ความสัมพันธ์กาตาร์–ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์กาตาร์–ไทย
Map indicating location of Qatar and Thailand

กาตาร์

ไทย

รัฐกาตาร์และราชอาณาจักรไทยสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตในปี พ.ศ. 2523 ความร่วมมือของพวกเขาส่วนใหญ่มุ่งไปที่การท่องเที่ยวและพลังงาน[1]

กระทรวงแรงงานของประเทศไทยระบุว่าในปี พ.ศ. 2560 มีพลเมืองไทย 1,188 คนที่ทำงานในประเทศกาตาร์ และมุ่งไปในอุตสาหกรรมบริการนวดและอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่[2] กฎหมายการจ้างงานที่เกี่ยวข้องกับแรงงานไทยในประเทศกาตาร์ได้รับการเจรจาและลงนามในข้อตกลงในปี พ.ศ. 2555[3]

การเปรียบเทียบ[แก้]

ประเทศกาตาร์ รัฐกาตาร์ ไทย ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน
ธงชาติ ประเทศกาตาร์ ไทย
ประชากร 2,641,669 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 11,581 ตร.กม. (4,471 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 176 คน/ตร.กม. (455.8 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง โดฮา กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด โดฮา – 951,765 คน (เขตปริมณฑล 2,382,000 คน) กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ เจ้าผู้ครองรัฐ: เชคตะมีม บิน ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี: เชคฮะมัด บิน ญะซิม บิน ญะบัร อัษษานี นายกรัฐมนตรี: ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ภาษาราชการ ภาษาอาหรับ ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
จีดีพี (ราคาตลาด) 357.338 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 128,702 ดอลลาร์) 516 พันล้าน (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร 4.35 พันล้านดอลลาร์ 5.69 พันล้านดอลลาร์

ตัวแทนทางการทูต[แก้]

ประเทศกาตาร์ยังคงค้ำชูสถานทูตในเมืองหลวงของประเทศไทย ที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[4][5] ส่วนประเทศไทยมีสถานทูตในโดฮา ประเทศกาตาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545[4][6]

การเยือนทางการทูต[แก้]

รองนายกรัฐมนตรีกาตาร์ อับดุลละห์ บิน ฮะมัด อัล อัตติยาห์ เข้าประชุมกับนายกรัฐมนตรีไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2552

อะมีร ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี เสด็จเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2542[4]

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ[แก้]

ประเทศกาตาร์และประเทศไทยมีความเกี่ยวดองอย่างใกล้ชิดในอุตสาหกรรมพลังงานและการท่องเที่ยว ในบรรดาสมาชิกของคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ ประเทศกาตาร์เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับสามของประเทศไทย[1] และผู้ผลิตหลักของแก๊สธรรมชาติเหลว ณ ปี พ.ศ. 2556 แทนที่ประเทศเยเมนในหมวดหมู่ดังกล่าว[7] ส่วนประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์สำหรับชาวกาตาร์มากที่สุด[1] โดยมีชาวกาตาร์ประมาณ 30,000 คนเดินทางมาเยี่ยมประเทศไทยในปี พ.ศ. 2557[8]

การส่งออกหลักของประเทศกาตาร์ ได้แก่ น้ำมันดิบ, แก๊สธรรมชาติเหลว, ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม, พลาสติก, ผลิตภัณฑ์เคมี และปุ๋ย ส่วนประเทศไทยส่งออกรถยนต์, เครื่องจักร, เครื่องประดับ, รายการอาหาร และเครื่องปรับอากาศไปยังประเทศกาตาร์เป็นหลัก[8] ในปี พ.ศ. 2552 ปริมาณการค้าระหว่างประเทศกาตาร์และไทยมีมูลค่า 3.17 พันล้านดอลลาร์[9] ซึ่งจำนวนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 4.3 พันล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2556[8]

ครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับการจัดส่งแก๊สธรรมชาติเหลวจากกาตาร์แก๊ส ซึ่งเป็นบริษัทแก๊สหลักของประเทศกาตาร์ คือในปี พ.ศ. 2554[10] มีการลงนามข้อตกลงระหว่างสองประเทศในปี พ.ศ. 2555 เพื่อประเทศกาตาร์จะจัดหาแก๊สธรรมชาติเหลวให้แก่ประเทศไทย 2 ล้านตันต่อปีเป็นเวลา 20 ปี โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2558 กาตาร์แก๊สได้เปิดสำนักงานตัวแทนในกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง[8] การจัดส่งแก๊สธรรมชาติเหลวครั้งแรกที่จัดหาตามข้อตกลงได้มาถึงประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558[11] ส่วนการจัดส่งแก๊สธรรมชาติเหลวครั้งแรกของประเทศกาตาร์มายังประเทศไทยผ่านทางเรือคิว-แมกซ์ ซึ่งเป็นยานพาหนะลำเลียงแก๊สธรรมชาติเหลวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เข้ามาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560[12]

นอกจากนี้ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ของประเทศไทย และกาตาร์ปิโตรเลียม ได้ร่วมกันสนับสนุนโครงการปิโตรเคมีล็องเซิ่น ที่ตั้งอยู่ในประเทศเวียดนามทางทิศใต้เมื่อปี พ.ศ. 2557[13]

ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม[แก้]

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโดฮา เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ประเทศกาตาร์ สถานเอกอัครราชทูตได้จัดงานคืนวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 (Thailand’s Cultural Night 2015) โดยมีการแสดงนาฏศิลป์และอาหารไทยแบบดั้งเดิม[14] นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมในงานเทศกาลอาหารอาเซียนประจำปี พ.ศ. 2558 ที่จัดขึ้น ณ กรุงโดฮา[10]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ประเทศไทยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับกาตาร์เพื่อความร่วมมือด้านกีฬาและการแลกเปลี่ยน ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมากโดยการเพิ่มศักยภาพการกีฬาของประเทศ สมาชิกคณะกรรมการโอลิมปิกสากล คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กล่าวว่า “กาตาร์อยู่ห่างออกไปไม่กี่ก้าว มีหลายสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้เพื่อยกระดับกีฬาของเรา”[15]

ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ[แก้]

หลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2554 กาตาร์แชริตีได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการในประเทศไทยพร้อมกับอะวัน อัลมุสลิม ซึ่งเป็นองค์กรท้องถิ่น ในความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย[10]

ประเทศกาตาร์เป็นผู้ให้ทุนรายใหญ่ของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาในจังหวัดปัตตานี ประเทศไทย[16] นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุนการก่อสร้างโรงพยาบาลมูลค่า 7 ล้านดอลลาร์ที่เรียกว่าโรงพยาบาลชีค จัสซิม บิน มุฮัมมัด บิน ษานี ในจังหวัดปัตตานี[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Top Stories : Ambassador of the State of Qatar to Thailand's farewell call on Minister of Foreign Affairs of Thailand". Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand. 25 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-30. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  2. "Over 1,000 Thais are now in Qatar". Thai PBS. 7 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-30. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  3. "Thailand and Qatar have exchanged instruments of ratification of an agreement on employment of Thai workers, which becomes effective immediately. The signing ceremony is held at The Sukosol Hotel in Bangkok". Thailand Labour Ministry. 20 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-30. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 "ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกาตาร์". Thai Embassy in Doha. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  5. "Qatari Embassy in Bangkok, Thailand". embassypages.com. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  6. "Thai Embassy in Doha, Qatar". embassypages.com. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  7. "Qatar becomes Thailand's biggest LNG supplier". Alexander's Gas and Oil Connections. 15 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-30. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Ailyn Agonia (5 December 2014). "Thailand, Qatar to cement investment ties: Envoy". Qatar Tribune. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.[ลิงก์เสีย]
  9. "Thai-Qatari trade ties grow". iloveqatar.net. 29 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  10. 10.0 10.1 10.2 Muhammad Zulfikar Rakhmat (25 October 2015). "Thailand's Growing Links With Qatar". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  11. "Thailand offers to share agriculture expertise with Qatar". 19 September 2015. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  12. "Thailand Receives First LNG Delivery from Qatar". The Maritime Executive. 14 August 2017. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  13. "PetroVietnam joins SCG and Qatar Petroleum in Long Son Refinery". 2B1st Consulting. 26 November 2014. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  14. Raynald C Rivera (5 September 2015). "Thai puppet show fascinates audience". The Peninsula. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-31. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  15. "Thai-Qatari MoU signed". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
  16. "Southern Thailand and Outside Influences". Asian Correspondent. 7 April 2007. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.[ลิงก์เสีย]
  17. "Islamic community forges on". Bangkok Post. 20 July 2013. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.