ความสัมพันธ์ไทย–ฮ่องกง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ไทย–ฮ่องกง
Map indicating location of ไทย and ฮ่องกง

ไทย

ฮ่องกง

ความสัมพันธ์ไทย–ฮ่องกง เป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและฮ่องกง

การเปรียบเทียบ[แก้]

ฮ่องกง เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน
ธงชาติ ฮ่องกง ไทย
เอกราช
(1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (26 ปีที่แล้ว) –
สหราชอาณาจักรส่งมอบดินแดนให้ประเทศจีน)
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1767 (256 ปีที่แล้ว) –
กอบกู้เอกราชจากราชวงศ์โก้นบอง
ประชากร 7,333,200 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 2,754.97 ตร.กม. (1,063.70 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 6,801 คน/ตร.กม. (17,614.5 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง ฮ่องกง กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด ซ้าถิ่น​ – 692,806 คน กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง ระบบฝ่ายบริหารที่ได้รับมอบอำนาจปกครองภายในรัฐเดี่ยวพรรคการเมืองเดียว ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: สี จิ้นผิง พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล หัวหน้าฝ่ายบริหาร: จอห์น ลี นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน
ภาษาราชการ ภาษาจีนกลาง
ภาษาอังกฤษ
ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
สกุลเงิน ดอลลาร์ฮ่องกง บาทไทย
จีดีพี (ราคาตลาด) 385.546 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 51,168 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร ไม่ทราบ 5.69 พันล้านดอลลาร์

ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ[แก้]

ประเทศไทยมีสถานกงสุลใหญ่ในฮ่องกง ซึ่งคือสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง โดยเป็นส่วนหนึ่งของชุดคณะผู้แทนทางทูตของประเทศในต่างประเทศ และกงสุลคนแรกประจำฮ่องกงได้รับการแต่งตั้งใน พ.ศ. 2411[1]

สถานกงสุลใหญ่ดังกล่าวตั้งอยู่ ณ อาคารเลขที่ 8 คอตตอนทรีไดร์ฟ เซนทรัล เกาะฮ่องกง ทั้งนี้ ฮ่องกงมีสิทธิในการปกครองตนเองอย่างเต็มที่ของการดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าต่างประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ในสาขาต่าง ๆ ที่เหมาะสม[2]

ฮ่องกงมีตัวแทนโดยสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกงประจำประเทศสิงคโปร์ในประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย สำนักงานดังกล่าวได้รับสิทธิพิเศษและความคุ้มกันบางประการจากรัฐบาลเจ้าภาพที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกให้สำนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการแทรกแซง โดยทั่วไปแล้ว สิทธิพิเศษและความคุ้มกันที่สำนักงานได้รับส่วนใหญ่ รวมถึงการไม่สามารถล่วงล้ำสถานที่ได้, การติดต่อทางจดหมาย, บันทึกสำคัญ และเอกสารอย่างเป็นทางการ ตลอดจนการยกเว้นสถานที่และตัวแทนจากการเสียภาษี[3] หลังจากการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างฮ่องกงและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 รัฐบาลฮ่องกงประกาศว่าจะจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าในประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่าย[4]

เชิงพาณิชย์และสังคม[แก้]

ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับห้าของไทยใน พ.ศ. 2557[5] ในขณะที่ไทยเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของฮ่องกง[6] ซึ่งฮ่องกงได้ครอบครองตลาดส่งออกของไทย 5 เปอร์เซ็นต์[5] ในขณะที่ไทยได้มีส่วน 0.8 เปอร์เซ็นต์จากข้อมูลของฮ่องกง[6]

คนไทยประมาณ 30,000 คนอาศัยอยู่ในฮ่องกง ในจำนวนนั้นหลายคนทำงานเป็นแม่บ้าน[7] ส่วนประเทศไทยเป็นสถานที่พักผ่อนยอดนิยมสำหรับชาวฮ่องกง นอกจากนี้ สภาธุรกิจไทย–ฮ่องกง ได้มีเบอร์นาร์ด ชาญวุฒิ ชาน เป็นประธาน ซึ่งเป็นสภาธุรกิจชั้นนำของไทยในฮ่องกง[8]

เหตุการณ์[แก้]

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยที่ถูกเนรเทศ เขาถูกโค่นล้มในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งภายหลัง เขาได้เนรเทศตัวเอง แล้วนักการเมืองไทยได้เดินทางโดยเครื่องบินสู่ฮ่องกงเป็นประจำเพื่อพบปะกับทักษิณ ชินวัตร นับตั้งแต่เขาลี้ภัย[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hong Kong Government Gazette
  2. "Basic Law Full Text - chapter (7)". Basiclaw.gov.hk. 2008-03-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  3. "LCQ14: Privileges and immunities granted to Hong Kong ETOs". Info.gov.hk. 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  4. "HK to open Thailand trade office". news.gov.hk. 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-20.
  5. 5.0 5.1 "OEC - Import origins of Thailand (2014)". Atlas.media.mit.edu. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  6. 6.0 6.1 "OEC - Import origins of Hong Kong (2014)". Atlas.media.mit.edu. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  7. [1]
  8. "HK-Thailand Business Council". Hk-thai.com. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  9. "Bangkok Post". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.