พลอยไพลิน เจนเซน
พลอยไพลิน เจนเซน | |
---|---|
เกิด | พลอยไพลิน เจนเซน 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 แซนดีเอโก สหรัฐอเมริกา |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก (วท.บ.) โรงเรียนการบริหารสโลน สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (บธ.ม.) |
คู่สมรส | เดวิด วีลเลอร์ (พ.ศ. 2552–ปัจจุบัน) |
บุตร | แม็กซิมัส วีลเลอร์ ลีโอนาร์โด วีลเลอร์ อเล็กซานดรา วีลเลอร์ |
บิดามารดา | ปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี |
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
|
ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524) เป็นพระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
[แก้]ท่านผู้หญิงพลอยไพลินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ที่เมืองแซนดีเอโก ประเทศสหรัฐ[1] เรียกสั้น ๆ ว่า คุณพลอย หรือ พะพอย เป็นพระธิดาคนโตในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน อดีตพระสวามีชาวอเมริกัน มีน้องชายและน้องสาว คือ คุณพุ่ม และ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ตามลำดับ
ท่านผู้หญิงพลอยไพลินศึกษาวิชาการดนตรีที่โรงเรียนเพอร์เซลล์ (อังกฤษ: Purcell School) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาการปัญญา (อังกฤษ: Cognitive Science) เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก[2] และศึกษาต่อระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์[3] หลังสำเร็จการศึกษาได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินบริษัทแมคคินซีย์ประจำฮ่องกง แต่หลังตั้งครรภ์ได้เดือนที่แปดก็ตัดสินใจย้ายกลับไปนิวยอร์ก และอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ โดยให้เหตุผลว่าอยู่ใกล้กับครอบครัวของสามี[4]
ผลงานการแสดง
[แก้]ท่านผู้หญิงพลอยไพลินมีผลงานการแสดงละครเรื่อง ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน เมื่อ พ.ศ. 2544 ในบท "เจ้าหญิงจัสมิน"[5] และการแสดง แม่น้ำของแผ่นดิน พ.ศ. 2545 ในบท "ธิดาแห่งเจ้าพระยา"[6]
ทั้งนี้ ท่านผู้หญิงพลอยไพลินมีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้องเสียงโซปราโน และนักเปียโนอายุน้อยที่มีฝีมือเยี่ยม[2] ที่เคยมีผลงานการแสดงมาแล้วทั้งในยุโรปและเอเชีย[2] เช่น เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ท่านผู้หญิงพลอยไพลินได้แสดงคอนเสิร์ตในวาระครบรอบ 50 ปีการอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่จัดขึ้น ณ โรงอุปรากรซิดนีย์ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย การนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จเป็นองค์ประธาน โดยท่านผู้หญิงพลอยไพลินได้ขับร้องเปียโนคอนแซร์โด ร่วมกับคณะอุปรากรประเทศออสเตรเลียและคณะบัลเลต์ออร์เคสตรา เพลงที่ใช้ในการแสดงนั้นเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[7]
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ท่านผู้หญิงพลอยไพลินได้ร่วมแสดงอุปรากรเรื่อง พระเนมิราช รับบทเป็นเทพเจ้าในฉากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรครองราชสมบัติครบ 70 ปี[8] วันที่ 22 ตุลาคมปีเดียวกันท่านผู้หญิงพลอยไพลินได้ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[9] โดยวิดีทัศน์ดังกล่าวถูกบันทึกเพื่อนำไปฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ[10]
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ท่านผู้หญิงพลอยไพลินได้ร่วมขับร้องเพลง "แผ่นดินของเรา" และ "Wind Beneath My Wings" กับนักร้องและนักแสดงคนอื่น ๆ ในการแสดงดนตรีจิตรลดาสวามิภักดิ์ ชุดก้าวเดินต่อไป เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ลานพระราชวังดุสิต[11]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ท่านผู้หญิงพลอยไพลินเป็นที่กล่าวถึงด้านการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและเลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างนักศึกษาเช่นสามัญชนทั่วไป โดยมิถือตัวว่าตนเป็นพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ เธอจึงเป็นที่รู้จักในนามของ "พลอย เจนเซน" นักศึกษาลูกครึ่งไทย-อเมริกันเสียมากกว่า[2] ในบันทึกของเพื่อนนักศึกษาคนหนึ่งได้กล่าวถึงเธอความว่า "เธอเคยมีประสบการณ์ทำงานทางด้านวาณิชธนกิจ [Investment Banking] กับบริษัทชั้นนำทางด้านนี้อย่างแมคคินซีย์แอนด์คอมพานี [McKinsey & Company] มาแล้ว (รวมถึงเป็นนักเปียโน และนักร้องเสียงโซปราโนอีกด้วย)"[2]
ท่านผู้หญิงพลอยไพลินสมรสกับเดวิด วีลเลอร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552 พิธีสมรสจัดขึ้นที่รัฐฮาวาย สหรัฐ[12] โดยจัดขึ้นอย่างเรียบง่าย[2] ทั้งสองมีบุตรชายด้วยกันสองคน คนโตชื่อ แม็กซิมัส "แม็กซ์" วีลเลอร์ เกิดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[4][13][14] และมีบุตรชายคนที่สองช่วงปี พ.ศ. 2557[15][16] ชื่อ ลีโอนาร์โด "ลีโอ" วีลเลอร์ โดยทั้งสองได้รับพระราชทานชื่อภาษาไทยจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "จุลรัตน์" และ "ภัททพงศ์" ตามลำดับ[4][17][18] และมีธิดาคนหนึ่งชื่ออเล็กซานดรา "แอลี" วีลเลอร์ ปรากฏตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562[19][20][21] มีชื่อภาษาไทยว่า "ภัททสุดา"[22]
ท่านผู้หญิงพลอยไพลินและสามีได้ออกมาร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนไทยที่พำนักในสหรัฐในบางวาระ เช่น ในปี พ.ศ. 2556 ทั้งสองได้ร่วมงานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช[15][23] ในปี พ.ศ. 2557 ได้เข้าร่วมงานถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านการส่งเสริมการมีมนุษยธรรมแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [16] และปลายปีนั้น ท่านผู้หญิงพลอยไพลินและสามี ได้ร่วมพิธีเปิด "การแสดงศิลปะลายเส้นและเขียนสีของฐาปนันดรศิลปิน" เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ซึ่งจัดแสดงผลงานศิลปะของชวน หลีกภัย[24] การนี้ท่านผู้หญิงพลอยไพลินได้ขับร้องเพลงเงาไม้ ประกอบการเล่นแซ็กโซโฟนของชวน เพื่อให้กมล ทัศนาญชลี วาดภาพสีน้ำประกอบไปด้วย[25]
วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ท่านผู้หญิงพลอยไพลินพร้อมด้วยครอบครัว ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายพระพรเนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 60 ปี[26]
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ท่านผู้หญิงพลอยไพลินพร้อมด้วยเดวิด วีลเลอร์ และแม็กซิมัส วีลเลอร์ ตามเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เข้าร่วมพระราชพิธีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[27][28][29]
วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายในและเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ 2 แก่คุณพลอยไพลินและคุณสิริกิติยา เจนเซน ทั้งสองได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ท่านผู้หญิง"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[30]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[31]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[32]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๒ (ว.ป.ร.๒)[31]
สิ่งอันเนื่องด้วยนาม
[แก้]- ห้องประชุมพลอยไพลิน อาคารอุบลรัตนราชกัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน |
---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ PLOYPAILIN JENSEN เก็บถาวร 2013-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ""คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น" Simple Life Simple Love". ASTVผู้จัดการรายวัน. 29 มิถุนายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-01. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คุณพลอยไพลิน เจนเซน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 2011-03-25.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "เต็มอิ่มครั้งแรก!! ครอบครัวอบอุ่นน่ารัก "คุณพลอยไพลิน เจนเซน"". ไทยรัฐฉบับพิมพ์. 26 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน". ไทยแลนด์ละครดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แม่น้ำของแผ่นดิน ปีที่ 3 ชุดมหาราชจอมราชัน". สนุกดอตคอม. 7 กุมภาพันธ์ 2545. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Concert to Celebrate the 50th Royal Wedding Anniversary of Their Majesties the King and Queen" (ภาษาอังกฤษ). ASIA Travel Tips. 14 กรกฎาคม 2543. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น' ร่วมแสดงโอเปร่า 'พระเนมิราช' 26 มิ.ย.นี้ เปิดให้ประชาชนร่วมชื่นชม". มติชน. 17 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คุณพลอยไพลิน ร่วมร้องเพลง สรรเสริญพระบารมี ที่สนามหลวง". Nation TV. 22 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อนันต์ จันทรสูตร์ (22 ตุลาคม 2559). "ภาพครั้งประวัติศาสตร์! พสกนิกรเรือนแสนร่วมร้องเพลง "สรรเสริญพระบารมี"". Nation TV. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'คุณพลอยไพลิน' ร่วมขับร้อง 'แผ่นดินของเรา' ในคอนเสิร์ตหน้าพระลานพระราชวังดุสิต". แนวหน้า. 9 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ภาพชุดมงคล "คุณ พลอยไพลิน" เข้าพิธีวิวาห์หวานชื่น". Voice TV. 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "คุณพลอยไพลิน เจนเซน กับภาพครอบครัวที่เปี่ยมสุข และ "MAX " ลูกชายคนแรก". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 20 มิถุนายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เปิดไฟล์ตำนานรัก (อย่างละเอียด) "คุณพลอยไพลิน เจนเซน กับสามี"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 27 มิถุนายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-30. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 15.0 15.1 "ที่นี่จาก USA ประจำอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2556". เดลินิวส์. 15 ธันวาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-22. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 16.0 16.1 "ที่นี่จาก USA ประจำอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557". เดลินิวส์. 9 กุมภาพันธ์ 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-27. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น" ถ่ายแบบครอบครัวริมทะเลขึ้นปกดิฉัน". ประชาชาติธุรกิจ. 1 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "น่าเอ็นดู "คุณจุลรัตน์ – คุณภัททพงศ์" บุตรชายของคุณพลอยไพลิน เจนเซ่น". แพรว. 31 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'คุณพลอย' จูงมือครอบครัวเที่ยวชมงานอุ่นไอรักฯ". ไทยรัฐออนไลน์. 14 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คุณพลอยไพลิน พร้อมครอบครัวเยี่ยมชมงานอุ่นไอรักฯ ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับเรือพระราชพิธีจำลอง". ผู้จัดการออนไลน์. 14 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คุณพลอยไพลิน เจนเซน อุ้มธิดาน้อย ร่วมชมงาน อุ่นไอรักคลายความหนาวฯ". ข่าวสด. 14 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'หมอยง' เตือนโควิด-19 อาจติดมากับอาหารแช่แข็ง - ศบค. เผยยอดผู้ป่วยใหม่ 9 คน จาก ตปท". ช่อง 3. 26 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ยังค์ กานต์ (15 ธันวาคม พ.ศ. 2556). "สายตรงจากต่างแดน 15/12/56". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น ร่วมงานแสดงภาพเขียน "ชวน หลีกภัย"". สยามมีเดีย. 17 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สยามทาวน์ข่าวแอลเอ 211". สยามทาวน์ยูเอส. 19 ตุลาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระเทพรัตนฯ โปรดเกล้าฯ ให้ "คุณพลอยไพลิน" เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 3 เมษายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""สมเด็จพระเทพ" เสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพ". คมชัดลึก. 22 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คุณพลอยไพลิน จูงมือคุณแม็กซิมัส พระราชปนัดดาในหลวง กราบสักการะพระบรมศพ". ข่าวสดออนไลน์. 22 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คุณพลอยไพลิน จูงมือคุณแม็กซ์ ร่วมประเคนภัตตาหารเช้า". สนุกดอตคอม. 22 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2551 (กรณีพิเศษ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (16ข): 1. 14 ธันวาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 31.0 31.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายในและเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (16ข): 1. 7 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (คุณพลอยไพลิน เจนเสน, คุณพุ่ม เจนเสน และ คุณสิริกิตติยา เจนเสน)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (2ข): 1. 4 มีนาคม 2548. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2524
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลมหิดล
- ชาวไทยเชื้อสายอเมริกัน
- ท่านผู้หญิง
- นักร้องเสียงโซปราโน
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2 (ร.10)
- บุคคลจากแซนดีเอโก
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์