้]แอร์ อาระเบีย มารอค (2552-ปัจจุบัน) - เป็นสารการบินร่วมทุนของสารการบินแอร์อาระเบียและนักลงทุนชาวโมรอคโค เนื่องจากโมรอคโคเป็นเหมือนที่มีขนาดใหญ่ในแถบคาซาบลังกา เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 6 พฤศภาคม 2552 เป็นการขยายเส้นทางการบินไปในแถบยุโรป และแอฟริกา แอร์ อาระเบีย มารอค มีเครื่องบินจำนวน 4 ลำที่ให้บริการไปยังจุดหมายปลายทางในยุโรป
เนปาล
[แก้]ฟลาย เยติ (2550-2551) ปี 2551 สารการบินแอร์อาระเบียได้ตั้งฐานการบินที่เมืองกาตมานดุ ของเนปาลเพื่อทำการบินในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง โดยทำการทำข้อตกลงกับสายการบินเยติ โดยเป็นสารการบินต้นทุนต่ำ ในชื่อ ฟลายเยติ แต่เนื่องจากสภาพการเมืองและเศรษฐกิจไม่ดีในประเทศ ทำให้สายการบินต้องหยุดการให้บริการลงในปี 2551
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ปลายปี 2557 แอร์อาระเบียให้บริการส่งผู้โดยสารไปยัง 100 ท่าอากาศยานในตะวันออกกลาง, แอฟริกาเหนือ, เอเชียและยุโรป และล่าสุดที่ ไคโรประเทศอียิปต์.[10][11]
ตารางแสดงจำนวนจุดหมายปลายทางที่สายการบินแอร์อาระเบียให้บริการ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2558:
เมือง | ประเทศ | IATA | ICAO | ท่าอากาศยาน | บินตรง |
---|---|---|---|---|---|
ชาร์จาห์ | สหรัฐอาหรับเอมิเรต | SHJ | OMSJ | ท่าอากาศยานนานาชาติชาร์จาห์ | 65 |
ราส อัล-ไคมาห์ | สหรัฐอาหรับเอมิเรต | RKT | OMRK | ท่าอากาศยานนาชาติราส อัล-ไคมาห์ | 10 |
อะเล็กซานเดรีย | อียีปต์ | HBE | HEBA | ท่าอากาศยานเบิกแอนเดอเอลอาหรับ | 7 |
คาซาบลังกา | โมรอคโค | CMN | GMMN | ท่าอากาศนานาชาติโมฮัมหมัดที่ห้า | 12 |
แทนเจียร์ | โมรอคโค | TNG | GMTT | ท่าอากาศยานแทนเจียร์อีบัน บัตทัวต้า | 7 |
นาดอร์ | โมรอคโค | NDR | GMMW | ท่าอากาศนานาชาตินาดอร์ | 6 |
เฟซ | โมรอคโค | FEZ | GMFF | ท่าอากาศยานเฟส-ไซส์ | 1 |
อัมมาน | จอร์แดน | AMM | OJAI | ท่าอากาศยานานาชาติควีนอะเลีย | 7 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Air Arabia 2014 full year net profit climbs 30% to AED 566 million". สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2015.
- ↑ 2.0 2.1 "Air Arabia Balance Sheet". GulfBase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Air Arabia Member profile". Arab Air Carriers Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Directory: World Airlines". Flight International. 27 มีนาคม 2007. p. 52.
- ↑ "Contact Info เก็บถาวร 2012-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Air Arabia. Retrieved on 21 June 2010. "Air Arabia (UAE) Air Arabia Head Quarters Sharjah Freight Center (Cargo),at Sharjah International Airport P.O. Box 132 Sharjah, United Arab Emirates" - Arabic เก็บถาวร 2013-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "العربية للطيران الامارات مركز الشارقة لنقل البضائع (الشحن) ،بالقرب من مطار الشارقة الدولي ص. ب. 132 الشارقة، الإمارات العربية المتحدة"
- ↑ "Air Arabia announced new Egyptian airline". Airarabia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2011.
- ↑ "Air Arabia signs deal to launch budget carrier in Jordan". Arabianbusiness.com. 7 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2011.
- ↑ "Air Arabia delays Jordan plans amid unrest, fuel prices" เก็บถาวร 2014-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters. June 14, 2011. Accessed June 14, 2011
- ↑ "Air Arabia Expands into Jordan". Airliner World: 13. มีนาคม 2015.
- ↑ "Destinations - Air Arabia". Air Arabia. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2013.
- ↑ "Air Arabia adds Cairo as its 90th Worldwide Destination". IANS. news.biharprabha.com. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2014.