ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย
Map indicating location of Russia and Thailand

รัสเซีย

ไทย

ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย (รัสเซีย: Российско-таиландские отношения) เป็นความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับรัสเซีย (จักรวรรดิรัสเซีย, สหภาพโซเวียต และสหพันธรัฐรัสเซีย) ความสัมพันธ์เรื่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และซาร์นิโคลัสที่ 2 ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศยุติลงต่อมาได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ในวันที่ 12 มีนาคม 1941 ในฐานะสหภาพโซเวียต แต่ความสัมพันธ์ค่อนข้างที่จะเหินห่างและขาดสะบั้นเมื่อประเทศไทยประกาศเป็นสัมพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็นเพื่อมีจุดประสงค์หลักคือต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ภายในประเทศและได้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์อีกครั้งในปี 1979 เมื่อพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ทำการเยือนสหภาพโซเวียต ต่อมาหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ไทยได้รับรองรัสเซียเป็นประเทศเอกราชในวันที่ 28 ธันวาคม 1991 ปัจจุบันรัสเซียมีสถานทูตที่กรุงเทพมหานคร และมีสถานกงสุลสองที่คือที่พัทยา และภูเก็ต ส่วนไทยมีสถานทูตที่มอสโก และมีสถานกงสุลสองที่คือที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และวลาดีวอสตอค ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกเอเปคและองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (รัสเซียเป็นรัฐสมาชิกและไทยเป็นคู่ค้า)

บันทึกการติดต่อครั้งแรกระหว่างรัสเซียกับสยามเกิดขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1863 เมื่อเรือ Gaydamak และ Novik เดินทางมาถึงกรุงเทพ จากนั้นจึงเกิดความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างครอบครัวชนชั้นสูงของไทยและจักรวรรดิรัสเซีย พร้อมการบันทึกมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับจักรพรรดินิโคไลที่ 2 แห่งรัสเซียไว้อย่างดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ โอรสองค์ที่ 43 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สมรสกับคัทริน เดสนิตสกี ซึ่งท่านพบกับเธอขณะศึกษาอยู่ในจักรวรรดิรัสเซีย[1]

การเปรียบเทียบ[แก้]

รัสเซีย สหพันธรัฐรัสเซีย ไทย ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน
ธงชาติ รัสเซีย ไทย
ประชากร 147,003,104 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 17,098,246 ตร.กม. (6,601,670 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 8.4 คน/ตร.กม. (21.8 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง มอสโก กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด มอสโก – 12,506,468 คน (เขตปริมณฑล 15,512,000 คน) กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง ประชาธิปไตยกึ่งประธานาธิบดี ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: วลาดีมีร์ ปูติน พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี: มีฮาอิล มีชุสติน นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน
ภาษาราชการ ภาษารัสเซีย ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
จีดีพี (ราคาตลาด) 1.610 ล้านล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 11,191 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร 70 พันล้านดอลลาร์ 5.69 พันล้านดอลลาร์

เศรษฐกิจ[แก้]

การค้าทวิภาคี[แก้]

ตัวเลขทางการของปริมาณการค้าที่เผยแพร่โดยสองประเทศขัดแย้งกัน

  • ข้อมูลฝั่งไทยะระบุว่า การค้ากับรัสเซียใน ค.ศ. 2008 มีรายได้ถึง 2.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศไทยมีดุลการค้าอยู่ที่ 1.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] รัสเซียส่งออกทรัพยากรแร่ ส่วนไทยส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร[2]
  • ข้อมูลบริการศุลกากรของรัสเซียระบุว่า รัสเซียส่งออกให้ไทยใน ค.ศ. 2008 มีจำนวน 1.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้าถึง 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้รัสเซียมีดุลการค้าที่ 254 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] โดยรวม การค้ากับประเทศไทยเป็นการค้าต่างประเทศของรัสเซียเพียง 0.4%[3] สถานทูตรัสเซียในประเทศไทยรายงานว่า ประเทศไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของรัสเซียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้ซื้อเหล็กเฟอร์รัสจากรัสเซียรายใหญ่อันดับ 3 จากทั่วโลก[4]

ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ประกาศว่ารัสเซียให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนเป้าหมายในการเพิ่มการค้าทวิภาคีประจำปีจาก 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปเป็น 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2021 รัสเซียต้องการซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ข้าว ผลไม้ รถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์จากไทยเป็นหลัก รัสเซียต้องการเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย เนื่องจากนักลงทุนชาวรัสเซียจำนวนมากเข้ามาตั้งฐานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ระยอง[5]

การท่องเที่ยว[แก้]

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางเขตร้อนที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ฝั่งรัสเซียโต้แย้งตัวเลขที่ทางการไทยให้ไว้ว่าสูงเกินจริง และทางการไทยโต้แย้งว่าตัวเลขที่รัสเซียให้มีจำนวนน้อยเกินไป:

  • เจ้าหน้าที่รักษาชายแดนรัสเซียรายงานการเดินทางไปไทยใน ค.ศ. 2008 ที่ 259,000 คน (235,000 คนใน ค.ศ. 2007) โดยประเทศตุรกี จุดหมายปลายทางหลักที่มีผู้เดินทางมากที่สุด รายงานการเดินทางไป 2.2 ล้านคน[6] ข้อมูลรัฐบาลไทยระบุว่าจำนวนที่รัสเซียให้มีเฉพาะเที่ยวบินตรง ไม่นับนักท่องเที่ยวที่บินแวะพักที่อื่น[7] and reported 279,000 Russian tourists for 2007.
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรายงานชาวรัสเซียที่ "เดินทางแบบท่องเที่ยว" ไปยังพัทยาในมกราคม–มีนาคม ค.ศ. 2007 ที่ 456,972 คน (รวม 1.57 ล้านคน) นักวิจารณ์ชาวรัสเซียระบุว่าไทยนับรวม ค้างคืนในคืนโรงแรม และจำนวนนั้นควรหารด้วยตัวประกอบ 10 ถึง 11

ใน ค.ศ. 2018 มีชาวรัสเซียเดินทางมาไทยประมาณ 1.5 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ค.ศ. 2017 ที่ 15% และมีชาวไทยเดินทางไปรัสเซียโดยเฉลี่ยต่อปีที่ประมาณ 20,000 คน[8]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thaitrakulpanich, Asaree (22 August 2019). "DURIANS, 'ARROGANT' ENGLISHMEN: 19TH CENTURY RUSSIAN EXPLORER'S JOURNALS ABOUT SIAM". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.
  2. 2.0 2.1 "Thai-Russian Bilateral Relations: Statistics". Embassy of Thailand in Moscow. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-05-19.
  3. 3.0 3.1 "Foreign trade of Russia by partner country (in Russian)". Federal Customs Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-06. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  4. "Trade and Economic Cooperation". Embassy of Russian Federation in the Kingdom of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-15. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  5. "Russia eager to see trade top $10bn with Thailand". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
  6. "Official statistics of Russian State Tourism Service, 2007-2008". สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.[ลิงก์เสีย]
  7. "Tayskaya Pattaya prevratilas..." sibterra.ru, January 22, 2008. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 24, 2012. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 28, 2009.
  8. Thaitrakulpanich, Asaree (20 June 2019). "RUSSIAN AMBASSADOR DENOUNCES SANCTIONS, URGES THAIS TO BUY MORE WEAPONS". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

คณะผู้แทนทางทูต[แก้]