เทศบาลตำบลหนองบัวบาน
เทศบาลตำบลหนองบัวบาน | |
---|---|
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | อุดรธานี |
อำเภอ | หนองวัวซอ |
ประชากร (2548) | |
• ทั้งหมด | 6,017 คน |
รหัส อปท. | 05410309 |
ที่อยู่ สำนักงาน | ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี |
โทรศัพท์ | 0 4228 5561 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
เทศบาลตำบลหนองบัวบาน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ที่มีชาติพันธุ์ซึ่งมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แตกต่างจากพื้นที่อื่นในอำเภอหนองวัวซอ เช่น ภาษาในการพูด จะพูดสำเนียงภาษาคล้ายทางภาคเหนือของประเทศลาว จังหวัดเลย และเพชรบูรณ์
ประวัติและความเป็นมา[แก้]
ตำบลหนองบัวบาน บ้านหนองบัวบาน มีบรรพบุรุษอยู่ที่แขวงไชยบุรีและแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านผาน้อย - บ้านโคกมน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ได้ทำการเดินทางมาค้าขายระหว่างจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดเลย มาพบลำห้วยซึ่งเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ ในช่วงเวลานั้นจังหวัดเลยเกิดความแห้งแล้งมากมาเป็นเวลา 7 ปี ผู้คนอดอยากกินหัวมันหัวกลอยแทนข้าว ขุนศรีวงษาบ้านโคกมน จึงได้ชวนลูกหลานอพยพเดินทางมาอยู่ที่หนองบัวบาน เป็นหนองน้ำที่มีดอกบัวบานสพรั่งจึงตั้งชื่อว่า "บ้านหนองบัวบาน" ในปี พ.ศ. 2462 บ้านหนองบัวบานในอดีตเป็นป่าดงพงลึกมากมีสัตว์ป่านานาชนิดมากมาย บ้านหนองบัวบาน ในอดีตนั้นเคยมีกลุ่มแนวร่วมคอมมิวนิสต์ด้วย
รายนามตระกูลผู้ร่วมก่อตั้งบ้านหนองบัวบาน[แก้]
- 1. เวชบรรพต
- 2. ศรีบุญเรือง
- 3. มีจินดา
- 4. ยอดคีรี
สภาพทั่วไป[แก้]
เขตเทศบาลตำบลหนองบัวบาน จำนวน 9 หมู่บ้าน (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีเนื้อที่ 78,368 ตารารกิโลเมตร หรือ 48,980 ไร่)
พื้นที่สภาตำบลหนองวัวซอ (ยุบรวม 5 หมู่บ้าน) มีเนื้อที่ 28 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,500 ไร่ รวมพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวบาน (เดิม) ทั้งหมด 106,368 ตารางกิโลเมตร หรือ 66,480 ไร่ (ในปี พ.ศ. 2548)
ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]
ภูมิประเทศเป็นที่ราบรุ่มลักษณะเป็นเอ่งน้ำ เนื่องจากมีคูเขื่อนห้วยหลวงล้อม หน้าฝนมีน้ำท่วมขัง เหมาะแก่ทำการประมง และการเกษตร ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือดอนติดเขตทหาร
อาณาเขตตำบล[แก้]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ต.เมืองเพีย อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านโคกก่อง ต.หนองวัวซอ, หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตเทศบาลตำบลนิคมสงเคราะห์ ต.หนองไฮ, ต.โคกสะอาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.น้ำพ่น อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
ข้อมูลการปกครอง[แก้]
จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลหนองบัวบาน ทั้งหมดจำนวน 14 หมู่บ้าน
- ในเขตตำบลหนองบัวบาน มี 9 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 1-9)
- นอกเขตตำบลหนองบัวบาน มี 5 หมู่บ้าน (สภาตำบลหนองวัวซอ หมู่ที่ 1, 3, 4, 7 และ 8)
จำนวนครัวเรือนและประชากร[แก้]
ในเขตเทศบาลตำบลหนองบัวบาน จำนวน 14 หมู่บ้าน
- หมู่ที่ 1 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 147 ครัวเรือน มีประชากร 882 คน
- หมู่ที่ 2 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 160 ครัวเรือน มีประชากร 931 คน
- หมู่ที่ 3 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 130 ครัวเรือน มีประชากร 665 คน
- หมู่ที่ 4 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 87 ครัวเรือน มีประชากร 390 คน
- หมู่ที่ 5 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 102 ครัวเรือน มีประชากร 542 คน
- หมู่ที่ 6 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 95 ครัวเรือน มีประชากร 405 คน
- หมู่ที่ 7 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 192 ครัวเรือน มีประชากร 914 คน
- หมู่ที่ 8 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 119 ครัวเรือน มีประชากร 513 คน
- หมู่ที่ 9 ต.หนองบัวบาน จำนวนครัวเรือน 158 ครัวเรือน มีประชากร 807 คน
- หมู่ที่ 1 ต.หนองวัวซอ จำนวนครัวเรือน 7 ครัวเรือน มีประชากร 12 คน
- หมู่ที่ 3 ต.หนองวัวซอ จำนวนครัวเรือน 7 ครัวเรือน มีประชากร 25 คน
- หมู่ที่ 4 ต.หนองวัวซอ จำนวนครัวเรือน 40 ครัวเรือน มีประชากร 198 คน
- หมู่ที่ 7 ต.หนองวัวซอ จำนวนครัวเรือน 3 ครัวเรือน มีประชากร 12 คน
- หมู่ที่ 8 ต.หนองวัวซอ จำนวนครัวเรือน 54 ครัวเรือน มีประชากร 400 คน
- รวม จำนวนครัวเรือน 1,789 ครัวเรือน จำนวนประชากร 7,004 คน
สภาพสังคม[แก้]
อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ทำนา ปลูกสวนยางพารา ปลูกบวบหอม ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ประมง เป็นหลัก
- หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
- ธนาคาร - แห่ง
- โรงแรม - แห่ง
- รีสอร์ท 1 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันหลอด 6 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง
- โรงสีข้าว 6 แห่ง
- โรงเรือนอื่น ๆ (ไก่เห็ด) 11 แห่ง
- สภาพทางสังคม
- การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
- โรงเรียนมัธยม - แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 9 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนตำบล 1 แห่ง
- การศึกษา
- สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด 7 แห่ง
- ข้อมูลอื่น ๆ
- ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ - แห่ง
- มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น 60 คน
- ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 100 คน
- กลุ่มยุว อปพร. 1 รุ่น 16 คน
- อาสาพัฒนาชุมชน 1 รุ่น 16 คน
- อาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2 รุ่น 131 คน
เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล[แก้]
สามารถเดินทางจากตัวจังหวัดอุดรธานี โดยเส้นทางอุดรธานี - หนองบัวลำภู ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 ระยะทางประมาณ 22 กม.
สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ[แก้]
- เขื่อนห้วยหลวง
- วัดป่านิโครธาราม
- วัดบ้านสามขาสันติสุข
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
- แจ่วบองปลาร้าสุก
- ไข่เค็ม
- ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากใยบวบ
- ดอกไม้จันทน์
- ผ้าไหม
- ขนมเปี๊ยะ
- กลุ่มขนมไทย
- กลุ่มเครื่องหอมสมุนไพร
- กลุ่มทอเสื่อพื้นบ้าน
- กลุ่มพานบายศรีผู้สูงอายุ
- กลุ่มเย็บผ้า
- กลุ่มทอผ้าไหม
- กลุ่มขนมเบเกอรี
- กลุ่มน้ำยาล้างจานสมุนไพร
- กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูป
- กลุ่มปลาร้า
- กลุ่มหมวกรีไซเคิล
- กลุ่มผักปลอดสารพิษ
เทศกาลสำคัญ[แก้]
- งานประจำปีประกวดธิดาปลานิล ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน หลังบุญออกพรรษาปวารณา
- บุญตักบาตรเทโวโรหณะ (ที่มีขบวนตักบาตรพระสงฆ์ยาวที่สุดในจังหวัด)
- ประเพณีแข่งเรือ - บุญออกพรรษาปวารณา บริเวรเขื่อนห้วยหลวง
- บุญบั้งไฟ
สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค[แก้]
- การสาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล 2 แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 %
- การสาธารณสุข
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจชุมชน 1 แห่ง
- ศูนย์ อปพร . 2 แห่ง
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- การบริการพื้นฐาน
- การคมนาคม (แสดงจำนวนและสภาพทางคมนาคมทางบก) ส่วนมากถนนที่ใช้ในหมู่บ้านของ ตำบลหนองบัวบาน จะเป็นคอนกรีต
- การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์ - แห่ง
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 4 แห่ง
- การไฟฟ้า
- ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง มีเพียงส่วนน้อยตามชอยต่าง ๆ ที่ยังไม่ถึง
- แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ ลำห้วย 5 แห่ง
- บึง หนองและอื่น ๆ 2 แห่ง
- แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 4 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 100 แห่ง
- บ่อโยก 7 แห่ง
- ระบบน้ำประปา 9 แห่ง
- การบริการพื้นฐาน
บุคคลที่สำคัญ[แก้]
- พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
- หลวงปู่มี ปมุตโต (หลวงปู่เกล้า)
- หลวงปู่ลี กุสลธโร
- หลวงปู่เสน ปัญญาธโร
- หลวงปู่บัว สิริปุณโณ
- หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช
- พระอาจารย์ประสิทธิ์ บุญมากโร
อ้างอิง[แก้]
- Thaitambon.com Archived 2008-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน