ความสัมพันธ์ไทย–อิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ไทย–อิสราเอล
Map indicating location of Israel and Thailand

อิสราเอล

ไทย

ความสัมพันธ์ไทย–อิสราเอล หมายถึงความสัมพันธ์ทางการทูตและวัฒนธรรมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับรัฐอิสราเอล ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2497[1] สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในกรุงเทพมหานครได้รับการก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2501[2] และตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ประเทศไทยได้มีสถานเอกอัครราชทูตในเทลอาวีฟ[3] ประเทศไทยและอิสราเอลมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรต่อกัน รวมถึงให้ความร่วมมือในหลายสาขา ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนระหว่างสองประเทศก็ดีเช่นกัน ในขณะที่คนไทยหลายพันคนทำงานในอิสราเอล ชาวอิสราเอลหลายล้านคนก็มาเยี่ยมเยียนและเยี่ยมชมประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบ[แก้]

อิสราเอล รัฐอิสราเอล ไทย ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน
ธงชาติ อิสราเอล ไทย
เอกราช 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 (75 ปีที่แล้ว) –
เอกราชจากสหราชอาณาจักร
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1767 (256 ปีที่แล้ว) –
กอบกู้เอกราชจากราชวงศ์โก้นบอง
ประชากร 9,805,280 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 20,770 ตร.กม. (8,019 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 444 คน/ตร.กม. (1,150 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง เยรูซาเลม กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด เยรูซาเลม – 971,800 คน (เขตปริมณฑล 1,253,900 คน) กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง รัฐเดี่ยวสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: อิซัค เฮอร์ซ็อค พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี: เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน
ภาษาราชการ ภาษาฮีบรู
ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่
ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
สกุลเงิน นิวเชเกลอิสราเอล บาทไทย
จีดีพี (ราคาตลาด) 521.688 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 53,195 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร 23.4 พันล้านดอลลาร์ 5.69 พันล้านดอลลาร์

ประวัติ[แก้]

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 หน่วยจู่โจมสี่คนของกลุ่มก่อการร้ายปาเลสไตน์แบล็กเซปเทมเบอร์ได้บุกเข้าสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในกรุงเทพมหานคร และจับเอกอัครราชทูตรวมถึงผู้มาเยือนของเขาหลายคนเป็นตัวประกัน ส่วนสมาชิกรัฐบาลไทยสองคน ได้แก่ ทวี จุลละทรัพย์ และชาติชาย ชุณหะวัณ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและได้เป็นนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2531 พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตอียิปต์ประจำประเทศไทย มุสตาฟา เอล อัสซาวี ได้เจรจาต่อรองการปล่อยตัวตัวประกัน และเสนอตัวเองรวมถึงเจ้าหน้าที่ไทยคนอื่น ๆ อีกหลายคนเพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของผู้ก่อการร้ายในกรุงไคโร จากนั้นนายกรัฐมนตรี โกลดา เมอีร์ ของอิสราเอลได้กล่าวยกย่องรัฐบาลไทยในด้านการเจรจาต่อรองเพื่อยุติวิกฤตการณ์ที่ไร้เลือด[4]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดฟาร์มทดลองเทคโนโลยีการเกษตรไทย–อิสราเอลเพื่อการชลประทานพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ มีหอการค้าไทย–อิสราเอล, มูลนิธิชมรมไทย-อิสราเอล รวมถึงชุมชนเล็ก ๆ ของชาวอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย[1]

หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใน พ.ศ. 2554 อิสราเอลได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำมายังประเทศไทย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างสองประเทศ

ใน พ.ศ. 2555 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงการค้า

ประเทศไทยยอมรับปาเลสไตน์ใน พ.ศ. 2555[5] ครั้นในช่วงความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 รัฐบาลไทยสนับสนุนการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติและเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายแสดงความยับยั้งชั่งใจ[6] โดยระบุเพิ่มเติมว่าจะให้การสนับสนุนทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ต่อไป แต่จะไม่ให้อภัยต่อกรณีของผู้ก่อการร้ายทั้งสองฝ่าย[7]

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำสำหรับชาวอิสราเอล และประเทศอิสราเอลเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับแรงงานไทย ชาวไทยกว่า 20,000 คนมีงานทำในอิสราเอลในด้านการเกษตรรวมถึงในร้านอาหารเอเชียในฐานะคนครัว พวกเขาทำงานอย่างถูกกฎหมายภายใต้การอุปถัมภ์ของข้อตกลงทวิภาคีระหว่างไทย–อิสราเอล โดยความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (TIC)[8]

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ[9]

ส่วนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2558 อิสราเอลและไทยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางการแพทย์[10]

รวมถึงคณะผู้แทนจากสมาคมอุตสาหกรรมไทยได้เดินทางเยือนประเทศอิสราเอลใน พ.ศ. 2558[11]

คนไทยโดยทั่วไปไม่ได้สนใจต่อความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ แต่ชนหมู่น้อยชาวมุสลิมในประเทศเกือบสี่ล้านโดยทั่วไปจะเห็นใจต่อปาเลสไตน์[12][13]

ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม พ.ศ. 2561 หน่วยคอมมานโดและเทคโนโลยีของอิสราเอลได้ให้การสนับสนุนหน่วยซีลของไทยในช่วงภารกิจปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ซึ่งได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างมาก ปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โดยสามารถช่วยชีวิตทีมฟุตบอลไว้ได้ทั้งหมด

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Thailand Virtual Jewish History Tour". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  2. Israel embassy in Bangkok เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Thai embassy in Tel Aviv เก็บถาวร 2009-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work, Editions Didier Millet, 2012, p. 126
  5. "Thailand officially recognizes Palestinian statehood". Haaretz. Associated Press. 2012-01-20. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.
  6. "Thai government statement of the Gaza war". Ministry of Foreign Affairs Thailand. 18 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Press release)เมื่อ 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.
  7. "Thailand to continue to support both Israel and Palestine". NNT. 22 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29 – โดยทาง Thai Visa.
  8. Chia, Jasmine (29 October 2017). "Land of promise, last resort". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  9. "Israel and Thailand sign a cooperation agreement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-26.
  10. "Thailand and Israel sign a medical cooperation agreement". NNT. July 28, 2015. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017 – โดยทาง Pattaya Mail.
  11. "Thailand and Israel sign a medical cooperation agreement". NNT. July 28, 2015. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017 – โดยทาง Pattaya Mail.
  12. "Thai Muslims protest against Israel". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14.
  13. "Thai Muslims protest in Bangkok against Israeli military operation in Gaza". Islamic Voice of Turkey. 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.