หลวงปู่มี ปมุตฺโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลวงปู่มี ปมุตโต)
พระมี ปมุตฺโต

(มี ปมุตโต)
ชื่ออื่นหลวงปู่มี, หลวงปู่เกล้า
ส่วนบุคคล
เกิด26 มีนาคม พ.ศ. 2462 (89 ปี)
มรณภาพ11 สิงหาคม พ.ศ. 2551
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย) อุดรธานี
พรรษา42
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย)

หลวงปู่มี ปมุตโต หรือที่รู้จัก หลวงปู่เกล้า อดีตเจ้าอาวาส จำพรรษา ณ วัดดอยเทพนิมิตร (ถ้ำเกีย) วัดป่าสายธรรมยุติกนิกาย - สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บ้านหนองแซง ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ประวัติชาติกำเนิด[แก้]

หลวงปู่มี ปมุตโต นามเดิม นายมี ชาลีเชียงพิณ(ชาลีเชียงพิณ) เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2462 ที่บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอด้านซ้าย จังหวัดเลย บิดาชื่อ นายอู๊ด ทองคำ อาชีพเป็นช่างตีทอง มารดาชื่อ นางโพธิ์ ชาลีเชียงพิณมีพี่น้องรวมกัน 4 คน คือ

  1. นางวันดี เพ็งลี (ชาลีเชียงพิณ) ถึงแก่กรรมแล้ว
  2. หลวงปู่มี ปมุตโต
  3. หลวงปู่ลี กุสลธโร
  4. นางบุญก่อง ศรีบุญเรือง (ชาลีเชียงพิณ) น้องสาวต่างบิดา

ต่อมามารดาได้พาพี่น้องทั้ง 4 คน เดินทางอพยพมาตั้งรกรากที่ บ้านหนองบัวบาน ตำบลหมากหญ้า(ในขณะนั้น) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่เกล้าได้รับการศึกษาถึงระดับ ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านหนองบัวบาน ในช่วงวัยเยาว์ท่านได้เคยบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงได้ลาสิกขาออกมาทำงานช่วยมารดา และครอบครัว จากนั้นเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม ในครั้งที่ยั้งเป็นฆราวาสนั้น ท่านได้สมรสกับ นางใคร่ มีบุตรธิดารวม 4 คน

  1. นางเกล้า ชาลีเชียงพิณ
  2. นายแดง ชาลีเชียงพิณ
  3. นายวีระชัย ชาลีเชียงพิณ
  4. นางวิไล ชาลีเชียงพิณ

ชื่อหลวงปู่ท่านมีสองชื่อคือ หลวงปู่มี ซึ่งเป็นชื่อที่บิดามารดาตั้งให้ และอีกชื่อที่บุคคลทั่วไปทั้งฆราวาส พระเณร เอ่ยเรียกท่านด้วยความเคารพว่า หลวงปู่เกล้า ชื่อหลวงปู่เกล้านั้นมาจากธรรมเนียมชาวอีสาน ที่ถือปฏิบัติคล้าย ๆ กันในการเรียกแทนชื่อของผู้เป็นพ่อหรือแทนชื่อของคนผู้เป็นแม่ ด้วยชื่อของลูกคนโต ด้วยท่านมีลูกคนโตชื่อ เกล้า ดังนั้นเพื่อนบ้านคนรู้จักมักคุ้นจึงเรียกชื่อท่านว่า พ่อเกล้า และเรียกกันจนติดปากเรื่อยมาเป็น หลวงปู่เกล้า เช่นทุกวันนี้ สมัยเป็นฆราวาส สมัยเป็นฆราวาสหลวงปู่ท่านเป็นนายพรานล่าเนื้อจนเป็นที่รู้จักคนทั้งหมู่บ้านและยังเป็นหมอยาสมุนไพรรักษาคนป่วยวิธีการรักษาของหลวงปู่ก็คือเอาเหล็กที่แดง ๆ จากการเผาด้วยไฟมาว่างไว้แล้วเท้าหลวงปู่เยียบลงที่เหล็กแล้วยกขาขึ้นไปเยียบกับคนไข้ที่ปวดที่ต่าง ๆ ของร่างกายพอไปเยียบคนไข้คนไข้ก็ร้องว่าร้อนแต่หลวงปู่ไม่ได้แสดงอาการว่าร้อนแต่อย่างไรเลย เป็นผ้าขาวติดตามหลวงปู่ขาว อนาลโย ในอดีตสมัยเป็นฆราวาส หลวงปู่เคยติดตามอหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ในช่วงที่หลวงปู่ขาวออกวิเวกหลีกเร้นแสวงหาสถานที่ภาวนาไปตามป่าเขา การติดตามหลวงขาว เข้าสู่ป่าลึกที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายอันตรายนอกจากต้องมีความสันโดษมักน้อยในเรื่องการกินอยู่แล้ว จิตใจต้องก็ยิ่งหนักแน่นมั่นคงกล้าหาญอย่างยิ่งด้วย การที่ได้อุปัฎฐากหลวงปู่ขาวทำให้ท่านได้มีโอกาสพบเจอครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน และรู้จักคุ้นเคยกับปฏิปทาพระกรรมฐานจนเป็นแรงศรัทธาประทับไว้ในใจ ในสมัยเป็นฆราวาส หลวงปู่ท่านพูดให้ฟังว่า เฮาอยู่กับหลวงปู่ขาว เมื่อหนึงไปล่างกระโทน หลวงปู่ขาว เฮาลืมเซ็ดให้แห่ง หลวงปู่ขาวไปเจอท่านเลยโยนกระโทนใส่หน้าเฮาท่านกะว่าอยู่กับหลวงปู่มั่นบ่ได๋เด้อแบบนี้นะ เฮานะต้อนอยู่กับหลวงปู่ขาวอยู่ในป่าบางเมื้อหลวงปู่ขาวไปบิณฑบาตได๋แต่หมากพริงแห่งกับเกลือ เฮากะเอาหมากพริกแห่งกับเกลือมาตำแล้วเอาน้ำใส่ แล้วกะไปถวาย หลวงปู่ขาว ฉันเข่ากับน้ำพริง มันทุกบ่หมู่โต้คิดดู๊

     ชีวิตพรหมจรรย์เริ่มต้นกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

ชีวิตครองเรือนของท่าน ขณะที่ลูกสาวคนสุดท้องยังเป็นเด็ก ภรรยาของท่านก็ได้เสียชีวิต ท่านก็ผละจากการเป็นผู้ครองเรือนเข้าบวชกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม หลวงปู่อ่อน ท่านได้วางระเบียบสำหรับฝึกฝนผู้ที่จะเป็นพระไว้อย่างเคร่งครัดทั้งนี้เพื่อสืบทอดรักษาประเพณีข้อวัตรปฏิบัติตามแบบฉบับที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านดำเนินไว้เป็นแบบอย่าง หลวงปู่พูดอีกว่า ท่านเป็นผ้าอยู่หนึ่งปีกับหลวงปุ่อ่อน มี่หลวงปู่อว้าน เขมโกเป็นพระสอนนาค จากบันทึกหลวงปู่อว้าน ท่านว่าหลวงตาเกล้าต้อนเป็นนาคหลวงปู่อว้านได้ใช้หลวงปุ่เกล้าไปตัดไม้ไผ่มาทำไม้กวาดแต่ไม่พาดถ้าไหนมีดเลยไปบาดมือหลวงปู่เกล้าเลือดไหลออกมามากหลวงปู่พูดต่อว่าพอเลือดไหลออกมาแล้วหลวงปู่เกล่าจ่มคาถาไรไม่รู้แล้วเป่าเลือดก็หยุดไหลแล้วก็ไม่มีบาดแผลเลย มีอีกเหตุการหนึ่งสมัยเป็นผ้าขาว วันหนึ่งหลวงปู่นั้นภาวนาอยู่ใต้ต้นยางวันนั้นมีลมพัดเอากิ่งไม้ยางตกลง แต่ก็ไม่ถูกองค์หลวงปู่ เฉียดออกไม่ถึงสอกแต่หลวงปู่ยังนั่งทำสมาธิต่อโดยไม่มีอาการลุกนี้จนครบเจ็ดวันหลวงปู่จึงออกจากสมาธิแล้วมีคนไปถามหลวงปู่นั่งสมาธิอยู่นั้นไม่ได้ยินเสียงกิ่งไม้ตกลงมาเหรอ หลวงปู่ก็ตอบว่าไม่ได้ยิน

     การตั้งวัดดอยเทพนิมิต (ถ้ำเกีย)

ขณะที่หลวงปู่เป็นพระนวกะ(บวชใหม่)ที่หนองบัวบานมีโครงการทำเขื่อนกักเก็บน้ำ(เขื่อนห้วยหลวง)หากสร้างเสร็จแล้วพื้นที่กักเก็บน้ำอาจกินเนื้อที่บริเวณวัดหนองบัวบาน จนอาจถูกน้ำท่วมจนจมหายไปหมด จึงได้ขอพระราชทานวิสุงคาสีมา และได้ออกปากกับบรรดาลูกศิษย์ในวัดว่า ใครจะไปอยู่ไหนก็รีบไป ให้รีบหาวัดอยู่เพราะไม่แน่ว่าน้ำจะท่วมวัดจนจมอยู่ในเขื่อนหรือไม่ ด้วยเหตุหนี้พระลูกศิษย์ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริหลายรูป ได้กราบลาท่านออกจากวัดหนองบัวบานรวมถึงหลวงปู่ด้วยที่จำพรรษาอยู่กับท่านผ่านมา๓พรรษาแล้วด้วย เมื่อหลวงปู่เกล้าออกวัดหนองบัวบานแล้วได้วิเวกมาจนถึงภูกำพร้าแต่ก่อนบริเวณภูนี้ท่านเคยเที่ยวลัดเลาะผ่านมาเมื่อครั้งเป็นนายพราน ด้วยกุศลจิต ความศรัทธา เสียสละจากชาวบ้าน ทั้งขวนขวายอนุเคราะห์ในการอุปัฎฐาก สถานที่ที่ท่านอาศัยวิเวกตรงนี้ จึงได้เป็นดอยเทพนิมิต หรือวัดถ้ำเกีย ในปัจจุบันนี้ (จากศาลาวัดห่างออกไปประมาณ ๕๐๐เมตร มีถ้ำที่มีค้างคาวอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จนเป็นชื่อว่า ถ้ำเกีย "เกีย" เป็นภาษาอีสานหมายถึง ค้างคาว

      ความเพียร

ข้อวัตรปิปทาหลวงปู่ ทุกวันฉันเสร็จแล้วจะเข้าทางจงกรม จากนั้นจึงขึ้นกุฎินั่งสมาธิภาวนา ท่านเล่าว่า สมัยท่านเป็นพระบวชใหม่ได้หักหาญทำความเพียรอย่างหนักในการแก้นิวรณ์ อดหลับ อดนอน ๔ วัน ๔ คืนจนเป็นลมสลบไปในคืนที่ ๔ หลังจากนั้นก็ไม่มีอาการโงกง่วงสัปหงกในการภาวนาอีกเลย กับครูบาอาจารย์ผู้เป็นมงคล สมัยเป็นฆราวาสหลวงปู่มีโอกาสได้ติดตามหลวงปู่ขาว อนาลโย นับเป็นสิริมงคลอย่างสูง เมื่อบวชเป็นพระหลวงปู่ก็ได้อยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นอาจารย์ผู้ให้นิสัย นับเป็นมงคลอย่างสูง เมื่อพระมหาเถระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ได้เมตตาเดินทางมาเยี่ยมที่วัดถ้ำเกียหลายครั้งหลายคราว ดังนั้นการปกครองพระเณรของหลวงปู่เกล้า ท่านจึงระวังไม่ให้เสียปกิปทาที่รักษามาจากพ่อแม่ครูอาจารย์ทั้ง ๓ องค์

     ละธาตุขันธ์

ในปี ๒๕๔๐ หลวงปู่เกล้าเริ่มอาพาธมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ แพทย์ตรวจวินิจฉัยว่าสมององค์ท่านฝ่อไปบางส่วน ได้รักษาพยาบาลโดยลำดับ ในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๐๘.๐๐ น.ท่านก็ได้ละธาตุขันธ์ในระหว่างพรรษาที่ ๔๒ สิริอายุได้ ๘๙ ปี ๔ เดือน ๑๑ วัน

ออกบวช[แก้]