ชมพู่แก้มแหม่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชมพู่แก้มแหม่ม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Syzygium
สปีชีส์: S.  samarangense
ชื่อทวินาม
Syzygium samarangense
(Blume) Merrill & Perry
ชื่อพ้อง[1]
  • Eugenia javanica Lam.
  • Eugenia samarangensis (Blume) O.Berg
  • Jambosa javanica (Lam.) K.Schum. & Lauterb.
  • Jambosa samarangensis (Blume) DC.
  • Myrtus javanica (Lam.) Blume
  • Myrtus samarangensis Blume
'ผลชมพู่แก้มแหม่มผ่าครึ่ง

ชมพู่แก้มแหม่ม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Syzygium samarangense) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae กิ่งก้านโค้งงอ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบเหนียวคล้ายหนัง มีจุดใสบนใบ ก้านใบใหญ่ ดอกดอกตามยอดและซอกใบของใบที่ร่วงไปแล้ว ดอกช่อ กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว กลีบดอกสีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ผลคล้ายลูกแพร์ มีปลายของกลีบเลี้ยงที่โค้งเข้าข้างในติดที่ปลายผล ผลสีแดงอ่อนจนถึงขาว เนื้อสีขาวคล้ายฟองน้ำ ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแบนหรือกลม

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิยมปลูกไปทั้งภูมิภาค ในอินโดนีเซียนิยมนำไปทำโรยักหรือนำไปดองที่เรียกอาซีนัน เปลือกผลมีลักษณะคล้ายไขเคลือบ เนื้อค่อนข้างแห้ง มีกลิ่นหอม ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียใช้ใบรักษาโรคผิวหนัง[2]

อ้างอิง[แก้]

  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 412 – 414
  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species".
  2. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5